กระบวนทัศน์และกลยุทธ์การสร้างความเป็นผู้นำวิชาการ


กระบวนทัศน์และกลยุทธ์การสร้างความเป็นผู้นำวิชาการ

กระบวนทัศน์และกลยุทธ์การสร้างความเป็นผู้นำวิชาการ

ดร.ถวิล อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4

เมื่อวันที่ 9-13 กรกฎาคม 2561 ได้มีโอกาสเข้ารับการพัฒนาหลักสูตรก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผอ.เขตฯ และรอง ผอ.เขตพื้นที่
การศึกษาเชี่ยวชาญที่สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา แม้จะ
ล่วงเลยมานานแล้ว แต่ก็มีเรื่องที่อยากจะนำมาถอดบทเรียน คือ กระบวนทัศน์และกลยุทธ์การสร้างความเป็นผู้นำวิชาการ ซึ่ง ดร. ชูชาติ
แก้วนอก (วิทยากรบรรยาย) เพราะผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยเฉพาะผู้บริหารระดับเชี่ยวชาญ จะต้องเป็นผู้นำทางด้านวิชาการ บริหารงานเพื่อให้ผู้เรียนมีสัมฤทธิผลทั้งด้านความรู้ (วิชาการ)และด้านคุณธรรม (คุณลักษณะที่พึงประสงค์) มีความอึดความทน แม้จะอยู่ในสภาพวิกฤติแห่งชีวิต ก็มีทักษะในการแก้ปัญหาเพื่อให้ตนเองแคล้วคลาดปลอดภัยได้

กระบวนทัศน์ (Paradigm)

กระบวนทัศน์ คำนี้ ไม่มีในพจนานุกรม มีแต่คำว่า กระบวน ซึ่งแปลว่าหมู่คน หรือพาหนะ

ทัศนะ เป็นมุมอง ความเห็น ท่าทีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

A paradigm is a standard, perspective, or set of ideas. A paradigm is a way of looking at something.

Paradigm หมายถึง มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ ความคิดเห็น มุมมองต่อบางสิ่งบางอย่าง

กระบวนคิดวิเคราะห์ วิธีคิด วิธีปฏิบัติ แนวการดำเนินชีวิต มาทบทวนใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับยุค และสถานการณ์ที่ กำลังเกิดขึ้น และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

แบบแผน หรือกรอบเค้าโครงที่กำหนดรูปแบบและแนวทางการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ ที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมองค์การ นโยบาย โครงสร้าง กระบวนการ เทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริหาร และแก้ปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับ ณ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง

(Holt & Richardson 1987, Kuhn, 1970)

“กระบวนทัศน์” คือ ชุดของกฎและกติกา

(ที่เป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร) ที่ทำสองอย่าง :

1) ทำหน้าที่วางหรือกำหนดกรอบ

2) ทำหน้าที่บอกเราว่าควรจะประพฤติปฏิบัติอย่างไรภายในกรอบเพื่อให้เกิดความสำเร็จ” รวมไปถึง “เราวัดความสำเร็จนั้นอย่างไร”

(Joel Arthur Barker)

แผนที่ เข็มทิศ ลายแทงหรือเครื่องมือที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบรรยาย อธิบาย และพยากรณ์ปรากฏการณ์และพฤติกรรม ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ตราบที่ยังมีความแกร่ง หรือ พลัง (vigor or force) ในการบรรยาย อธิบาย และพยากรณ์ แต่ถ้าความแกร่ง หรือพลัง ดังกล่าวหมดลง และมีกระบวนทัศน์ใหม่เข้ามาแข่งขัน ชุมชนนักวิชาการก็จะหันไปใช้กระบวนทัศน์ใหม่เช่นกัน (ติน ปรัชญพฤทธิ์, 2551)

องค์ประกอบของกระบวนทัศน์ (PARADIGM)

1. ภววิทยา (Ontology)

ภววิทยา มีคำถามว่า ความเป็นจริง คืออะไร ความเป็นจริงมีลักษณะเป็นสากล (universal) หรือมีลักษณะจำเพาะ (particular)

2. ญาณวิทยา (Epistemology) หรือ ทฤษฎีแห่งความรู้ เราจะรู้ความเป็นจริงได้อย่างไรด้วยสิ่งประจักษ์ด้วยความหมาย

3. วิธีวิทยา (Methodology)

วิธีวิทยา จะใช้วิธีการอะไร ในการได้ความรู้มา วิธีการทางวิทยาศาสตร์ interpretative understanding

การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์
(PARADIGM SHIFT)

1. เปลี่ยนจากการมองความจริงเชิงเดี่ยว ไปสู่การมองความจริงเชิงซ้อน (movement from single to complex realities)

2. เปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ จากการรวมศูนย์อำนาจ มาสู่การยอมรับความหลากหลาย (movement from hierarchic to heterarchical concept of order)

3. เปลี่ยนวิธีคิดเชิงเปรียบเทียบ ในการมองความเป็นจริง เชิงกลไก แบบแยกส่วน มาสู่การมองเป็นองค์รวม (movement from a mechanical to holographic metaphor)

4. เปลี่ยนวิธีคิดจากการมีปัจจัยกำหนดแน่นอนตายตัวมาสู่ปัจจัยของความไม่แน่นอน (movement from determinacy to interdeterminancy)

5. เปลี่ยนวิธีคิด เกี่ยวกับสาเหตุเชิงเส้น มาสู่การมีสาเหตุร่วมกัน (movement from linear to mutual causality)

6. เปลี่ยนการมองสถานการณ์ หรือปรากฏการณ์ ที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนย่อย ๆ มาสู่การเกิดขึ้นร่วมกัน (joint together) ของสิ่งนั้น ๆ หรือองค์ประกอบที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นั้น ๆ ขึ้นมา

(movement from assembly to morphogenesis)

7. เปลี่ยนการมอง อย่างเป็นปรนัยด้านเดียว มาสู่การมองอย่างลุ่มลึกรอบด้าน (movement from objective to perspectival views)

8. เปลี่ยนจากการบริหารเชิงเดี่ยว เป็นการบริหารแบบมีส่วนร่วม

9. เปลี่ยนการบริหารแบบยึดอัตตา เป็นการบริหารแบบประชาธิปไตย

10. เปลี่ยนการบริหารแบบเน้นกายภาพเป็นเน้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

กระบวนทัศน์การพัฒนา

รวมศูนย์อำนาจ กระจายอำนาจฐานของระบบชุมชน

ปฏิเสธจิตวิญญาณ ให้ความสำคัญของจิตวิญญาณ มายา

เน้นบทบาทผู้ชาย ความเสมอภาคทางเพศ

กลยุทธ์การสร้างความเป็นผู้นำทางวิชาการ

1. ทักษะการฟัง ทำให้รับรู้ข้อมูลข่าวสารซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการคิดและการพูด

2. ทักษะการถาม ทำให้เกิดประบวนการคิด การเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ เนื่องจากคำถามที่ดีทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ตั้งแต่ระดับการจำไปจนถึง ระดับวิเคราะห์และประเมินค่า

3. ทักษะการอ่าน ทำให้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งนอกจากจะเป็นทักษะการอ่านข้อความ จะรวมถึงการอ่านสถิติ ข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์ต่างๆด้วย

4. ทักษะการคิด ทำให้บุคคลมองการไกล สามารถควบคุมการกระทำของตนให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ การคิดอย่างมีเหตุผลและมีวิจารณญาณ มีผลต่อการเรียนรู้ การตัดสินใจ และการแสดงพฤติกรรม

5. ทักษะการเขียน เป็นความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทัศนคติ และความรู้สึกออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเข้าใจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อวงการศึกษา(การหาความรู้) เนื่องจากบันทึกเหตุการณ์ ข้อมูล ความจริง ใช้เป็นหลักฐานเพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป

6. ทักษะการปฏิบัติ เป็นการลงมือกระทำจริงอย่างมีระบบเพื่อค้นหาความจริง และสามารถสรุปผลอย่างมีเหตุผลได้ด้วยตนเองเพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหา

คุณลักษณะของผู้นำวิชาการ มีดังนี้

1. มีใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง

2. วิสัยทัศน์กว้างไกล มองอนาคต เตรียมการได้ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

3. ทัศนคติเชิงบวก สามารถมองประเด็นทางบวกได้แม้บางกรณีอาจไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอบางประการ

4. สร้างสรรค์ สามารถคิด สร้างจินตนาการ หาแนวทางในการพัฒนาวิชาการ

5. มีมนุษยสัมพันธ์ดี ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

6. กล้าตัดสินใจ มีเหตุผลในการตัดสินใจ ตั้งใจจริงและกล้าที่จะตัดสินใจทำงานให้ประสบผลสำเร็จได้

7. รับผิดชอบ การมุ่งงานที่รับผิดชอบให้สำเร็จลุล่วงไปโดยไม่หวั่น หรือย่อท้อต่ออุปสรรค

8. เปิดโอกาส เปิดโอกาสให้อาจารย์รับความรู้เพิ่มเติม ส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์พัฒนา

สมรรถนะในการเป็นผู้นำทางวิชาการ : WIST

W : Wisdom (ปัญญา)

I : Integrity (ความซื่อตรง)

S : Sensitivity(ความรู้สึกไว)

T : Tenacity(ความแกร่ง)

Wisdom (ปัญญา)

1. สามารถสร้างวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตและดำเนินการตามวิสัยทัศน์ได้

2. มีการริเริ่มและฉลาดรอบคอบในการดำเนินการตามวิสัยทัศน์

3. มีความคิดเกี่ยวกับวิธีการทำงานและลักษณะของงานในอนาคต

4. สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้แก่ผู้ร่วมงาน และสามารถเป็นพี่เลี้ยงที่ปรึกษาได้

5. สามารถเข้าใจสถานการณ์โดยรวมและมองแนวโน้มต่าง ๆ ออก

6. สามารถจัดการปัญหาต่าง ๆในการทำงานในองค์กรได้ และเป็นนักสื่อสารและทำงานเป็นเครือข่าย

INTEGRITY (ความซื่อตรง)
1. แสดงให้เพื่อร่วมงานรู้ ว่าเรามีค่าควรแก่ความไว้วางใจ

2. อย่าดำเนินการใด ๆ โดยมีวาระซ่อนเร้น(Hidden Agendas)

3. ปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา

4. เมื่อถึงคราวจำเป็น อย่ากลัวที่จะเปิดเผย

5. สามารถที่จะบอกข่าวร้ายแก่ผู้อื่นได้

SENSITIVITY (ความรู้สึกไว)

1. ความรู้สึกไวในเชิงจัดการ

2. สามารถทำงานเป็นผู้ฝึกสอนได้

3. เป็นผู้ฟังที่ดี

4. สามารถพัฒนาผู้อื่นได้

5. เข้าใจถึงพลังของทีม และรู้ว่าจะทำงานกับทีมต่าง ๆ ได้อย่างไร

6. เข้าใจกระบวนการที่ดีประกอบด้วยอะไรบ้าง และรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะเกิดกระบวนการที่ดี

7. สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

8. เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้และในสถานการต่าง ๆ

9. มองหาโอกาสสำหรับอนาคตจากทุก ๆ เหตุการณ

10. มองหาโอกาสในการจูงใจผู้อื่น

11. สามารถโน้มน้าวชักจูงใจผู้อื่นได้

12. ความรู้สึกไวในเชิงคิด (Sensitivity in Thinking)

13. มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดนอกกรอบได้

14. ปรับตัวให้เข้ากับวิธีการเมื่อจำเป็น แต่ไม่จำกัดตัวเองอยู่ในกรอบการปฏิบัติแบบเก่า สามารถท้าทายความรู้ที่สืบทอดกันมา เพื่อทำลายกระทัศน์ต่าง ๆ ได้

15. สามารถรับมือกับวิธีการและความคิดเห็นอันหลากหลายได้เข้าใจว่าสิ่งจูงใจสำหรับคนแต่ละคนนั้น

ไม่เหมือนกัน และสามารถนำความเข้าใจไปใช้ประโยชน์ได้ สามารถคิดในเชิงกลยุทธ์ และสื่อสารกลยุทธ์นี้ออกไป โดยการสร้างทิศทางที่เป็นศูนย์กลางขององค์กร

TENACITY (ความแกร่ง)

มีความคุ้นเคยกับเครื่องมือทางกลยุทธ์ต่าง ๆ ยอมรับความเสี่ยงเมื่อจำเป็น ใจกล้าและชอบเสี่ยง ไม่หยุดนิ่งและมีพลังใจ มุมานะในการทำงาน แต่ก็สามารถรักษาความสมดุลระหว่างชีวิตครอบครัวกับวิธีการทำงานได้ สามารถรับมือกับความเครียดของตนเอง และของผู้อื่นได้ สามารถควบคุมท่าทีของตนเอง สามารถรับมือกับความล้มเหลว และความปราชัยได้ ไม่ย่อท้อ ไม่ยอมแพ้ เข้าใจและสามารถจัดการกับแรงกดดันของอำนาจได้ สามารถรับมือกับความไม่แน่นอนและช่วยให้ผู้อื่นรับมือกับมันได้ แสดงออกถึงการมองโลกในแง่ดี จัดการการเปลี่ยนแปลงได้ดี มีการวางแผนและดำเนินการจนสำเร็จ ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะได้ชื่อว่ามีความเป็นผู้นำทางวิชาการก็ต่อเมื่อจะคิดกลยุทธ์เพื่อพัฒนา ก็จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาการ เช่น ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เช่น

กลยุทธ์ที่ 1 สำนักงานเขตก้าวหน้าพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ

มีการดำเนินการขับเคลื่อนการบริหารการจัดการศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาการกกระบวนการบริหารจัดการที่ดี ยึดการสร้างความเข้มแข็งด้วยการพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การกระจายอำนาจ และเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสู่ป้าหมาย

กลยุทธ์ที่ 2 เด็กขยันเรียนรู้

มีแนวทางเสริมสร้างให้นักเรียนมีพฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่ตั้งใจเรียน หมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มาโรงเรียนเป็นประจำ ช่วยเหลืองานบ้านงานโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ

กลยุทธ์ที่ 3 ครูสอนดี

มีแนวทางเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของครูให้เป็นครูสอนดี สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้มีความหลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ใช้สื่อการสอนที่เหมาะสม มีการวัดผลและประเมินผลที่ตรงกับสภาพจริง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น

กลยุทธ์ที่ 4 ห้องเรียนมีคุณภาพ

ส่งเสริมให้ครูจัดทำห้องเรียนมีคุณภาพ จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนและการจัดสภาพห้องเรียนที่สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความสวยงาม ตอบสนองต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ตามความเหมาะสม และบริบทของโรงเรียน

ฯลฯ

สรุป

ผู้นำในกระบวนทัศน์ใหม่ ต้องมีความเข้าใจในกระบวนทัศน์ หรือ Paradigm โดยเฉพาะ กระบวนทัศน์ที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างผู้นำทางวิชาการ การบริหารงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ทั้งด้านความรู้และคุณธรรม หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความต้องการของสังคม ท้องถิ่นและประเทศชาติ เช่น อ่านออกเขียนได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ มีผลสัมฤทธิ์เป็นเลิศ ก่อเกิดงานอาชีพ เร่งรีบพัฒนาเทคโนโลยีมีการพัฒนาหลักสูตร อ่านพูดภาษาอังกฤษ ส่งเสริมให้คิดวิเคราะห์ บ่มเพาะด้านคุณธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง และเคียงคู่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

หมายเลขบันทึก: 661516เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2019 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2019 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท