ศตวรรษที่ 21


ศตวรรษที่ 21

             ในช่วงของคริสต์ศตวรรษที่ 21 คือคริสต์ศตวรรษแรกของคริสต์สหัสวรรษที่ 3 และเป็นคริสต์ศตวรรษปัจจุบัน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2001 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2100 ซึ่งโลกในทุกวันนี้ได้มีการถูกพัฒนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางด้าน Technology และนวัตกรรม (Innovation) ต่างๆ ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้โลกปัจจุบันได้ก้าวเข้ามาสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างเต็มตัว ซึ่งเป็นยุคที่ Digital Technology  ที่เข้ามามีบทบาทและเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต (พัทฐรินทร์  โลหา, 2562)  

1.  ความหมายของทักษะศตวรรษที่ 21

          ความสนในเรื่องศตวรรษที่ 21 เริ่มขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยก่อนที่จะสิ้นศตวรรษที่ 20 พอเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ความคิดและข้อเสนอแนะก็ชัดเจนและเด่นชัดมากขึ้นความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของการคิดไว้ดังนี้

              วิจารณ์ พานิช (2555, น. 16-21) ทักษะศตวรรษที่ 21 หมายถึง  การจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ 

              School  in  focus (2556) ทักษะศตวรรษที่ 21 หมายถึง การก้าวข้ามพรมแดนไปได้ทั่วทุกมุมโลก  ซึ่งแวดวงทางการศึกษาทั่วโลกต่างก้าวพ้นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ครูเป็นศูนย์กลางมาเป็นการเรียนรู้ในแบบกระบวนทัศน์ใหม่  เรียกได้ว่าเป็นการจัดการศึกษายุคฐานแห่งเทคโนโลยี หรือ Technology  Based  Paradigm

              จินดารัตน์  โพธิ์นอก (2557) ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  (21st century skills; transversal skills) หมายถึง กลุ่มความรู้  ทักษะ และนิสัยการทำงาน  ที่เชื่อว่ามีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ทักษะดังกล่าวนี้เป็นผลจากการพัฒนากรอบความคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Learning Framework) โดยภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  (The Partnership for 21st  Century Skills)

             ไสว  ฟักขาว (2558, น. 1) ทักษะศตวรรษที่ 21 หมายถึง การเรียนรู้ เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา ควรเป็นการ เรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้

             จับจ่าย for school (2560) ทักษะศตวรรษที่ 21 หมายถึง รูปแบบการเรียนรู้ที่ต้องปรับปรุงไปเรื่อยๆ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย โดยเด็กนักเรียนจะมีการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น สร้างสรรค์ และท้าทาย มองเห็นปัญหาเป็นโจทย์ให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการแก้ไข ซึ่งทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21     

2.       องค์ประกอบของทักษะศตวรรษที่ 21

          จากศตวรรษที่ 20 สู่ศตวรรษที่ 21 ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทำให้เกิดเครือข่ายโทรคมนาคมดิจิทัลที่เชื่อมโยงโลกในแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ผ่านอุปกรณ์อีเล็กโทนิกส์ต่างๆ ที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เช่น คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่  ซึ่งปัจจุบันอุปกรณ์อีเล็กโทนิกส์เหล่านี้ ก็ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและกลายมาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทุกคนต้องมีไว้เพื่อตอบสนองต่อการก้าวทันการเติบโตของโลก ซึ่งมีนักการศึกษากล่าวไว้ ดังนี้

          วิจารณ์ พานิช (2555, น. 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้

           สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้

            สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย

            - ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
            - ศิลปะ
            - คณิตศาสตร์
            - การปกครองและหน้าที่พลเมือง
            - เศรษฐศาสตร์
           - วิทยาศาสตร์
           - ภูมิศาสตร์

           - ประวัติศาสตร์


               โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)

ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
การสื่อสารและการร่วมมือ

ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
ความรู้ด้านสารสนเทศ
ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
ความรู้ด้านเทคโนโลยี

ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)

ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C 3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)7C ได้แก่
Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

    แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และกรอบแนวคิด เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า เครือข่าย P21 ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความสำเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต

ไสว  ฟักขาว (2558, น. 2-10) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของทักษะศตวรรษที่ 21 ดังนี้

สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย 

1. ภาษาแม่ และภาษาส าคัญของโลก

2. ศิลปะ

3. คณิตศาสตร์

4. การปกครองและหน้าที่พลเมือง

5. เศรษฐศาสตร์

6. วิทยาศาสตร์

7. ภูมิศาสตร์

8. ประวัติศาสตร์

โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความ เข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไป ในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

1. ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)

2. ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็น ผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)

3. ความรู้ด้านการเป็นพลเมือง (Civic Literacy)

4. ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)

5. ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)  

ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อม ของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่

1. ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม

    1.1  การคิดอย่างสร้างสรรค์

    1.2  ทำงานกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์

    1.3  การสร้างนวัตกรรม  

2. การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา

    2.1 การให้เหตุผลอย่างมีประสิทธิผล

    2.2  การใช้การคิดอย่างเป็นระบบ

    2.3  การพิจารณาและการตัดสินใจ

 3. การสื่อสารและการร่วมมือ

    3.1  สื่อสารอย่างชัดเจน

    3.2  การร่วมมือกับผู้อื่น

ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมี ความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงาน ได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้

 1. ความรู้ด้านสารสนเทศ

    1.1 การเข้าถึงและการประเมินข้อมูลสารสนเทศ

    1.2 การใช้และการจัดการสารสนเทศ

 2. ความรู้เกี่ยวกับสื่อ

    2.1 การวิเคราะห์สื่อ

    2.2 การผลิตสื่อ

    2.3 การพิจารณาและตัดสินใจ

    2.4 การแก้ปัญหา

3. ความรู้ด้านเทคโนโลยี

    3.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างมปีระสิทธิภาพ

ทักษะด้านชีวิตและการทำงาน ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ ประสบความสำเร็จ ผู้เรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้

1. ความยืดหยุ่นและการปรับตัว

    1.1 ความยืดหยุ่น

    1.2 การปรับตัวเพื่อพรอ้มรับการเปลี่ยนแปลง

2. การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง 

    2.1  การวิเคราะห์สื่อ 

    2.2  การผลิตสื่อ 

    2.3  การพิจารณาและตัดสินใจ

3. ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม 

    3.1  มีปฏิสัมพันธ์อย่างมปีระสิทธิภาพกับผู้อื่น 

    3.2  ท างานอย่างมีประสิทธิภาพในทีมที่มีความหลากหลาย

4. การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบ เชื่อถือได้ (Accountability) 

    4.1  การวิเคราะห์สื่อ 

    4.2  การผลิตสื่อ

5. ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)  

    5.1  แนะนำผู้อื่นได้ 

    5.2  รับผิดชอบต่ออื่น

การพัฒนากรอบความคิดที่ครอบคลุมเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นั้นจำเป็นต้องจะต้องสร้างระบบส่งเสริมเพิ่มขึ้นจาก ทักษะเฉพาะด้าน องค์ความรู้ ความชำนาญการและความสามารถในการเรียนรู้ด้านต่างๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนรอบรู้ มีความสามารถที่จำเป็นและหลากหลาย ระบบส่งเสริม ให้นักเรียนได้รอบรู้ทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญ ในศตวรรษที่ 21 ไว้ด้วยกัน 5 ระบบ ดังนี้

1.1  เน้นทักษะ ความรู้และความเชี่ยวชาญที่เกิดกับผู้เรียน 

1.2  สร้างความรู้ความเข้าใจในการเรียนในเชิงสหวิทยาการ ระหว่างวิชาหลักที่เป็นจุดเน้น 

1.3  มุ่งเน้นการสร้างความรู้และเข้าใจในเชิงลึกมากกว่าการ สร้างความรู้แบบผิวเผิน

1.4  ยกระดับความสามารถผู้เรียนด้วยการให้ข้อมูลที่เป็นจริง การใช้สื่อหรือเครื่องมือที่มีคุณภาพจากการเรียนรู้ในสถานศึกษา การทำงาน และในการดารงชีวิตประจาวัน ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมายและ สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ 

1.5  ใช้หลักการวัดประเมินผลที่มีคุณภาพระดับสูง  

2. การประเมินผล 

2.1  สร้างความสมดุลในการประเมินผลเชิงคุณภาพ โดยการใช้ แบบทดสอบมาตรฐานสำหรับการทดสอบย่อยและทดสอบรวมสาหรับการ ประเมินผลในชั้นเรียน 

2.2  เน้นการนาประโยชน์ของผลสะท้อนจากการปฏิบัติของ ผู้เรียนมาปรับปรุงแก้ไขงาน 

2.3  ใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการทดสอบวัดและประเมินผลให้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 

2.4  สร้างและพัฒนาระบบแฟ้มสะสมงาน (Portfolios) ของ ผู้เรียนให้เป็นมาตรฐานและมีคุณภาพ 

3.  หลักสูตรและการสอน 

 3.1 การสอนให้เกิดทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้น เชิงสหวิทยาการของวิชาแกนหลัก  

3.2 สร้างโอกาสที่จะประยุกต์ทักษะเชิงบูรณาการข้ามสาระ เนื้อหา และสร้างระบบการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะเป็นฐาน (Competencybased)  

3.3 สร้างนวัตกรรมและวิธีการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการที่มี เทคโนโลยีเป็นตัวเกื้อหนุน การเรียนรู้แบบสืบค้น และวิธีการเรียนจากการใช้ ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) เพื่อการสร้างทักษะขั้นสูง ทางการคิด  

 4.  การพัฒนาทางวิชาชีพ 

     4.1 จุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อการสร้างครูให้เป็นผู้ที่มีทักษะความรู้ ความสามารถในเชิงบูรณาการ การใช้เครื่องมือและกำหนดยุทธศาสตร์สู่การ ปฏิบัติในชั้นเรียน และสร้างให้ครูมีความสามรรถในการวิเคราะห์และกำหนด กิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสม 

     4.2  สร้างความสมบูรณ์แบบในมิติของการสอนด้วยเทคนิค วิธีการสอนที่หลากหลาย

     4.3  สร้างให้ครูเป็นผู้มีทักษะความรู้ความสามารถในเชิงลึก เกี่ยวกับการแก้ปัญหา การคิดแบบวิจารณญาณ และทักษะด้านอื่นๆ ที่สำคัญ ต่อวิชาชีพ 

    4.4  เป็นยุคแห่งการสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพให้เกิดขึ้นกับครู เพื่อเป็นตัวแบบ (Model) แห่งการเรียนรู้ของชั้นเรียนที่จะนาไปสู่การสร้าง ทักษะการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพ 

    4.5  สร้างให้ครูเป็นผู้ที่มีความสามารถวิเคราะห์ผู้เรียนได้ทั้ง รูปแบบการเรียน สติปัญญา จุดอ่อนจุดแข็งในตัวผู้เรียน เหล่านี้เป็นต้น 

    4.6  ช่วยให้ครูได้เกิดการพัฒนาความสามารถให้สูงขึ้นเพื่อนำไป ใช้สำหรับการกำหนดกลยุทธ์ทางการสอนและจัดประสบการณ์ทางการเรียน ได้เหมาะสมกับบริบททางการเรียนรู้ 

    4.7 สนับสนุนให้เกิดการประเมินผู้เรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้าง ทักษะและเกิดการพัฒนาการเรียนรู้ 

    4.8 แบ่งปันความรู้ระหว่างชุมชนทางการเรียนรู้โดยใช้ช่องทาง หลากหลายในการสื่อสารให้เกิดขึ้น 

    4.9  สร้างให้เกิดตัวแบบที่มีการพัฒนาทางวิชาชีพได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน 

5. สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้

    5.1 สร้างสรรค์แนวปฏิบัติทางการเรียน การรับการสนับสนุน จากบุคลากรและสภาพ แวดล้อมทางกายภาพที่เกื้อหนุน เพื่อช่วยให้การ เรียนการสอนบรรลุผล 

    5.2  สนับสนุนทางวิชาชีพแก่ชุมชนทั้งในด้านการให้การศึกษา การมีส่วนร่วม การแบ่งปันสิ่งปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างกันรวมทั้งการบูรณา การหลอมรวมทักษะหลากหลายสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน 

    5.3  สร้างผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่ปฏิบัติจริงตามบริบท โดยเฉพาะการเรียนแบบโครงงาน

    5.4  สร้างโอกาสในการเข้าถึงสื่อเทคโนโลยี เครื่องมือหรือแหล่ง การเรียนรู้ที่มีคุณภาพ 

    5.5  ออกแบบระบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมทั้งการเรียนเป็นกลุ่ม หรือการเรียนรายบุคคล 

    5.6 นำไปสู่การพัฒนาและขยายผลสู่ชุมชนทั้งในรูปแบบการ เผชิญหน้าหรือระบบออนไลน์ 

จากองค์ประกอบของทักษะศตวรรษที่ 21 สรุปได้ว่า เป็นสร้างโอกาสในการเข้าถึงสื่อเทคโนโลยี เครื่องมือหรือแหล่ง การเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ช่วยให้ครูได้เกิดการพัฒนาความสามารถให้สูงขึ้นเพื่อนำไป ใช้สำหรับการกำหนดกลยุทธ์ทางการสอนและจัดประสบการณ์ทางการเรียน ได้เหมาะสมกับบริบททางการเรียนรู้  สร้างผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่ปฏิบัติจริงตามบริบท โดยเฉพาะการเรียนแบบโครงงาน  

 3. ประโยชน์ของทักษะศตวรรษที่ 21

    ทักษะแห่งอนาคตใหม่ในศตวรรษที่ 21 (21ST Century Skills) เป็นทักษะที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตของประชาชนคนไทย ในฐานะการเป็นพลเมืองของโลก ที่มีการดํารงชีวิตท่ามกลางโลกแห่งเทคโนโลยี โลก ของเศรษฐกิจและการค้า โลกาภิวัตน์กับเครือข่าย ความสมดุลย์ของสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ความเป็น สังคมเมือง ความเป็นสังคมผู้สูงอายุ และความเป็นโลกส่วนตัวอยู่กับตัวเอง ซึ่งมีประโยชน์มากมาย ดังนี้

    อภิชาติ  อนุกูลเวช (2554) กล่าวถึงประโยชน์ของทักษะศตวรรษที่ 21 ดังนี้

    1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ
    2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ
    3. เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง
    4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน
    5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต
    6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย
    7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center
    8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์

ข้อมูลได้อย่างดี

    9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว (กาเย่)

10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้(กาเย่)
    11. ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้(กาเย่)
    12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา (กาเย่)
    13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิใน    

การเรียน
              14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้
              15. เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง

วิจารณ์ พานิช (2555) กล่าวถึงประโยชน์ของทักษะศตวรรษที่ 21 ดังนี้

1. ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ในงานที่เกี่ยวข้องในโลกศตวรรษที่ 21 แวดล้อมจริง (เช่น ปฏิบัติจริงหรือผ่านการทำงานที่ใช้ตามโครงการหรืออื่น ๆ )

2. เรียนรู้การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีและทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ รู้จักการทำงานสำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มทีมและรายบุคคล

3. สนับสนุนการติดต่อกับชุมชนและการมีส่วนระหว่างต่างชาติในการเรียนรู้โดยตรงและออนไลน์

4. การพัฒนา ความสามารถในการระบุตัวตนของนักเรียนโดยครูมีรูปแบบการเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของผู้เรียน

5. ช่วยให้ครูพัฒนาความสามารถในการใช้กลยุทธ์ต่างๆ (เช่นการประเมินผลการเรียนการสอน) ถึงนักเรียนที่มีความหลากหลายและสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนความแตกต่างการเรียนการสอนและการเรียนรู้

6. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนของผู้ปฏิบัติงานโดยการหันหน้าเข้าหากันการสื่อสารเสมือนและผสม

7. ใช้รูปแบบความเป็นอันหนึ่งหันเดียวกันและความยั่งยืนของการพัฒนาวิชาชีพ

อ้างอิง

ไสว  ฟักขาว. (2558). เอกสารประกอบการสอน “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21  (21stCentury Skills)”. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2561, จาก http://web.chandra.ac.th/blog/ wp-content/uploads/2015/School  in  focus. (2556). นิตยสาร “ศตวรรษที่ 21”. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2561, จาก http://anongswu502.blogspot.com/ 2013/01/21.html

จับจ่าย for school. (2560). นักเรียนยุคใหม่…กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่21. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2561, จาก https://www.jabjai.school/

จินดารัตน์  โพธิ์นอก. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ (๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๗). สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2561, จาก                                                                            http://www.royin.go.th/

วิจารณ์  พานิช. (2555). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills). สืบค้นเมื่อ 13  ธันวาคม 2561, จาก www.youtube.com/watch?

                                v=6OpO_VTnC2M

_________ (2555). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills). สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม  2561, จาก  http://ksoda.esdc.go.th/home/thaksa-ni-stwrrs-thi-21

คำสำคัญ (Tags): #ศตวรรษที่ 21
หมายเลขบันทึก: 659944เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2019 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2019 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท