(174) 'เด็กขาดแคลนรุนแรง' กับ 'ความหวังและการมองโลกในแง่ดี'


ดิฉันอ่านด้วยความซาบซึ้งเป็นพิเศษ เนื่องจากมีประสบการณ์ตรงเป็นเด็กขาดแคลนอย่างรุนแรง แต่เอาตัวรอดมาได้ เนื่องจากปัจจัยหนึ่งในนั้นคือ สังคมในวัยเด็กไม่โหดร้ายเหมือนสมัยนี้

จากบทความเรื่อง 'สอนเข้ม เพื่อศิษย์ขาดแคลน ๙. กระตุ้นความหวังและการมองโลกในแง่ดี' (https://www.gotoknow.org/posts/662175)  ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ตีความจากหนังสือ Poor Students, Rich Teaching : Seven High-Impact Mindsets for Students from Poverty (Revised Edition, 2019) เขียนโดย Eric Jensen ผู้ที่ในวัยเด็กมีประสบการณ์การเป็นเด็กขาดแคลนอย่างรุนแรง และมีปัญหาการเรียน และเคยเป็นครูมาก่อน ..

ดิฉันอ่านด้วยความซาบซึ้งเป็นพิเศษ เนื่องจากมีประสบการณ์ตรงเป็นเด็กขาดแคลนอย่างรุนแรง แต่เอาตัวรอดมาได้ เนื่องจากปัจจัยหนึ่งในนั้นคือ สังคมในวัยเด็กไม่โหดร้ายเหมือนสมัยนี้ ผู้คนยังมีความเอื้ออาทรต่อกัน แม้จะถึงกับต้องเก็บเศษอาหารในถังขยะประทังชีวิตบ่อยครั้ง แต่ก็ยังมีผู้คนใจดีหยิบยื่นหรือโยนสิ่งของเหลือกินเหลือใช้ให้บ้าง หรือแลกกับการเรียกใช้งานเป็นครั้งคราวบ้างก็ตาม

เมื่อถึงคราวเติบใหญ่ พึ่งพาตนเองได้ ดิฉันพยายามมอบประสบการณ์ดีๆ ให้แก่คนรอบข้างในระยะที่พอทำได้ ตัวอย่างเหตุการณ์หนึ่งคือเรื่อง ‘การพิจารณาทุนการศึกษาของลูกหลานพระศรีมหาโพธิ์’ (อนุทิน 18 มี.ค.2556) ดิฉันขายความคิดเรื่องการสร้าง Trust ต่อสังคมให้แก่เด็กๆ ขาดแคลนผ่านการการพิจารณาทุนการศึกษาฯ ปี 2555-56 ภายใต้แนวคิดไม่นำคะแนนหรือเกรดการเรียนของเด็กมาพิจารณาให้ทุน เนื่องจากเด็กขาดแคลนมีแนวโน้มมีผลการเรียนไม่ดี ขอเพียงมั่นใจว่าครอบครัวของเด็กยากจนและพ่อแม่ผู้ปกครองซึ่งเป็นบุคลากรของโรงพยาบาลเป็นคนดี ก็เพียงพอจะได้รับทุนการศึกษาทุกคน  

โดย ‘เรา’ ทั้งช่วยกันหาเงินบริจาคและควักเงินในกระเป๋าตนเองมารวมกันให้ครบตามยอดที่ต้องการ รวมทั้งร่วมกันร่างกฎระเบียบใหม่ที่ยืดหยุ่นกว่าเดิมไว้สำหรับปีถัดไป เพื่อรับประกันว่าลูกหลานพระศรีฯ ที่ยากจนจะได้รับทุนการศึกษามากขึ้น พ่อแม่ของเขาเหล่านั้นก็จะมีกำลังใจ ตั้งใจทำงาน อุทิศตนมากขึ้นเช่นกัน

เป็นหลักฐานเล็กๆ ที่แสดงว่าเด็กขาดแคลนอย่างรุนแรงที่ได้สัมผัสสิ่งดีๆ จากสังคมแม้เพียงเล็กน้อย นั้นสร้างมุมมองโลกในแง่ดี และส่งต่อให้เด็กขาดแคลนรุ่นต่อไปได้ค่ะ

(ขอบคุณภาพจาก www.pexels.com)

หมายเลขบันทึก: 662197เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2019 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2019 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

… รับความรู้สึกน้องได้มากๆเลยเคยเป็นทำนองนั้นเช่นกัน…และได้ปรับปรุงระบบให้ทุนนักศึกษาส่วนหนึ่งด้วยเช่นกัน..… เป็นกำลังใจเสมอ..นะครับ-พี่ชาย ชยพร แอคะรัจน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท