สามก๊ก: ตำนานชีวิตและกลยุทธที่ไม่เคยล้าสมัย


นอกจากขงเบ้งจะใช้ตำราพิชัยสงครามของซุนวู "รู้เขารู้เรา สู้ร้อยครั้งชนะร้อยครา" แล้ว ขงเบ้งยังมีการวางแผนเผื่อพลาดไว้ อย่างน้อยถึงเก้าแผน และมีการเตรียมการในแผนต่างๆอย่างครบถ้วน จึงไม่ค่อยพลาด

พอพูดเรื่องสามก๊ก คนส่วนใหญ่คงจะนึกถึงวรรณคดีเล่มใหญ่ ที่ยากจะอ่านได้จบ มีคนแนะนำให้อ่าน แต่ก็ยังบอกว่า ถ้าอ่านสามก๊กสามจบคบไม่ได้

ทำไมจึงมีคำเช่นนี้ออกมา ต้องมีที่มาแน่นอน

สามก๊กเป็นการเล่าถึงประวัติศาสตร์จีน เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว เมื่อมีขุนนางกังฉิน (ตั๋งโต๊ะ) พยายามจะล้มล้างราชวงศ์ จนสำเร็จ ด้วยเลห์ แต่ภายหลังก็ถูกต่อต้านจากคนส่วนใหญ่ของประเทศ ตั๋งโต๊ะได้คุมความสงบโดยกำลังทหาร โดยมีทหารเอกคู่ใจที่เก่งกาจ และยากที่จะหาผู้ต่อกรด้วยได้ กลุ่มผู้ต่อต้านจึงใช้กลยุทธนางงาม ยุให้ทั้งสองคนแตกกัน จนสำเร็จ

แต่เมื่อสำเร็จ กลุ่มคนที่รวมกันโค่นล้มตั๋งโต๊ะก็ทะเลาะกันเอง แบ่งออกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย จนกระทั่งมีความพยายามที่จะรวมกัน มาอยู่ที่สามกลุ่ม และต่อสู้ขับเคี่ยวกันเกือบ ๓๐ ปี ระหว่างโจโฉ (ตอนเหนือ) ซุนกวน (ตะวันออก) และ เล่าปี่ (ตะวันตก)

แต่การดำเนินเรื่องมักจะเน้นไปที่ก๊กของเล่าปี่ที่มี ขงเบ้งเป็นเสนาธิการใหญ่ และมีทหารเอก หลายนายเป็นผู้คุมกำลังเช่น กวนอู เตียวหุย จูล่ง ที่เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับเล่าปี่

ทางซุนกวนก็มีจิวยี่เป็นนายทัพใหญ่ ในขณะที่ทางโจโฉก็มีสุมาอี้และครอบครัว และอีกหลายคนเป็นกำลังสำคัญ

การต่อสู้ขับเคี่ยวกันเกือบจะมีการแพ้ราบคาบกันก็หลายครั้ง แต่ด้วยความที่เคยเป็นเพื่อนกันมาก่อน ก็เลยไม่ถึงกับกล้ากำจัดให้สิ้นไปซะทีเดียว เน้นการยอมแพ้ซะมากกว่า

การต่อสู้ที่แท้จริง เป็นการรบกันระหว่างกองกำลังของเล่าปี่ กับของโจโฉ ส่วนซุนกวนจะเป็นตัวแปรในการรบ คล้ายๆจะเป็นหอกข้างแคร่ของทั้งสองฝ่ายเสียมากกว่า จึงโดนดีงไปดึงมาแทบไม่เป็นตัวของตัวเอง

บทเรียนที่ผมได้รับจากการอ่านและดูภาพยนต์ทีวีสามก๊ก สลับไปมาประมาณสักสามรอบเล็กๆ ก็คือ

ประวัติศาสตร์โลกย้อนรอยตลอดเวลา เกิดแล้วในสามก๊ก ก็เกิดอีกในทุกวันนี้

ขงเบ้ง ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร ไม่เคยคิดจะเอาดีทางการรบ ชอบเป็นชาวนา แต่ไปตายในสนามรบ ไม่ได้เตรียมการให้ใครรับช่วงด้วย เพราะคาดว่าจะเผด็จศึกได้ในเวลาไม่นาน และเชื่อในกลยุทธของตนเอง แต่ก็พลาดจากสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงในหลายครั้งหลายครา

เล่าปี่ ผู้พนมมือแก่ชนทุกชั้น ก็ไม่ได้วางแผนให้ลูกทำหน้าที่ต่อจากตัวเอง ไม่มีเวลาสอนลูก จนลูกทำอะไรไม่เป็น ถูกหลอก จนเสียเมืองให้กับโจโฉ หลังการตายของขงเบ้งไม่นาน

โจโฉ ผู้ไม่ยอมให้โลกทรยศ ได้ถ่ายสายเลือดไว้ให้กับลุกชายเกินครึ่งโหล ด้วยการแย่งสมบัติกันเอง จนอ่อนแอ และถูกกำจัดโดยทหารเอกของตนเอง

สุมาอี้ ผู้ชนะทางการรบครั้งสุดท้าย ที่ควบคุมสถานการณ์สุดท้ายไว้ได้ทั้งหมด และตั้งราชวงศ์ของตนเองสืบต่อมา จากการสอนลูกให้สามารถสืบทอดเจตนารมย์ของตัวเองได้

แต่แทบจะไม่มีใครให้ความสำคัญกับตัวละครอีกหนึ่งท่านคือ ซุยเป๋ง ซึ่งเป็นศิษย์ร่วมสำนักกับขงเบ้ง แต่เข้าใจสัจธรรมของโลก ที่มีการเกิดมา ตั้งอยู่ และดับไป (ไตรลักษณ์) ที่เล่าปี่เคยไปชวนออกรบด้วยการเข้าใจผิดคิดว่าเป็นขงเบ้ง

ซุยเป๋งบอกว่า "ทุกอย่างมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป การที่ท่าน (เล่าปี่) จะกอบกู้บัลลังก์นั้น ก็ทำไปเถิด แต่อย่าหวังว่าจะอยู่ได้นาน ทุกอย่างจะเป็นไปตามครรลองของธรรมะ เราขออยู่ตามประสาของเราเถอะ"

ผมนับถือแนวคิดของซุยเป๋งมาก แต่ก็ยังแอบชื่นชมสุมาอี้ไม่ได้

เท่าที่ผมอ่านสามก๊ก ผมคิดว่า นอกจากขงเบ้งจะใช้ตำราพิชัยสงครามของซุนวู "รู้เขารู้เรา สู้ร้อยครั้งชนะร้อยครา" แล้ว ขงเบ้งยังมีการวางแผนเผื่อพลาดไว้ อย่างน้อยถึงเก้าแผน และมีการเตรียมการในแผนต่างๆอย่างครบถ้วน จึงไม่ค่อยพลาด

แล้วตอนนี้เรามีแผนรองรับความผิดพลาดกันกี่แผน หรือไม่มีเลย แค่แผนที่หนึ่งก็ยังเตรียมไม่เรียบร้อย แล้วจะสำเร็จได้อย่างไร

จะมีใครคิดจะสอนลูกให้ทำหน้าที่ต่อจากตนเองแบบสุมาอี้ไหม หรือจะดูแลลูกเหมือนไข่ในหินแบบเล่าปี่ จนทำอะไรไม่เป็น หรือจะสอนจนทำให้ลูกทะเลาะกันแบบลูกโจโฉ

ถ้ามีโอกาสผมจะนำกลยุทธของสามก๊กมาสรุปสั้นๆ เพื่ออ่อยให้คนอยากอ่านสามก๊กกันมากๆครับ เราจะได้มีคนที่คิดอย่างหลากหลาย และเป็นกำลังในการพัฒนาผ่านระบบ KM ต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 65761เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2006 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากครับอาจารย์

ที่ได้กรุณานำเรื่องเล่าดีๆ มาให้ได้รับฟังเพื่อสะท้อนแนวคิดของคนรุ่นหลังในการที่จะได้วางแผนชีวิตเพื่อปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งเปรียบเสมือนการทำสงครามในหลายศตวรรษที่ผ่านมา ทำให้ผมเริ่มจะสำนึกในชีวิตมากขึ้นครับ

ด้วยความเคารพ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท