การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรม เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5


ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรม เพื่อพัฒนา

                สมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้วิจัย   :  นายแสงชัย เตารัตน์

หน่วยงาน  :  โรงเรียนโพธิ์ธาตุประชาสรรค์  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ

ปีที่วิจัย ปี 2559–2560

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรม เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรม เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แหล่งข้อมูลคือ 1) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนในเขตอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 14 คน 2) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 ที่เรียนโรงเรียน โพธิ์ธาตุประชาสรรค์ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คน จาก 2 ห้องเรียน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 42 คน ขั้นตอนที่ 3 และขั้นตอนที่4 การศึกษาผลการใช้และความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรม เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แหล่งข้อมูลที่ใช้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนโพธิ์ธาตุประชาสรรค์ อำเภอวังหินจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม(Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนการสอนของครูคณิตศาสตร์ 2) แบบสอบถามความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรม เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 4) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STADเรื่อง ลำดับและอนุกรม เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรม เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 6) แบบวัดสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 7) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test dependent samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า

       1.1 สภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนคณิตศาสตร์โดยรวมสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.32 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน0.92 พบว่าครูส่วนใหญ่สอนนักเรียนให้ทักษะในการคิดคำนวณ แต่ยังเน้นสอนให้นักเรียนจำสูตร หลักการและวิธีการมากกว่าการเปิดโอกาสให้นักเรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย

       1.2 ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เป็นปัญหาของครู โดยภาพรวมมีปัญหา 3 อันดับมากสุด คือ 1)ขาดนวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนและ3) ครูขาดการพัฒนาเทคนิคการสอนแบบใหม่ ๆ ส่วนปัญหาที่เกิดจากนักเรียนโดยภาพรวมมี 3 อันดับมากสุด คือ 1) นักเรียนมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ต่ำ2) นักเรียนขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์คิดแก้ปัญหา และ3) นักเรียนขาดความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์

       1.3 ความต้องการของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์มากที่สุดคือ ต้องการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่ทันสมัยและลำดับถัดมาคือต้องพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ในหัวข้อใหม่ ๆ อย่างหลากหลาย โดยเน้นให้สามารถนำไปใช้ได้จริง

       1.4 ความต้องการในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์3 อันดับแรก คือ 1) ครูกำหนดกิจกรรมการเรียนให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของนักเรียน2) เพื่อนร่วมชั้นเรียนมีความพร้อม มุ่งมั่นในการเรียน และ 3)เพื่อนร่วมชั้นเรียนมีความกล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าตอบ

2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรม เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 75.70/77.38 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

3. ผลการเปรียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

4. สมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรูแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากซึ่งพบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสูด 7.95 คิดเป็นร้อยละ79.50 รองลงมา คือ ด้านความสามารถในการคิดคำนวณ มีค่าเฉลี่ย 7.80คิดเป็นร้อยละ 78.00 ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านความสามารถในการแก้ปัญหา มีค่าเฉลี่ย 7.75 คิดเป็นร้อยละ74.50

5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ลำดับและอนุกรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64

หมายเลขบันทึก: 666473เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2019 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2019 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท