ขบวนรถไฟสายยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี



ในการประชุมสภา มช. เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๑ มีการเสนอเรื่อง งบประมาณรายรับรายจ่าย ปีงบประมาณ ๒๕๖๒   โดยประมาณการรายจ่าย ๑๗,๐๐๐ ล้านบาท    ร้อยละ ๓๕ มาจากงบประมาณแผ่นดิน    ร้อยละ ๖๕ มาจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย

อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ท่านสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ แจ้งให้ทราบว่า    สำนักงบประมาณเริ่มจัดการงบประมาณแผ่นดินตามร่างแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี มาตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๖๑   ชัดขึ้นในปี ๒๕๖๒   และจะเดินเต็มที่ในปี ๒๕๖๓    ซึ่งหมายความว่า หากหน่วยงานใดเขียนคำของบประมาณไม่เข้ากับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี   และแผนแม่บท ที่จะออกมาภายในสิ้นเดือนกันยายน ๒๕๖๑   หน่วยงานนั้นจะได้รับการจัดสรรงบประมาณยากขึ้น  

ที่สำคัญคือ โครงการพัฒนาที่ของบประมาณปี ๒๕๖๒ แล้วแต่ตกไป    แต่เป็นโครงการที่ตรงกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี   สามารถนำไปของบประมาณกลางปีได้   

นี่คือแนวทางบริหารมหาวิทยาลัย ๔.๐   ซึ่งหมายความว่า เป็นมหาวิทยาลัยที่ทำงานหนุนการดำเนินการสู่ประเทศไทย ๔.๐    ที่จะต้องบริหารเชิงรุก    คือเข้าไปศึกษาแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี และแผนแม่บท    เพื่อประเมินว่ามหาวิทยาลัยจะเข้าไปเป็นพลังขับเคลื่อนได้ตรงไหนบ้าง    แล้วสร้างมาตรการเชิงรุก เข้าไปอาสารัฐบาล    ซึ่งตรงกับที่ผมเคยพูดในการบรรยายเรื่อง 

ผมเคยนำเรื่องการบริหารงบประมาณของมหาวิทยาลัยเชิงรุก    รุกหารายได้จากรัฐโดยการทำงานเชิงยุทธศาสตร์ให้แก่บ้านเมือง    มาลงบล็อก  ดังตัวอย่าง ()

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ก.ย. ๖๑

โถงรอขึ้นเครื่อง สนามบินเชียงใหม่


หมายเลขบันทึก: 657168เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2018 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2018 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท