6 วิธีรับมือไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง


ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

6 วิธีรับมือไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง


สาเหตุที่ลูกมีอาการเหล่านั้นเพราะ

  1. นับตั้งแต่ลูกเกิดออกมา ลูกของเราก็จะมีการเรียนรู้ เช่น เมื่อตัวเองรู้สึกหิว เมื่อร้องไห้แล้วมีน้ำนมให้กิน เด็กก็จะเรียนรู้ว่า อ้อ.. ถ้าหิวให้ร้องไห้นะ เดี๋ยวจะมีน้ำนมมาให้กินอิ่มอร่อย
  2. เมื่อลูกเรียนรู้ว่าทำแบบไหนแล้วได้ผล แต่เมื่อทำซ้ำแล้วยังไม่ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ ลูกก็จะเพิ่มความรุนแรงของการกระทำขึ้นไปอีก เช่น ครั้งแรกพ่อแม่พาไปเที่ยวแล้วซื้อของเล่นหรือขนมให้ลูกกิน เมื่อพาลูกออกไปอีก ลูกก็จะให้เราซื้อขนมหรือของเล่นเพิ่มให้ เมื่อไม่ได้ลูกก็จะร้องไห้ หากการร้องไห้ครั้งนี้ทำให้พ่อแม่ใจอ่อนจนทำตามสิ่งที่ลูกต้องการ ลูกก็จะเรียนรู้และเข้าใจไปเองว่า “ทำแบบนี้แล้วพ่อแม่จะยอม”          

เมื่อวันต่อๆ ไปอยากจะได้อะไร ลูกก็จะนำกลับไปใช้มุขเดิม คือ ร้องไห้งอแง ถ้าไม่ได้ ลูกก็จะร้องไห้หนักขึ้น ดังขึ้น มีอาการลงไปนั่งชักดิ้นชักงอ หากพ่อแม่ยอมตามใจลูก ลูกก็จะจดจำไปอีกว่า
“ถ้าทำแบบขั้นที่ 1 ไม่ได้ ก็ทำแบบขั้นที่ 2 นี้ แล้วพ่อแม่จะยอมฉัน”

ยิ่งพ่อแม่เห็นลูกร้องไห้งอแงแล้วก็ตามใจ หรือพูดโอ๋ลูก ลูกก็จะยิ่งจดจำว่า ทำสิ่งนี้แล้วจะมีคนรัก คนเอาใจ ซึ่งเด็กทุกๆ คนจะเรียนรู้เอง ธรรมชาติทำให้ยิ่งโตขึ้น ลูกจะยิ่งเอาแต่ใจมากขึ้น และหากขัดใจ ก็จะร้องไห้หรือมีพฤติกรรมที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น
-----------------------------------------------------------------------------------------

ทางแก้ไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง
  1. ต้องทำความเข้าใจกับธรรมชาติของลูกให้มากว่าลูกในวัยนี้ (ช่วง 6 ขวบแรก) นั้น หากพ่อแม่สอนและฝึกไม่ตามใจลูกทุกครั้งที่ร้องไห้งอแง ลูกจะโตขึ้นมาโดยไม่ติดนิสัยเหล่านี้
  2. ให้ลูกหัดเรียนรู้การช่วยเหลือตัวเอง เช่น พ่อแม่อาจจะเริ่มฝึกลูก (เริ่มตอน 2 ขวบ) ให้เริ่มใส่เสื้อผ้าเอง, กินข้าวเอง, ดื่มน้ำจากแก้วเอง ฯลฯ และควรพาลูกไปเล่นกับเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน เมื่อลูกไปเจอกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ลูกจะเรียนรู้การแบ่งปัน การได้รับและการให้
  3. เวลาที่ลูกร้องไห้เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ (ประเภทลงไปนั่งดิ้นชักกระตุกๆ ที่พื้น) สิ่งแรกที่พ่อแม่ต้องทำคือ การเข้าไปอุ้มลูก กอดลูกไว้ โดยไม่ต้องไปโวยวาย ไปดุด่าว่าลูก แค่กอดลูกไว้เฉยๆ แล้วพาลูกออกมาจากสิ่งที่เขาต้องการ เช่น ร้านขนม ร้านของเล่น
  4. หัดตั้งคำถามกับลูกบ่อยๆ ถามลูกว่าลูกรู้สึกยังไงบ้าง และลูกคิดยังไงกับสิ่งที่ตัวเองอยากได้ ทำไมถึงอยากได้สิ่งๆ นั้น และทำไมจะต้องเอาสิ่งๆ นั้นให้ได้
  5. เปิดโอกาสให้ลูกได้หัดตัดสินใจเองบ้าง อาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับตัวของลูกเอง เช่น จะเลือกเสื้อผ้าตัวไหนดี (ลูกจะได้อารมณ์ดี เพราะบางครั้งลูกอาจจะไม่อยากใส่ชุดที่พ่อแม่เลือกให้ก็ได้), มื้อเย็นนี้จะกินอาหารอะไรดี (มีเมนูอาหารให้เลือกหลากหลาย แล้วลูกเป็นคนตัดสินใจ) ฯลฯ เป็นต้น
  6. พูดคุยกับลูกให้บ่อย เด็กในช่วงปฐมวัยนั้น พ่อแม่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวและเป็น “ของเล่น” ที่ดีที่สุดสำหรับเขา หากพ่อแม่พูดคุยกับลูกสม่ำเสมอ เล่นกับลูก ให้ความรัก กอดลูกให้มาก ลูกจะไม่ใช้ความก้าวร้าวเป็นตัวต่อรองกับพ่อแม่


ขอขอบคุณความรู้จาก http://www.babytrick.com/child...
ภาพจาก http://www.supersparents.com/%...










หมายเลขบันทึก: 657559เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2018 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2018 11:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท