ผลกระทบทางสุขภาพจากนโยบายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิต่อผู้ให้บริการสุขภาพจังหวัดนครราชสีมา


นันทวัน อัครนันทกุล
สำนักงานสาธารณสุข อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา

ผลการวิจัย
– ผลกระทบสุขภาพมิติทางกายภาพด้านบวก คือ ร่างกายมีความกระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว และมีการออกกำลังกาย มิติทางกายด้านลบ คือ เกิดความเหนื่อยล้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะ ปวดท้อง พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลง นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ และไม่มีเวลาดูแลสุขภาพตนเอง

- ผลกระทบสุขภาพมิติทางจิตใจด้านบวก คือ มีใจรัก สนุกกับการทำงาน พึงพอใจในการทำงาน กระตือรือร้นการสร้างเสริมสุขภาพ มิติทางจิตใจด้านลบ คือ คับข้องใจ วิตกกังวล เกิดกความเครียด เบื่อหน่าย ไม่เป็นอิสระ ไม่มีกำลังใจในการทำงาน

– ผลกระทบสุขภาพมิติทางสังคมด้านบวก คือ มีความใกล้ชิด สังคมมีความเป็นมิตร มีความสามัคคี เป็นที่พึ่งพิงของประชาชน ได้รับความไว้วางใจและศรัทธา มิติทางสังคมด้านลบ คือ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เกิดความขัดแย้ง สวัสดิการไม่เพียงพอ ความไม่เท่าเทียมกันของวิชาชีพ และขาดขวัญกำลังใจ

- ผลกระทบสุขภาพมิติทางจิตวิญญาณด้านบวก คือ ภาคภูมิใจ เสียสละ อุทิศตน มีเกียรติศักดิ์ศรี และมีความเมตตา มิติทางจิตวิญญาณด้านลบ คือ รู้สึกด้อยค่า ไม่มีคุณค่า ได้รับเกียรติศักดิ์ศรี เคารพลดลง ความมั่นคงในอาชีพลดลง ไม่ได้รับความเมตตา มีการแก่งแย่ง เห็นแก่ตัว และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ลดลง

ผลกระทบที่เกิดขึ้น ควรมีการกำหนดนโยบายสาธารณะที่คำนึงถึงผลกระทบ ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ให้มีส่วนร่วม จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

จากการนำเสนอผลงานทางวิชาการ
การประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ประจำปี 2548


หมายเลขบันทึก: 66952เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2006 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท