ค่าย1


ค่ายกิจกรรมคืออะไร ?

        ค่ายกิจกรรมโดยทั่วไปก็คือกิจกรรมที่เราเห็นๆอยู่ในทุกๆวันจนหลายๆคนเริ่มที่จะชินตา เราเคยเห็นค่ายรับน้องบ้างล่ะ เคยเห็นค่ายลูกเสือบ้างล่ะ หรือเคยเห็นค่ายที่ทางมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนที่จัดขึ้นเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษาบ้างล่ะ เราเห็นกันอยู่ทุกๆวัน เราเคยสำผัสมันมาเเล้ว เเต่ในคราวนี้เราจะมามองมันอย่างจริงจังว่า เเล้วค่ายกิจกรรมที่เราเคยผ่านมาทั้งหลายนั้น สรุปเเล้วว่า มันคืออะไรกันเเน่

        ค่ายกิจกรรมมีมากมายหลายความหมาย เยอะเเยะไปหมดเเละมีลหายประเภทด้วย ซึ่งในที่นี้ ขอจำกัดความเฉพาะในคำว่า "ค่ายกิจกรรม" ซึ่งก็ คือ ค่าย+กิจกรรม คำว่าค่ายในที่นี้หมายถึง การจัดงานที่ทำให้ทุกๆคนมารวมกันจนก่อเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ส่วนคำว่ากิจกรรม ในที่นี้หมายถึง การกระทำที่เป็นขั้นตอนกระบวนการที่ทุกคนในค่ายให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ให้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดเเละวัตถุประสงค์ของผู้ที่อยู่ในค่าย รวมไปถึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพทั้งผู้ตามเเละผู้นำ ร่วมกันไปด้วย

ใครจะทำ ?

        เราเองที่เป็นผู้นำ ที่จะทำค่ายกิจกรรม ในเรื่องของใครจะทำนี้ ขอบอกว่าทุกคนสามารถทำได้หมด ขอเพียงมีการฝึกฝนตนเองให้เข้าใจงานเเล้วให้ชินกับเวที ไม่มีใครที่จะเพอร์เฟคในครั้งเเรก เเละเพอร์เฟคในครั้งต่อๆมา เพราะคนเราต้องมีการพัฒนาอยุ๋ตลอดเวลา ในเรื่องของใครจะทำนี้ เมื่อเรามองอยู่ห่างๆเราจะเห็นว่า คนที่ได้ทำเเบบนี้เขาได้รับโอกาสจากผู้ใหญ่ที่ให้ทุน เขาก็เลยเก่ง จนเราลืมมองมาที่ตนเองว่าเราก็สามารถทำได้ เพราะโอกาสนี้เปิดรับผู้คนให้ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำอยู่เสมอ หากเราไม่ปิดกั้นความคิดตนเองจนเกินไป เราคนหนึ่งที่จะก้าวเข้ามาเป็นผู้นำ ผู้ทำกิจกรรม อย่างนี้ เเน่นอน

ทำไมต้องทำค่ายกิจกรรม ?

        ในการทำค่ายกิจกรรม เชื่อว่าหลายๆคนย่อมมีเเนวคิดที่เเตกต่างกันออกไป ตามอัตภาพของบุคคลเเละองค์กรนั้นๆ เเต่ที่เห็นส่วนใหญ่จะเป็นการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนาให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ การพัฒนารูปเเบบงานของตนเองให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยส่วนใหญ่เน้นไปที่การเรียนรู้เป็นหลัก มีกลุ่มที่เข้ามาร่วมค่ายอย่างชัดเจน มีความเป็นรูปธรรม การที่เราต้องทำค่ายเพราะว่า มีปัญหาเกิดขึ้นในสังคมของเรา เราอยากที่จะพัฒนาปรับปรุงองค์กรให้ดีขึ้น หรือ เราอยากที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น หรือ เราต้องการขับเคลื่อนโครงการเรา ไปสู่การพัฒนา การติดตาม เเละการสรุป เป็นต้น

ทำเเล้วได้อะไร ?

        ทำเเล้วได้สิ่งที่อยู่กับ สิ่งที่เราอยากให้เกิดขึ้นหรือว่าวัตถุประสงค์ของเราที่ตั้งไว้ร่วมกันนั่นเอง หรืออาจไม่ได้ตามที่เราคาดหวังไว้ หรืออาจได้น้อย ซึ่งสิ่งที่ได้หลักๆของค่ายกิจกรรมทุกๆค่ายโดยส่วนใหญ่ ที่ยังไม่รวมกับวัตถุประสงค์ของผู้จัดต่างๆ ได้เเก่ การที่ผู้เข้าร่วมได้เป็นผู้นำเเละผู้ตาม การกล้าเเสดงออก การฝึกตนเองให้ชินกับเวที การได้มามองดูตนเอง เป็นต้น ซึ่งนอกจากเราจะได้ตามสื่งที่เราคาดหวังไว้ เมื่อเราย้อนกลับมามองอีกมุมหนึ่ง เราย่อมได้อยู่เเล้ว เเต่เขาจะได้อย่างที่เราให้เขาไหม นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่พึงทบทวน

ทำเวลาไหน ?

        ๑.ทำในยามที่มีปัญหาที่เกิดขึ้นที่เราเห็นว่า ต้องรีบดำเนินงานเเก้ไขให้ดีขึ้น โดยเวลานี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้นำค่ายกิจกรรม ที่ปัญหาในเเต่ละบริบทก็เเตกต่างกันไป เเก้ไขไม่เหมือนกัน หรืออาจมาปรับใช้ร่วมกันได้(บางบริบท)

        ๒ .ทำเวลาที่อยากจะทำ ซึ่งหมายถึง เวลาที่ทุกๆคนมีใจที่อยากจะทำ (อันนี้เเล้วเเต่บริบท) เพราะการที่งานจะเดินใจ ใจต้องเดินร่วมกันไป ถ้าใจของทีมงานยังไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ผู้นำที่เห็นปัญหา อาจสร้างกำลังใจของผู้ตามในทีมตนเอง ด้วยอัตภาพเเละศักยภาพของตนที่มี ฯ

        ๓.ทำเวลาตามเราได้กำหนดไว้ในงานเรา ซึ่งอาจอยู่ในลักษณะของโครงการ โครงงาน หรือวิจัย ซึ่งเราต้องดำเนินงานอยู่เเล้ว โดยเอาข้อกำหนดตามงานเป็นที่ตั้งเเห่งเวลา

สิ่งที่ต้องคำนึงในค่ายกิจกรรม ?

๑.เหตุ-ผลที่จะทำค่าย

        การที่เราจะทำค่ายกิจกรรม หรืองานใดใด ก็เเล้วเเต่ นั้น เหตุเเละผลที่เราอยากให้เกิดขึ้นย่อมเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะเราตั้งอยู่บนฐานของเหตุเเละผล รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ การร้องเล่นเต้นระบำ การนั่งหลับหรือนอนหลับตา ฯ ทุกอย่างมีเหตุเเละผลของมันที่เราอยากให้เกิดขึ้นกับผู้ที่มาเข้าร่วมค่ายกิจกรรมของเรา อย่างที่ได้พูดไว้ตั้งเเต่ขั้นต้นว่า เเม้เเต่รอยิ้ม เเละเสียงหัวเราะนั้น ก็มีเหตุผล เพราะเราทำค่ายกิจกรรมอย่างมีจุดหมาย ค่ายไม่ได้เป็นเพียงต้องมาร้องเล่นเต้นระบำต่อกันเเละกัน ไม่ได้มีเพียงความสนุก เเต่ค่ายกิจกรรมทุกค่ายจะต้องมีเนื้อนัยยะของเหตุผล หรือเเทรกเเง่คิดต่างๆไว้ด้วยเสมอๆ

๒.อารมณ์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

        สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดในด้านที่กำลังออกเเบบค่ายอยู่ คือ อารมณ์ของผู้คนที่มาค่ายเรา เพราะอารมณ์นี้สำคัญที่จะทำให้เขาเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้ กิจกรรมเราต้องสร้างอารมณ์จาก 0 ไปหาร้อย ไต่ระดับขึ้นไป ซึ่งความรู้สึกของคนเราก็เหมือนกับพาราโบล่า ที่ขึ้นจากจุดต่ำสุด ไปหาจุดสูงสุด เช่น เราต้องละลายพฤษติกรรมให้เขารู้จักกันก่อนเเล้วค่อยเข้าสู่การตั้งวงคุยกันหรือทำงานเป็นทีม เป็นต้น เมื่อเล่นไปได้สักพักหนึ่งเเล้ว อารมณ์ของผู้คนจะตกลงเหมือนกับพาราโบล่า "เด๊" เราเป็นผู้นำอยู่ ในขณะนั้น ก็ให้เลิกเล่นทันที เพราะเมื่อความรู้สึดเริ่มลดลงเเล้ว ทำให้อารมณ์ออกจากกิจกรรม จนทำให้เบื่อไปนั่นเอง ฉะนั้นควรเล่นประมาณ 3 - 5 รอบจะพอดี เพราะของอย่างนี้ เราเล่นให้อยาก เเล้วก็จากไป

๓.ระดับอายุของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

        อายุเเละวุฒิภาวะของผู้เข้าร่วมกิจกรรมของเรานั้นสำคัญอย่างยิ่ง เพราะบางเกม เหมาะสำหรับเด็กอนุบาล บางเกมเหมาะสำหรับเด็กมัธยม เด็กวัยรุ่น หรือบางเกมเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งหลายๆครั้งเราไม่สามารถที่จะใช้ร่วมกันได้ เราก็ต้องมาใคร่ครวญดูให้ดีก่อนว่ามีความเหมาะสมไหม เหมาะสมอย่างไร ในทีมที่ทำงาน

        -อนุบาลควรเป็นเกมง่ายๆ เต้นง่ายๆ เเละเด็กรู้ดีว่าสิ่งนั้นมันคืออะไร ไม่ต้องมีกฏเกณฑ์อะไรมากมาย เพราะเด็กอาจไม่เข้าใจ อาจเน้นเพลงเป็นส่วนใหญ่ให้ปรบมือหรือ เล่นมอญซ่อนผ้าเวอร์ชั่นต่างๆ หรืออาจวาดรูป

        -ประถมเป็นเกมที่พัฒนาขึ้นมาอีกให้ก้าวทันความคิดเด็ก โดยอาจเน้นไปที่เริ่มมีการออกเเรงไปด้วย เล่นไปด้วย เน้นที่การร้องเล่น เเละเต้นในบางครั้ง

       - วัยมัธยมเป็นวัยที่ต้องเสริมเเง่คิดในการดำเนินชีวิตลงในตัวกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้ โดยไม่ร้องเล่นเพียงอย่างเดียว เเต่เอากิจกรรมเเบบทีมมาใช้ในระดับที่ยากขึ้น

        -วัยมหาวิทยาลัยเป็นวัยรุ่นที่เหมือนผู้ใหญ่ วัยนี้ส่วนมากที่เห็นเเล้วไม่ค่อยอายกันนัก สามารถให้เต้นละลายพฤติกรรมได้ เเละมีวุฒิภาวะที่เราสามารถจัดเเนวคิดได้เต็มรูปเเบบ เเต่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเป็นหลัก เเล้วในวัยนี้ควรเเทรกเเง่คิดในการอยู่ร่วมกันหรืออยู่ในสังคมเป็นหลัก

๔.ความอับอายของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

        ในกรณีที่จะเกิดความอายกันเกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่ที่เรามองเห็นได้ชัดเจนก็คงจะเป็น เมื่อยาม มีเกมจบลงเเล้วมีการลงโทษ ผู้ที่ทำไม่ได้หรือทำไม่ทันเพื่อน ซึ่งการลงโทษผู้เข้าร่วมกิจกรรม ด้วยการเต้นหรือเดินไปร้องตะโกนอยู่ในที่ผู้คนพลุกพล่านหรืออื่นๆ จะทำให้เกิดความอายเกิดขึ้น จนก่อให้เกิดความกลัว เเล้วอารมณ์ที่ดีก็จบลงในที่สุด หลายๆคนอาจเต้นได้อาจกล้าเเสดงออก ซึ่งคนกลุ่มนี้เราสามารถให้เต้นได้ เเต่คนบุคคลิกเงียบๆไม่ค่อยพูดจา ไม่ค่อยกล้าเเสดงออกนั้น ถ้าเราลงโทษด้วยการเต้นไม่ได้ หรือเต้น ก็เต้นอย่างไม่ให้อาย โดนอายเต้นพร้อมกัน ที่เป็นท่าที่ทุกๆคนสามารถยอมรับได้ สรุปง่ายๆคือ ผู้คนเราเเบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆด้วยกัน ดังนี้

        -บุคคลที่กล้าเเสดงออก ให้เต้นได้ เพื่อที่จะให้ ผู้ชมมีใจร่วม

        -บุคคลที่ไม่ค่อยกล้าเเสดงออกให้เต้นไม่ได้เเต่ให้ใช้วิธีการอย่างอื่นเเทนการเต้นที่เป็นการทำโทษ..เช่นมีเส้นวาสนาหรือให้เต้นด้วยกันทุกๆคนในท่าที่ไม่อายพอรับได้

๕.ความลามกอนาจาร

        ความลามกอนาจารอาจใช้ได้ในบางคน เเต่ในหลายๆคนเขายอมรับไม่ได้ จนทำให้ความรู้สึกร่วมลดลงจนหมดไปในที่สุด บางเกมที่ส่อไปทางเพศมากๆไม่ควรนำมาใช้ในค่าย อาจทำให้เกิด การชี้โพรงให้กระรอกในทางที่ไม่ดี เเละอาจส่งผลทำให้ผู้คนมองว่าเรื่องเกมที่ลามกเป็นเรื่องปกติก็เป็นได้ ฉะนั้นเกมลามกหากเลี่ยงได้จะดีมาก เเต่ในบางบริบทก็สามารถใช้ได้(ขึ้นอยู่กับสังคม)

๖.ความเชื่อทางศาสนา

        ความเชื่อความศัทธาทางศาสนาไม่ควรนำมาล้อเล่นในเกมของเรา เพราะในบางที เกมของเราอาจส่อไปด้านการลบหลู่เเละหยามเหยียดซึ่งกันเเละกัน เช่น การไม่ควรเอาสัตว์ที่คนอื่นเคารพบูชามาเป็นเรื่องบันเทิงของเราเอง ผลเสียในเเง่นี้เกิดขึ้น คือ ผู้ที่เขาเคารพบูชาเขาจะต่อว่าเเละเกิดปากเสียงกันได้ อาจทำให้ผู้อื่นที่มองเห็น ไร้ซึ่งความเชื่อในผู้นำกิจกรรมในที่สุด

๗.ภาษาที่ใช้

        ภาษาที่ใช้นั้นก็เป็นเทคนิคอีกทางหนึ่งที่ทำให้เกมของเรา เข้าใจ เเละง่าย เพราะสื่อสารได้ตรงประเด็น ซึ่งเกมบางเกมเราอาจมีหลายภาษาอาจใช้ภาษาถิ่นบ้าง เเล้วลองมาเปลี่ยนเป็นภาษากลางบ้าง เพื่อให้เพียงเกมเดียวของเรามีความแปลกใหม่ เพิ่มมากยิ่งขึ้น ถ้อยคำที่ถ้อยควรใช้ถ้อยคำที่มีจังหวะ ไม่พูดรัวเกินไป เเละไม่ช้าจนไป(บางบริบท) เสียงหนักเเน่นไว้เป็นดี เพราะมันจะทำให้ดูน่าทำตามมากยิ่งขึ้น

๘.สถานที่จัดกิจกรรม

        สถานที่การดำเนินกิจกรรมนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องควรคำนึง เพราะหลายๆครั้งสถานที่เราก็ไม่สามารถเล่นเกมบางเกมได้ ซึ่งมันก็อาจเเคบจนเกินไป กว้างจนเกินไป เป็นพื้นดิน หรือพื้นปูน หรือหญ้าที่สามารถปักผิวหนังทำให้บาดเจ็บ ซึ่งเราก็ควรออกเเบบกิจกรรมเราตามสถานที่ร่วมด้วย ว่าในที่เช่นนี้ เราสามารถทำได้ไหม

๙.คำต้องห้าม

        ในการดำเนินกิจกรรมนั้น คำที่ไม่ควรพูดที่จะทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมน่าเบื่อ ได้เเก่ พร้อมไหม พร้อมกันหรือยัง หรือจะทำได้ไหม โดยให้ใช้คำว่า "ลองทำดู" เเทน ซึ่งคำต่างๆ ของผู้นำกิจกรรมในตอนนั้น  ที่ผู้ร่วมกำลังอยากรู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น เเต่ก็ต้องมาตอบกับผู้นำกิจกรรมว่า ฉันจะทำได้นะ ทั้งๆที่ก็รู้ว่าทุกคนทำได้ ทำให้รู้สึกเบื่อเล็กๆ ตั้งเเต่เริ่มเเรก ฉะนั้นคำต้องห้ามจึงไม่ควรให้มีเกิดขึ้น

๑๐.การมีส่วนร่วม

        เราเป็นคนที่ทำค่าย เเต่จะทำค่ายอย่างไร ให้ผู้คนได้ร่วมไปด้วยกัน ซึ่งเมื่อผู้คนได้ร่วมไปด้วยกัน มันจะเป็นปริมาณซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อในผู้นำอย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้คนมาทำร่วมกันให้มากที่สุด เพราะทุกๆคนสำคัญเท่ากันหมด

๑๑.ตัวหลักเเละตัวเสริม

        กิจกรรมค่ายของเราควรมีตัวหลักซึ่งหลายถึงคนที่จับไมค์มากที่สุดอยู่เป็นบุุคคลๆไป เพราะการที่เราเปลี่ยนผู้นำกิจกรรมทุกกิจกรรมหรือบ่อยๆครั้ง ก็จะทำให้ผู้เข้าร่วมต้องเริ่มจูนความคิดของตนเองใหม่ ถ้าจะให้ดีควรเเบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจนว่า ใครที่จะจับไมค์ตัวหลัก(ผู้เข้าร่วมจะได้จดจำถูก) เเล้วใครที่จะเป็พิธีกรต่างๆ เเละวิทยากรต่างๆ ให้ชัดเจน

๑๒.จังหวะของความคิด

        ในการทำค่ายใดใดก็ตาม ควรนึกไว้เสมอๆว่า เวลาที่คนเราสมองจะปลอดโปร่งที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่สุดนั้น จะเป็นช่วงเวลาใด ถ้าเป็นเวลาในตอนเช้าๆ เด็กจะคิดเเละจะมีความรู้สึกตื่นเต้นได้ดีมาก ส่วนช่วงบ่ายเมื่อเราให้ทำกิจกรรมมากๆ สมองอาจเริ่มล้า โดยอาจให้เน้นกิจกรรมกลุ่มเเทนที่มีการคิดช่วยกัน ในกิจกรรมที่เป็นเเก่นจะต้องมีกิจกรรมนำเข้าที่อาจอยู่ในรูปแบบของการละลายพฤติกรรม ละลายความเครียดก็ได้ เพราะในช่วงขิงกิจกรรมนั้น เราไม่ได้มีเพียงความเครียดจนเกินไป เเละความสนุกจนลืมเเก่น

        ในกิจกรรมเราต้องมีทั้งเสียงหัวเราะเเละละลายพฤติกรรมทุกคนให้เข้ากัน เเล้วจึงมาเข้าสู่เเก่นเรื่อง จากนั้นเมื่อเข้าสู่เเก่นเรื่องเเล้ว เราก็ต้องมาให้มีเสียงหัวเราะเกิดขึ้น หรือมีเกมที่มาขั้นช่วงทำให้ไม่เครียดจนเกินไป เเล้วก็มาเข้ากิจกรรมต่อไป เเล้วเป็นไปอย่างนี้ อยู่ตลอดเพราะ เเคร์ความคิดของผู้เข้าร่วม เป็นหลัก

        ปัจจัยทางด้านอากาศก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้คนเริ่มที่จะเบื่อ เเล้วทำให้อารมณ์ลดลงจนหมดไปในที่สุด เเล้วนอกจากนี้เเล้ว ความหิว ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้อารมณ์ร่วมลดลง ซึ่งเราก็ควรให้พักบ้างประมาณ 10 - 15 นาทีเเล้วค่อยกลับมาอีกครั้งหนึ่ง อาจมีของเบรคก็ได้ตามทุนที่มี เเละความไม่ที่สงบ คือ คนพูดคุยกันเยอะ ก็ทำให้อารมณ์ร่วมลดน้อยลงมากเช่นเดียวกัน

        ฉะนั้นผู้นำค่ายกิจกรรมจึงเป็นนักอารมณ์ ที่ต้องรักษาระดับของอารมณ์เเละความคิดของผู้ที่เข้าร่วมค่ายกิจกรรม

หมายเลขบันทึก: 655411เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2018 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ตุลาคม 2018 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท