มุมมองต่อการอ่าน “จิตจดจำ”


หลังจากชีวิตบริจาคหนังสือไปเนืองๆ จนแทบไม่เหลือ แต่อุปนิสัยก็หาใหม่มาเรื่อย ได้มาก็แจกไป 10 กว่าปีที่ผ่านมาการอ่านลดลง เน้นการปฏิบัติดูจิตดูใจ การอ่านจึงอาจเป็นเพียงการรีวิวเพื่อตรวจสอบความเข้าใจในสิ่งที่ผุดขึ้นว่าให้ความหมายตรงกันไหม

เมื่อวานลอง Note ความคิดไว้ว่า

ถ้ามีหนังสือ 1 หมื่นเล่ม

อ่านวันละ 1 เล่ม ประมาณ 27 ปี 4 เดือนถึงจะอ่านจบเป็นอย่างต่ำ

ตอนนี้อายุ 46 ปี

แสดงว่าประมาณอายุ 73 ปีอ่านหมด

แม่เจ้าอ่านจนแก่เฒ่าเลยล่ะ

แต่ดูลักษณะหนังสือแล้วเป็นไปไม่ได้เลยที่จะอ่านจบวันละหนึ่งเล่ม 

วันนี้แอบได้มาอีก 5 เล่ม

ยังไม่รวมที่ดองไว้อีก

คงต้องเร่งแล้วล่ะ

หรือเช้านี้สะท้อนคิดในตนเองว่า

การกลับมาสัมผัสหนังสือดีดีมากมายอีกครั้ง

ทำให้ฉันเกิดการตื่นรู้ปลุกพลังด้านในให้พุ่งไปข้างหน้าด้วยสภาวะ ที่เรียกว่า Inspiration นั่นสะท้อนได้ว่า Passion ที่นอนเนื่องอยู่ในจิต ไม่เคยหยุดทำงาน

ตัวรู้ผุดขึ้นมาว่า

ทุกวันนี้คนอ่านน้อยลง วิถีการอ่านเปลี่ยนไป แล้วเราจะสามารถส่งเสริมอุปนิสัยการอ่านให้แฝงฝังในดวงจิตเป็นนิสัยอันยาวนานให้ผู้คนได้อย่างไร

หลายๆเดือนที่ผ่านมา

เกิดปิ๊งแว้ปขึ้นมาว่าการอ่านอย่างเดียวน่าจะไม่ได้ผลดีเท่ากับอ่านและเขียนเพราะการเขียน คือ การทำ Self-Reflection ขณะที่อ่านจิตจะเป็นสมาธิ และเมื่ออ่านจบลงมือเขียนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ จะช่วยให้เกิดการจัดระบบโครงสร้างทางปัญญาชัดขึ้นว่าเกิดการเรียนรู้อะไร หรือตัวรู้อะไรบ้างจากการอ่านนั้นหรืออาจผุดเกิดเป็น New Knowledge หรือ New Mindset ในกระบวนการเรียนรู้นี้ได้

ฝึกฝนบ่อยๆ จิตจะจดจำ

ทักษะด้านในจะเกิดขึ้น การฝึกฝนในตนเองจะเป็นแบบเนียนในวิถีไม่แยกส่วนสมาธิ-ปัญญาโอกาสเกิดขึ้นทุกขณะจิต

#SelfReflection

28-06-62


หมายเลขบันทึก: 662318เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2019 06:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มิถุนายน 2019 06:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พี่เกษียณแล้ว มาเลือกหนังสือมากองรวมกันเพื่อเตรียมอ่าน ปรากฏว่ายังไม่ได้อ่านผ่านมา 1 ปี ยังอ่านแต่งานวิจัยให้น้องๆและนักศึกษาเช่นเดิม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท