ประเมินอธิการบดีแนวใหม่



ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายติดตามและประเมินผล ที่เป็นคณะกรรมการย่อยของสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เมื่อบ่ายวันเสาร์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๒    มีการยกประเด็นหลักการว่า การประเมินเพื่อพัฒนาต้องประเมินบ่อย   

ในการประชุมครั้งก่อน มีข้อยุติว่า การประเมินผู้บริหารให้เน้นประเมินเพื่อพัฒนา และมีการไปศึกษาระบบของ มช. ซึ่งใช้มานานหลายปี และได้ผลดีมาก    รวมทั้งท่านประธานคณะกรรมการนโยบายติดตามและประเมินผล (ศ. นพ. อาวุธ ศรีสุกรี) กับผม มีประสบการณ์ที่ มช.   จึงให้ข้อมูลรายละเอียดในเชิงประโยชน์ของการประเมินแนว มช. ได้มาก

แต่ของ มช. ประเมิน ๒ ครั้งใน ๑ วาระการดำรงตำแหน่ง ๔ ปี    คือประเมินตอนทำงานครบ ๑๘ เดือน  และตอนทำงานครบ ๓๖ เดือน    ไม่บ่อยนัก    คณะกรรมการได้แนวคิดประเมินบ่อยจากเทคนิค OKR (๑)     

เมื่อเสวนากันไปเรื่อยๆ  ก็ได้แนวความคิดว่า    ประเมินอธิการบดีในยุคนี้ต้องประเมินการบริหารการเปลี่ยนแปลง หรือบริหาร transformation   ไม่ใช่ประเมินการบริหารงานประจำ     หรืออาจแบ่งสัดส่วนการประเมินเป็น 80 : 20  (ให้น้ำหนักการบริหารการเปลี่ยนแปลงร้อยละ ๘๐   การบริหารงานประจำร้อยละ ๒๐)   

อธิการบดีต้องเสนอ transformation roadmap ต่อสภามหาวิทยาลัย    ระบุเป้าหมายระยะยาว  และระบุเป้าหมายรายทาง  (milestone) ทุกๆ ๓ เดือน    โดยที่น่าจะเขียนเป้าหมายรายทางแบบ OKR (๑)   ซึ่งหมายความว่าเน้นที่ Key Results เท่านั้น ไม่เอารายละเอียด     

แต่ละ ๓ เดือน ท่านอธิการบดี และคณะกรรมการประเมินเสวนากัน โดยมี OKR Report ของท่านอธิการบดีเป็นข้อมูล   เพื่อช่วยกันตีความข้อเรียนรู้ และข้อพึงปรับปรุงวิธีการที่เสนอใน roadmap    แล้วนำเสนอสภามหาวิทยาลัย    สภามหาวิทยาลัยก็จะได้ทำหน้าที่ university transformation governance อย่างทะมัดทแมง     และการบริหารงานของท่านอธิการบดีก็จะเน้นที่ transformation management  มากกว่า operation management ที่เดินตามแนวเดิมๆ

ทีมงานของท่านรองอธิการบดี ผศ. พงค์เทพ สุธีรวุฒิ จะไปรวบรวมสรุปประเด็นที่ระดมความคิดในวันนี้  ทำเป็น platform การประเมินอธิการบดีแนวใหม่   รวมทั้งยกร่างข้อบังคับ    เสนอที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายติดตามประเมินผลในวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๒    แล้วนำไปเสนอขอความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยในการประชุมวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๒  

วิจารณ์ พานิช 

๑๙ ส.ค. ๖๒


หมายเลขบันทึก: 668806เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2019 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2019 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การประเมินผู้บริหารมหาวิทยาลัย หากจะอาศัย Objectives and Key Results (OKR) เป็นเครื่องมือประเมิน ก็น่าที่จะต้องมีการประเมิน ปีละ 1 ครั้ง แทนการประเมิน 2 ครั้ง ต่อ 1 วาระ ผู้บริหาร (4-5 ปี) เพื่อให้ทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในระดับสากล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท