(168) Lean ฉบับพระศรีโมเดล


ปรับแนวคิดตรงกันแล้ว.. อภิปรายผลของ Lean Management ที่มีต่อผู้ป่วย .. ทำ Master Plan ระยะสั้น-ระยะยาวต่อไป .. หนทางอาจยาวไกล แต่เราชาวพระศรีฯ จะไปด้วยกัน

บันทึกนี้เป็นสรุปการเรียนรู้จาก การประชุมเชิงปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริการ SMI-V: Learning by Lean ในวันที่ 17 สิงหาคม 2561 ณ ห้องประชุม 50 ปี โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จัดประชุมโดยคณะกรรมการ Lean ร่วมกับคณะกรรมการ KM

ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพ (รวมบุคลากรทางการพยาบาล) ดิฉันขอรายงานบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของพี่น้องพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ในรูปแบบการถอดบทเรียน ซึ่งจะจัดเก็บไว้ในคลังความรู้ของกลุ่มภารกิจบริการพยาบาลต่อไป

บรรยากาศการประชุม

  • ภายในห้องประชุม มีนิทรรศการงานปรับปรุงบริการด้วยแนวคิด Lean Management โดยรอบ และมีบอร์ดให้ผู้เข้าประชุมมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นกระดาษสติกเกอร์ที่ตอบคำถามประเด็น ‘ท่านต้องการอะไรจากโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์’ และ ‘ท่านจะทำอะไรให้โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์’ คำถามละ 1 บอร์ด

ดำเนินการประชุม
ภาคเช้า

  • พิธีเปิดประชุมโดยนายแพทย์ประภาส บุครานันท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
  • หลังจากนั้นนำเสนอ Best Practice Demonstration โดยคณะกรรมการ Lean management
  • ต่อด้วยเรื่องเล่าเร้าพลัง เรื่อง “ฮักนะ.. สุดยอด” โดยนางสาวณัฐกานต์ ชาวชายโขง นักวิชาการการศึกษาพิเศษ

ภาคบ่าย ดำเนินการเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  • ส่วนแรก นำเสนอผลงานการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพระบบบริการด้วยแนวคิด Lean management โดยมีคณะกรรมการให้คะแนนและวิพากษ์ผลงาน จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ (1) อ.ดร.ภูวนาถ แก้วปลั่ง กรรมการผู้จัการ บริษัท พีเอ็นพี ซิสเต็มส์ จำกัด (2) แพทย์หญิงวิรีย์อร จูมพระบุตร รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ (3) ทันตแพทย์ชัยพร ยิ่งเจริญพาสุข ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ
  • ส่วนที่ 2สวนาประสบการณ์การนำ Lean มาใช้ในการปรับปรุงระบบบริการ โดยมีผู้ร่วมเสวนาจำนวน 4 ท่าน ดังนี้ (1) อ.ดร.ภูวนาถ แก้วปลั่ง (2) แพทย์หญิงวิรีย์อร จูมพระบุตร (3) นางสาวสำรวย ส่งศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (4) นางจุฑารัตน์ สัตนันท์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ โดยนางอรอินทร์ ขำคม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา
  • สวนที่ 3 อ.ดร.ภูวนาถ แก้วปลั่ง เสนอแนะแนวทางการใช้แนวคิด Lean management ในการพัฒนาต่อเนื่อง โดยนายแพทย์ประภาส บุครานันท์ ผู้อำนวยการฯ เป็นผู้เชื่อมโยงข้อเสนอแนะของ อ.ดร.ภูวนาถ แก้วปลั่ง สู่การปฏิบัติในบริบทของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้และโอกาสพัฒนา
เนื่องจากดิฉันอยู่ในทีม ECT (Electro convulsive therapy) ในภาคเช้า จึงเข้าประชุมได้ในภาคบ่ายเท่านั้น จึงขอสรุปประชุมในลักษณะการถอดบทเรียน เฉพาะหัวข้อ สิ่งที่ได้เรียนรู้ ควบคู่กับข้อเสนอแนะ (โอกาสพัฒนา) ที่จับประเด็นได้จากการประชุมค่ะ

  • เรียนรู้ตนเอง ว่ายังไม่เข้าใจ Lean management ยังไม่สามารถวิเคราะห์หาประเด็นที่เป็น pain point ของเรื่องนั้นๆ ได้

(เฉพาะ)ผู้เข้าประชุม ได้เรียนรู้ร่วมกันในบรรยากาศของการวิพากษ์อย่างสร้างสรค์ ว่าตนเองยังไม่เข้าใจหลักการ Lean management อย่างเพียงพอ ตัวอย่าง การนำเสนองานของกลุ่มงานการพยาบาลจิตเวชหญิงเรื้อรัง ผู้นำเสนอออกตัวว่าทำ ‘เรื่องเล็กๆ’ ในขณะที่ทำเรื่องใหญ่ และเป็น highlight ของ Lean management
.. อธิบายว่า Waste ที่วิเคราะห์ได้ ถ้ามองในภาพกว้างระดับองค์กร สะท้อนปัญหาการ stock เครื่องมืออุปกรณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสำรองไว้ใช้ได้หลายวัน ทำให้ฝ่ายพัสดุต้อง stock เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ไว้จำนวนหนึ่ง (เป็นผลรวมของ stock ของทุกหน่วยงาน) ซึ่งต้องมีกระบวนการจัดซื้อล่วงหน้า ทำให้เสียเงินล่วงหน้าอย่างสูญเปล่า เสียโอกาสนำเงินไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ซึ่งจำเป็นเร่งด่วนกว่า เช่น ค่าไฟฟ้า เงินตกเบิก ค่า P4P ตามภาพ (มีข้อเท็จจริงว่า บุคลากรพระศรีมหาโพธิ์ในหน่วยต่างๆ ก็เริ่มตระหนักและมีโครงการพัฒนามาระยะหนึ่งแล้ว แต่ไม่ดำเนินการด้วยหลักการ Lean)

  • วิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิด Lean management กับโครงการที่นำเสนอร่วมกัน

ถ้าแต่ละหน่วยงานวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิด Lean management กับโครงการที่นำเสนอร่วมกัน
วิธีการคือ วางกรอบ Lean management ไว้ แล้วเติมขั้นตอน/กิจกรรมโครงการฯ ลงในกรอบนั้น (ผู้บันทึก) เรียนรู้ไปพร้อมกัน โดยเชิญตัวแทนจากโครงการอื่นเข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เน้นหา pain point ของเรื่องนั้นๆ ให้ได้เพื่อตอบสนองคุณค่าที่ต้องการจริงๆ แล้วกลับไปเก็บบันทึกข้อมูลการเบิกจ่ายเครื่องมืออุปกรณ์ วิเคราะห์ว่าเบิกลดลง จัดเก็บลดลง ทำงานลดลง มีเวลาให้การพยาบาลผู้ป่วยมากขึ้นอย่างไร ประเมินผลระยะหนึ่งแล้วขยายผลไปยังหอผู้ป่วยอื่น รวมทั้งหน่วยงานภายในทั้งโรงพยาบาล ทำจนเป็น Lean Culture มีจิตกำหนด (Lean Mindset) ใส่ใจกระบวนการ สร้างความสำคัญ การรับรู้ ทำในระยะยาว..
ถามว่าหยุดทำเมื่อใด หยุดเมื่อหา Waste หรือเพิ่ม Efficiency ไม่ได้อีกแล้ว


  • เรียนรู้ว่าโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์มีศักยภาพ มากพอจะพัฒนา ‘พระศรีโมเดล’

การนำเสนอของศูนย์สุขภาพหนองบัว พบว่าโรงพยาบาลมีพื้นที่ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยประมาณ 300 ไร่ สามารถพัฒนาด้วยแนวคิด Lean Management ได้ โอกาสพัฒนานี้ไม่ใช่แค่ปรับเปลี่ยน แต่เป็นการพัฒนาแบบ ‘พลิกโฉม’ หากพลิกโฉมได้สำเร็จ เราจะได้ ศูนย์สุขภาวะฯ ฉบับพระศรีโมเดล [--> ศูนย์สุขภาวะหนองบัว <--> ป่าในเมือง <--> แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพีบง <--> กิจกรรมฝึกสมาธิ โยคะ <--> ชุมชนที่คนดีและผู้ป่วยอยู่ร่วมกันได้ <--> (OPOP(One Product One Patient) <--> ความภาคภูมิใจ ชื่อเสียง รายได้ในระยะยาว ]

ปรับแนวคิดตรงกันแล้ว การดำเนินการต่อจากนี้ คือ การอภิปรายผลของ Lean Management ที่มีต่อผู้ป่วย และทำ Master Plan ระยะสั้น-ระยะยาวต่อไป (มีคณะกรรมการรับผิดชอบ) หนทางอาจยาวไกล แต่เราชาวพระศรีฯ จะไปด้วยกันนะคะ

ขอบคุณค่ะ
ดารนี ชัยอิทธิพร

หมายเลขบันทึก: 658238เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2018 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2018 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การวิพากษ์อย่างสร้างสรรค์

….

ประเด็นนี้น่าสนใจมากครับ เพราะหลอมรวมถึงทัศนคติ ความรู้ และศิลปะ -

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท