ค่าย2


ออกเเบบกิจกรรมทำอย่างไร ?

        ในการออกเเบบกิจกรรมนั้น ในที่นี้ขอยกตัวอย่างในกิจกรรมที่นำไปสู่การเรียนรู้ ที่อาจใช้ทั้งทักษะทางกาย เเละความคิด ให้มารวมกัน จนเกิดค่ายเเห่งการเรียนรู้เกิดขึ้น ที่การเรียนรู้นั้นก็มีหลายๆอย่าง ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่เราอยากให้เกิดขึ้น ซึ่งหลักในการออกเเบบกิจกรรม อีกมุมหนึ่งควรคำนึงถึง เรื่อต่างๆ ดังนี้

        ๑.การมองดูบริบททั้งหมด ซึ่งคำว่าบริบทในที่นี้ คือ เป็นการมองดูตนเอง เเละปัญหา ว่าในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น หรือในประเด็นที่คนหลายคนเห็นร่วมกันว่า มันสมวครที่จะยิบยกขึ้นมานั้น ภายในนั้นมันมีอยู่กี่ประเด็น  เช่น  ประเด็นปัญหาของเด็กที่พูดจาไม่ค่อยสุภาพ ภายในนั้น อาจมีปัญหาทางครอบครัว  ทางเพื่อนฝูง  ทางโรงเรียน  ทางสังคมที่เป็นอยู่ ที่ส่งผลมาให้เขาเป็นอย่างนั้น ฉะนั้น เราเองจำต้องเลือกประเด็นที่เราจะต้องพัฒนามาให้สามารถจับต้องได้ เพราะถ้าเราจับมั่วไปหมด สุดท้ายเเล้ว เราก็จะเหมือนกับการ จับอากาศ ที่เหมือนกับว่า สัมผัส เเตะโดนมันอยู่ เเละกำมันไม่ได้  ถ้าเราเลือกพัฒนาที่ประเด็นเดียวอย่างชัดเจน ก็เหมือนกับเราจะเอาอากาศที่จับไม่ได้ มาใส่ในลูกโป่งให้สามารถจับต้องได้

        ๒.การคุยกันเพื่อตั้งเป้าหมาย เเละวัตถุประสงค์ ให้ได้ประเด็นร่วมกัน ก่อนเริ่มงาน  เมื่อได้ประเด็นที่เราเห็นว่าน่าพัฒนาเเล้ว จากนั้นมาตั้งเป้าหมายหรือสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นร่วมกัน  เมื่อได้เป้าหมายเเล้ว เราก็ตั้งวัตถุประสงค์ในกรอบเป้าหมายของเรา ให้ตรงกัน เป็นเอกภาพ หลังจากที่ได้วัตถุประสงเเล้ว เราก็ค่อยมาเเตกวัตถุประสงค์เเต่ละข้อให้เป็นวิธีการของเรา ให้เป็นลำดับขั้นตอนนั่นเอง   

        ๓.การระดมทุน โดยที่ทุนในที่นี้หมายถึง การระดมศักยภาพที่มีอยู่ทั้งหมด ทั้งเราซึ่งรวมไปถึง เครือข่ายที่มี เช่น เป็นการย้อนมามองว่า ตอนนี้เรามีประสบการณ์อะไรมาบ้าง พอที่จะมาปรับใช้กับงานของเราตามวัตถุประสงค์ ให้เข้าไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีคุณภาพ เรามีเครือข่ายไหม  มีผู้รู้ไหม ใครที่เคยมีประสบการณ์หรือผ่านค่ายดีดีมาบ้าง เพื่อเอารวมรวบยอดให้ประยุกต์เป็นของเราตามบริบทของเราเอง  เเละตอนนี้เราพอมีใคร ที่พอจะมีไหวพริบเเละเป็นผู้นำได้ดีที่น่าจะเป็นพิธีกร เเละผู้นำสันทนาการต่างๆ   อาจให้หัวข้อในการมอง คือ มองที่ตนเอง  มองที่กลุ่มเรา  มองที่โรงเรียน  มองที่เครือข่ายเเละเพื่อนๆของเรา  ซึ่งรวมไปถึงการมองรุ่นน้องที่จะขึ้นมาเเทนเรา ให้เขามาเรียนรู้งานกับเราด้วย

        ๔.ลำดับขั้นตอน เป็นการเอาทุนที่เรามีมาวางเพื่อจัดลำดับ ซึ่งสิ่งนี้เป็นการวางว่า เวลาที่เราจะทำ นั้น เเละกิจกรรมของเรานั้น มันสมควรที่จะวางไว้ตรงไหน อะไรก่อนอะไรหลัง เช่น ขั้นเเรกต้องมา สนุกสนานหรือผ่านเครื่องมือการคุยกันเพื่อให้เขาคุ้นชินกันก่อนเเล้วค่อยเข้าบทซึ้ง ที่เราอยากให้เกิดขึ้น ซึ่งลองวางเป็น เส้นอารมณ์เหมือนกับพาราโบล่าก่อนก็ได้   โดยเราใส่กิจกรรมเราลงไป เป็นหัวข้อเเล้วลงด้วยกราฟเส้นพาราโบล่า(ความรู้สึก)  เเล้วลองคิดว่า เเต่ละกิจกรรมเรา อารมณ์เเละความรู้สึกของน้องจะเป็นอย่างไร เเล้วในช่วงเเห่งความรู้สึกนั้น เราที่เป็นผู้นำจะนำกิจกรรมหรือใช้คำพูดอย่างไร ให้เหมาะกับอารมณ์ เพื่อเชื่อมไปสู่ เนื้อหาของเรา ซึ่งเรามาลองกะประมาณดูว่า น้องจะมีความรู้สึกอย่างไร     ตามธรรมดา เราจะให้น้องๆเข้ามาเเล้วเข้าบทซึ้งเลยไม่ได้ เพราะเขายังไม่มีอารมณ์ที่จะซึ้ง  เราจึงต้องสร้างบรรยาการเเห่งการซึ้งก่อน เป็นต้น   เมื่อได้พาราโบล่าเเล้ว หรืออาจไม่ได้ทำ ก็มาเขียนเป็นลัดับเวลาว่าอะไรก่อนหลังอย่างชัดเจน

        ๕.การวางบทบาทหน้าที่ ซึ่งในการวางบทบาทหน้าที่นี้ ก็มองตามศักยภาพของเเต่ละคน ว่าเป็นอย่างไร คนที่สามารถพอตีกลองได้  พอเต้นได้  พอจับไมค์ได้  พอทำงานเบื้องหลังได้ ก็วางไว้พร้อมกับ ลำดับกิจกรรมพร้อมกับคนที่รับผิดชอบกิจกรรม ในค่ายกิจกรรมของเรา ให้ชัดเจน รู้ว่าใครเป็นใคร 

ดำเนินกิจกรรมทำอย่างไร ?

        ในการดำเนินกิจกรรมใดใด  เราก็จำเป็นที่จะต้องมาคุยกันให้รู้เรื่อง ให้เห็นตรงกันว่ามันเป็นอย่างไร โดยอาจเป็นการคุยกันก่อนเเล้วก็ซ้อมกันไป อาจซ้อมกับพี่ๆ  อาจรับพี่เลี้ยงก่อนเเล้วค่อยมารับเด็ก  การสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ หากชวนผู้ดำเนินกิจกรรมมาให้มากที่สุด เป็นดี เพราะในยามที่มีปัญหา จะได้ร่วมกันเเก้ได้ทันท้่วงที เพราะกิจกรรมของค่ายอาจมีปัญหาที่เข้ามา เช่น ฝนตก  เเดดจัด  ทะเลาะวิวาท  ชู้สาว หรืออุบัติเหตุ เป็นต้น  ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมโดยรวมนั้น ผู้นำค่ายต้องมีเครื่องมือสื่อสารที่รวดเร็ว ต่อกันเเละกัน อาจเป็น วิทยุ ก็ได้ 

        ก่อนที่จะเริ่มกิจกรรมใดใด ควรตั้งความคาดหวัง โดยให้เด็กเขียนความคาดหวังของตนเอง ที่มีต่อค่ายนี้ ว่าเขาอยากจะได้อะไรบ้างในค่ายของเรา เเล้วจึงค่อยดำเนินไปตามลำดับที่เราวางแผนไว้

        ในที่นี้ขอพูดการดำเนินค่ายกิจกรรมของพิธีกรสันทนาการ อาจดำเนิน เกมของตนเอง ได้ 2 มุมมองดังนี้ (ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเกม) 

        ๑.ดำเนินไปรวดเดียว  (เกมที่ไม่ยาก ไม่ยาว ไม่มีกติกาอะไรมากมาย)

          - ผู้ดำเนินกิจกรรม จะต้องอธิบายอย่างเข้าใจก่อน 1 รอบ เเล้วมาสาธิตให้ชม 2 รอบ (เน้นการสาธิตไม่เน้นการอธิบาย) เพราะการสาธิตนั้นจะสามารถทำให้เข้าใจได้ง่ายเเละชัดเจน

          - เมื่อสาธิตเเล้ว ก่อนที่จะทำเขาทำตาม ให้ใช้คำว่า "ลองทำดู" เเล้วให้ลุกขึ้นทำเลย เพราะตอนนั้น เขากำลังมีความรู้สึกที่กำลังเตรียมที่จะพุ่งขึ้น

          - หลังจากที่เล่นเเล้วนั้น ให้เล่นประมาณ 3- 5 รอบจะพอดี  หากเกมสนุกเเละสั้นๆ อาจ ถึง 7 รอบก็ได้

          - หลังจากที่ได้เล่นเเล้วก็ทิ้งให้อยากเเล้วก็ จากไป เเล้วจบ หรืออาจสรุปเเง่คิดก็ได้ หรือนำเข้ากิจกรรมของเรา

        ๒.ดำเนินไปอย่างเป็นลำดับ  (เกมที่ยาก  ยาว  มีกฏิกาเยอะ)

          - ผู้ดำเนินกิจกรรม อธิบาย 1 รอบ จากนั้นอาจพูดว่า "ถ้าจะอธิบายไปก็เข้าใจยาก ฉะนั้นเรามาลองทำดูกันดีกว่า"

          - ให้ลุกขึ้นทำเลยในขั้นเเรก โดยอธิบายให้ทำ เมื่อทำเสร็จเเล้วอธิบาย(อาจพร้อมท่าทางกระทำ)  เราอธิบายเเล้วเขาทำท่าทางตาม ทำเป็นสเต็ป ๆ โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะเดาได้ยากว่าเรากำลังจะทำอะไรอยู่  

          - เมื่อทุกๆคนจับได้เเล้วว่ามีเเนวทางอย่างไร ก็อาจเล่น เพื่อความสนุก อีก 2 รอบก็ได้  (เเล้วเเต่เกม)

          - เมื่อจบเเล้วอาจสรุปเเง่คิด หรือพูดนำเข้ากิจกรรม

* นอกจากสันทนาการเเล้ว รูปแบบนี้ สามารถให้ได้กับกิจกรรมที่เราทำ ประยุกต์ใช้ได้ (เเล้วเเต่บริบท)

        หลังจากที่เราให้เขาร่วมกิจกรรมมาทั้งวันหรือทั้งค่ายเเล้วนั้น เราก็ควรที่จะต้องมาสรุป ให้กันฟัง เพื่อเน้นย้ำไปที่เป้าหมายของเราที่อยากให้เกิดขึ้น ซึ่งในการสรุปนั้น อาจทำได้หลายๆอย่าง อาจให้้องๆมาพูดความรู้สึกเเล้วพี่ๆมาพูดความรู้สึกเเล้วนำเข้ากิจกรรมก็ได้  เเล้วอาจเขียน  ความรู้สึก  ประทับใจ สิ่งที่ได้เรียนรู้  ฯ

เเล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ที่เราตั้งเป้าหมายไว้นั้น มันสำเร็จมากน้อยเเค่ไหน ?

        ในการที่เราจะประเมินกิจกรรมของตนเอง นั้นอาจมีได้หลายวิธีหลายเเนวทาง เเต่ที่เห็นฮิตๆ กันอยู่ก็คงจะเป็น เเบบประเมินกิจกรรม ว่าเเต่ละอย่างควรปรับปรุงตรงไหน หรือดีตรงไหน ที่จะนำไปพัฒนาเเก้ไขต่อไป  ซึ่งนั่นก็เป็นเพียงการประเมินกิจกรรม ซึ่งมันก็เป็นเครื่องมือที่ไม่อาจตอบคำถามของผู้เข้าร่วมได้หมด  เราจึงที่จะต้องมีเเบบประเมินที่เป็นความรู้สึกของเด็กจริงๆว่าเขารู้สึกอย่างไร ประทับใจอะไร เเละได้เรียนรู้อะไร  เเต่ก่อนที่เราจะให้เขาถอดบทเรียนเราก็จำเป็นที่จะต้องมาตั้งความคาดหวังของผู้ดำเนินกิจกรรมร่วมกันก่อน ซึ่งอาจทำได้ดังนี้ 

        ๑.การเขียนความคาดหวังว่า เราต้องการอะไรกับค่ายนี้ บ้าง  หรือยากมาเรียนรู้อะไรกับค่ายนี้  หรือเรามาวันนี้เรามีจุดประสงค์ต่อค่ายนี้ยังไงบ้าง เป็นต้น  ซึ่งจะเห็นว่า ถ้าเราพูดเพียงว่า  "เราหวังอะไรกับค่ายนี้" เฉยๆ ก็จะทำให้รู้สึกเหมือนว่า สิ่งที่เราจะเขียนมันมีน้อย  ถ้าเราใส่คำว่า "บ้าง" เช่น เราหวังอะไรกับกิจกรรมนี้บ้าง  ก็จะให้ความรู้สึกกับผู้เขียนว่า มันมีหลายข้อ เราต้องเขียนหลายข้อ (อันนี้เป็นคำเล็กๆน้อยๆ เพื่อที่จะให้เขามีอารมณ์ที่จะเขียนมากยิ่งขึ้น)

        ๒.เมื่อเสร็จกิจกรรมเเล้ว หรือเสร็จฐานเเต่ละฐาน อาจจะมี การให้เขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ว่าเราได้เรียนรู้อะไร  ตรงกับจุดหมายที่เราได้ตั้งไว้กับตนเองไหม ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นตัวการันตีว่า เขาได้ในสิ่งที่เขาหวัง มากน้อยเเค่ไหน ซึ่งมันก็เป็นผลพวงเเห่งค่ายกิจกรรมของเรา  การที่เด็กจะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่หลายอย่าง คือ มิติภายนอก เช่น เวลา  กิจกรรมเรา เครื่องมือเรา  บรรยากาศ เเละมิติภายใน เช่น อารมณ์ จิตใจ ฯ

        ๓.การประเมินกิจกรรมทั้งหมด อันนี้อาจให้เป็นคะเเนน เเล้วอาจให้เขียนเพื่อจะให้เเสดงความคิดเห็นให้ผู้จัดต่อยอดเเละพัฒนาต่อไป

         ซึ่งทั้ง 3 อย่างนี้จะเห็นว่า อันเเรกเป็นการให้เขียนความคาดหวัง หรือที่เราเรียกว่า Post it เเล้ว การถอดองค์ความรู้เป็นตัวบ่งบอกว่าค่ายของเรา ทำให้เขาได้ในสิ่งที่เขาหวังมากน้อยเเค่ไหน เเล้วสุดท้าย คือ การประเมินค่ายเเล้วพัฒนาค่ายตนเอง 2 ข้อเเรกเป็นมิติของผู้เข้าร่วม ส่วนอันที่ 3 เป็นมิติของเรา เเต่มิติที่1 ก็ส่งผลมาหามิติที่ 2 เช่นเดียวกัน เพราะมันเชื่อมโยงกัน

คำสำคัญ (Tags): #ค่าย
หมายเลขบันทึก: 655414เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2018 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ตุลาคม 2018 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท