วายังอมฤต : สุนทรียะอันเนิบช้า


วายังอมฤต : สุนทรียะอันเนิบช้า 

เมื่อคืนหยิบหนังสือขึ้นมาบรรจงอ่านในแต่ละวรรคตอนเพื่อซึมซับและเรียนรู้ถึงการผูกโยงเรื่องราวความเป็นไปในขณะเดียวกันก็ได้รับความรู้มุมมองความคิดและความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ ภายใต้ตัวอักษรการอ่านแบบละเมียดละไมแม้จะใช้เวลาช้าแต่ก็ทำให้ได้รู้สึกถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในใจเรา (feeling about feeling) ยอมรับค่ะว่าลักษณะการอ่านเช่นนี้ช่วยทำให้หัวใจอ่อนโยนได้อยู่เสมอ 

โดยอุปนิสัยส่วนตัวเวลาที่อ่านหนังสือ ที่ผ่านมาได้ฝึกฝนตัวเองให้อ่านแบบเอาความ อ่านเอาความเอาเรื่องราวบทสรุป พร้อมคาดเดาสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อออกมา นานนานครั้งค่อยน้อมตัวเองอ่านแบบละเมียดละไมเช่นนี้

ขณะที่อ่านอยู่นั้น

ได้ตั้งข้อสังเกตกับตัวเองว่า “อ้อสายตาของเราที่ไม่ปกติก็เพราะอุปนิสัยของการชอบนอนอ่านหนังสือ สายตาจึงมีทั้งสายตาสั้นสายตายาวและสายตาเอียง” 

การนอนอ่านหนังสือเสมือนการได้อยู่กับตัวเองและมีบุคคลพร้อมที่จะสนทนา ภายใต้ตัวอักษรอยู่ตลอดเวลา

“วายังอมฤต” เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งและซับซ้อนบอกได้เลยว่าผู้เขียนผูกโยงเรื่องราวได้อย่างแยบยลต้องใช้สมาธิอย่างมากเพื่อที่ตัวเองจะได้ไม่สับสนจากการสื่อสารภายในเนื้อความ

เคยอ่านหนังสือลักษณะเช่นนี้อ่านไปอ่านมาแล้วค่อนข้าง “งง” 

แต่สำหรับเล่นนี้อ่านได้สบายสบายและก็ไม่เร่งเร้าตัวเองที่จะรีบอ่านให้จบ

ปรารถนาที่จะสะท้อนคิดภายในตัวเองไปพร้อมพร้อมกัน

จำได้ว่ามีหนังสือเล่มหนึ่งที่สามารถอดทนอ่านได้คล้ายหนังสือวายังอมฤตเล่มนี้ คือ “100 ปีแห่งความโดดเดี่ยว” [1] การอ่านหนังสือลักษณะเช่นนี้ทำให้สะท้อนเห็นถึงสภาวะการมีสมาธิและจิตจดจ่อของเราเองในหลายหลายคนจะได้สมาธิจากการฝึกปฏิบัติที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป แต่สำหรับการอ่านเป็นการฝึกสมาธิ ที่ทำให้บุคคลเราได้ในเรื่องของทักษะการคิดไปด้วย ทำให้นึกถึงคำว่าสุตมยปัญญา จินตมายปัญญา 

“สุตะ”แต่อาจจะหมายถึงแค่การฟังหรือมากกว่าการฟังก็ได้ 

ในทัศนะส่วนตัวการอ่านก็หมายถึงการฟังผู้เขียนสื่อสารออกมาแบบไร้เสียงโดยใช้ตัวอักษรเป็นตัวแทนของความในใจ

พลิกแผ่นหน้ากระดาษไปได้ไม่นานประมาณสี่ห้าบทก็ต้องวางลง เพราะไม่ต้องการที่จะให้เกิดสภาวะแห่งความลุ่มหลงและไหลไปตามเนื้อความในตัวอักษรและเรื่องราว

นึกย้อนไปสมัยก่อนการใช้เวลากับหนังสือในหลายหลายเล่มใช้ความต่อเนื่องอย่างยาวนานเพื่ออยากให้จบไปให้ถึงบทสรุปของหนังสือเล่มนั้นนั้น

แต่ทุกวันนี้การอ่านอย่างเพลิดเพลินเช่นเดิมนั้น อาจจะทำให้เราพลาดโอกาสของการได้ใคร่ครวญสะท้อนคิดในตนเอง จึงอ่านแล้ววางพร้อมตั้งคำถามต่อตนเองไปได้เรื่อยๆ ลักษณะเช่นนี้ “จิตซึมซับ” ต่อการถ่ายทอดจากเบื้องหลังอักษรแต่ละคำแต่ละประโยคได้ดียิ่ง

19-04-62

[2] บทเริ่มต้น

หมายเลขบันทึก: 661182เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2019 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2019 07:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท