กิจกรรมบำบัดมืออาชีพมีเหตุผลคลินิก


ขอบพระคุณนักศึกษากิจกรรมบำบัดปี 4 ที่มีพลังตั้งใจถอดบทเรียนกรณีศึกษาได้อย่างดีมีทักษะเมตตาปัญญาครับ

การให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัด ประกอบไปด้วย 3 รูปแบบใหญ่ ได้แก่ 

  1. Scientific Reasoning (SR): การให้เหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ หมายถึง การรับรู้สึกอย่างเป็นระบบต่อกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด 
  2. Narrative Reasoning (NR): การให้เหตุผลแบบแปลความ หมายถึง การเล่าเรื่องเพื่อเข้าใจการเข้าถึงบริบทในกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด
  3. Pragmatic Reasoning (PR): การนำ SR กับ NR มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนร่วมงานและพี่เลี้ยงถึงคุณค่าของกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด

เมื่อมองในกระบวนการทำงานบริการทางกิจกรรมบำบัด เราจะสื่อสารเพื่อเกิดคุณภาพของการให้เหตุผลทางคลินิกข้างต้นตามมาตราฐานวิชาชีพกิจกรรมบำบัดหรือ SOP (Standard of Practice) ได้นั้น เราจำเป็นต้องฝึกฝน "ทักษะการให้เหตุผลประกอบกันตั้งแต่เป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัด(ที่ขีดเส้น) จนพัฒนาตามประสบการณ์ทางคลินิกมากกว่า 10 ปี รวม 3 ประการ" ได้แก่ 

  • Procedural Reasoning Skills คือ ทักษะการสืบค้นหานิยามของปัญหาและเลือกการรักษาที่แก้ปัญหาได้เหมาะสม พัฒนาจนมีประสบการณ์มากขึ้นจนเกิดทักษะการแนะนำตั้งคำถามชวนคิดถึง "ความสามารถทางร่างกายของผู้รับบริการที่ควรเพิ่มจากที่มีอยู่ (Improve) คงไว้ไม่ให้เสื่อมถอย (Maintain) หรือ เพิ่มจากที่ไม่มีอยู่เลย (Restore)"
  • Interactive Reasoning Skills คือ ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์พบหน้าระหว่างนักกิจกรรมบำบัดกับผู้รับบริการ พัฒนาจนมีประสบการณ์มากขึ้นจนเกิดทักษะ "การทำความเข้าใจในผู้รับบริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์" 
  • Conditional Reasoning Skills คือ ทักษะการตระหนักรู้ใช้เหตุผลและใช้การรู้เองกับจินตนาการ (imagination & intuition) เพื่อวางภาพที่มีจิตมุ่งมั่นคิดดี พูดดี ทำดี ให้ผู้รับบริการได้พัฒนาความสุขความสามารถด้วยตนเองอย่างอิสระหรือได้รับการช่วยเหลือตามความเหมาะสมในปัจจุบันขณะและอนาคตตามบริบทสังคมจริง พัฒนาจนมีประสบการณ์มากขึ้นจนเกิดทักษะการเชื่อมโยงไปข้างหน้าว่า "ผู้รับบริการน่าจะมีความเป็นอยู่ดี (Well-being) ในการดูแลระยะยาวด้วยกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดอย่างไรและมีเงื่อนไขช่วยเหลือดูแลอย่างไร" 

ตัวอย่างรายงานสรุปการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัด 

•กรณีศึกษา ด.ช.เอ็ม (นามสมมติ) อายุ 8 ปี Dx: ADHD?  เมื่ออายุ 6 ปี

•การให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์ คุณแม่เล่าว่า ตอน 5 ปี คุณหมอบอกว่า เด็กไม่มีปัญหาใด ๆ แต่เมื่อคุณครูออกหนังสือถึงปัญหาพฤติกรรมไม่อยู่นิ่งในห้องเรียน คุณหมอสงสัยว่าเป็น ADHD จึงให้ยานาน 2 ปี อาการไม่อยู่นิ่งลดลงบ้าง เทียบเคียงในหมวด  Mental and behavioral disorders (F70-F98, ICD10)

การให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ด้านการวินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัด (ผลกระทบต่อ Current Occupational Role Performance)

“ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างจำกัดต่อกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่จำเป็น” ในกรณีศึกษานี้แสดงบทบาทเรียนหนังสือเก่ง แต่คุณแม่บุญธรรมจะสอนได้คนเดียว ไม่เชื่อฟังคุณครู ชอบเถียงคุณยาย พ่อแท้จริงเสียชีวิต แม่แท้จริงอยากทำแท้งตอนตั้งครรภ์กรณีศึกษานี้”

•Occupational Disruption: ความเจ็บป่วย การย้ายที่อยู่ชั่วคราว หรือ การว่างงานชั่วคราว

Occupational Imbalance: จากรูปแบบการใช้ชีวิตแต่ละบุคคลที่ไม่สามารถตอบสนองทางระบบสรีรวิทยา จิตวิทยา หรือความต้องการทางสังคม ไม่เกิดความพึงพอใจและไม่มีสุขภาพที่ดีได้ "เลือกเงื่อนไขนี้"

•Occupational Deprivation: การขาดโอกาสเข้าร่วมทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่จำเป็น เป็นเวลานานเนื่องด้วยความพิการ ความผิดทางคดีให้จำคุก หรือพื้นที่อาศัยแยกส่วนมาก

•Occupational Alienation: ประสบการณ์ชีวิตที่ขาดเป้าหมาย/คุณค่าสำคัญ-ปลอดภัยความรัก (ความหมาย) ทำให้รู้สึกแยกตัว ไร้อำนาจ คับข้องใจ เสียการควบคุม เป็นที่ครหาทางสังคม

•Occupational Injustice: การได้รับความไม่เป็นธรรมทางสังคมจนถึงการไม่ได้รับสิทธิมนุษยชน เพื่อตอบสนองตามความต้องการที่แท้จริงแห่งตน เช่น คนชายขอบ/กลุ่มน้อย ผู้อพยพ ผู้ต้องขัง ผู้ติดสารเสพติด เด็กกำพร้า คนว่างงาน สตรีที่มีอาชีพขายบริการ ฯลฯ

1.การให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์กับการแปลความทางกิจกรรมบำบัด Scientific Narrative Reasoning ประกอบด้วย

1.1การให้เหตุผลวิธีการเมื่อค้นหาปัญหาที่ชัดเจนกับวิธีการเลือกสื่อกิจกรรมบำบัด Procedural Reasoning สร้างสัมพันธภาพให้เล่นชิงช้า หมุนในทิศทางตาม/ทวนเข็มนาฬิกาอย่างละ 10 รอบ พร้อมสังเกตไม่มี Nystagmus พูดคุยเก่งคิดเร็วแต่บางครั้งลิ้นรัวไม่ชัด เวลาตั้งคำถามเรื่องที่ไม่ชอบ จะขมวดคิ้วกระพริบตาแรง พร้อมจับอวัยวะเพศแล้วขอวิ่งไปปัสสาวะ หรือ เปลี่ยนของเล่นอย่างเร็ว (Hyperactive Thinking) จึงเลือกวิธีการเคาะระหว่างคิ้ว หางตา และใต้ตา พร้อมพูด “มั่นใจ มั่นใจ มั่นใจ” พร้อมสอบถามเช็คการมองทีละข้างพบ ข้างซ้ายชัดกว่าข้างขวา (ถนัดขวา) และใช้เสียงกระซิบข้างหูขวา แล้วกอดไร้เสียง 20 วินาที พร้อมให้เด็กนับช้า ๆ เป็นเสียงกระซิบพร้อมคุณแม่ 1-90 เพื่อทำให้ผ่อนคลายอารมณ์หวาดกลัว โดยเฉพาะเกาะแขนคุณแม่แน่นมากเวลาให้หลับตาเดินไปกลับเต็นท์ ชอบเล่นอิสระด้วยความคิดเป็นของตัวเอง คือ การประกอบบ้านที่อยากมีห้องนอนส่วนตัว ไม่ชอบอยู่กับคุณยาย โดยให้เป็นเงื่อนไขเป็นรางวัลแบบเวลานอกนาน 15 นาที มีการฝึกเดิน Hand Under Hand ฝึกกล้าเสียบปลั๊กไฟกระพริบ สะท้อนว่าชอบเรียนรู้ด้วยการรับรู้ทางการมองเห็นดีเยี่ยม พร้อมฝึกถามการแบ่งปันช่วยเหลืองานบ้านคุณแม่ที่บ้าน ต้องกระตุ้นชี้นำด้วยคำพูดเพื่อเพิ่ม Empathy
1.2การให้เหตุผลปฏิสัมพันธ์เมื่อพบหน้ากรณีศึกษา Interactive Reasoning ใช้ Rapport (Therapeutic Relationship) และ
Environmental Modification
สังเกตการเล่นกับการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่เด็กเลือกเองจากง่ายไปยาก คือ ลืมตาแข่งใส่เหรียญ OX ลืมตาสวมสีรูปทรงตามแบบ หลับตาสลับลืมตาระลึกจำสีรูปทรงแล้วสวมตามแบบที่ให้ดูได้ไม่เกิน 3 รอบ จะใช้เวลา 20 นาทีในการเล่นเรียนรู้แบบตั้งถามแล้วขอร้องให้เพิ่มความสนใจจนสำเร็จเป็นรูปธรรม คือ แข่งชนะ OX 3 รอบ สวมสีรูปทรงใส่หลักครบถ้วน 3 รอบ

1.3การให้เหตุผลเงื่อนไขเมื่อตัดสินด้วยเหตุผล จินตนาการ และหยั่งรู้ด้วยตนเอง
เพื่อกำหนดบริบทปัจจุบันถึงอนาคตที่เหมาะสมกับสถานการณ์ชีวิตจริงของกรณีศึกษา Conditional Reasoning ใช้กรอบอ้างอิง PEOP + PERMA + SEL

        2.เปิดวงอภิปรายระหว่างเพื่อนร่วมงานและพี่เลี้ยงว่าจะจัดการความขัดแย้งระหว่างคุณค่าที่กรณีศึกษาควรได้รับกับการใช้สื่อกิจกรรมบำบัดที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมในคลินิก เรียก การให้เหตุผลแบบปฏิบัติดี Pragmatic Reasoning

        2.1การให้เหตุผลวิธีการเพื่อแนะนำให้นักกิจกรรมบำบัดคิดถึงความสามารถที่เป็นปัญหาแท้จริง Procedural Reasoning ปัญหาอยู่ที่ขาด Positive Communication ในครอบครัวและโรงเรียนโดยเฉพาะไม่เร่งรีบเข้าห้องน้ำและทานอาหารที่บ้าน 

        2.2การให้เหตุผลปฏิสัมพันธ์เพื่อแนะนำให้นักกิจกรรมบำบัดเข้าใจความเป็นมนุษย์ของกรณีศึกษา Interactive Reasoning ปัญหาอยู่ที่ขาดความสมดุลระหว่าง Playfulness & Mindfulness เพื่อป้องกัน Social Phobia และส่งเสริม Emotional Stability เช่น Physical Exertion Combat/Team Sport และ Lovely Kindness Meditation

        2.3การให้เหตุผลเงื่อนไขเพื่อแนะนำให้นักกิจกรรมบำบัดตั้งเป้าหมายในทักษะที่ควรจะเป็นตลอดชีวิตของกรณีศึกษา Conditional Reasoning คลิกเรียนรู้ Guideline Evidence Based Practice ในเด็กที่มี Gifted Visuospatial Learner คลิกที่นี่ 

        3. บทสรุปความก้าวหน้าของกรณีศึกษานี้

        S: กรณีศึกษามีความต้องการเป็นอิสระผ่านการเล่นสิ่งของที่อาศัยทักษะการรับรู้ทางการมองเห็นได้ดีเยี่ยม เพียงแค่การบังคับกรอบความคิดด้วยเวลา การบ้าน และกิจกรรมที่โรงเรียนแบบ "ครูคิดแทนเด็ก" ส่งเสริมให้คุณแม่สื่อสารเป็นบทบาทครูที่บ้าน ทำให้ลูกขาดทักษะการปรับตัวและแสดงบทบาทลูกและหลานไม่เหมาะสมเกิดความขัดแย้งควบคุมอารมณ์หงุดหงิดได้ไม่ดีนักกับคุณยาย

        O: กรณีศึกษาชอบความเป็นส่วนตัวและมีความคิดฟุ้งตามอารมณ์อยากเล่นหลายอย่างด้วยตนเอง เมื่อมีการให้มานั่งเล่นระหว่างการให้คุณแม่ได้แนะนำแบบให้ "ลูกคิดเอง" กับการให้ลูกเป็น "ผู้นำคุณแม่" สะท้อนให้คุณแม่มองเห็นศักยภาพของลูกได้ดีขึ้น และเห็นข้อปรับปรุงทักษะการสื่อสารแบบตั้งคำถาม แบบรับฟัง และแบบอ่านภาษากายลูกมากขึ้น ที่สำคัญเรียนรู้การสัมผัสแบบคิดน้อยๆ ให้กำลังใจด้วยการกอดและเบี่ยงเบนอารมณ์ลบของลูกผ่านการกระซิบนับข้างหูขวาทำให้ผ่อนคลายแม่ลูกมากขึ้น 

        A: กรณีศึกษามี Occupational Imbalance โดยเฉพาะต้องการฝึกทักษะการปรับตัวด้าน Social Emotional Learning Flow มากขึ้น 

        P: ได้สาธิตและทดลองโปรแกรม Hugging, Touch & Talk for Relaxation, Lovely Kindness Meditation เป็นการบ้านก่อนนอน รวมทั้ง Positive Communication with Sandwich Feedback เน้น Deep Listening & Sequencing (Semi-structured Learning Activities)  พร้อมส่งคลิปตัวอย่างกิจกรรมให้ทางไลน์คุณแม่ ได้แก่ การตีกลองช่วยระยายแรงขับได้ดี การเล่นกีฬาที่ได้ทักษะเรียนรู้อารมณ์สังคม การเล่นกีฬากับคุณพ่อหรือต้นแบบเพื่อนผู้ชาย กิจกรรมบำบัดกับเด็กสมาธิสั้น และในเย็นวันนั้นคุณแม่ได้ซื้ออุปกรณ์ต่อยมวยไว้เล่นกับลูกที่บ้านพร้อมบอกว่า "สนุกดีเมื่อได้เล่นกีฬากับลูก" นักกิจกรรมบำบัดจึงตั้งเป้าหมายให้คุณแม่สังเกตความก้าวหน้าของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ลูกมีสมาธิจดจ่อให้สื่อสารอารมณ์ดีขึ้นได้อย่างชัดเจนใน 21 วัน ด้วยกิจกรรมบำบัดแบบ "ชวนเล่นแบบพ่อแม่ลูกน่าจะสนุก ได้กำลังร่างกายและชวนคลายเครียดเวลาลูกหงุดหงิดเถียงคุณยาย" หากไม่ดีขึ้นให้นัดหมายประเมินซ้ำที่คลินิกกิจกรรมบำบัด 

        4. เรื่องเล่าความสุขความสามารถที่ดีขึ้นภายในตัวเรากับตัวผู้รับบริการเป็นอย่างไรบ้าง

         จากไลน์สื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคุณแม่กรณีศึกษากับผมในฐานะนักกิจกรรมบำบัด เมื่อมองกรอบคิดทางกิจกรรมบำบัดที่ผสมผสานตั้งแต่ PEOP MoHo และ Recovery Model ทำให้ผมมองย้อนไปในวัย 3-5 ปี ของกรณีศึกษาที่ขาดต้นแบบการพัฒนาทักษะเรียนรู้การแสดงอารมณ์เพื่อสื่อสารความรู้สึกนึกคิดแก่สังคมเล็กๆ รอบตัวคือครอบครัว แม้ว่าจะมีพ่อแม่บุญธรรม แต่น่าสังเกตว่า "เมื่อพูดถึงคุณยายผู้เป็นแม่ของคุณพ่อของกรณีศึกษาแท้จริงก็เกิดสัมพันธภาพขัดแย้ง" รวมทั้งถ้าย้อนไปในชีวิตของกรณีศึกษาตั้งแต่อยู่ท้องของคุณแม่จริงที่มีความคิดลบไม่อยากมีลูกคนนี้ย่อมส่งผลในทางทุกขภาวะจิตวิญญาญ ตามความเชื่อของผมที่นักกิจกรรมบำบัดต้นแบบท่านหนึ่งของผมอธิบายออกมาเป็น PsychoSpritual Integration (PSI) Model ซึ่งตรงกับหลักพุทธธรรมที่ว่า "มนุษย์ย่อมเกิดไปตามกรรม" ผมจึงเรียนรู้ต่อยอดว่า "กรรมพันธุ์ ทางพุทธศาสตร์กับการแพทย์ มีความเชื่อมโยงกับ พันธุกรรม ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์" ดังนั้นหน้าที่ของนักกิจกรรมบำบัดจึงควรใช้ถ่ายทอดการประเมินและการฝึกฝนทักษะการเรียนรู้อารมณ์เพื่อสื่อสารทางสังคมให้ไหลลื่นตามกรอบคิดทางการศึกษาสำหรับการพัฒนาเด็กวัยเรียนด้วยจิตวิทยาเชิงบวก หรือ Social Emotional Learning Flow ซึ่งผมลองสร้างอุปลักษณ์เพื่อจะได้จำง่ายเป็น SELF เพราะสื่อบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดที่สำคัญคือ Therapeutic Use of Self-Conscious จึงทำให้ผมสะท้อนการเรียนรู้ที่ว่า "การมีสติรู้ทันอารมณ์หงุดหงิดแห่งตนในกรณีศึกษารายนี้ ย่อมท้าทายให้ฝึกจิตมุ่งมั่นตั้งใจช่วยเหลือด้วยทักษะเมตตาปัญญา...พึงมีสัมปชัญญะรู้จริงว่า ทำไมกรณีศึกษารายนี้ถึงหงุดหงิดสมาธิสั้น และด้วยความคิดฟุ้งมากมายจนเข้าถึงใจของกรณีศึกษารายนี้ทำให้มองเห็นเส้นทางพัฒนาศักยภาพความสุขความสามารถจากการเล่นอิสระและมีความฉลาดทางอารมณ์เกิดขึ้นเมื่อมีโอกาสได้ฝึกเป็นผู้นำสื่อสารการเล่นผ่านทักษะความจำและความคิดความเข้าใจด้วยการรับรู้ทางการมองเห็นที่เกินวัย" ขอบพระคุณกรณีศึกษารายนี้ที่ทำให้ผมเรียนรู้ความเป็นมืออาชีพทางกิจกรรมบำบัดมากขึ้นครับ  


        5. สาระสำคัญเพิ่มเติมสำหรับนักกิจกรรมบำบัดทุกท่าน 

        เกือบท้ายสุด มีนักกิจกรรมบำบัดมากมายได้ยังไม่ได้มีโอกาสใช้มาตราฐานวิชาชีพเพื่อประเมินคุณภาพงานบริการต่อการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัดต่อรายผู้รับบริการ โดยเฉพาะทักษะการให้เหตุผลด้านจริยธรรม ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเชิงระบบการประกอบโรคศิลป์ ดังนั้นผมจึงแนะนำให้พิจารณามาตรฐานการปฏิบัติงานที่ 2 กับ 5 เป็นการเริ่มต้นครับ
         

        ท้ายสุด เพื่อสะดวกในการแสดงบทบาทวิชาชีพด้านหัตถการที่จำเป็นทางกิจกรรมบำบัดแก่สหวิชาชีพทางการแพทย์ ผมได้สรุปอ้างอิงจากมาตราฐานวิชาชีพมาให้เห็นภาพรวมดังนี้ 

        หัตถการที่จำเป็นทางกิจกรรมบำบัด: เทคนิคด้านชีวกลศาสตร์ เทคนิคด้านประสาทพัฒนาการ เทคนิคด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ เทคนิคด้านพัฒนาการ เทคนิคการบูรณาการประสาทความรู้สึก เทคนิคการรับรู้ความรู้สึกและการเคลื่อนไหว เทคนิคการกระตุ้นการดูด การเคี้ยวและการกลืน เทคนิคการปรับพฤติกรรมในการทำงานและการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต เทคนิคการเรียนการสอน เทคนิคการวิเคราะห์และสังเคราะห์กิจกรรม เทคนิคการจัดกิจกรรมกลุ่ม เทคนิคการพันผ้ายืด เทคนิคการจัดการกับแผลเป็นนูน เทคนิคการผ่อนคลาย การออกแบบ ดัดแปลงและจัดทำอุปกรณ์ประคองและอุปกรณ์ดาม การออกแบบ ดัดแปลงและจัดทำอุปกรณ์เครื่องช่วยในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต การฝึกการใช้แขนและมือเทียม การฝึกการใช้เครื่องดามแขนและมือ การฝึกทักษะการทำงานของมือ การฝึกทักษะการดูแลตนเองและกิจวัตรประจำวัน การฝึกความสามารถด้านการรับรู้และการเรียนรู้ การเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกพูด การฝึกความสามารถด้านความคิดความเข้าใจ การวัดสัญญาณชีพ การฝึกทักษะกล้ามเนื้อใบหน้าและช่องปาก การฝึก การกระตุ้นการดูด การเคี้ยวและการกลืน เทคนิคการจัดการเวลาในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต เทคนิคการสงวนพลังงานในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต เทคนิคการให้คำปรึกษาทางกิจกรรมบำบัด และเทคนิคการออกแบบ ดัดแปลงและปรับปรุงสภาพบ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน

          หมายเลขบันทึก: 667335เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2019 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2019 12:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


          ความเห็น (0)

          ไม่มีความเห็น

          พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
          ClassStart
          ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
          ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
          ClassStart Books
          โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท