Transformative Learning ในโรงเรียนแพทย์



ผมได้รับ อีเมล์ จาก ศ. นพ. ดร. สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์ ดังต่อไปนี้

::สรุปประสบการณ์การใช้ Transformative learning ในหลักสูตรแพทยศาสตรศึกษา ผ่านการเข้าร่วม Non-technical skill teaching workshop จาก 10 สถาบัน::

ในการประชุม

1st Thai Transformative Learning for Medicine Forum

“Diversity in Medical Education About Non-Technical Skills Teaching”

เมื่อ 27-28 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

---------

การสรุปภาพรวมประกอบ 6 ประเด็น ที่ทำให้เห็นบรรยากาศของประสบการณ์การใช้ transformative learning ใน โรงเรียนแพทย์ได้ ดังนี้

1) Being of teacher

ผู้มาจัดกระบวนการทั้งหมดที่มาร่วมจัด workshop มีความ “เป็น” ในแบบที่สอน “เชื่อ” ในแบบที่สอน “เชื่อมั่น” ในการพัฒนาศักยภาพคน กล่าวคือ สอนอย่างที่ตนเองเป็น ประยุกต์การสอนที่มีหลักการไปในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นตนเอง มีความเชื่อในแบบที่ตนเองเชื่อว่าคนจะเปลี่ยนไปได้อย่างไร ทั้งนี้ ผู้สอนมีพื้นฐานแนวคิดที่อยากจะพัฒนาคน

2) การออกแบบการเรียนรู้ Non-technical skill

ใช้กระบวนการ Transformative learning ให้ผู้เรียนสัมผัสประสบการณ์ตรงผ่านการออกแบบ ใช้ Dilemma ที่กระตุ้นการเรียนรู้ผ่านร่างกาย ความรู้สึก และการคิดใคร่ครวญ นำไปสู่การเรียนรู้ความเข้าใจภายใน และอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน จะเห็นว่า การสัมมนาในครั้งนี้ ทุกหัวข้อเป็น Transformative learning มีการใช้ความรู้สึกนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายใน ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมหลายคนรู้สึกว่ามีการเปลี่ยนแปลงภายใน บางครั้งก็ไม่เปลี่ยนเพราะคนไม่ได้เปลี่ยนได้ง่าย ๆ

3) การสอน Non-technical skill

เป็นการสอนที่ใช้ทักษะของมนุษย์ที่สนับสนุนการปฏิบัติงานในวิชาชีพ และใช้ในกระบวนการ Transformative learning คือ Deep listening, Empathic communication, Self-reflection and sharing reflection (Dialogue), Mindfulness, Critical thinking ดังนั้น ผู้สอนต้องเรียนเครื่องมือการเรียนรู้เหล่านี้เพื่อที่จะนำไปใช้ด้วย

4) การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องภายใน

กระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต้องไปกระตุ้นการเกิด “ประสบการณ์ภายใน” ความรู้สึก ความคิด ความเชื่อ แรงบันดาลใจ จนถึงเชื่อมโยงผสานความเข้าใจกับตัวตนของแต่ละคนไปเชื่อมโยงกับตัวเราที่ภายใน

5) การเรียนรู้ที่มี “คน” เป็นศูนย์กลาง (People-centered learning paradigm)

กระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดให้ความสนใจในการทำความเข้าใจคนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเรียนรู้ “นักเรียน” “ครู” “คนไข้” สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ความเข้าใจใน “ความเป็นมนุษย์” (วิธีคิด/โลกภายใน/การแสดงออก) อยู่ในกระบวนทัศน์ให้เห็นความเป็นคน แล้วเชื่อมโยงนำไปใช้

6) นโยบายและการนำเข้าสู่หลักสูตร

Non-technical skills เป็นทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็น แต่ยังไม่ได้นำเข้าสู่หลักสูตร เนื่องจากผู้บริหารยังไม่เห็นความสำคัญหรือจำเป็น ยังไม่เห็นรูปธรรมของกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การสัมมนาในครั้งนี้หลายหัวข้อมีการอภิปรายประเด็นนี้ด้วย แต่ผู้บริหารบางสถาบันอาจยังไม่เห็นความสำคัญหรือไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ดังนั้น จึงเป็นประเด็นที่ท้าทาย เพราะธรรมชาติของ Transformative learning วัดเป็นรูปธรรมได้ยาก เและไม่ชัดเจนย ต้องมองผลลัพธ์ในเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ การหาสมดุลระหว่างการประเมินผลลัพธ์เชิงคุณภาพกับปริมาณจึงเป็นอีกประเด็นที่ท้าทาย

-------

ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มที่นี่

รายงานสรุป 1st Thai Transformative Learning for Medicine Forum 2019.pdf

ขอบคุณครับ

สุรศักดิ์

Summary tl2019 from Pattie KB
หมายเลขบันทึก: 668435เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2019 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2019 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท