มาตรวัดเจตคติแบบลิเคิร์ท (Likert rating scales)


นวัตกรรมแรกในการวัด "สิ่งนามธรรม" ที่ได้รับการยอมรับที่สุดคือ มาตรวัดของลิเคิร์ท (Likert rating scale) ... ขออภัยที่ไม่อ้างอิงเพราะใคร ๆ ก็รู้ และสืบดูได้ง่ายยิ่งนัก) ... ผมทำภาพนี้ขึ้นเพื่อจะสื่อสารกับคนทำงานวัดคุณธรรมจริยธรรมของนิสิตต่อไป

หลักสำคัญ

ลิเคิร์ท นิยาม เจตคติตามนิยามของเทอร์สโตน (Thurstone) ที่กำหนด เจคติให้มีเพียงองค์ประกอบด้วย คือ ความรู้สึกหรืออารมณ์หรือความคิดที่มีต่อสิ่งหนึ่ง  ดังนั้น การสร้างเครื่องมือของลิเคิร์ท จึงมุ่งถามตรง ๆ ลงไปที่ "ความรู้สึก" หรือ "ความคิด" ("ความเห็น") ซึ่งเป็นข้อคำตอบออกจากใจของผู้ถูกถาม โดยถามทำนองว่า ท่านเห็นด้วยกับสิ่งที่กำหนดในระดับใด ให้เลือกได้ ๕ ระดับ หรือ ๗ ระดับ (พัฒนาขึ้นภายหลัง) ดังภาพว่าเห็นด้วยอยู่ในระดับใด  ก่อนจะตีความหมายเทียบกับเกณฑ์ต่อไปนี้ 

    จริง ๆ ท่านก็พบเห็นและคุ้นชินอยู่แล้ว ... ใช่ไหมครับ 

    โดยผู้ออกแบบเครื่องมือวัด จะต้องกำหนด เกณฑ์ ๕ ระดับของผลการวัดไว้ก่อนล่วงหน้า และผ่านกระบวนการพัฒนาเครื่งอมือก่อนการนำไปใช้  เช่น  กำหนดเกณฑ์ ๕ ระดับ ดังนี้

    • ๔.๕๐  - ๕.๐๐ อยู่ในระดับ มากที่สุด
    • ๓.๕๐ - ๔.๔๙ อยู่ในระดับ มาก
    • ๒.๕๐ - ๓.๔๙ อยู่ในระดับ ปานกลาง
    • ๑.๕๐ - ๒.๔๙ อยู่ในระดับ น้อย
    • ๐.๐๐ - ๑.ู๔๙ อยู่ในระดับ น้อยที่สุด

    ขอเพิ่มเติมภาพตัวอย่าง การนำแนวคิดของลิเคิร์ทไปใช้ในการวัดเจคติแบบต่าง ๆ เช่น วัดคุณภาพ วัดความถี่ เป็นต้น 

    หมายเลขบันทึก: 659229เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2019 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มกราคม 2019 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท