งานจากวิจัยชินกาลมาลีปกรณ์ตอน.เมืองนครเขลางค์ (จังหวัดลำปาง)โดยอาจารย์สุภัชชา.แกมนาค


งานจากวิจัยชินกาลมาลีปกรณ์ตอน.เมืองนครเขลางค์ (จังหวัดลำปาง)โดยอาจารย์สุภัชชา.แกมนาค

ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง


เมืองเขลางค์นครเกิดจากการสร้างบ้านแปงเมืองของแคว้นหริภุญชัย ซึ่งขยายข้าม ขุนตาลมาสร้างเมืองแห่งใหม่ใบริเวณที่ไม่ห่างไกลกันมากนัก โดยเฉพาะพระนางจามเทวีส่งพญาอนันตยศโอรสมาครองเขลางค์นคร ตำนานอ้างถึงฤๅษีสุพรหมเป็นผู้แนะนำเลือกทำเลสร้างเมืองเขลางค์ที่ริมน้ำฝั่งตะวันตก เขลางค์นครเมืองรุ่นแรกตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ผังเมืองรูปหอยสังข์หรือวงรีขนาดประมาณ ๖๐๐x๑,๔๐๐ เมตร การสร้างใช้วิธีปรับกำแพงเมืองให้โค้งตามแนวแม่น้ำวัง ในชินกาลมาลีปกรณ์ได้กล่าวถึงการสร้างเมืองนครเขลางค์ ไว้ว่า 
“เมื่อพระเจ้ามังรายรบกับพระเจ้าญี่บาได้ชัยชนะแล้วพระเจ้าญี่บาพร้อมด้วยบริวารเสด็จหนีไปนครเขลางค์ ถึงแม้เสด็จไปยังนครเขลางค์แล้วไม่อาจยับยั้งอยู่ได้ จึงเสด็จหนีไปทางทิศใต้พร้อมกับเจ้านครเขลางค์ผู้เป็น พระราชอนุราชาของพระองค์ เมื่อกษัตริย์ทั้งสองหนีไปทางทิศใต้พระเจ้ามังรายได้แต่งตั้งชนชาติมิลักขะ ผู้หนึ่งให้เป็นใหญ่ในนครเขลางค์ และมิลักขะผู้เป็นใหญ่ขึ้นนั้นได้ชักชวนชาวนครทั้งหมดละทิ้งนครเขลางเก่าเสีย แล้วสร้างเมืองเขลางค์ใหม่นี้ขึ้น เมื่อปีฉลู จุลศักราช ๖๖๓(พ.ศ.๑๘๔๕) ตั้งแต่ปีนั้นมาจนถึงปีจุลศักราช ๘๗๘(พ.ศ. ๒o๖o) นครเขลางค์นั้นมี เจ้าครองราชย์สมบัติ ๕๕ พระองค์ตามลำดับนับจำนวนปีล่วงแล้วได้ ๒๑๕ ปี”

ในภาพอาจจะมี สถานที่ในร่ม
ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, กำลังยืน
ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, เมฆ และสถานที่กลางแจ้ง
ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป
หมายเลขบันทึก: 668122เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2019 19:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2019 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท