แนวทางการพัฒนาคุณภาพสินค้า OTOP ของวิสาหกิจชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดาวเรือง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม และความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ส่งผลต่อแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มนี้ โดยการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ประธานและสมาชิก ประกอบกับการศึกษาเชิงปริมาณโดยการสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยววัด 7 แห่งใน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า วิสาหกิจชุมชนควรพัฒนาสินค้า บริการ บรรจุภัณฑ์และป้ายฉลาก อยู่ในระดับมาก โดยสื่อถึงจุดเด่นของความเป็นไทยหรือวัฒนธรรมท้องถิ่น คุณภาพ ทั้งด้านประโยชน์ใช้สอย รสชาติ ความสะอาด ปลอดภัย และความสะดวก ส่วนด้านภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ นักท่องเที่ยวต้องการให้วิสาหกิจชุมชนพัฒนาสินค้าที่อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ความเป็นไทยและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนการสื่อสารภาพลักษณ์ โดยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เชื่อมโยงกับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตหรือสื่อถึงวัฒนธรรม ประธานและสมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีความเห็นว่าความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ต้องการพัฒนาคือบรรจุภัณฑ์สอดคล้องกับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวและความหลากหลายของประเภทสินค้าเป็นแนวทางการพัฒนาที่แข่งขันได้

หมายเลขบันทึก: 667600เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2019 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2019 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท