เรื่องกล้วยๆ แต่กวนด้วยมะขามไม่ลองไม่รู้


                             กล้วยน้ำว้าเป็นพืชอาหารที่มีความใกล้ชิดกับคนไทยมาเนินนานแล้ว สมัยเก่าเด็กเกิดขึ้นมาก็จะใช้กล้วยน้ำว้าสุกงอมบดป้อนให้เด็กได้ทาน ซึ่งจะพบได้ตามชนบททั่วไปในปัจจุบัน แต่ตามหลักการแพทย์นั้นอาจทำให้เด็กท้องอืดเป็นอันตรายได้ถ้าเป็นเด็กแรกเกิด จึงควรใช้กับเด็กอายุ 4 เดือนขึ้นไป ผู้เขียนได้ติดตามดูแลการเกษตรของเกษตรกรในเขตของตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท พบว่าเกษตรกรนิยมปลูกกล้วยน้ำหว้ากันมากบริเวณหลังบ้านพักและหัวไร่ปลายนา อีกทั้งปลูกในส่วนไม้ผลที่ปลูกใหม่เพื่อเป็นร่มเงาให้กับไม้ผลที่ยังไม่แข็งแรงและเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งก่อนที่จะได้ผลผลิตหลัก ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกประมาณ 215 ไร่ แต่การดูแลรักษานั้นมีไม่มากนักส่วนใหญ่จะปล่อยทิ้งดังนั้นจึงขอให้ดูแลบ้าง เพียงหมั่นแยกหน่อทิ้งบ้าง ในกอหนึ่งๆ ควรมีกล้วยประมาณ 2 - 4 ต้น จะได้ไม่แย่งอาหารกัน เมื่อกล้วยออกดอก (ปลี) และติดผลเต็มที่แล้ว ควรตัดปลีที่เหลือทิ้ง ผลกล้วยจะโตได้รวดเร็ว และให้ผลขนาดใหญ่ ปัญหาที่พบคือผลผลิตที่มีออกมากในฤดูการจะมีมากทำให้ราคาตกต่ำ จึงส่งเสริมให้เกษตรกรนำมาแปรรูป เพื่อการเพิ่มมูลค่าผลผลิต ดังนั้นในช่วงนี้กล้วยน้ำว้าออกสู่ตลาดมาก จึงขอนำผู้อ่านรับทราบการแปรรูปกล้วยภายใต้โครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย ของอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท

                          นางศุทธินี ฉิมแป้น เกษตรกรรุ่นใหม่วัย 45 ปี เปิดเผยว่าก่อนที่จะมาทำการเกษตรเคยทำงานเป็นธุรการในบริษัทเอกชน แม้ว่าเงินเดือนจะมากพอประมาณแต่เมื่อดูความมั่นคงและความสุขที่แท้จริงนั้นไม่มี จะได้รายรับเป็นรายเดือนและจะใช้หมดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้รับอีกเมื่อสิ้นเดือนเป็นแบบนี้ จึงต้องมาทบทวนและตัดสินใจหวนกลับคืนถิ่นเพื่อสร้างงานในพื้นที่ของครอบครัว แต่เมื่อดำเนินงานผ่านมาระยะหนึ่ง ได้แนะนำให้สามี(นายสามารถ ฉิมแป้น)ไปเข้าร่วมอบรม “ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์” กับสำนักงานเกษตรอำเภอหันคา กรมส่งเสริมการเกษตร ได้แนวคิดและองค์ความรู้ต่างๆ มาแลกเปลี่ยนและพัฒนากิจกรรมทางด้านการเกษตรมาโดยตลอด ส่วนใหญ่จะเน้นหนักในเรื่องของความปลอดภัย และตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง แต่เมื่อมองดูเพื่อนเกษตรกรแล้วต้องเป็นห่วงเพราะในสถานการณ์ปัจจุบันผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ ราคาตกต่ำ ข้าวราคาถูก แต่ต้นทุนสูง ทำให้มีสภาวะด้านการเงินไม่พอใช้จ่ายในครัวเรือน และผลผลิตล้นตลาด เพราะปลูกพร้อมกันจำนวนมาก โดยเฉพาะกล้วยน้ำหว้า ซึ่งก่อนนี้กล้วยมีการปลูกกันมาก เนื่องจากราคาแพง ทำให้มีคนปลูกมากขึ้น จึงให้ราคาถูกลงมาก และบางคนไม่สามารถขายได้ เพระไม่มีคนมาซื้อ จึงต้องหาวิธีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและ เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร โดยการนำกล้วยมาแปรรูปเป็นกล้วยอบเนย และทำการเพาะถั่วงอกอินทรีย์ เพื่อเสริมรายได้ไปอีกทางหนึ่ง ให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้นดังนั้น เมื่อมีโครงการเสริมสร้างรายได้เพื่อเกษตรกรรายย่อย จึงรวมกลุ่มเป็นกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติบ้านท่าแก้ว มีสมาชิกจำนวน 30 ราย ที่ทำการที่ 116 หมู่ 8 ต.ห้วยงู อ.หันคา จ.ชัยนาท เพื่อให้ เกษตรกรในชุมชนมีอาชีพเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากอาชีพทำนา มีการนำสินค้าทางการเกษตรมาแปรรูปให้เกิดมูลค่าที่สูงขึ้น และปรับเปลี่ยนและพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่องให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายเพื่อจัดทำแผนธุรกิจเสนอต่อคณะกรรมการ ดังนี้คือ กล้วยอบเนย(กล้วยอบเนยเบรกแตก) ปริมาณผลผลิตรวมประมาณ 400 กิโลกรัมต่อเดือน รวมรายรับสุทธิประมาณ 14,000 บาทต่อเดือน การเพาะถั่วงอกอินทรีย์ในปัจจุบัน ปริมาณผลผลิตรวมประมาณ 1,200 กิโลกรัมต่อเดือนรวมรายรับสุทธิประมาณ 18,000 บาทต่อเดือน

                         นางศุทธินี ฉิมแป้น กล่าวเสริมว่า งบประมาณที่ได้รับเพื่อนำมาจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ และ วัตถุดิบหมุนเวียนในการทำกล้วยอบเนย (น้ำตาล เนย เกลือ) ซึ่งมีวิธีการทำไม่ยุ่งยากมากนักคือ นำกล้วยมาปอกเปลือก แช่น้ำสารส้มเพื่อไม่ให้ดำจากยางกล้วย แล้วทำการสไล้กล้วยเป็นแผ่นบางๆ จะทำให้กล้วยฉาบมีความกรอบอร่อย(จึงตั้งชื่อกล้วยเบรกแตก อร่อยจนหยุดไม่อยู่) ทิ้งไว้ให้แห้งหมาดๆ ผสมน้ำตาล เนย เกลือเข้าด้วยกัน จากนั้นนำกล้วยลงทอดพร้อมกับส่วนผสมน้ำตาล เนย เกลือที่ทำไว้ ตามอัตราที่กำหนด ทอดจนเหลือง นำขึ้นพักไว้จนเย็น จนได้ความกรอบ ทำการบรรจุลงถุงบรรจุ ตามที่ลูกค้าต้องการสำหรับการเพาะถั่วงอกอินทรีย์ นำงบประมาณจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ และ วัตถุดิบหมุนเวียนในการทำเพาะถั่วงอก แล้วทำการเพาะถั่วงอก โดยการแช่น้ำทำความสะอาดถั่วเขียว แช่น้ำอุ่น แล้วทำการโรย หลายๆ ชั้น โดยมีกระสอบป่านขั้นแต่ละชั้น แล้วทำการรดน้ำ ประมาณ 3 วัน ก็ทำการเก็บ และบรรจุจำหน่ายได้ ผู้สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 081-7556537 ยินดีต้อนรับค่ะนายเกษม ไตรพิจารณ์ เกษตรจังหวัดชัยนาท กล่าวเสริมถึงผู้อ่านว่า จังหวัดชัยนาทมีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางด้านพืชพันธุ์ธัญญาหาร อีกทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมากมายเหมาะที่จะได้มีการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต ซึ่งผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่มเกษตรกรรายย่อย กลุ่มต่างๆ ของจังหวัดชัยนาทนั้น มีมากมายหลายอย่างท้าทายการลองลิ้มรสชาติหรือนำไปใช้ของผู้บริโภคซึ่งจะไม่ได้รับเพียงสินค้าที่ทรงคุณภาพเท่านั้นที่ได้รับแต่ยังมีส่วนสร้างงานสร้างรายได้ สร้างกำลังใจเกิดความคิดสร้างสรร ก่อเกิดความเข้มแข็งของชุมชนพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 661487เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2019 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2019 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท