สืบสานโครงการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี ต่อยอดด้วยนวัตกรรมปัจจุบัน ส่วนของการชลประทาน


สืบสานโครงการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี ต่อยอดด้วยนวัตกรรมปัจจุบัน ส่วนของการชลประทาน

....สืบสาน .....

ระบบชลประทาน ในพื้นที่โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง หัวใจสำคัญคือ ใช้วิธีการสูบน้ำขึ้นพักไว้ในที่สูงและปล่อยให้น้ำไหลลงตามแรงโน้มถ่วง  ใช้การสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากการไฟฟ้า   ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งเป็นภาระของเกษตรกรที่จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าสูบน้ำ ผ่านสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด 

....ต่อยอด.......

เพิ่มการใช้เครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ นำมาผสมกับการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตทีีมีอยู่เดิม จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำ ขึ้นไว้ในที่สูงเพื่อปล่อยลงมาให้เกษตรกรทำการเกษตร

พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานฟรี ยังใช้ได้อีกหลายล้านปี
พื้นที่วางแผงโซลาเซลล์ สามารถวางเหนือผิวน้ำในแหล่งน้ำได้ ยังได้ประโยชน์จากการป้องกันน้ำระเหย กันผักตบชวาได้บางส่วน 

วิธีการนี้สามารถ ส่งน้ำไปสู่พืื้นที่ ที่สูงกว่าแหล่งน้ำโดยค่าใช้จ่ายต่ำ
วิธีการนี้จะสามารถ ทำพื้นที่แห้งแล้ง ให้เป็นพื้นที่สีเขียวได้
วิธีการนี้จะสามารถ ทำให้ทะเลทรายเป็นพื้นที่สีเขียวได้ 
วิธีการนี้จะสามารถ ลดโลกร้อนได้ในที่สุด กลายเป็นโลกฉ่ำเย็น  :)  
วิธีการนี้จะเกิดขึ้นได้เร็ว มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน ด้วยการบูรณาการหน่วยงานราชการ เอกชน และภาคประชาชนเข้าด้วยกัน
ที่เรียกว่า "ประชารัฐ" เข้าร่วมกันดำเนินการ เพื่อความสุขของประชาชน


แหล่งข้อมูลที่ค้นคว้า......

การจัดระบบชลประทานโครงการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หุบกะพง

จากการสำรวจเพื่อหาแหล่งน้ำ โดยกรมทรัพยากรธรณี ผลการขุดเจาะน้ำบาดาลเมื่อเริ่มโครงการฯ ปรากฏว่ามี ปริมาณน้ำน้อย เพียงพอต่อการบริโภคในเวลาอันจำกัดแต่ไม่พอที่จะนำมาใช้ประโยชน์ทำการเกษตร จึงได้มี การติดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าขึ้น ๒ แห่ง เพื่อสูบน้ำจากคลองชลประทานสายเขื่อนเพชรหัวหินมาตามท่อส่งน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐ นิ้ว และ ๑๒ นิ้ว ไปถังพักน้ำขนาดความจุ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ๒ แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณสูงจากระดับพื้นที่ของหมู่บ้านสมาชิก เพื่อให้เกิดแรงดันน้ำส่งเข้าหมู่บ้านสหกรณ์ ด้วยท่อน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘ นิ้ว และส่งต่อท่อตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กลง คือ ๖ นิ้ว และ ๔ นิ้ว โดยส่งเข้าสู่หมู่บ้าน ด้วยท่อส่งน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ นิ้ว ซึ่งสามารถเลี้ยงพื้นที่กว่า ๒,๐๐๐ ไร่ และได้ จัดระบบหมุนเวียนการใช้น้ำ สมาชิกแต่ละครอบครัวจะได้รับน้ำวันละ ๒ ชั่ว โมง และเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายกระแสไฟฟ้าสูบน้ำในรูป ธุรกิจบริการของสหกรณ์ กับมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อกักเก็บน้ำธรรมชาติจำนวน ๒ อ่าง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ หุบกะพง ความจุ ๒๕๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร และอ่างเก็บน้ำห้วยทรายหุบกะพง ความจุ ๗๐๔,๐๐๐ ลูกบาศก์ เมตร

https://web.ku.ac.th/king72/25...

ปัจจุบันโครงการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หุบกะพง ใช้ไฟฟ้าไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังน้ำเขื่อนแก่งกระจาน

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้พิจารณาติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เขื่อนแก่งกระจาน โดยติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 1 เครื่อง ขนาดกำลังผลิต 19,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงโดยมีสายส่งไฟฟ้าจากเขื่อนแก่งกระจานไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงชะอำ เป็นระยะทาง 40-41 กิโลเมตร เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2514 แล้วเสร็จและผลิตไฟฟ้าไดั เมื่อเดือนสิงหาคม 2514


https://th.wikipedia.org/wiki/...



ระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด โดยกรมโยธาธิการ (สนับสนุนโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน)

ก่อนการดำเนินการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในพื้นที่ที่พัฒนาแล้วจำนวน 240 ไร่ของสวนสมเด็จฯ มีเครื่องยนต์ดีเซลสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดไปเก็บไว้ในสระขนาด 6,400 ลูกบาศก์เมตร แล้วปล่อยน้ำโดยใช้แรงโน้มถ่วงเข้าสู่พื้นที่ด้านบนของสวนสมเด็จฯ แต่ปัจจุบันระบบเครื่องยนต์ดีเซลดังกล่าวไม่ได้ใช้งานเนื่องจากมีค่าเชื้อเพลิงที่สูงมาก เพราะเป็นระบบขนาดใหญ่ที่มีการสูบน้ำจำนวนมากและส่งน้ำไปในท่อระยะไกล

กรมโยธาธิการได้เข้าไปติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยพลังแสงอาทิตย์ที่ประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 6,600 วัตต์ เครื่องสูบน้ำมอเตอร์กระแสสลับ (positive displacement) ขนาด 4.5 แรงม้า จำนวน 4 เครื่อง อุปกรณ์ควบคุม 1 ชุด เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าและท่อส่งน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว เป็นระยะทาง 1,600 เมตร จำนวน 1 ชุด โดยเครื่องสูบน้ำจะทำงานด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ในเวลากลางวัน สูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดไปเก็บไว้ในสระน้ำทางด้านบนของสวนสมเด็จฯ ที่มีความจุ 2,000 ลูกบาศก์เมตร มีระยะยกน้ำสูง 15 เมตร เพื่อปล่อยน้ำลงพื้นที่เกษตร และไม่มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานรายวัน จึงทำให้ลดค่าดำเนินการและซ่อมบำรุงไปได้ อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดมลพิษแก่สิ่งแวดล้อม และไม่มีเสียงดังรบกวนจากเครื่องยนต์ดีเซล

http://www.eppo.go.th/royal/m1...


นำนวัตกรรมใหม่มาใช้กับการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หุบกะพง ร่วมกับพลังงานจากไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนแก่งกระจาน มาประกอบกัน 

https://www.nectec.or.th/innov...

พีระพงศ์ วาระเสน (ฺBobbie)   .......  ผู้ค้นหามาประกอบกัน
อรุณประดิษฐ์ 114  เตรียมอุดม 41 ม.เกษตร 40 วัดกำแพงแลง พ.ศ. 30 (บวช) NIDA พศ. (พัฒนาการเศรษฐกิจ)  :)
28 กุมภาพันธ์ 2561

หมายเลขบันทึก: 660146เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2019 04:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2019 04:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท