การปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน


สร้างโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
   ก. ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา 1.ข้อมูลทั่วไป                    1.1  ชื่อสถานศึกษา  โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา  ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 45 หมู่ 1  ตำบลประตูชัย   อำเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13000  โทรศัพท์  035-241559, 035-211300  โทรสาร 035-241106   e-mail : [email protected]  website : jirasart.com สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน  เขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา  เขต 1           1.2  ชั้นที่เปิดสอน เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล 1  ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3             1.3  พื้นที่บริการ มีพื้นที่บริการ 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา   ได้แก่   อำเภอพระนครศรีอยุธยา  บางบาล  บางปะอิน เสนา   วังน้อย  อุทัย  ท่าเรือ  บางไทร  นครหลวง  ภาชี  ผักไห่  ลาดบัวหลวง  บางปะหัน  มหาราช  บ้านแพรก  และบางซ้าย  รวมถึงบางอำเภอของจังหวัดใกล้เคียง เช่น อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี เป็นต้น 2. ข้อมูลด้านการบริหาร2.1 ชื่อ-สกุลผู้อำนวยการโรงเรียน นางจิระพันธุ์  พิมพ์พันธุ์  วุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท สาขา  การบริหารการศึกษา    ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่ปี พ.. 25122.2  ชื่อ-สกุลรองผู้อำนวยการ (ผู้อำนวยการสำนัก)   3   คน  ได้แก่
                        2.2.1 ชื่อ-สกุล  ดร.สุทธาทิพ  ไชยรัตนะ วุฒิการศึกษาสูงสุด  ปริญญาเอก  สาขาการบริหารการศึกษา  ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและกิจการนักเรียน
                        2.2.2 ชื่อ-สกุล  ดร.วัฒนชัย  ไชยรัตนะ    วุฒิการศึกษาสูงสุด  ปริญญาเอก  สาขาการบริหารการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรสนับสนุนการศึกษา
                        2.2.3 ชื่อ-สกุล  ดร.ปฐมพงศ์  ศุภเลิศ       วุฒิการศึกษาสูงสุด  ปริญญาเอก   สาขาการบริหารการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน
            2.3  ปรัชญา แลวัตถุประสงค์เฉพาะของสถานศึกษา                   โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา   ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2502     โดยมีนางจิระพันธุ์ พิมพ์พันธุ์  เป็นผู้รับใบอนุญาตและผู้อำนวยการโรงเรียน  มีปรัชญาประจำโรงเรียน ความว่า ฉลาดและมีคุณธรรม      ซึ่งผู้ก่อตั้งโรงเรียนมีปณิธานอันแน่วแน่ในการจัดการศึกษาอบรมให้เด็กและเยาวชนทุกคนเป็นคนดี       มีความรู้ควบคู่คุณธรรมจริยธรรม

                   จากผล การบริหารแบบมีส่วนร่วม  นับตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา โรงเรียนประสบความสำเร็จทุก ๆ ด้าน อาทิ

 ด้านโรงเรียน ได้รับรางวัลเกียรติยศ  ดังนี้·          โรงเรียนรับรางวัลพระราชทานระดับก่อนประถมศึกษา ปีการศึกษา 2544·          โรงเรียนรับรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2530·          โรงเรียนรับรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2542·          ได้รับพระราชทานรางวัลห้องสมุดดีเด่นของสมาคมห้องสมุด-     แห่งประเทศไทย   จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี·          โรงเรียนจัดการประถมศึกษาดีเด่นของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ·          โรงเรียนดีเด่นได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพจากสำนักงาน   คณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมกัน 3 ระดับ     ทั้งระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา·          โรงเรียนจริยธรรมดีเด่นของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ·          โรงเรียนได้รับยกย่องจากกระทรวงศึกษาธิการว่านักเรียนมีผลการเรียนดีมีพฤติกรรมดี และบริการชุมชนดีเด่น·          โรงเรียนได้รับการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9002 ทุกระบบ  ข.จุดแข็งและข้อจำกัดของโรงเรียน
                        โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา เป็นโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียง ก่อตั้งมาเป็นเวลายาวนานกว่า 40 ปี มีคณะผู้บริหารและครูอาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีประสบการณ์ ความรู้ และตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน จึงนับว่าเป็นจุดแข็งของโรงเรียนที่ผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นศรัทธา นำบุตรหลานมาสมัครเข้าเรียนเป็นจำนวนมากเกินกว่าจำนวนความจุ   ที่สามารถจะรับได้เพียง 4,635 คนเท่านั้น    ส่วนข้อจำกัดบางประการที่โรงเรียนมีอยู่ ได้แก่

ข้อจำกัดด้านพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนมีเนื้อที่เพียง 9 ไร่เศษ และไม่สามารถก่อสร้างอาคารสูงได้ เนื่องจากอยู่ในเขตจำกัดความสูง ตามเงื่อนไขของกรมศิลปากร  อย่างไรก็ตามโรงเรียนยังได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ธรรมชาติ สนองแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง  บนเนื้อที่ 16 ไร่ของโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา  ตั้งอยู่ ณ ตำบลบ่อโพง  อำเภอนครหลวง  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ห่างจากโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา ไปทางทิศเหนือ ประมาณ  7  กิโลเมตร ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช และถนนสายเอเซีย  คณะครูสามารถนำนักเรียนไปใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ในลักษณะบูรณาการได้เป็นอย่างดี

 ง. แนวทางการดำเนินงานปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน 

เหตุผลและความจำเป็นในการปฏิรูปการเรียนรู้ของโรงเรียน

ในการปฏิรูปการศึกษา          โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยาได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สมบูรณ์พร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญามีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ "เป็นคนดี มีปัญญา และมีความสุข"

            นอกจากนี้โรงเรียนยังได้ดำเนินงานให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  .. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 ที่ได้กำหนดแนวการจัดการศึกษา ของชาติไว้ในหมวดที่ 4 ตั้งแต่มาตรา 22 ถึง มาตรา 30 ซึ่งโรงเรียนได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ ในการจัดการศึกษา  สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1.      การจัดการศึกษาต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน/ ประสบการณ์การเรียนรู้ยึดหลักดังนี้1.1       ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ดังนั้นจึงต้องจัดสภาวะแวดล้อม บรรยากาศ รวมทั้งแหล่งเรียนรู้ต่างๆให้หลากหลายเพื่อเอื้อต่อความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติที่สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจ เหมาะสมกับวัยและศักยภาพของผู้เรียน         เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในทุกเวลา  ทุกสถานที่และเป็นการเรียนรู้กันและกัน   อันก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้   เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคมและประเทศชาติ โดยการประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง บุคคล ชุมชนและทุกส่วนของสังคม1.2       ผู้เรียนสำคัญที่สุด  การเรียนการสอนมุ่งเน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงต้องจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น  มีนิสัยรักการเรียนรู้ และเกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต2.      มุ่งปลูกฝังและสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับผู้เรียนโดยเน้นความรู้ คุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและบูรณาการความรู้ในเรื่องต่างๆอย่างสมดุลเพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาโรงเรียนที่ว่า "ฉลาดและ มีคุณธรรม" รวมทั้งการฝึกทักษะและกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ใช้ความรู้โดยให้ผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องต่างๆดังต่อไปนี้2.1       ความรู้เกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม  ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก  รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของท้องถิ่นอยุธยา สังคมไทย และระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข2.2       ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน2.3       ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาสากล และการรู้จักประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา2.4       ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องและเน้นการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง2.5       ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ    และการดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข 

กระบวนการเรียนรู้ที่จัดให้กับผู้เรียน

โรงเรียนได้กำหนดแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนดังนี้1)       จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล2)       ให้มีการฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา3)       จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง4)       จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม   และคุณลักษณะที่พึงประสงค์             ไว้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้5)      ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาผู้เรียน6)      ส่งเสริมให้ผู้เรียนและผู้สอนเรียนรู้ไปพร้อมๆกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ ตลอดจนภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น7)      มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนก่อนการปฏิรูปการเรียนรู้เนื่องด้วยโรงเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษา    เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามปรัชญาของโรงเรียนที่ว่า "ฉลาดและมีคุณธรรม"กล่าวคือนักเรียนทุกคนในโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยาจะต้องได้รับการฝึกฝนอบรมให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีความเฉลียวฉลาดมีไหวพริบในการแก้ปัญหา มีคุณธรรมจริยธรรมและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข   ดังนั้นในการจัดการศึกษาของโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา นับตั้งแต่ก่อนจะมีการปฏิรูปการศึกษา  โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาการศึกษาอย่างมาเป็นระบบและต่อเนื่อง ดังนี้1)      จัดทำหลักสูตรสถนศึกษา บริบทอยุธยามรดกโลก ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของ  ผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน2)      จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นพัฒนาความรู้ควบคู่ไปกับการปลูกฝัง    คุณธรรมจริยธรรม และส่งเสริมให้มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี โดยให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ทั้งในโรงเรียน และในแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น พิพิธภัณฑ-สถานแห่งชาติ  พิพิธภัณฑ์เรือไทย  ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา  ฯลฯ3)      ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง โดยได้จ้างอาจารย์ชาวต่างประเทศจากประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จำนวน 8  คน มาทำการสอนประจำในโรงเรียน  พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีมาช่วยสอนและเน้นการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง4)      จัดระบบการบริหารงานบุคลากรอย่างชัดเจน ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานตามความถนัด ความสามารถ ความสนใจ โดยเป็นกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายวิชาการ กิจการนักเรียน บุคลากร อาคาร-สถานที่ ธุรการ-การเงิน ความสัมพันธ์กับชุมชน รวมทั้งจัดตั้งกลุ่ม STAR (Small Team Activity Relationship) ให้ความร่วมมือช่วยเหลือในการพัฒนานักเรียนด้านการเรียน ด้านพฤติกรรม  และมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรทุกฝ่าย5)      จัดระบบการบริหารงานธุรการ-การเงินอย่างเป็นระบบ มีความโปร่งใส ถูกต้อง คล่องตัว อำนวยความสะดวกต่อการทำงานของทุกฝ่าย6)      จัดบริเวณ อาคารสถานที่ให้มีความสะอาด เรียบร้อย สวยงาม เอื้อต่อการเรียนการสอนและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ตลอดจนมีการจัดห้องประกอบเพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีห้องเรียน  สีเขียว (ได้รับการสนับสนุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) ห้องคอมพิวเตอร์ ศูนย์อินเตอร์เน็ต  ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพนักเรียน  ศูนย์ข้อมูลพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนสนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 7)      เสริมสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง   ชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน ในการจัดการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  โดยมีการประชุมร่วมกับคณะกรรมการอำนวยการโรงเรียน ซึ่งมีผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนศิษย์เก่า ผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมเป็นกรรมการ และมีการประชุมผู้ปกครองเครือข่าย เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง            จ. ประสบการณ์การปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน                  โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยาได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียนโดยส่งเสริมสนับสนุนให้มีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมและยึดหลักการกระจายอำนาจในการบริหารงาน ตลอดจนการตัดสินใจดำเนินงานของคณะกรรมการฝ่ายต่างๆในโรงเรียน เช่น คณะกรรมการสภาครู คณะกรรมการสายชั้น คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ     โดยเน้นระบบการบริหารงานโรงเรียนที่ยึด โรงเรียนเป็นฐาน SBM (School Based Management) ในเรื่องต่อไปนี้

 

1) การพัฒนาบุคลากร

-          โรงเรียนจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องโดยการจัดประชุม     อบรม สัมมนา ศึกษา-ดูงานด้านการเรียนการสอนทั้งในประเทศและ   ต่างประเทศ-          จัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยนครูและผู้บริหารกับสมาคมทางการศึกษา  ของประเทศสหรัฐอเมริกา  "Hopkins Education Association" เป็นประจำทุกปี  โดยมีครูและผู้บริหารโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา เดินทาง   ไปศึกษาดูงานด้านการศึกษา ณ มลรัฐมินนิโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 5 คน ออสเตรเลีย  2  คน-          จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในด้านการปฏิรูปการศึกษา และขอความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษาในการเป็นวิทยากรภูมิปัญญาชาวบ้านให้การอบรมความรู้แก่นักเรียน เช่น ด้านพิพิธภัณฑ์เรือไทย โดย อาจารย์ไพฑูรย์  ขาวมาลา  ด้านการสานพัด โดย อาจารย์ประสาน  เสถียรพันธุ์  เป็นต้น 2)      การจัดกระบวนการเรียนการสอน  ได้ดำเนินการดังนี้-          มีการปรับหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา โดยใช้บริบทอยุธยามรดกโลก- ส่งเสริมให้ครูพัฒนานวัตกรรมการสอนโดยใช้โมเดลของโรงเรียน หรือ JIRASART  Teaching's Model   ซึ่งได้นำพยัญชนะต้นชื่อโรงเรียนภาษาอังกฤษมากำหนด ดังนี้J มาจากคำว่า Joy to learn  หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้   ผู้เรียน มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง        ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง
มีความสุขในการเรียน
          
I มาจากคำว่า Integrating  knowledge หมายถึง การนำความรู้จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่หลากหลายมาบูรณาการสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่R มาจากคำว่า Reflecting observation  หมายถึง การสะท้อนความรู้สึกนึกคิดจากการสังเกต ออกมาเป็นคำพูด หรือการเขียนเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้ เข้าใจA มาจากคำว่า Acting experimentation  หมายถึง การลงมือปฏิบัติ/ ทดลอง     ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้S มาจากคำว่า Satisfaction หมายถึง ความภาคภูมิใจในผลงาน และการยอมรับความรู้ ความสามารถของตนเองและผู้อื่นA มาจากคำว่า Achievement  หมายถึง การมุ่งมั่นทำงานโดยใช้ความรู้ ความสามารถของตนเองและร่วมมือกับผู้อื่นดำเนินการจนสำเร็จR มาจากคำว่า Research & Development  หมายถึง การค้นหาปัญหา          ข้อบกพร่องของผลงานหรือการทำงานและหาทางปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นT มาจากคำว่า Teamwork  หมายถึง การรู้จักทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคคลอื่นครูสามารถดำเนินการสอนตามโมเดลการสอนของโรงเรียนจิระศาสตร์ได้ดังนี้1.      ขั้นการให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข (Joyfull to learning)ขั้นนี้เป็นการใช้เกม เพลง หรือกิจกรรมประกอบบทเรียน ให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น อยากเรียน  และได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้จาก                       ประสบการณ์ตรง2.      ขั้นการบูรณาการความรู้  (Integrating  knowledge)ขั้นนี้เป็นการทบทวนความรู้เดิมและการให้ความรู้ใหม่แก่นักเรียน                       โดยผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูลความรู้ที่หามาได้3.      ขั้นการสะท้อนความรู้สึกนึกคิด  (Reflecting observation)
หมายเลขบันทึก: 67007เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2006 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท