กระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบ 5 E


ครู คือ ผู้ตื่น ผู้ใฝ่รู้ ผู้พัฒนาตน

หลักการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ ใช้แนวดำเนินการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีการผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้ สัดส่วนสมดุลกันเพื่อการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
หลักสูตรที่ใช้ในโรงเรียนปัจจุบัน  เน้นให้ผู้สอนจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีสอนที่หลากหลายอย่างเป็นกระบวนการ  เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดทักษะวิธีการหาความรู้ สามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตจริง       ดังนั้น  ผู้สอนจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิควิธีสอนแบบต่าง ๆ และสามารถใช้วิธีสอนเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง  ถึงจุดมุ่งหมาย ขั้นตอนการสอน  ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนแบบต่าง ๆ ตลอดจนข้อควรคำนึงถึงในการนำไปใช้ เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีสอนได้อย่างเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนการสอน
วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ของ สสวท.
 ในปัจจุบันตามแนวการจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สสวท. ได้เสนอกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ถูกปรับเปลี่ยนจากแนวคู่มือครูตามหลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ที่มีขั้นตอนของการสอนเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1)  การนำเข้าสู่บทเรียน 2)  การอภิปรายก่อนการทดลอง  3)  การดำเนินการทดลอง
4)  การอภิปรายหลังการทดลอง และ 5) การสรุปผลการทดลอง
 กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 5 E ซึ่งใช้กระบวนการที่เป็นวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (inquiry cycle) มี 5 ขั้นตอน คือ กระบวนการสืบเสาะหาความรูประกอบดวยขั้นตอนที่สําคัญ ดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ (engagement) เป็นการนําเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเองหรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กําลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคําถาม กําหนดประเด็นที่จะศึกษา ในกรณีที่ยัง ไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่าง ๆ หรือเป็นผู้กระตุ้นด้วยการเสนอประเด็นขึ้นมา    ก่อน แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคําถามที่ครูกําลังสนใจเป็นเรื่องที่จะใช้ศึกษา
เมื่อมีคําถามที่น่าสนใจ และนักเรียนส่วนใหญ่ยอมรับให้เป็นประเด็นที่ต้องการศึกษา จึงร่วมกันกําหนดขอบเขตและแจกแจงรายละเอียดของเรื่องที่จะศึกษาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น อาจรวมทั้งการรวบรวมความรู้ประสบการณ์เดิม หรือความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่จะช่วยให้นําไปสู่ความเข้าใจเรื่องหรือประเด็นที่จะศึกษามากขึ้น และมีแนวทางที่ใช้ในการสํารวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย
2) ขั้นสํารวจและค้นหา (exploration) เมื่อทําความเข้าใจในประเด็นหรือคําถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกําหนดแนวทางการสํารวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กําหนดทางเลือกที่
เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจ
ทําได้หลายวิธี เช่น ทําการทดลอง ทํากิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์
จําลอง (simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่ง
ข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสํารวจตรวจสอบ แล้วจึงนําข้อมูล ข้อสนเทศ ที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนําเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจําลองทางคณิตศาสตร์ หรือรูปวาด สร้างตาราง ฯลฯ การค้นพบในขั้นนี้อาจ    เป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้ โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กําหนดไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้
4) ขั้นขยายความรู้ (elaboration) เป็นการนําความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือนําแบบจําลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่นๆ ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่าง ๆ ได้มากก็แสดงว่าข้อจํากัดน้อย ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ และทําให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น
5) ขั้นประเมิน (evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนําไปสู่การนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ

หมายเลขบันทึก: 66245เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2006 18:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ ดีจังค่ะ กำลังค้นหากระบวนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 5E กำลังจะไปห้องสมุดค้นหาเพื่อนำไปวิเคราะห์ทฤษฎีเพื่อนำมาจัดกระบวนเรียนรู้ให้เด่นชัด เป็นขั้นตอนการสอน ตอนนี้ไม่ต้องไปแล้ว เจอแล้วค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

อ.อุ๋ม

มาทักทายอาจารย์ นามสกุลคุ้นๆๆนะครับ อิอิอิๆๆ คนที่บ้านกลับมาจากสมาธิหรือยังครับ...

ขอบคุณมากนะคะสำหรับข้อมูลดีๆ

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลดีๆ

ครูอยากเป็นชำนาญการพิเศษ

ขอบคุณค่ะ กำลังค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้พอดีค่ะ ขอขอบคุณท่านที่เป็นแหล่งข้อมูลที่ยอดเยี่ยมค่ะ

พัชรินทร์ เจริญไทย

ขอบคุณค่ะ ข้อมูลมีประโยชน์ต่องานในหน้าที่มากเลยค่ะ

ขอบคุณนะคะกำลังอยากรู้พอดี

เรียนท่านอาจารย์ท่ีเคารพอย่างสูง ดิฉันทำผลงานวิชาการ โดยใช้ กระบวนการจัดกิจกรรเรียนรู้มแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ได้ปรับปรุง

ข้อความ ข้อหนึ่ง ว่า " แผนการสอนควรเขียนให้ครบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ " การเขียนแผนการสอน ถ้าเรายึดกระบวนการแบบสืบเสาะหาความรู้แล้ว ต้องระบุกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อีกหรือไม่อย่างไร ขอความกรุณาอาจารย์ให้ความกระจ่างด้วยนะคะ ขอบพระคุณมาก

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะที่กรุณาให้ข้อมูลดีๆอย่างนี้  ขอให้ผลบุญนี้ส่งผลให้ท่านอาจารย์และครอบครัวพบแต่ความสุขความเจริญนะคะ

ดีนะ ถือเป็นความรู้ใหม่ได้เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท