การฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารสุขภาวะเขตเมือง รุ่นที่ 1


สวัสดีครับชาว Blog, 

        ขอต้อนรับทุกท่านสู่หลักสูตรนักบริหารสุขภาวะเขตเมือง รุ่นที่ 1 ซึ่ง Chira Academy ร่วมกับ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ได้รับมอบหมายจากสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ให้เป็นผู้ดำเนินการด้านวิชาการส่วนหนึ่งสำหรับหลักสูตรนักบริหารสุขภาวะเขตเมือง รุ่นที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อพัฒนาข้าราชการสำนักอนามัย จำนวน 30 คน ในระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม – 7 พฤศจิกายน 2561 (หลักสูตร 5 วัน)

       ผมจึงขอเปิด Blog นี้เพื่อเป็นคลังความรู้ และช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันครับ

จีระ   หงส์ลดารมภ์


หลักสูตรนักบริหารสุขภาวะเขตเมืองรุ่นที่ 1


หัวข้อ ภาวะของผู้นำและการนำองค์กรทางสุขภาพ


โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์


     อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล


คุณวราพร ชูภักดี


วันที่ 10 ตุลาคม 2561

(บันทึกสรุปการเรียนรู้โดยทีมงานวิชาการ Chira Academy เขมิกา ถึงแก้วธนกุล)

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งสำคัญในวันนี้ที่ดร.จีระ อยากจะพูดให้ทุกท่านคำนึงถึงคือ

1. Value Added

2. Value Creation

  - อยากให้แต่ละท่านหลุดจากวัฒนธรรมเดิม ๆ อยากให้ใน 5 วันนี้มาให้ทุกท่านคิดนอกกรอบ

  - นอกจาก Creativity ยังมี Smart Creativity

3. Value Diversity คือหัวใจในการเรียนอีกอันหนึ่ง  การนำความหลากหลายมาสร้างมูลค่าเพิ่ม การนำความคิด เอามุมมองที่แตกต่างไปใช้

 

วัตถุประสงค์

1.การมีเป้าหมาย โดยเฉพาะถ้าเป็นเป้าหมายที่สูงจะเป็นเรื่องดีที่นำไปสู่เป้าหมายได้

2.การมี Good Idea จะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้

 

Happy at Work

  ถ้าคนเราอยากเป็นคนมี Happy at work อย่างน้อยต้องมี 3 อย่าง

1. Passion ในการทำงาน หมายถึงงานที่ทำอยู่มีความหลงใหลหรือไม่  You like what you do

2. Purpose

  อย่างเป้าหมายหลักของผู้เรียนในห้องนี้คือการตอบสนองงานของทุกท่าน เป้าหมายรองคือการสร้าง Networking

3. Meaning

ยกตัวอย่าง Meaning ในห้องนี้จะจับเรื่อง Ageing Population ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นการนำเรื่อง Health มาแบ่งปันให้สังคม

นอกจากนี้อาจอยู่ที่เรื่อง Life Long Learning ด้วย

วิธีการเรียนรู้

ใน 5 วันนี้จะทำหน้าที่ดึงความเป็นเลิศของแต่ละคนออกมา จะดึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของทุกคนมา อยากมี Excellent ในการเอาไอเดียไปต่อยอด

ยกตัวอย่าง Peter Drucker บอกว่าให้ลองหาดูว่าก่อนตายสิ่งที่คุณคิดว่าประสบความสำเร็จคืออะไร อย่าง Peter บอกว่า ได้เรียนรู้จากลูกศิษย์ คนในห้องต้องออกความเห็นกันเอง และรวมพลังแล้วก็ดี อย่าง Peter ชอบให้เด็กถามคำถาม และเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน

Professor ที่ดีคือต้องให้เด็กเก่งกว่าอาจารย์

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

  กทม.ที่เห็นคือการมีชุมชนที่แตกต่าง มีชุมชนเมือง ชนบท และที่ยากไร้จำนวนมาก แต่มีเครือข่ายที่ช่วยเสริมแรงในการทำงานได้

  ในองค์กรเดียวกัน บางครั้งต้องผลัดกันนำเนื่องจากไม่ได้มีการนำโดยหน้าที่

      โจทย์ของหลักสูตร

          1. ผลงานที่เป็นรูปธรรม หัวข้อหลักของรายงานการศึกษา ผ่านการศึกษาร่วมกันและเป็นทีม เป็นผู้นำที่กลุ่มแต่งตั้ง (Authorize) และผู้นำโดยธรรมชาติ ซึ่งกลุ่มของท่านเป็นกลุ่มอิสระ มีการ Commit หลวม ๆ ทุกท่านมีอิสระต่อกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดออกแบบผลลัพธ์ของหลักสูตร ประกอบด้วย

1. การจัดกิจกรรมชุมชน และ

2. การเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม

การจัดกิจกรรมชุมชน ต้องมีผู้นำแบบ Soft Power อย่างหนึ่งต้องเรียนรู้การบริหารเครือข่าย หมายถึงเขาก็ไม่สามารถบังคับเองได้ สิ่งหนึ่งที่ทุกท่านต้องมีคือ Multi skill

ผลงานหลักสูตรต้องมีรายงานทางวิชาการในการเขียนกึ่งวิจัย มีทักษะที่ทำให้ได้งานชิ้นหนึ่ง

ดร.จีระเสริมว่า การมีเป้าหมายรองต่อจากการป้องกันโรคสมองเสื่อม เราอาจใช้วิธีกระตุ้น  Aging Population ทางสื่อโดยไม่มองคนว่าแก่ อย่างการมี Networking กับกระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อย่างการมี  Sense of Belonging อยู่ที่ไหน

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือกระบวนการบริหารจัดการ ที่จะนำเสนอในรายงาน  อาทิ

          1. Information Flow

          2. Financial Flow

          3. Aging Population

          4. Urban Architecture

          5. ชุมชนเมือง ชุมชนผู้ด้อยโอกาส

          6. Urban Design

          7. Team ที่ต้องเก่งทุกคน ซึ่งเป็นเรื่องยากที่คนเก่งแต่ละคนเหมือนกันหมดจะมี Ego

          ปัญหาที่พบคือ กทม.ไม่เก่งเรื่องประชาสัมพันธ์เลย

          ทั้งหมดจะนำสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้โดย Chira Way มีระบบนิเวศน์ที่ต้องดูเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยรอบ

 

คุณวราพร ชูภักดี

 

 

การบ้าน

ใน 1 วันได้เรียนรู้อะไร 1 ประเด็น เขียน 1 วัน 1 คำคมที่จะสื่อสารให้กับสังคมด้วย

 

การร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น      

1. โดยปกติเป็นคนที่ติดอยู่ในกรอบแต่เด็ก ตอนเรียน และทำงาน วันนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีในการออกนอกกรอบ

          คุณพิชญ์ภูรี แลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่าทุกท่านจะมีกล่องที่มีอยู่ในตัวตนอยู่แล้วคือ Tacit Knowledge  คนพูดแบบนี้เป็นคนที่เปิดกว้างแต่นึกว่าตัวเองแคบ ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเอาน้ำเติมเต็มแก้วอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นการจุดไฟในน้ำ มีการกวนตะกอนที่เปิดรับความรู้ใหม่ ๆ แล้วสร้างอะไรที่เป็น Master Piece ของเรา ของหน่วยงาน ขององค์กร ของประเทศ

          ดร.จีระ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่า เป็นคำถามที่ถูกต้องมาก มี 4 ประเด็น อันแรกเป็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บอกว่าสิ่งที่พูดทำไม่ได้หรอก งานมากแล้ว แต่ที่มาคือมาให้กำลังใจ และ Inspire ทุกท่าน ประเด็นที่สองคือการคิดเล็ก ๆ เพื่อเอาชนะใหญ่ ๆ เพราะการออกนอกกรอบมีความเสี่ยงที่จะชนะ Culture ใหญ่ ๆ ซึ่งยาก อย่าทำคนเดียวเป็น Coalition และประเด็นสุดท้ายคืออ่านหนังสือมาก ๆ

          การที่เราอยู่ในบรรยากาศ 5 วันเหมือนกับการออกนอกกรอบ เพราะคำพูดของเขาเป็น Defensive และทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง การทำงานเกี่ยวกับการคิดไปสู่ความเป็นประโยชน์ของประชาชนใช้ทฤษฎี 3 ต.(ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง) ถ้าเราคิดถึงคนจำนวนมาก คนส่วนใหญ่ของประเทศก็จะเกิดประโยชน์มหาศาล

          คำถามแรกอย่าท้อใจ เพราะนำสู่ทฤษฎีหนึ่งในการปรับ Mindset เราต้องปรับตัวให้รอด

 

2. หลักสูตรแพทย์ในประเทศไทยไม่ได้เรียนมาเพื่อบริหารแต่เพื่อมารักษา แต่สำหรับตนเองได้มาเป็นผู้บริหาร มาอยู่สาธารณสุข ราชการ และกทม. มีกรอบที่ตึงอยู่ สำนักอนามัยที่อยู่ทำให้เราต้อง Approach กับส่วนอื่น ๆ ต้องลงเรือไปในส่วนอื่น ๆ Motto ของตัวเองคือ  ผู้นำที่ดีคืออย่าหลงตน เข้าใจคน สร้างคน สร้างเครือข่าย

          อาจารย์พิชญ์ภูรี เสนอความคิดเห็นว่า ต้องยอมรับว่าท่านถ่อมตัว อย่างหลายโครงการที่คิดขึ้นมา มีบุคลากรทางการแพทย์เป็นคนคิด และเป็นคนลงมือทำ มีการหาทีมอาสา และทำด้วยจิตสาธารณะ          ถ้าคนหนึ่งดูแลผู้ป่วย  1 คนจะไม่มีเวลา แต่ถ้าหาอาสาสมัครจะมีประโยชน์มาก การดูงานเป็นส่วนหนึ่งของกรณีศึกษาที่ดีที่สุด อย่างคนรวยอาจไม่ต้องห่วงมากเนื่องจากมีคนดูแล แต่มีคนอีกคนกลุ่มหนึ่ง ถ้าทำได้จะได้ศักดิ์ศรีและบุญมหาศาล

          ประเทศที่ไปดูงานคือญี่ปุ่น เห็นคนแก่กวาดใบไม้ เป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันโรคสมองเสื่อม เป็นการดูแลชุมชน และมีคนในชุมชนเอาหารมาให้เนื่องจากเขาดูแล

          Behavior Change และการเรียนไปเพื่อชนะอุปสรรค เราต้องเริ่มจาก

1. Where are we?

2. Whrere do we want to go?

3. What are strategy?

          4. ที่สำคัญคือที่หลักสูตรนี้สอนคือ How do you overcome difficulty ?

เราสนใจในลูกค้าของเรา เราสนใจว่าคนจะได้รับประโยชน์หรือไม่  สามารถ Inspire ให้คนเป็นเลิศได้หรือไม่

เราต้องจำบรรยากาศ Moment นี้ไว้ อย่างทั้งสองคำถามตรงกับแนวคิด ดร.จีระคือ 2R’s ประเด็นอยู่ที่เราสามารถ Expose Idea ต่าง ๆ ได้หรือไม่ เราต้องนำไปปฏิบัติ

 

3. วันนี้เรียนเรื่องภาวะผู้นำ ถ้าคิดแทนเพื่อนทุกคนเป็นผู้นำองค์กรตัวเองอยู่แล้ว มีความคิดเป็นผู้นำส่วนหนึ่ง  หลังจากที่ฟังมา เรารู้สึกว่าความเป็นผู้นำละลายไปแล้ว รู้สึกว่าไม่ใช่ผู้นำ หรืออาจต้องให้คำจำกัดความใหม่ และคิดว่าจะนำพวกเราทุกคนไปสู่ความเป็นผู้นำที่เหมาะสม และสร้างให้สำเร็จสู่ความเป็นผู้นำ เรื่อง Networking อาจเชื่อมจาก 1ต่อ 1 เชื่อมกันก่อน

          ดร.จีระ เสริมว่า หลักสูตรยังอยู่ที่ผู้นำ แต่ผู้นำไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งอย่างเดียว อยู่ที่การทำองค์กรให้เป็นเลิศได้ อย่างผู้นำที่เรียกว่า Servant Leadership ผู้นำยุคใหม่คือผู้นำที่กระตุ้นคนอื่น ยกย่องให้เกียรติ

          ผู้นำที่มาจากตำแหน่งคือ Authority Base  และผู้นำที่มาจากความศรัทธาคือ Trust Base เราต้องมาปรับที่พฤติกรรมด้วยและจะทำให้เราสร้างอะไรได้มากขึ้น

          อาจารย์พิชญ์ภูรี เสริมว่า มีผู้นำที่เป็น Humanize Leadership คือผู้นำที่มีจิตวิญญาณถึงมนุษย์

          ความเป็นผู้นำสามารถใช้ได้ทุกรูปแบบ เป็นทฤษฎีที่เป็น Chira Way จริง ๆ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ข้อดีของ ดร.จีระคือวิธีการเรียนที่กระตุ้นให้คนเป็นเลิศ

4 L’s : Tool of Learning & Development

1. Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี สอนให้คิด

- สร้างแรงบันดาลใจ ไม่ลอก

2. Learning Environment  สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3. Learning Opportunities   สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

          - โอกาสที่ได้ปะทะกันทางปัญญา

4. Learning Communities   สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

          - หลังจาก 5 วันที่จบไปแล้วต้องมีวัฒนธรรมในการเรียนรู้

 

2 R’s : Tool of Learning & Development

Reality        มองความจริง      

          Relevance       ตรงประเด็น

          เราอย่าพูดทุกเรื่อ แต่ให้พูดในประเด็นที่สำคัญที่สุด เอาความจริงของ กทม.มา

 

3 L’s

1. Learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด

2. Learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์

3. Learning from listening  เรียนรู้จากการรับฟัง

 

ทฤษฎี 3 ต.

          ทำงานแบบกัดไม่ปล่อยคือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

 

Quotations

“Managing is doing things right , Leadership is doing the right things.”

– Peter Drucker-

Doing the right thing คือเลือกสิ่งที่มีประโยชน์และคุณค่าสูงสุด

 

 

 

 

 

ผู้นำกับผู้บริหาร

ผู้นำ

  • เน้นที่คน
  • Change

-          Trust

-          ระยะยาว

-          What , Why

-          มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์

-          เน้นนวัตกรรม

ผู้บริหาร

  • เน้นระบบ
  • Static

-          ควบคุม

-          ระยะสั้น

-          When , How

-          กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน

-          จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ

ชนิดของผู้นำ

          - Trust / Authority

          - Charisma

          - Situational

          - Quiet Leader

เรื่อง Trust หรือ ศรัทธาของการเป็นผู้นำเกิดได้แก่ทุก ๆ คน ไม่ใช่แค่มีตำแหน่งเท่านั้น

Trust คืออะไร?

มีหลายคำจำกัดความ..แต่ในความเห็นของผมน่าจะแปลว่าคนในองค์กร/ชุมชน/สังคมเชื่อมั่น ศรัทธาและพึ่งพาในการกระทำในช่วงวิกฤติ และช่วงปกติที่จะนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน และคนในองค์กร/ชุมชน/สังคมมีความสุข

Trust มี 3 ขั้นตอน

  • สร้าง (Grow)
  • ขยาย (Extend)
  • ดึงกลับ ถ้าหายไป    (Restore)
  • Self Trust – ตัวเองต้องมีก่อน สัญญาจะทำอะไรกับตัวเองต้องสำเร็จตามสัญญา
  • Relationship Trust – ความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร
  • Organization Trust
  • Social Trust

Trust มีหลายประเภท

วิธีการได้มาซึ่ง Trust ระหว่างบุคคล (Relationship Trust)

  • พูดจริงทำจริง ชัดเจน ไม่คลุมเครือ
  • รักษาคำมั่นสัญญา (Commitment)

2.      ยกย่องนับถือเพื่อนร่วมงาน (Respect)

3.      ทำงานด้วยความโปร่งใส

4.      มีปัญหาที่ไม่ดี แก้ให้ดี ถูกต้อง

5.      เน้น Results มากกว่าทำโดยไม่รู้ว่าผลสำเร็จคืออะไร

6.      ต้องปรับปรุงตัวเองตลอดเวลา

7.      รับความจริงหรือรู้ศึกษาความจริง (Reality)

8.      มีความชัดเจนต่อความคาดหวังของผู้ร่วมงาน และของตัวเอง

9.      รับฟังอย่าสั่งการข้างเดียว

วิธีการได้มาซึ่ง Organization Trust ในที่นี้หมายถึงชุมชนของเรา

  • มี VISION – MISSION – Strategies + Core Value
  • มี Shared Vision

2.      ไปสู่ความสำเร็จด้วยทุกกลุ่ม (Alignment)

วิธีการได้มาซึ่ง Social Trust หมายถึงสังคมวงกว้างออกไป

          มีบทบาทที่ดีต่อส่วนรวม สร้างความปรองดอง  ความมั่นคงของคนในประเทศ ในต่างประเทศ โดยเฉพาะตะวันตก มีหัวข้อวิจัยมากมายเกี่ยวกับผู้นำ  สำหรับตะวันออกยังมีน้อยอยู่จึงมักจะใช้ Role Model เป็นหลัก

ตัวอย่างผู้นำที่โลกกำลังให้ความสนใจในยุคปัจจุบัน และผู้นำที่สำคัญของไทยไว้ดังต่อไปนี้

1. กล้าหาญ

2.  ต้องรุกได้ แต่ต้องตั้งรับ และไม่ประมาท

3. การนำอยู่ข้างหลัง จะต้องแน่ใจว่า คนที่เรายกย่องให้มีบทบาทอยู่ข้างหน้า ต้องให้เขามีความรู้สึกว่า เขาได้นำอย่างน่าภูมิใจ และสมศักดิ์ศรี

4. ถ้าจะจัดการบริหารศัตรู ต้องรู้จักศัตรูให้ดี

5.  การจะอยู่อย่างผู้นำควรใกล้ชิดกับเพื่อน แต่กับคู่แข่ง หรือคนที่เราไม่ชอบ ต้องใกล้ชิดมากกว่า

6.  มีภาพลักษณ์ที่ดี ต้องปรากฏตัวตามที่ต่าง ๆ อย่างมีเกียรติและสง่างามเสมอ

7. ไม่เน้น ถูกหรือผิด แบบ 100% หรือ ขาวหรือดำ 100% มีการประนีประนอมที่เหมาะสม แต่รักษาหลักการไว้ และหาทางตกลงกันได้แบบ Win – Win

8.  รู้ว่าจังหวะไหน จะ "พอ" หรือ จะ "ถอย"

8 Rules of Leadership (Obama)

  • สร้างศรัทธาและความมั่นใจ Trust และ Confidence แก่ผู้ร่วมงานและแนวร่วม
  • เป็นผู้นำต้องรู้ว่า จะพาประเทศไปทางไหนโดยสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Communicate your Vision Effectively)
  • สร้างให้คนส่วนใหญ่ เข้าถึงประวัติ ความสำเร็จ ความสามารถที่สะสมมาในอดีต สร้างชื่อเสียง (Build Strong Reputation)
  • สร้าง Networks ในทุกๆ แห่ง โดยเฉพาะในจุดที่ตัวเองอาจจะไม่มีโอกาสได้สัมพันธ์มาก่อน (Make Friends in Unusual Places)
  • ทุกคนที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ใช่มีแค่ High performance ของความสำเร็จของบางกลุ่ม แต่ต้อง All hands คือการให้ทุกๆ คนมีส่วนได้ส่วนเสีย ก็คือการสร้างทีมงานที่ทุกคนทำงานร่วมกัน
  • สร้างความหลากหลายให้เป็นมูลค่าเพิ่ม (Diversity to value added)
  • ใช้ Technology ให้เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน เช่นการสร้าง Social Network ก็ให้คน 2 ล้านคน ช่วยสนับสนุนการเงินในช่วงหาเสียง
  • สร้างขวัญกำลังใจให้แก่เพื่อนร่วมงานทุกคน (Motivation and inspiration)

คุณสมบัติของผู้นำของฮิลลารี คลินตัน

  • เรียนรู้ตลอดชีวิต
  • ถึงจะเก่งอย่างไร? ก็ต้องรับฟังคนอื่น

2.   อย่าพอใจกับปริญญาเท่านั้น

3.   อย่าพอใจกับการเรียนในห้อง (Formal Learning)

4.   สนุกกับการคิดนอกกรอบ

5.   สนุกกับการคิดข้ามศาสตร์

6 of the Dalai Lama's Leadership Principles

  • อย่าสั่งการ ต้องเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน
  • ถ้าต้องการเรียนรู้อะไรบางอย่าง ต้องฟัง และค้นคว้าหาข้อมูล
  • อย่าคิดว่าตัวเราคิดถูกทุกเรื่อง หากมีคนที่คิดไม่เหมือนเราซึ่งคุณคิดว่าไม่ถูกต้อง..ต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้
  • มีอารมณ์ขัน อย่าโกรธง่าย รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
  • สอนให้คนรู้จักคิด หาคำตอบได้ด้วยตัวเอง อย่าบอกคำตอบหรือหาทางออกให้ทุกเรื่องทุกเรื่อง
  • มีความรับผิดชอบ

คุณสมบัติของผู้นำของท่านผู้ว่าฯ เกษม จาติกวณิช หรือ “Super K”

1. ผู้นำต้องมีความรู้

2. ผู้นำต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักและเคารพ

3. ผู้นำต้องสร้างจิตวิญญาณในการทำงานเป็นทีม

4. ผู้นำต้องรู้จักมอบหมายงาน

5. ผู้นำต้องฟังความเห็นผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ

6. ผู้นำต้องรู้จักให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่โอ้อวดและยกตนข่ม

7. ผู้นำต้องมีความเมตตา โอบอ้อมอารีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

กฎของการเป็นผู้นำของ อีลอน มีดังนี้ 1.ผู้นำที่เป็นตัวอย่าง ผู้นำต้องทำงานในสิ่งที่ยากและเป็นไปไม่ได้เสมอ 2.นำโดยมีเป้าหมาย เรื่องนี้คือไม่ใช่เป้าหมายธรรมดาแต่เป็นเป้าหมายที่ปฏิวัติโลกเปลี่ยนแปลง อย่างรุนแรง 3.เป็นผู้นำเน้นการคิดสร้างสรรค์ 4.ผู้นำที่ไม่ทำงานคนเดียว สร้างทีมงาน ร่วมมือกับคนอื่นๆ 5.ผู้นำเน้นนวัตกรรม 6.ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจ 7.ผู้นำพร้อมจะเปลี่ยนแปลง 8.ผู้นำต้องเลือกคนเก่งมาทำงาน การรับคนมาทำงานต้องเอาใจใส่มากๆ 9.ผู้นำต้องมีมาตรฐานสูง 10. ผู้นำจัดคนให้ตรงกับงาน   

สีจิ้นผิง คิด 2 อย่างคือ

1. มีคุณภาพ มี Professionalism

2. มีคุณธรรมจริยธรรม

4 E’s Leadership ( Jack Welch )

1. Energy    มีพลัง

2. Energize    สามารถกระตุ้นให้คนอื่นมีพลัง

3. Edge   เด็ดขาด กล้าตัดสินใจ

4. Execution   ลงมือทำให้เกิดความสำเร็จ

4 Roles of Leadership (Stephen Covey)

1. Path finding           การค้นหาเส้นทางความก้าวหน้า/การพัฒนา

2. Aligning    กำหนดทิศทางไปในแนวทางเดียวกัน

3. Empowering           การมอบอำนาจ

4. Role Model           การเป็นแบบอย่างที่ดี

 

ทฤษฎีล่าสุดของ      Jack Welch

Leader / Teacher

 

Transactional Leader

          คือการทำสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น

Transformational Leader

          คือการเปลี่ยนแปลงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง การปฏิวัติการทำงานให้เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง

 

Leadership Roles (Chira Hongladarom style) 1. Crisis management การจัดการภาวะวิกฤต

2. Anticipate change คาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงได้

3. Motivate others to be excellent การกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม

4. Conflict resolution การแก้ไขความขัดแย้ง

5. Explore opportunities การสร้างโอกาสแก่ผู้อื่น

6. Rhythm & Speed รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว

7. Edge ( Decisiveness ) กล้าตัดสินใจ

8. Teamwork ทำงานเป็นทีม

9. Uncertainty Management การบริหารความไม่แน่นอน

ภาวะผู้นำของ Peter  Drucker

1. Ask what needs to be done ถามตัวเองว่าเราต้องทำอะไรให้สำเร็จ

2. Ask what’s right for enterprise ถามว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องที่ต้องลงมือทำ

3. Develop  action  plans พัฒนาแผนปฏิบัติการ

4. Take  responsibility for decision รับผิดชอบต่อการตัดสินใจ

5. Take  responsibility for  communicating รับผิดชอบต่อการสื่อสาร

6. Focus on opportunities  not problems  มุ่งที่โอกาสไม่ใช่ปัญหา

7. Run  productive  meetings  จัดให้มีการประชุมที่สร้างให้เกิดผลผลิต

8. Think  and say  We not  I  คิดและพูดด้วยคำว่า “เรา” ไม่ใช่ “ฉัน”

 

HUMAN-CENTRED LEADERSHIP

 

หนังสือของดร.จีระ ซึ่งเขียนร่วมกับพระอาจารย์ ว. วชิรเมธี ชื่อ “พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม”

ยกตัวอย่าง 4 ผู้นำของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

Key Research – ทักษะของผู้นำ

  • Integrity Skill
  • Balancing Skill

2.      Transparency Skill

3.      Grooming Young Leaders

4.      Innovation Skill

5.      Diversity Skill

 

 

 

ทฤษฎี 5 E’s

1. Example คือ เป็น/สร้างตัวอย่างที่ดี

2. Experience คือ สะสม/ถ่ายทอดประสบการณ์

3. Education คือ ให้การศึกษา ให้ความรู้

4. Environment คือ สร้างบรรยากาศที่ดี

5. Evaluation คือ มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

การสร้างผู้นำแบบ Ram Charan

  • Identifyผู้นำตั้งแต่อายุน้อย
  • ดูแลไม่ให้เขาตกราง

2.   ศึกษาว่าแต่ละคนเก่งเรื่องอะไร

3.   พัฒนาเขาเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง

 

 

Workshop

1. วิเคราะห์คุณลักษณะของผู้นำที่พึงปรารถนา 5 ประการในการนำองค์กรของสำนักอนามัยพร้อมเหตุผลสนับสนุน (กลุ่ม 1)

         

2. วิเคราะห์บทบาทผู้นำของผู้นำสำนักอนามัยที่สำคัญที่สุด 5 เรื่อง และยกตัวอย่าง Role Modelของกลุ่ม 3 ท่าน พร้อมอธิบายเหตุผล (กลุ่ม 2)

3. ผู้นำในสำนักอนามัยมีกี่ระดับ วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของการพัฒนาผู้นำในระดับต่าง ๆ และเสนอแนะกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาตอบโจทย์ 4.0 และการพัฒนาที่ยั่งยืน (กลุ่ม 3)

 

การนำเสนอ Workshop

1. วิเคราะห์คุณลักษณะของผู้นำที่พึงปรารถนา 5 ประการในการนำองค์กรของสำนักอนามัยพร้อมเหตุผลสนับสนุน (กลุ่ม 1)

          1. การทำงานเป็นทีม เป็นผู้ประสานที่ดี

          2. มีความสามารถในการวางแผน เนื่องจากต้องเชื่อมโยงหลายหน่วยงานทั้งระบบบน ระดับล่าง และหน่วยงานใกล้เคียง

          3. มีความกล้าหาญในการตัดสินใจ ต้องได้ข้อมูลที่พร้อม รวมการติดตามข้อมูล

          4. มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

          5. สร้างโอกาส บุคลากรควรได้รับการผลักดันและสนับสนุนในการสร้างทีมงาน

          ดร.จีระ เสริมว่ากลุ่มนี้มองโลกความจริง ชอบสุดคือข้อสุดท้ายคือผู้นำไม่ควร Blame หรือต่อว่าอย่างเดียวควรคิดโอกาสใหม่ ๆ ให้ลองคิดว่าโอกาสที่เกิดขึ้นของสำนักอนามัยคืออะไร  เพราะเรื่องผู้สูงอายุนอกจากเรื่องสุขภาพยังมีเรื่องการมีงานทำ สิ่งแวดล้อม สิ่งที่อยากฝากไว้สำหรับสำนักอนามัยคือการเป็นผู้ประกอบการ แต่บางครั้ง กทม.มองว่าเรื่องเศรษฐกิจไม่สำคัญแต่ความจริงถ้าปากท้องดี อนามัยก็จะดีด้วย

         

2. วิเคราะห์บทบาทผู้นำของผู้นำสำนักอนามัยที่สำคัญที่สุด 5 เรื่อง และยกตัวอย่าง Role Modelของกลุ่ม 3 ท่าน พร้อมอธิบายเหตุผล (กลุ่ม 2)

          Role Model ในฝัน

          1. Crisis Management

          2. Teamwork

          3. Rhythm and Speed

          4. Conflict Resolution

          5. Take Responsibility for decision

          Role Model 3 คน

          1. ในหลวงรัชกาลที่ 9 มีมากกว่า 5 ประการ

          2. ผู้ว่าราชการ ณรงค์ศักดิ์ มีทุกข้อ

          3. Steve Jobs เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ดี มี Innovation มากมาย ทำให้เปลี่ยนโลกเราไปเลย

          ดร.จีระ เสริมว่า ในการเลือกแต่ละหัวข้อเป็นนักเรียนที่ดีคือนำ Peter Drucker และ ดร.จีระ รวมกัน ของ Peter Drucker เหมือนกัน Basic Leadership เราต้องแน่นเสียก่อน ให้ลองถามว่าอะไรเป็นหัวใจในการทำงาน และมีผลกระทบต่อคนในสำนักงานอนามัย  ทำอะไรก็ตามต้องจัด Priority ให้ได้

 

3. ผู้นำในสำนักอนามัยมีกี่ระดับ วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของการพัฒนาผู้นำในระดับต่าง ๆ และเสนอแนะกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาตอบโจทย์ 4.0 และการพัฒนาที่ยั่งยืน (กลุ่ม 3)

          การทำงานกทม.มี 50 เขต 80 ศูนย์ ก่อนอื่น ต้องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

มี 3 ส่วนคือ

          1.Action มีเรื่องงาน คน ทรัพยากร และเทคโนโลยี

          2.Operation

          3. Executive

          เริ่มต้นจากการมอง 1. ส่วนพื้นฐานคือ ส่วน Action ปฏิบัติ อาทิ ศูนย์บันดาลสุข คือเข้าถึงประชาชนง่าย ใกล้บ้านใกล้ใจ 2. ศูนย์Operation เป็นส่วนสนับสนุน ยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ

3. Executive เป็นการออกนโยบายออกมา

          หมายถึงว่า ทุกจุดต้องสอดคล้องกันหมด

          หลักการ 4.0 คือการพัฒนาอย่างทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำ และทำให้เกิดความยั่งยืน สร้างรายได้ประชาชนมากขึ้น

          การทำงานแต่ละระดับ มีจุดอ่อน จุดแข็ง อย่างไร

          จุดอ่อนคือ หน่วยงานมาก 68  แห่ง คนน้อย งานมาก

          จุดแข็งคือ ทำเครือข่ายทั่วถึงและครอบคลุม

          การพัฒนาแต่ละระดับมี ผอ.ศูนย์เป็น Director ไม่สามารถทำงานคนเดียว ดังนั้น Director ต้อง Motivate ได้ หมายถึงต้องรู้เรื่องงาน และมีความเป็นผู้นำ ทุกอย่างต้องมีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทำอย่างไรให้ Leader แต่ละระดับแก้ปัญหาเฉพาะจุดเพื่อไม่มาปวดหัวที่ Director

          อย่างกทม. นโยบายต้องแยกตามพื้นที่ที่แท้จริง ต้องรับฟังปัญหาแต่ละส่วนแต่ละระดับต้องพัฒนาคนเนื่องจาก Director ไม่สามารถทำคนเดียวได้ เช่นเดียวกับ ส่วน   Executive ก็ควรใช้แบบเดียวกัน

การพัฒนา

1. Director ต้องมาดู SWOT แล้วมา Accept แก้ไข ให้ทีมเรียนรู้

2. Motivate

3. Director มา Sharing สิ่งดี ๆ

    สรุปคือ ถ้าระบบนี้เป็นในฝันได้ก็จะเกิดความยั่งยืนในที่สุด

 

 

ท่านรองฯ

          ทั้ง 3 กลุ่มพูดตรงจุด ขอเลือกเป็น Transformation Leadership หลักการที่ใช้มาตลอดคือ ได้ใช้หลักที่ในหลวง ร.9 พระราชทานให้ พระองค์ท่านบอกว่าทุกคนมีดีอย่าดูถูกคนอื่น ให้อ่อนน้อมถ่อมตน เราไม่ได้เก่งทุกเรื่อง แต่ละคนเก่งคนละเรื่อง สำนักอนามัยมี Gap อยู่คือผู้บริหารกับหน่วยปฏิบัติ แต่ขอให้เชื่อว่าเราทำบนจุดมุ่งหมายเดียวกัน  เราทำทุกอย่างเพื่อคนของเรา ใครดีเอา ใครไม่ดีไม่เอา การสาธารณสุขต้องทำแบบ Transformation เพราะทำแบบ Routine ยังไงก็มาแล้วมาอีก สิ่งที่ดีต้องทำแล้วขยายผล

 

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          โจทย์ทั้ง 3 กลุ่มต่างกัน สรุปรวมคือ สิ่งที่อยากเสริมคือหลักสูตรภาวะผู้นำแบบ Chira Way คือการสั่งสมประสบการณ์ทำงานตั้งแต่ทรัพยากรมนุษย์เป็นทุนมนุษย์  กระบวนการเรียนรู้แบบ Chira Way คือการเรียนรู้แบบ Learn-Share-Care

          การปลูก – HR Development

          การเก็บเกี่ยว – HR Management

          การเอาชนะอุปสรรค – การบริหารจัดการเครือข่าย  และการจัดการด้วยตัวเอง อย่างถ้าเครือข่ายที่เป็นผู้นำอยู่แล้วจะทำให้การทำงานง่ายขึ้น

Care

          คือการเลือกประเด็นในการรับฟังคนในกลุ่ม และการCare คนที่เราดูแลโดยเฉพาะคนยากไร้

HRDS

          Happiness- ความสุขร่วมกัน ทำให้งานสำเร็จ

          Respect – การเคารพนับถือซึ่งกันและกัน

          Dignity – การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

          Sustainability – การทำแล้วต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

ข้อคิดการทำงานเป็นทีม

1. ภาวะผู้นำ

2. การจัดการเป้าหมาย

3. บริหารจัดการทีม

4. การแบ่งหน้าที่

5 ติดตามงาน

6 การนำผลไปใช้ได้จริง

ความสำคัญ

1. การปลูก Learning how to learn

2. 4L’s มี

- Learning  Methodology

- Learning Environment เปิดใจเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง

- Learning Opportunity โอกาสปะทะกันทางปัญญา

- Learning Communication การเรียนรู้เป็นทีม

ผลลัพธ์

นักบริหารเขตเมือง ผู้นำต้องสามารถถ่ายทอด 2 ด้านคือ

1. พันธกิจ – ชุมชนสร้างเสริมสุขภาพ

          นอกจากโอกาสยังมีปัญหา และ Crisis ที่แฝงด้วย มีการสอนเรื่อง Stakeholder ภาครัฐ ชุมชน นักวิชาการ เอกชน (มีงบประมาณ อยากได้หน้า อยากได้สื่อสารองค์กร) และเพิ่มต่างชาติ อาทิ แรงงานต่างชาติ นักท่องเที่ยวต่างชาติ

          Disruptive – การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี

          Anticipate Change

          วิสัยทัศน์ร่วมต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลง อย่าง 4.0 ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นไปตามแนวทิศทางของโลก

          วิสัยทัศน์ตอบสนองการเปลี่ยนแปลง

          สร้างกิจกรรมที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลง

          สังคมกทม.ต้องน่าอยู่ และพึ่งพาตัวเองได้

          การจัดการด้วยจิตอาสา

          ผู้นำมีคุณสมบัติเฉพาะตัวจะเดินไปได้ง่าย มีความสามารถในการรวมพลัง รวมกลุ่ม ทักษะ เป็นคุณสมบัติส่วนตัวที่เสริมได้

          ความสามารถในการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดวัตถุประสงค์ กำหนดเป้าหมาย พันธกิจ เป็น Diversity Skill แล้วสามารถสร้าง Value Diversity

          กระบวนการทำงานเป็นเครือข่าย ทำงานเป็นทีม กระจายอำนาจ สร้างแรงจูงใจ พัฒนาแผนงาน สร้างโอกาสและกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม

          สุดท้ายคือการจัดการวิกฤติ การแก้ปัญหา และการวิจัย

ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ

1. ผลงานที่เป็นรูปธรรมตามเป้าหมายกำหนด สามารถถ่ายทอดประสบกาณณ์

2. สร้างเสริมภาวะผู้นำ

3. สร้างทีมเวอร์ก

4. กรณีศึกษาที่พัฒนาแล้วนำไปใช้ได้

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ให้แต่ละท่านคิดว่าเราได้อะไรเพิ่มเติมจากที่เรียนเมื่อเช้า  อยากเห็นสำนักอนามัยเป็นสำนักที่มีบทบาทต่อ กทม.อย่างแท้จริง การมีสุขภาพดีจะนำสู่ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ เพียงแต่ปัจจุบันอาจมุ่งไปที่การรักษามากกว่าการใส่ใจเรื่องอนามัย

ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาผู้นำ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          การสร้างเครือข่ายเนื่องจากให้เกิดการยอมรับแล้วต้องสร้างให้เกิด Deepening หมายถึง Connecting อย่างเดียวไม่พอ ต้อง Engaging ด้วย คือผนึกกำลังไปในทิศทางเดียวกัน ต้องมีคุณธรรมจริยธรรม

          ศาสตร์พระราชานอกจากการบริหารความเสี่ยงยังมีเรื่องภูมิคุ้มกันด้วย ยกตัวอย่าง ดร.จีระ เรื่องความยั่งยืน ต้องเน้นการรักษาสุขภาพที่ดี และไม่หยุดการเรียนรู้

          สิ่งสำคัญคือการนำศาสตร์พระราชามาขับเคลื่อนงานของสำนักอนามัยสู่ความเป็นเลิศ

          1. ความยั่งยืน

          2. ความรู้

          3. คุณธรรม จริยธรรม

          4. ภูมิคุ้มกัน – บริหารความเสี่ยง

          ความต่อเนื่องเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด อย่างสำนักอนามัยไปดูแลป้องกันเรื่องสุขภาพ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพราะถ้าสุขภาพไม่ดีจะทำให้คนมี Wealth ได้อย่างไร

          การรักษาอย่างเดียวไม่ได้ต้องดูเรื่องการป้องกันด้วย จึงอยากให้ร่วมมือกันทำโครงการต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น

          เป้าหมายแรกคือดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อม

          .Purpose ใหญ่ที่สุดคือเรื่อง Health  และ Purpose ที่ตามมาคือเรื่อง Wealth

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          แม้ว่า กฟผ.เป็นองค์กรใหญ่แต่ก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน อย่างเขื่อนสิรินธร ยังคงมีปัญหาเรื่อง ม๊อบปากมูล และต้องการสร้างงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนเหนือเขื่อน  แก้ปัญหาด้วยสิรินธรโมเดล และมีวัดสิรินทรวรารามภูพร้าว  มีการทำการท่องเที่ยวโดยใช้แพรับนักท่องเที่ยวในน้ำเหนือเขื่อน

          ดอยตุงโมเดล มีการพัฒนาต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ครบหมดเลย ดอยตุงมีการพัฒนาอย่างมีความสุข มีเสื้อผ้า กาแฟดอยตุง แมคคาเดเมีย  ส่วนปลายน้ำคือขายของได้ เช่นเดียวกับ กทม. ต้องคำนึงถึงประชาชนที่ขายของได้ด้วย

          คำจำกัดความของศาสตร์พระราชาคือการพัฒนา ความรู้ รอบด้าน มองไกล เป็นศาสตร์แห่งชีวิต ยืดหยุ่น ใช้ได้ตามสภาพแวดล้อม บุคคล และสถานการณ์ตลอดเวลา สอดรับกับภูมิสังคม

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์ผู้ครองหัวใจคนไทยและคนทั้งโลก

ตัวอย่างหลักการทรงงานของพระองค์ท่าน..สะท้อนบทเรียนเรื่อง “ภาวะผู้นำ” อย่างไร?

  • ภูมิสังคม
  • รู้จริง (เป็นระบบ)
  • เริ่มจากจุดเล็ก ๆ
  • เรียบง่าย (ประโยชน์สูงสุด)
  • ไม่ติดตำรา
  • ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
  • อธรรมปราบอธรรม
  • ขาดทุนคือกำไร
  • ปลูกป่าในใจคน
  • ยึดความถูกต้อง
  • ประโยชน์ส่วนใหญ่
  • องค์รวม
  • บริการที่จุดเดียว
  • มีส่วนร่วม
  • รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง
  • เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
  • รู้ รัก สามัคคี
  • ระเบิดจากข้างใน
  • พึ่งพาตนเอง
  • ตั้งใจ (ความเพียร)
  • ซี่อสัตย์
  • อ่อนน้อมถ่อมตน
  • พออยู่ พอเพียง (เศรษฐกิจพอเพียง)

                   UN ได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ไปประยุกต์ใช้ เป็น UN Sustainable Development Goals 17 เป้าหมาย

 

ดร.จีระ เสริมว่าเราจะไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างไร

1. คุณธรรมจริยธรรม

2. หลักสูตรสอนให้เรียนรู้ Chira Way , 4L’s มีเดินสายกลาง ระบบความคิดมี System Thinking  และมีภูมิคุ้มกัน เช่น ท่านที่เรียนทำเรื่องอนามัยก็เสมือนเป็นภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุด

                   สรุปคือ โครงการที่จะนำศาสตร์พระราชาและความเป็นผู้นำเกี่ยวกับอนามัย เสนออะไรขึ้นมาอย่าขึ้นหิ้ง เราน่าจะทำอะไรร่วมกัน

                   โครงการบางโครงการที่ทำอยู่ มีปัญหาเรื่องความต่อเนื่อง ข้าราชการอย่างไรก็ตามต้องเกษียณอายุ การสนใจความรู้คือคุณได้เปรียบ ถ้าเรารวมกันเป็นสังคมการเรียนรู้จริง ๆ เอาสุขภาพอนามัยเป็นหลัก และมีเป้าหมายเพื่อชุมชน ให้ผู้อำนวยการเขตสนใจเรื่องนี้ด้วย

                   เศรษฐกิจรากหญ้าไม่ได้ตัดสินด้วยวัตถุนิยม ตัดสินด้วยวิถีชีวิตของคน ในหลวง ร.9 ไม่ได้บอกว่าไม่ให้เรามีเงินมาก แต่พระองค์ท่านพูดว่าถ้าพร้อมก็ค่อยขยาย สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะอนามัยคือการให้คนรู้จักตัวเอง ดูแลสุขภาพให้ดี เพราะถ้าดูแลไม่ดีคนก็จะเสียชีวิตด้วย

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี  สรุปหลักศาสตร์พระราชา 4 ด้านคือ

1. ต้นทางคือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

2. วิธีการคือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ระเบิดจากภายใน

3. ประยุกต์ใช้

4. ครองแผ่นดินโดยธรรม ผดุงคุณธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม และได้ขยายไปถึง UN Sustainable Development Goal แล้ว

 

    ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                   ความจริงคือโลกในสังคมเป็นทุนนิยมสามาลย์มาจากสมองมนุษย์ที่โกงเก่ง และความโลภ ดังนั้นท่านทั้งหลายที่นั่งในห้องให้นำเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชานำไปใช้กับอนามัย เพราะใครก็ตามถ้ามีสุขภาพดี เงินก็ไม่ต้องเสีย ก็จะมีความสุข และชีวิตคนเมื่อไหร่ก็ตามที่ไม่สบายทุกอย่างจะล้มเหลวหมด ภายในห้องนี้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งและมีบทบาทต่อสังคมไทยเพราะถ้ามีเงินแล้วสุขภาพไม่ดี ก็ไม่ยั่งยืน

Workshop 2

  • คำว่า “ศาสตร์พระราชา กับ การพัฒนาภาวะของผู้นำของสำนักอนามัย” ในความคิดเห็นของท่านเป็นอย่างไร? สำคัญอย่างไร? (กลุ่ม 3)
  • วิเคราะห์ช่องว่าง/ปัญหาพัฒนาภาวะของผู้นำของสำนักอนามัยและเสนอแนะการพัฒนาด้วยศาสตร์พระราชา 3 เรื่อง (กลุ่ม 2)

3.  วิเคราะห์และเสนอโครงการที่จะช่วยพัฒนาภาวะผู้นำจากการเรียนรู้ในวันนี้ โดยใช้ Networking ชองสำนักอนามัย (กลุ่ม 1)

 

การนำเสนอ Workshop

1. คำว่า “ศาสตร์พระราชา กับ การพัฒนาภาวะของผู้นำของสำนักอนามัย” ในความคิดเห็นของท่านเป็นอย่างไร? สำคัญอย่างไร? (กลุ่ม 3)

                   ศาสตร์พระราชาจุดหลักที่เป็นพื้นฐานคือเรื่องความรู้กับจริยธรรม คือความรู้ต้องคู่คุณธรรม ถ้าเราเองไปด้านใดด้านหนึ่งมากเส้นทางจะเอียง ถ้าทำให้มั่นคงและยั่งยืนได้ต้องทำให้สองสิ่งนี้สมดุลคือต้องมีความพอประมาณ ภูมิคุ้มกันที่ดีและมีเหตุผล

    อย่างการใช้งบประมาณที่คุ้มค่า บนพื้นฐานที่ดีคือตรงไปตรงมาไม่เอนเอียงตามสิ่งที่ยั่วยุต่าง ๆ ซึ่งทำให้การดำเนินงานตรง และการมีเหตุผลทำให้จุดมุ่งหมาย ประชาชนในกรุงเทพฯอยู่อย่างมีความสุขและพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างตัวอย่างที่กทม.ทำโปรเจคเรื่องไข้เลือดออกมีโปรเจคอะไรที่จะสร้างความระมัดระวัง การทำงานมีสิ่งยั่วยุอะไรหรือไม่ ต้องหนักแน่นไม่เอนเอียงไปตามสิ่งที่นำมาเสนอ

                   ดร.จีระ เสริมว่า เป็นครั้งแรกที่มองเห็นว่าเป็นการมองศาสตร์พระราชาเป็นองค์รวม ตัวอย่างแบบนี้น่าจะส่งไปที่อธิบดีทุกกรมในเมืองไทยคือถ้าอธิบดีเข้าใจจริยธรรม และความรู้ ความรู้ของในหลวง ร.9 ท่านไม่ได้มองที่ Knowledge แต่มองที่ Learning ประเทศไทยควรมีศูนย์ศาสตร์พระราชาในทุกเขต โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาในหน่วยงานของท่าน  อยากให้อ่าน HR Architecture ของ ดร.จีระ ดู เพราะมีหลายคนที่คิดไม่เป็นแต่เป็นตามกระแส  ความจริงพระองค์ท่านพูดเรื่องรวยแล้วต้องยั่งยืนด้วย  ขอชมเชยและนำสิ่งนี้ไปตามสำนักทุกสำนักใน กทม. เพราะพูดว่าต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ใฝ่รู้ พอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน และต้องมี System Thinking เป็น Long term Thinking

 

2. วิเคราะห์ช่องว่าง/ปัญหาพัฒนาภาวะของผู้นำของสำนักอนามัยและเสนอแนะการพัฒนาด้วยศาสตร์พระราชา 3 เรื่อง (กลุ่ม 2)

                   1. มีบางส่วนที่ยังขาดความเข้าใจ เข้าถึงในเชิงพื้นที่ งานที่ทำอยู่แล้วมีอะไร อาจมีงานส่วนอื่นเพิ่มขึ้นอีก บางอันยังไม่จบแล้วมีงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ปฏิบัติงานก็จะขาดความไว้ใจผู้นำคือไม่รู้ว่าเป้าหมายที่ทำงานนั้นจริง ๆ ทำไปเพื่ออะไร ส่งผลให้งานบางอย่างไม่มีเชิงนโยบายกลับมาจะขาดความต่อเนื่องยั่งยืน

                   การเสนอแนะการพัฒนาด้วยศาสตร์พระราชา

                   1. เข้าใจเชิงพื้นที่ก่อน ต้องมีการส่งต่อจากพื้นที่มาผู้บริหาร ผู้บริหารต้องเปิดรับข้อมูลจากพื้นที่ก่อน แล้วพิจารณาว่าควรทำมากน้อยขนาดไหน

                   2. มีการส่งต่อข้อมูลให้เชิงพื้นที่ว่าควรทำเพราะอะไร และส่งต่อข้อมูลว่าเกิดผลดีกับผลเสียอย่างไรบ้าง ไม่ใช่ทำตามคำสั่งอย่างเดียว

                   3. การทำงานด้วยความเข้าใจ และไว้ใจจะส่งผลให้เกิดความยั่งยืน ใช้เหตุผลในการทำอย่างต่อเนื่อง

                   ดร.จีระ เสริมว่า ข้อ 1 นี้ตรงประเด็น ความเข้าใจ เข้าถึงของสำนักอนามัยน่าจะเป็นหัวใจของการปรับปรุงให้ดีขึ้น และเมื่อรู้แล้วควรปรับปรุงให้ดีขึ้น  Network ที่พูดถึงเป็นความสนใจเป็นพิเศษ ข้อนี้เห็นชัดว่าเป็นช่องว่างที่ยิ่งใหญ่มากและเพื่อนเครือข่ายหน่วยงานต่าง ๆ ก็พร้อมและอยากร่วมมือช่วยอยู่แล้ว แต่กทม.อย่าปิดตัวเอง ให้เขียนสิ่งที่เป็นประโยชน์ในนามของตัวคุณ ขอให้ทำเรื่องพื้นที่ให้ชัดขึ้น  เพราะถ้าชัดขึ้นเมื่อไหร่ สำนักอนามัยก็จะมีประโยชน์มากขึ้น ถ้าสิ่งไหนมีจุดอ่อน ก็หาคนข้างนอกที่รักกทม. เชิญเขาเป็นตัวกลางที่ทำประโยชน์ได้

 

3.  วิเคราะห์และเสนอโครงการที่จะช่วยพัฒนาภาวะผู้นำจากการเรียนรู้ในวันนี้ โดยใช้ Networking ชองสำนักอนามัย (กลุ่ม 1)

                   โครงการผู้สูงอายุที่ทำชุมชนแออัดคือโครงสร้างเสริมสุขภาพป้องการผู้ป่วยสมองเสื่อม … ได้นำทฤษฎี 2 R’s คือ การสำรวจภาวะผู้สูงอายุ ความสามารถในการประกอบชีวิตในประจำวัน การคัดกรองภาวะสมองเสื่อม สมมุติว่ามีอัตราคัดกรองเท่ากับ X %

                    มีการจัดโครงการให้เหมาะสมกับชุมชน อาจเริ่มจากหน่วยเล็กสุดในชุมชนให้เป็นผู้ริเริ่มและมีส่วนร่วมในโครงการ ระเบิดจากภายใน คุยอย่างยั่งยืน ให้เกิดปัญหาว่าจะทำอะไร อาจคัดเลือกอาสาสมัครในชุมชนเข้าร่วมกับชุมชน

กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

                   โครงการภาครัฐที่เกี่ยวข้องมาจากศูนย์บริการสาธารณสุข มีหมอเป็นผู้นำ มีการฝึกพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ ฝึกออกกำลังกายสมอง  มีสำนักอนามัยส่วนดูแลสุขภาพจิต สำนักงานเขต ฝ่ายเขต ฝ่ายสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาสังคม สำนักทะเบียน  และมีการร่วมมือกับสถานพยาบาลของรัฐในพื้นที่ มีเครือข่ายที่ส่งผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล ทหาร ตำรวจ การเคหะแห่งชาติ สำนักพัฒนาสังคม และภาคเอกชนในพื้นที่ที่ปัจจุบันทำ CSR จำนวนมาก มีการบริจาคอุปกรณ์ผู้สูงอายุ และหน่วยงานการศึกษา สถาบันการศึกษาเข้ามาช่วยดูแผ่นพับ สื่อออนไลน์ให้เป็นคู่มือที่ใช้ต่อเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โรงเรียนมีการนำเด็กมาร่วมกิจกรรมกับผู้สูงอายุ

กิจกรรมพัฒนาสาธารณสุข ผู้นำชุมชน สอนการออกกำลังกายสมองเป็น โดยนัดมาออกกำลังกายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทำให้มีเพื่อนเพิ่ม ป้องกันสมองเสื่อม และเมื่อผ่านไป ครึ่งถึง 1 ปีมาดูผลว่าความจำผู้สูงอายุดีขึ้นหรือไม่ มีภาวะสมองเสื่อมน้อยลงหรือไม่ มีภาวะความแข็งแรงเพิ่มขึ้นหรือไม่

                   ดร.จีระ เสริมว่า ทุกกลุ่มได้มีการปะทะกันทางปัญญาสูงมาก ดีมาก โดยเฉพาะกลุ่มสุดท้ายจะนำไปคิดต่อ Networking ในชุมชนอย่าให้เขามีความรู้สึกเหลื่อมล้ำ ให้เขารู้สึกว่าเสมอภาคกัน การเชิญ Network มาเราต้องมี Trust ศรัทธาซึ่งกันและกัน มีศักดิ์ศรีเท่ากัน แล้วประเทศไทยจะรอด อย่างที่สำนักอนามัยต้องเข้าใจว่าทุกคนมีศักดิ์ศรีเท่ากัน ถ้าทำโครงการนี้ตัวละครที่เสนอเข้ามาครบมาก

                   อาจารย์พิชญ์ภูรี เสริมว่า ทั้ง 3 กลุ่มพูดกันคนละเรื่องแต่ทุกกลุ่มเชื่อมโยงกัน กลุ่มที่ 3 เรื่องทะเบียนราษฎร์ มีการทำวิจัยว่าจะเก็บข้อมูลนี้อย่างไร สิ่งที่นำเสนอของทุกกลุ่มมาจากธรรมชาติ ไม่ได้เป็นที่ปั้นแต่ง แต่เป็นสิ่งที่มาจากข้างใน ทฤษฎีจะทำให้จับประเด็นได้ และนำไปใช้ได้

 

การบ้านโดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    1. ถ้าองค์กรมี Purpose จะต่างกับ Vision , Mission , Strategy อย่างไร

    2. ถ้าองค์กรมี Purpose แล้วจะนำไปสู่ Performance อย่างไร

หลักสูตรนักบริหารสุขภาวะเขตเมืองรุ่นที่ 1

หัวข้อ การพัฒนาเขตเมืองอย่างยั่งยืน (Sustainable Urbanization Development)

โดย รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา

วันที่ 17 ตุลาคม 2561

(บันทึกสรุปการเรียนรู้ทีมงานวิชาการ Chira Academy โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล)

เมืองที่มีความยั่งยืน

          เมืองที่เราเห็นเกิดจากอย่างอื่นที่ไม่ใช่เมืองทั้งนั้น เมืองคือปลายสุดของการพัฒนาทั้งหมด ยกตัวอย่าง การทำบ้านหลังหนึ่งไม่ได้เริ่มต้นจากแบบบ้านเป็นอย่างไร แต่เริ่มจากการบอกสภาพทางสังคมก่อนว่าเป็นอย่างไร มีคนอยู่กี่คน มีเงินอยู่เท่าไหร่ มีอาชีพอะไร มีเงินหรือไม่

สรุปคือ สังคมและเศรษฐกิจเป็นอย่างไรจึงออกแบบเมือง

ความยั่งยืน

1.       ไม่ได้อยู่ที่การออกแบบแต่อยู่ที่การทำให้เศรษฐกิจและสังคมยั่งยืนต่างหาก

2. ประเด็นคือการทำความยั่งยืนจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

- ยกตัวอย่างกลุ่ม Green บอกว่าที่ประเทศเยอรมันจะไม่มีพลังงานนิวเคลียร์แล้วจะปิดทั้งหมด  ผลจากการรู้ข่าวคือ เยอรมันซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จากที่อื่นแล้ว เช่น ฝรั่งเศส เชคโกสโลวาเกีย จึงประกาศว่าประเทศเยอรมันไม่มีพลังงานนิวเคลียร์

- เมืองทั้งหมดมีพื้นที่ 100 ต้องมี 1 ใน 3 ที่ออกแบบเป็นถนนแล้วทำให้รถไม่ติดตามมาตรฐาน กทม.มีถนน 3.67 % รวมทางด่วนเป็น 8% ถามว่ารถจะติดหรือไม่  หมายถึงใช้เทคโนโลยีก็ไม่สามารถแก้ได้

- ปัญหาของเมืองเช่นเดียวกันคือ ไม่มีใครยอมเจ็บ ไม่มีการแก้ปัญหาโดยไม่เจ็บตัว

- โลกที่ใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทนได้กี่เมกะวัตต์ต้องสร้างพลังงานไฟฟ้าฐานเสมอ หมายถึงไฟฟ้าฐานต้องเพียงพอ แต่ประเทศอื่นที่มีพลังงานไฟฟ้าทดแทนมากเนื่องจากมีพลังงานไฟฟ้าฐานเพียงพอแล้ว  ยกตัวอย่าง ไฟฟ้าสวีเดนมีพลังงานไฟฟ้าขยะ ต้องนำเข้าขยะปีละ 800,000 ตัน เนื่องจากไปพึ่งพลังงานขยะมากเกินไป

การทำโครงสร้างพื้นฐานเมือง ประชากร 10 ล้านคนมี 1 ล้านหลังใช้พลังงานไฟฟ้าขยะ  กลุ่ม NGOs ไทยชื่นชม แต่สวีเดนมีปัญหาหลักคือไม่มีขยะเข้าประเทศ แล้วเป็นขยะไม่มีมูลค่า

ชุมชนเมืองคืออะไร

          ประชากรเมืองเพิ่มที่ไหนบ้าง เพิ่มที่กลางเมืองไม่ได้ชั้นในเมือง ถ้ามองในภาพรวมของโลกมีประชากร 6,000 – 7,000 คน ทุก 1 สัปดาห์ประชากรเพิ่มอย่างไร

เมืองเกิดขึ้นได้อย่างไร

1. มนุษย์เปลี่ยนจากการเร่ร่อนมาลงหลักปักฐานอย่างถาวรเพราะอะไร

          มนุษย์ต่างจากสัตว์ประเภทอื่นอย่างไร มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตเดียวในโลก ที่ค่ากันได้ด้วยความเชื่อ ต่างกับสัตว์ที่ฆ่าด้วยการสืบพันธุ์และหาอาหาร มนุษย์หนีตายด้วยการลงหลักปักฐาน วิ่งตามน้ำไปเรื่อย ๆ สิ่งที่มนุษย์ต้องการคือ ปักหลักปักฐาน

          การที่มนุษย์เร่ร่อนและลงหลักปักฐาน สิ่งที่มนุษย์ทำคือการควบคุมทรัพยากรน้ำ ควบคุมสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เพื่อให้มีชีวิตยั่งยืน การปักหลักปักฐานทำให้มนุษย์มีความมั่นคงใช้ชีวิตตัวเอง ทำให้ควบคุมทรัพยากรน้ำได้ ทำให้มีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี  อย่างไรก็ตามการควบคุมทรัพยากรน้ำการเบี่ยงน้ำมาใช้ในพื้นที่ การจัดสรรทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพทำไม่ได้ ต้องมาจากหลายบ้านที่แตกต่างกัน คิดต่างกัน ตกลงกันไม่ได้ จึงต้องมีกฎระเบียบกลาง การรวมตัวกันแล้วเข้ามาร่วมกลุ่มกันแล้วเกิดอะไรขึ้น  สมัยยังไม่มีวิทยาศาสตร์ใช้คนแก่ เพราะ Cycle สภาพแวดล้อมไม่ได้เกิดทุกปี ต้องอาศัยคนที่มีอายุมาก ประสบการณ์ เงื่อนไขสังคมมนุษย์คือคนที่มีประสบการณ์มาก จึงเป็นผู้นำเนื่องจากเห็นโลกมากกว่า มีประสบการณ์ที่ไม่มีใครเคยเห็นเนื่องจากมนุษย์ยังผูกพันกับสภาพแวดล้อม

          ปัญหาสังคมเปลี่ยนไปในปัจจุบันเนื่องจากมีการย้ายเข้ามาสู่เมืองมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่เป็นชนบท ลูกเป็นคนเมือง  ทำให้พ่อแม่ที่เป็นเกษตรกรสอนลูกแบบเกษตรกรไม่ได้อีกแล้ว ทำให้เกิดช่องว่างเกิดขึ้น มีการใช้ความเชื่อเป็นตัวบอก

          เนื่องจากไม่มีวิทยาศาสตร์ ต้องอาศัยพระเจ้าเป็นคนบอก ดังนั้น การควบคุมเมืองสมัยก่อนคือการติดต่อกับพระเจ้าได้มากน้อยแค่ไหน ต้องอาศัยประสบการณ์ของคนแก่ มีคณะกรรมการเมือง  ช่างฝีมือแต่ละท่านมารวมตัวเมือง มีการคุยกันแต่ละอาชีพต้องการกฎระเบียบอะไรบ้าง

          ประเทศไทยเป็นวัฒนธรรมข้าว เยอรมันเป็นวัฒนธรรมเบียร์ สะท้อนวิถีมนุษย์ อย่างคนเยอรมันกินเบียร์เพราะไม่มีน้ำสะอาดกิน การผลิตเบียร์เยอรมันแท้จะแอลกอฮอล์ต่ำ ใครทำเบียร์เยอรมันอร่อย คำตอบคือ พระ เพราะอาชีพพระเป็นอาชีพเดียวที่แลกเปลี่ยนความรู้ที่ต่าง ๆ แล้วเอา Knowhow มาผลิตของตัวเอง เมืองของเยอรมันสะท้อนวิถีวัฒนธรรมเบียร์ทั้งหมด มาตรฐานบ้านในเมืองของเยอรมันต้องมีอย่างน้อยรถเข็นเบียร์ 2 คันสวนกันได้

          วัฒนธรรมไทยมีแก่บ้านกับแก่วัด วัดจึงเป็นที่ทั้งรักษาพยาบาล การศึกษา ที่รวมพล การปกครอง ด้วยแบบนั้น อย่างคนไทยทักว่าไปไหนมา  แต่คนต่างชาติจะทักว่าสบายดีไหม

          คนไทยที่ทักว่าไปไหนมา เนื่องจาก แต่ก่อนมีพื้นที่ดิน 20 ไร่ ไม่ค่อยมีวันเจอเพื่อนบ้าน ถ้าเพื่อนบ้านมาให้เห็นเมื่อไหร่ แสดงว่าเป็นเรื่องแปลกที่เขาต้องไปธุระที่ไหนมา ใครจะได้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต้องเป็นคนลักษณะแบบไหน คือการเอาทรัพยากรของตัวเองมาให้เราฟรี จึงสะท้อนมาเป็นตำนานของเลือกผู้แทน เลือกส.ส.เป็นการเอาของคนอื่นมาให้เขาฟรี ๆ ก็มีตำนานแบบนี้นี่เอง

สังคมเร่ร่อนของมนุษย์

          การเป็นมนุษย์เมืองเปลี่ยนวิถีชีวิต  การเคลื่อนที่ของมนุษย์ทำให้เรามีความยั่งยืนของตัวเอง

ภูมิศาสตร์กับวิถีชีวิตมนุษย์

          อาชีพมนุษย์ผูกพันกับทรัพยากร สภาพแวดล้อมในพื้นที่ ปัญหาของมนุษย์คือการลุกล้ำเข้าพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้นไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรและวิถีชีวิต ทำให้ไม่ยั่งยืน

หลักการรวมเป็นชุมชนเมือง

1. การมีโครงสร้างพื้นฐาน

    - มนุษย์ไม่สามารถอยู่ตามธรรมชาติได้ จำต้องมีโครงสร้างพื้นฐานแบบเมืองเป็นอันดับแรก มีสาธารณูปโภค ไม่สามารถขับถ่ายและย่อยสลายสู่ตัวเองก่อน

    - ผังเมืองไทยครั้งแรก ร.7 ตั้งคณะกรรมการ ครึ่งหนึ่งคือหมอ ปัญหาคือเรื่องสาธารณสุขและอนามัย ได้พูดถึงสำเพ็ง 3 ครั้งคือสมัยนั้นเป็นชุมชนแออัด  วางหลักการเรื่องสุขภาพวะ

2. สนับสนุนการแบ่งงานกันทำ

    - มนุษย์เมืองแบ่งงานกันทำ  ส่วนมนุษย์ในชนบทเป็นทุกอย่าง

    - ผลิตภาพและประสิทธิภาพของเมืองจึงดีกว่าชนบทเป็นอย่างมาก การแบ่งงานกันทำทำให้เมืองรุ่งเรืองขึ้นเนื่องจากผลิตภาพดีขึ้น

3. มีกฎระเบียบร่วมกัน

ความยั่งยืนแบบเมือง

เมืองในยุคกรีก

          กรีกบอกว่าองค์ประกอบของเมืองมี 8 ประเภท ใช้ทรัพยากรร่วมกันเป็นศูนย์กลาง รวมตัวกันเพราะเทพเจ้า มีเกษตรกร คนเมืองและทหาร วิถีชีวิตเปลี่ยนจากการใช้ยูนิตบ้านเล็กสุด ตลาด 4 เท่า ศาสนสถานกี่เท่า ก็ให้สอดคล้องกับจำนวนคน ดังนั้นสิ่งที่ต้องการคือ Absolute Number ของเมือง ถ้าเราไม่รู้จะจบในการออกแบบเมืองที่ยั่งยืน

          ปัญหาของกรุงเทพฯคือทะเบียนราษฎร์ กับคนที่อาศัยอยู่จริงไม่สอดคล้องกัน อาศัยอยู่จริงมากกว่าทะเบียนราษฎร์

          แนวทางการแก้ไขปัญหาของประเทศ ถ้ารู้ว่าตัวเองเป็นปัญหาแล้วไม่ยอมแก้ไขจะไปถามอะไรอีก

เมืองในยุคโรมัน

          เกิดจากการขยายอาณาจักร มีเทคโนโลยี 2 อย่างคือการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในการดึงน้ำจากข้างนอกมาใช้ในเมืองได้ มีน้ำสะอาดใช้ ที่เมืองบาส  มีวิถีชีวิตแบบโรมันแล้วไม่ตาย คือเป็นเมืองน้ำอย่างนี้ สิ่งสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือโลจิสติกส์ การส่งกำลังทางทหาร หลักการคือถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรม มีที่พักม้า กินน้ำ กินข้าว ที่ขยับได้ เพราะมีโครงสร้างพื้นฐานเป็นอันดับแรกที่มี วิถีของโรมันคือมีเป้าหมายว่าทำอย่างไรถึงไม่ตาย

          ปัญหาของไทยที่มีอยู่เกิดจากเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน

          กรุงศรีอยุธยา สร้างคลองเป็นรูปดวงอาทิตย์ ไม่เคยปล่อยให้น้ำท่วมเมือง น้ำออกนอกเมืองทั้งหมดและเมื่อ 5 เดือนที่แล้วมีการขุดพบประตูน้ำที่น้ำเหนือ แต่ปัจจุบันน้ำท่วมเพราะทุ่งกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมหมดแล้ว

          เจ้าพระยา มีการขุดคลองหลอด ขยายเมืองได้ น้ำไม่ท่วม  มีน้ำเหนือเป็น 2-4 ช่องที่คลองผดุงกรุงเกษม เมืองไทยไม่ปล่อยให้น้ำท่วม

          ไทยยกไปพม่า  ไทยชนะพม่าหรือพม่าชนะไทยได้ ต้องชนะเชียงใหม่ ล้านนา พิษณุโลก สองแคว เพื่อให้เป็นเมืองที่ส่งกำลังให้  

          สรุปวิถีชีวิตของเมืองต้องมีโครงสร้างพื้นฐานก่อน ต้องแยกว่าสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ         เช่นสาธารณูปโภค เป็นระบบที่วิ่งมาหาเรา เช่น ไฟฟ้า ประปา ส่วนระบบสาธารณูปการ เป็นระบบที่ไม่ใช้ทุกวัน เป็นระบบที่อยู่กับที่ แล้วคนวิ่งไป เช่น สถานีตำรวจ โรงพยาบาล  อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้เสมอ  น้ำประปาสมัยก่อนเป็นสาธารณูปการ แต่ปรับมาเป็นสาธารณูปโภค

          เยอรมันมีความยั่งยืนของตัวเอง อย่างกรุงเทพฯ เป็นเกิดจากแต่ละอาชีพมีเชื้อสายสืบต่อในตัวมันเอง แต่ละคนมีวิถีชีวิตแตกต่างกันมาตกลงร่วมกัน ผ่านโรคต่าง ๆ มากมาย ทำให้มีความสะดวกสบายดีขึ้น

เมืองในยุคเรเนซองส์

          ปารีส Von Housemann ให้โจทย์ในการออกแบบเมืองเป็นซอกซอยมาก ๆ คือเพื่อป้องกันการอาชญากรรม และป้องกันการรวมตัวก่อการปฏิวัติได้ สังเกตได้ว่าตัดเป็นเส้นตรงหมดเลย ทำให้เมืองมีความงามมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่แต่ก่อนมนุษย์ไม่สนเรื่องความงาม ศิลปะเลย จนกระทั่ง อะนู เป็นครั้งแรกที่นำศิลปะมาเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตมนุษย์ จนเกิดเป็น Made to order   รูปเด็กสมัยก่อนแต่งตัวเหมือนผู้ใหญ่ การใช้ชีวิตไม่แตกต่างจากผู้ใหญ่ ทุกอย่างเป็น Standardize ทั้งหมด แต่คนยุคนี้ คนต้องยอมรับในความแตกต่างนั้น ทุกคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทั้งหมด  การเป็น Standardization ถูกเปลี่ยน

เมืองยุคโมเดิร์น

          โมเดิร์นคือการด้วยโครงสร้างเล็ก และลิฟต์ทำให้ห้องขยายขึ้นเรื่อย ๆ ทำสูงได้ขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้คนอยู่ในพื้นที่ประหยัดมากขึ้น

ความหนาแน่นสูง กับความแออัดไม่เหมือนกัน

          กรุงเทพฯ ไม่ได้มีความหนาแน่นสูง แต่แออัดสูง เพราะวางผังเมืองไม่ดี

ปัญหาเรื่องการเวนคืน คนไม่ยอมให้เวนคืน การตั้งราคาตามสัญญาซื้อขายที่ไปแจ้งไว้ที่ที่ดิน เนื่องจาก ราคาขายจริงกับที่ลงไว้ในที่ดินไม่ตรงกัน

          กรุงเทพฯ มีบ้านเดี่ยวเยอะที่สุดในโลก และนำสวนไว้ในบ้านของตัวเองหมดแล้ว มหานครปารีสมีการวางแผนให้ตัวอาคารสูง 4-5 ชั้น จึงเอาพื้นที่สีเขียวไปไว้

          กรุงเทพฯ มีความหนาแน่นน้อยมาก แต่บริหารจัดการไม่ดี ไม่มีใครทำตาม

หลักการทางผังเมือง

          มีเป้าหมายเพื่อสร้างความยั่งยืน สิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะละเมิดไม่ได้  ประเทศไทยก็มีเขียน แต่มีการยกเว้นไว้เสมอ เช่น การคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เยาว์ ความปลอดภัยสวัสดิภาพประชาชน ไม่ให้ทำร้ายฉ้อโกงได้

          ทำไมผังเมืองถึงมีการละเมิดสิทธิเสรีภาพ  ผังเมืองรวม สามารถละเมิดสิทธิ์ โดยไม่จ่ายคืน ห้ามสร้างติดกันเกิน 1 ตารางเมตร สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ Public Safety , Public Welfare , Public Health  มีระยะห่างที่ถูกกำหนด

          ปอดกรุงเทพฯ อยู่ที่บางกระเจ้า ให้มีการจัดสรรที่ดินเกิน 100 ตารางวาได้ ก็มีการประท้วงว่าปอดกรุงเทพฯ จะหายไปหรือไม่

ปัญหาคือ

          ทุกคนอยากได้เมืองยั่งยืน เมืองที่ดีที่สุดในโลก แต่คนไม่ยอมรับเรื่องการจัดผังเมือง 

การสร้างเมืองยั่งยืนต้องประกอบด้วย

1. เกณฑ์มาตรฐานต้องไม่หลุด

          เสื้อเหลืองกับเสื้อแดงทะเลาะกันเพราะว่าไม่เคยมีคนจนและคนรวยเจอกันในฐานะปกติ ไม่มีพื้นที่ที่ทำความเข้าใจและอยู่ร่วมกันกับความแตกต่างได้อย่างไร สังคมไทยจึงเปราะบางในการมี Classification สูงในการ Provide Space ที่เหมาะสมสำหรับ 2 กลุ่ม

Sustainable Development Goals ของ UN

          สิ่งที่ต้องระวังคือหน่วยงานรัฐไทยมักคิดว่า For all หมายถึง คนแก่ คนสูงอายุ คนพิการที่ต้องการ Service แต่คำว่า For All หมายถึง ทุกคนต้องเดินทางทุกคน อย่างตอนกลางคืน ฝนตก แดดร้อน สถานที่ที่เปลี่ยน ที่ก่อสร้าง ก็มีปัญหาในการเดินทางทั้งนั้น ดังนั้นหลักการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนคือทุกคนต้องสามารถใช้ได้

ความยากของการบริหารจัดการเมือง

          ช่วงเวลาเดินทางในหนึ่งวัน โครงสร้างพื้นฐานของเมืองเป็นแบบนี้ทุกประเภท แต่การใช้เวลาไฟฟ้าอย่างใช้มากตอนกลางวัน ใช้น้อยตอนดึก ความยากคือเราจะ Provide Demand ตรงไหน เช่นการคิดเรื่องระบบขนส่งมวลชน  ส่วนที่เป็นปัญหาคือ มีส่วนที่ Peak และ Off Peak ปัญหาคือโครงสร้างพื้นฐานไม่พอในบางเวลา และบางพื้นที่ ความยากการบริหารจัดการเมืองอยู่ตรงนี้ทำอย่างไรให้มีการบริหารเพียงพอ และอยู่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

          ยกตัวอย่างช่างซ่อมท่อส้วมตันของอเมริกา มีวันเดียวใน 1 ปี  เป็นวันเฉพาะของอเมริกาคือวันที่มีซุปเปอร์โบว์ คือ มีการจัดงานปาร์ตี้ และพักครึ่งทุกคนชักโครกหมดทั้งประเทศ  ช่างต้องเตรียมตัวทั้งหมด เช่นเดียวกัน Earth Day ตอนเปิดมีปัญหาในการกระชาก Generator ดังนั้นทำอย่างไรให้ Stable

หลักการสร้างเมืองยั่งยืน

1. ต้องคิดถึงทุกคน คิดถึงคนแก่ คนพิการไม่ได้ เพราะทุกคนต้องการความยั่งยืนเสมอในเงื่อนไข เวลาต่างกัน

2. ทำอย่างไรให้ Demand นิ่งที่สุด

          - ทำตามกฎหมายดีหรือไม่ เพราะกฎหมายหมายถึง สิ่งที่แย่ที่สุดที่มีอยู่ได้  เพราะความจริง เราอยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่ากำลังทรัพย์ของตนนั้น ทำแค่กฎหมายไม่ได้ แต่ต้องทำดีกว่ากฎหมาย แต่ดีกว่าแค่ไหน ทำอย่างไรที่จะตบ Peak ลง และ ยก Off Peak ขึ้น เพื่อให้การใช้สาธารณประโยชน์ดีขึ้น สิ่งที่ทำได้คือมาตรการทางการเงิน เช่น ตั๋วหนังราคาถูกในวันพุธ หรือการไฟฟ้าบอกว่าถ้าสมัครใช้แผนว่าใช้ไฟเวลานี้จะทำให้ค่าไฟถูกลง

          - อยากให้คนไป Register ต้องรู้ Absolute Number เราไม่สามารถ Provide Supply ตรง Peak ได้ แต่เราต้องให้ทุกคนเข้าถึงโครงการสาธารณกุศล  คำว่าจำเป็นแตกต่างตามสถานที่ บริการ สถานการณ์ แต่โครงสร้างพื้นฐานไมว่ายากดี มีจน ต้องจ่ายหมด

          ยกตัวอย่าง BTS เป็นโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นหรือไม่ ให้ลองนึกว่าคนจนจ่ายได้หรือไม่  ยังพบว่าในเส้นทางรถไฟฟ้าคนยังขึ้นรถเมล์อยู่ไม่สามารถเอารถเมล์ออกได้ เนื่องจากคนจนไม่มีเงินจ่ายค่า BTS แต่จ่ายค่ารถเมล์ได้

          เราต้องทำความเข้าใจว่าผู้สูงอายุ คนพิการต่างกัน การออกเมืองสำหรับทุกคน ให้คิดถึงรถเข็นเด็กว่าต้องไปได้ทุกที่ ทางเท้าทั้งหมด ถ้ารถเข็นเด็กสามารถไปได้ด้วยล้อเล็ก หมายถึงรถเข็นใหญ่ไปได้หมด หมายถึงพื้นผิวต้องเรียบ สิ่งที่ต้องคิดตามมาคือ ความยั่งยืนทั้งหลาย ปัญหาของมนุษย์เมืองคือเป็นโรคอ้วน

          มนุษย์เมืองมีความพิเศษอย่างหนึ่ง  เช่นการเกิดโรคอ้วน  

ทำไมประเทศไทยมีอุบัติเหตุและโรคติดต่อมากกว่าเกณฑ์ประชากรเมืองในมุมมองของโลก

          - การพัฒนาย่านชานเมืองถึงจุดสูงสุด จะเห็นการสร้าง ล้ง 1919 The Asiatique การปรับปรุงศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  ปัญหาเกิดจาก ตึกแถวนั้นร้างหมดแล้ว ตัวกันสาดที่อยู่บนห้อง พัง เสื่อมโซม  มีอาคารร้างในกรุงเทพฯ เยอะมาก  ปัญหาคือ เราจะปล่อยให้เมืองที่มีความหนาแน่นสูงมีพื้นที่ทิ้งร้างไม่ได้  คนที่อยู่อาศัยกลางเมืองย้ายไปสู่ชานเมืองหมดแล้ว  ทิ้งพื้นที่ตรงกลางเป็นร้านค้าอยู่ คนอาศัยเป็นแรงงานต่างชาติ และโรงงานสินค้า ทำให้การดูแลรักษาไม่ดี  ปัญหาคือเราจะกำจัดพื้นที่เสียเหล่านี้อย่างไร

          - เมืองมีปัญหาต้องเฉือนเนื้อเท่านั้นถึงอยู่ได้ แต่คนไม่อยากเฉือนเนื้อตัวเอง การ Put Effort ดีกับตัวเองนิดเดียว แต่ดีกับส่วนรวมมาก แต่ผลที่ได้รับกับตัวเราน้อยมาก แล้วใครจะกล้าลงทุน

          - มีงานวิจัยว่า คนซื้อคอนโดฯ ตามแนว BTS หลังปี 2542 จะเดินทางด้วย BTS มากน้อยแค่ไหน คำตอบคือ น้อยมาก เพราะราคาที่ดิน แพงกว่าที่พนักงานระดับล่างจะซื้อได้ เวลาในการทำงานเขาไม่ใช้ BTS แต่ใช้เพื่อเดินทางไปช้อปปิ้ง

          การพัฒนาเมืองพูดถึง Compact City เพื่อทำให้การบริการโครงสร้างพื้นฐานให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

          - Smart City คนยุโรปคิดระบบเพื่อทำให้คนมีเวลาทำงานน้อยลงเพื่อให้มีเวลามากขึ้น คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่คนเอเชียนำเทคโนโลยีเพื่อมาให้ทำงานมากขึ้นแทนที่จะทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

          - องค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐาน Movement มีมากขึ้น ไปสู่สิ่งที่คนต้องใช้มากขึ้น ตามมาตรฐานเด็กเล็ก จะมีชื่ออยู่ในโรงเรียนมาตั้งแต่เกิด เด็กสามารถเดินไปเรียนได้ในลักษณะ Walking Distance  แต่สังคมเมืองประเทศไทยทำลายสุขภาพจิตทั้งหมด ชุมชนเราไม่มีเลย วิถีของคนไทยเลิกงานแล้วไปศูนย์การค้า เพราะแหล่งงานและวิถีชีวิตไกลกว่า

          - งานวิจัยสืบเรื่องความยั่งยืนในการใช้ชีวิต เพราะกลุ่มเพื่อนของเขาไม่เหมือนในสังคมไทย กลุ่มเพื่อนของเขาคือคนในชุมชน เป็นการ Hang Out กับเพื่อนที่บ้าน ในแต่ละหมู่บ้านอาจมีชมรมมากกว่าคนที่อยู่ในหมู่บ้านก็ได้  ระบบนี้เป็นระบบที่แต่ละคนมีความแตกต่างกันแต่สนใจในสิ่งเดียวกัน สิ่งนี้ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง

          - วิถีการสาธารณสุขปี 54 คนช่วยมากสุดคือ อสม. เพราะรู้ว่าคนติดเตียงและน้ำท่วมมากสุดอยู่ที่ไหน แต่มีปัญหาคือรถตกถนน ต้องให้คนอสม.เดินนำ ดังนั้น เราต้องพลิกวิธีคิด ให้คนกลับไปใช้ตามวิถีชุมชน แต่ยังไม่สามารถประสบความสำเร็จได้  เพราะไม่สามารถเข้าใจความแตกต่างหรือเข้าใจคนอื่นได้

          - สังเกตได้ว่าทุกอย่างถูก Made to order ตามชุมชนนั้น สิ่งที่ต้องพลิกวิธีคิดคือ หลักการศึกษาภาคบังคับคือ คิดเลขได้ อยู่กับตนเอง และคนอื่นได้ ใช้ชีวิตได้ เลี้ยงตัวเองได้  แล้วจำเป็นต้องรู้ฟิสิกส์ เคมี ชีวะหรือไม่

          - วอเรน บัฟเฟต บอกว่าทำอะไรกับ 3 กลุ่มนี้จะไม่มีวันจนคือ คนโสด คนแก่ คนดูแลสุขภาพ เช่น คนโสด คนแก่ รักสัตว์เลี้ยงเหมือนลูก คนจบสัตวแพทย์รวยมาก

ในอนาคตที่จะสร้างเมืองอย่างยั่งยืนได้

1. Every Counts  อย่างการหยุดพฤติกรรมทำลายสุขภาพ ให้เอาเงินคนที่ทำลายสุขภาพมาช่วยคนดูแลสุขภาพ

2. ค่าส่วนกลาง –

          ประชากรเมืองจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเพิ่มที่เมืองใหญ่ เพราะโอกาสทางเศรษฐกิจมีมากกว่า กลุ่มผู้ประกอบการบนศูนย์การค้า  พบว่าศูนย์การค้าปัจจุบันไม่ได้เพื่อขายสินค้าอย่างเดียวแล้ว แต่เปลี่ยนเป็นพื้นที่ จัด Event  จัดแสดงสินค้า เพราะคนส่วนใหญ่ไปซื้อ Online แทน

          รถ ซื้อมาจอดไม่ได้ซื้อรถมาขับ ต่อไปต้องทำ Car Caring ใช้รถอย่างคุ้มค่า เน้นการมีส่วนตัวเล็กลง พื้นที่สาธารณเพิ่มขึ้น

          พื้นที่สวนในกรุงเทพฯ ต้องมีมากขึ้น ยานยนต์ไร้คนขับ กับรถไฟฟ้า ทุกคนสามารถครอบครองรถยนต์ได้ ค่าซ่อมบำรุงถูกลง คนเข้าถึงรถได้มากขึ้น และต่อไปคนจะไปถือครองรถยนต์เลย กดแล้วจะมารับคนได้เลย

เราจะยั่งยืนได้ด้วยอะไร

แนวทางที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน

          ทุกคน เวลา สถานการณ์ที่ต่างกัน ต้อง Everyone Counts การใช้จ่ายภาครัฐอย่างโปร่งใส จะทำให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืนได้  Cycle ของคนเมือง ของคนสูงอายุย้อนกลับอีกครั้ง  สิ่งที่เห็นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

          ยกตัวอย่างสถานีดับเพลิงต้องอยู่ในถนนสายหลัก

          สรุปเมืองของเราต้องอยู่และไม่ตาย ต้องทำให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี และอยู่ร่วมกันได้ แล้วคำนึงถึงเศรษฐกิจ 

          ที่ดินของรัฐ มีมากมายในการให้พื้นที่สร้างเวนคืน และพื้นที่สีเขียว แต่ไม่เคยให้ หลักการของรัฐต้องเป็นตัวอย่างที่ดีกับประชาชน  แต่รัฐไม่ได้ทำ ทำแก้กฎหมายไม่ได้ ต้องทำดีกว่ากฎหมาย และรัฐอย่างผิดกฎหมายสักเอง

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ในโครงสร้างพื้นฐานของกทม. ธรรมชาติของมนุษย์มีแนวทางอะไรบางอย่างที่ทำให้ตอบโจทย์ได้ มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีผู้พิการ ที่เอื้อต่อเป้าหมาย อย่างการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีการเลือกบางจุดได้หรือไม่ ทำบางที่ได้หรือไม่ ด้วยธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นกทม. จะมีเครื่องมืออะไรช่วยได้หรือไม่

          ตอบ การวางผังเมือง สิ่งที่เห็นในผังเมือง แต่ละสีดูถึงความหนาแน่นของประชากรก่อน แล้วใช้เป็นอะไร มีโครงสร้างพื้นฐานก่อน รองรับคนกี่คน มีเรื่องความหนาแน่น กับประเภท หลักของการพัฒนาเมือง ไม่สนใจเจ้าของที่ดิน เป็นรัฐ เอกชน ต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานตามนั้น การใช้ประโยชน์ที่ดินหลักสีเหลืองเป็นหนาแน่นน้อย แต่ใช้ไฟ ใช้โครงสร้างพื้นฐานอยู่ สิ่งที่พัฒนาเมืองไม่สนใจว่าใครเป็นเจ้าของที่ดิน แต่ต้องสอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สีแดง  เราต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับโครงสร้างพื้นฐานที่มี  เพราะเราจ่ายภาษีลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานไป แต่ถ้าใช้ไม่คุ้มค่าจะเป็นปัญหา

          โครงสร้างพื้นฐานของรัฐต้อง Heavy Duty รถเมล์หลายเส้นทางไม่ผ่านคอสะพาน จะสามารถทำให้ผ่านคอสะพานได้หรือไม่ ตัดผ่านหน้าบ้านใครจะยอมหรือไม่

          สุดท้ายสังคมยั่งยืนคือความโปร่งใสทางการเงิน  อรรถประโยชน์จะเกิดขึ้นหรือไม่  ในอนาคตคนที่สำคัญและต้องเก่งที่สุดคือ 1.นายกรัฐมนตรีเหมือน CEO  2.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ต้องเป็นคนที่เก่งมาก  และ 3. คนสุดท้ายเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เพราะต้องดูว่าการบริหารเงินคุ้มหรือไม่

2. ในประเทศไทย ผังสีแดง สีเหลือง มีข้อยกเว้นหรือไม่ และค่าใช้จ่ายที่จัดเก็บและรัฐต้องให้เช่นค่าขยะถูกกำหนดโดยกทม. ปัจจุบันเก็บอยู่ 20 บาทต่อเดือน ถ้าไม่ต่ำกว่า 800 กว่าบาท คนที่มาตรวจสอบจะช่วยตรวจสอบ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความโปร่งใสทางการเงิน เรามีสิทธิที่จะทำเทคโนโลยีไปกำกับหรือไม เช่น 5 G

          ตอบ มีคนบอกว่าสังคมไทยจะดีขึ้นด้วยเทคโนโลยี ดีขึ้น เพราะกล้องที่ติดมือถือช่วยถ่ายผู้กระทำผิด  เรื่อง 5G พร้อมสำหรับ 5 G แต่ไม่สามารถใช้ได้เนื่องจากรัฐตั้งราคา 4 G แพงไป จนทำให้เอกชนยังไม่คุ้มทุน เกณฑ์ตั้งราคาของ กสทช. มี KPI ว่าต้องคุ้มที่สุด แต่ผู้ลงทุนยังไม่มีเงินจ่ายครบ 4 G เลย

3. เราน่าจะมี Space ให้คนรวยกับคนจนมารวมกัน ถ้าทำให้เกิดขึ้นจริง น่าตาจะเป็นอย่างไร

          ตอบ มันไม่ใช่แค่ส่วนสาธารณะ แต่หมายถึง จะรวยจะจน จะเล็กใหญ่ ก็อยู่ในกรอบของคุณ พื้นที่สาธารณะจะใช้ร่วมกันทั้งหมด ไม่มีการสร้างชุมชนล้อมรั้ว ถ้าเปลี่ยนตรงนี้ไม่ได้ก็จะเป็นสังคมแบบนี้ไปเรื่อย ๆ

Networking เด็กรุ่นใหม่รู้กว้างแต่ไม่รู้ลึก  โลก Networking ไปอยู่บนโลก IT ทั้งหมด  โลกถูกย้ายไปสู่อีกช่องทางการสื่อสาร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          สังคมไทยบางครั้งเป็นสังคมลิเก อะไรควรทำไม่ควรทำ  ถ้า Sustainability ในมุมของคน หรือราชการที่นั่งอยู่ในห้อง ต้องมี Sustainability Mindset ในการไปดูแลผู้สูงอายุ อย่างเรื่องสมองเสื่อม มีอะไรแนะนำหรือไม่ในการทำ Project อย่างไร ตอนบ่ายจะพูดเรื่อง Social Management และไปพูดเรื่อง Health ในความคิดเห็นของอาจารย์ในเรื่อง Human Social Sustainability ที่เกี่ยวกับ Architect ในเมืองด้วยมีอะไรจะแนะนำ

          ตอบ เมืองตามอัธยาศัย สุดท้ายแล้วเมืองไม่ได้ Provide อะไรเลยนอกจากสิ่งที่เป็นตามอัธยาศัย เมืองไม่ได้ทำอะไรนอกจากปรับแต่งพื้นที่ตามความพึงพอใจของคุณ  คำว่า Sustain ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่นบางคนมีความสุขกับการทำงาน ดังนั้นเมืองที่คิดต่อไปคือเมืองที่ปรับเปลี่ยนได้ตามอัธยาศัยของผู้ใช้งาน การสร้าง Innovation ของเมืองรัฐไม่ได้ทำอะไรเลย นอกจาก Provide Open Data ที่สามารถไปทำต่อได้ แล้วเอกชนเห็นเอง  รัฐมีหน้าที่จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อความยั่งยืน แล้วเอกชนเก็บเกี่ยวโครงสร้างพื้นฐานนั้นตามอัธยาศัยและจ่ายค่าตอบแทนให้รัฐเป็นภาษีอากร เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องคำนึงถึง  ไม่ใช่แค่มองเพียงว่าทุกเมืองต้องสวยงาม ปลอดภัย เท่านั้น

หัวข้อ การพัฒนาเขตเมืองอย่างยั่งยืน (Sustainable Urbanization Development)

ในมิติของการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์

โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

สิ่งแรกสำหรับคุณหมอและผู้เชี่ยวชาญด้านอนามัย ขอให้คิดไปข้างหน้าให้ยาวมากขึ้น สิ่งแรกที่อยากฝากไว้คือระยะสั้น กลาง ยาว เน้นการทำงานที่ต่อเนื่อง

ยกตัวอย่างการเกิดวิกฤติฟองสบู่แตก   สาเหตุการกู้เงิน มีผลจากเรื่องการลดดอกเบี้ย เราต้องมองในระยะยาว ไม่ใช่หวังผลในระยะสั้นอย่างเดียว

โจทย์ในบ่ายวันนี้ โครงการฯที่เรามีโอกาสยั่งยืนได้อย่างไร และมีปัจจัยสำคัญอะไรให้ความสำคัญนี้ยั่งยืนขึ้นมา ความยั่งยืนวันนี้น่าจะมีตัวละครในห้องนี้เป็นหลัก มีโครงการยั่งยืนในอนาคตอย่างผู้อำนวยการเขต  และโปรเจคเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน อยากให้สิ่งที่สะสมมาในประสบการณ์ 40 ปีของ ดร.จีระ เป็นประโยชน์ต่อทุกท่านในห้องด้วย ดังนั้นการทำวิจัย การทำโครงการใด ๆ ก็ดีขอให้มองเรื่องความยั่งยืนเกิดขึ้น แล้วตัวท่านจะมีพฤติกรรมที่เหมาะสมกับความยั่งยืน ถ้าเราเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้ความยั่งยืนจะเกิดขึ้น

ยกตัวอย่างเรื่อง Health

1. Where are we? สิ่งที่จะทำต้องศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร

2. Where do we want to go? ต้องตอบโจทย์ Vision หรือ Purpose คืออะไร อย่างเป้าหมายของคุณหมอคือสังคมผู้สูงอายุเป็นสังคมมีความสุข เพียงแต่จะทำสำเร็จหรือไม่

- Why do we want to do it? ยกตัวอย่าง ดร.จีระ โปรโมทคอนเซปต์เรื่องคนเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว เนื่องจากเมื่อ 40 ปีไม่ได้มีคนสนใจ คนมุ่งแต่การทำให้เจริญ แต่ Purpose ผิดคือ การอยู่ดีกินดี ไม่ใช่เพื่อเศรษฐกิจอย่างเดียว

3. Strategy หรือ Tactic จะเป็นอะไรก็ใส่ไปได้ ยกตัวอย่าง นายกฯประยุทธ์ เราต้องไม่ยอมแพ้อุปสรรค และต้องเอาชนะมันให้ได้

4. Execution  คือประเด็นสำคัญที่สุดที่เราคิดให้ดีนอกจากการเจออุปสรรคแล้ว เราจะสู้กับมันอย่างไร

เราไม่มีประสบการณ์ในการเอาชนะอุปสรรคมัน ต้องทำ 2 R’s ให้ชัดเจน คำว่า Sustainability ต้อง Define ให้ชัด

ตัวละครมี 2 กลุ่ม ถ้าคนในห้องนี้มองถึงความมั่นคง และความเป็นเลิศจะช่วยในระดับหนึ่ง  และถ้าเน้นไปที่การสร้างคนใน กทม. จะเป็นประโยชน์มาก หลายครั้งที่คิดระยะยาวยังไม่ทัน แต่ได้เขียนเรื่อง Sustainability เป็นทุนอย่างหนึ่ง  พฤติกรรมไปเป้าหมายที่ความเป็นเลิศระยะยาวหรือไม่

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          เราต้องเรียนรู้ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก  และต้องรู้จักการถ่ายทอดผู้บังคับบัญชาได้ด้วย สิ่งที่อาจารย์ให้คือเป็นสิ่งที่ติดตัวไปเป็นกรณีศึกษา  

          กรณีศึกษาไปประกอบใช้ทำ Paper เวลาเรียนรู้เป็นทีม กรณีศึกษาไม่ได้เป๊ะเหมือนสมองเสื่อม แต่เป็นเรื่องการจัดการภาคีเครือข่าย สุขภาวะ เป็นเรื่องของคน ทุกท่านไม่ได้ความรู้ด้าน HR  เขาจะไม่เข้าใจว่าเราทำงานกับคน โดยเฉพาะประชาชน สิ่งที่อาจารย์ให้จะทำให้เข้าใจชุมชน เข้าใจสังคมเมือง สังคมชนบท อย่างเมืองกทม. เป็นเมืองที่มีความซับซ้อนมาก มีเมืองรวยมาก จนมาก สิ่งที่ชุมชนมีคือต้องเข้าใจความหลากหลาย วิชาที่ดร.จีระให้ทำจะทำให้เขาเข้าถึงได้  ความเข้าถึงต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความเข้าใจกันถึงจะพัฒนาไปได้

          ดร.จีระ เสริมว่า ต้องให้ Stakeholder ไปด้วยกัน พฤติกรรมที่มีอยู่แล้วเพื่อความยั่งยืน ต้องให้ตัวละครมีอิทธิพลต่อคนกทม. และต้องไป Networking ด้วย แม้เส้นทางที่เดินขรุขระ ก็สามารถเดินผ่านต่อไปได้

Quotations

          Building sustainable cities - and a sustainable future - will need open dialogue among all branches of national, regional and local government. And it will need the engagement of all stakeholders - including the private sector and civil society, and especially the poor and marginalized. - Ban Ki-moon

          การทำเพื่อความสำเร็จและยั่งยืน ต้องมีการร่วมมือกันของประเทศ Regional ,local เป็นความร่วมมือแบบหลวง ๆ เน้นการมี Stakeholder และนึกถึงคนจนกับคนที่เสียเปรียบในสังคม

- บังคีมูน

          “Sustainability creates new knowledge and wisdom with multidisciplinary approach.” - Unknown

          Sustainability สร้างความรู้ใหม่และปัญญา ด้วยการสร้างให้เกิดการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ ความยั่งยืนในอนาคต คนต้องเป็น Multidiscipline – Unknown

          เศรษฐกิจพอเพียงต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มีความใฝ่รู้ มีพอประมาณ เดินสายกลาง คิดเป็นเหตุเป็นผล และมีภูมิคุ้มกัน อย่างฝรั่งตกภูมิคุ้มกันเนื่องจากมี Greed มาแทรก อย่างวันนี้สังคมไทยอยากรวยเร็ว  หลายคนคิดว่า Sustainable Goal ไม่สามารถ Achieve ได้ แต่ Achieve ได้ต้องเดินต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ความต่อเนื่องของ ดร.จีระ ก็สร้างคนที่เป็นแนวร่วมของ ดร.จีระ

โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคต่าง ๆถึงปัจจุบันและอนาคต

          Sustainability  ต้องลงไปถึง Sustainable Healthcare for Aging  คือการสร้าง New Knowledge ใหม่ ๆ

คนสูงอายุที่ญี่ปุ่น เรียก คนที่อายุ 65-75 ว่า Young , 75- 85 Medium Age , 85 ขึ้นไปเรียกว่า Old

คนทำงานในกทม.ควรเน้นเรื่อการปลูกด้วย

การพูดถึง Incentive ไม่ได้พูดถึงการเก็บเกี่ยว

การปลูกฝังเรื่อง Heath ในกทม.ต้องทูทุกช่วงอายุของรา ต้องการพัฒนาคนชั่วชีวิต

ทุนแห่งความยั่งยืน คือพฤติกรรมที่ทำให้ไปสู่ระยะยาวได้

1. ต้องแสวงหาความรู้ข้ามศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และต่อเนื่อง  ต้องมี Life Long Learning ต้องมีสุขภาพแข็งแรง ออกกำลังกาย ทำงานได้ ทำงานได้ดี

ทุนแห่งความยั่งยืนคือพฤติกรรมของคนที่ไปสู่ระยะยาวอย่างยั่งยืนตามที่เราปรารถนา ใครก็ตามที่ทานต้องมีความสุข

Health ไม่ได้ช่วยเรื่องความสุขอย่างเดียว แต่ช่วยเรื่อง Sustainability ด้วย

กฎในการสร้างทุนแห่งความสุขของผม

Happiness Capital (Dr. Chira Hongladarom’s Model)

1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม (Healthy)

2. ชอบงานที่ทำ   (Passion)

3. รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)

          -เป้าหมายต้องปฏิบัติได้ เคลียร์ และสร้างพลังงานให้เรา

4. รู้ความหมายของงาน     (Meaning)

5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ (Capability)

6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning)

7. เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)

8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork)

9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม (Coaching)

10.ทำงานที่ท้าทาย (Challenge)

11. ทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)

6 Chira’s Factors of Sustainability

  1. 1. Sustainable Development must;
  2. 2. Balance the short-term and the long-term benefits ระยะสั้นไม่ทำลายระยะยาว
  3. 3. Be environmentally friendly
  4. 4. Balance the morality, ethics and development  ความสมดุลระหว่างศิลธรรม จริยธรรม การพัฒนา
  5. 5. Be based on  scientific thinking, analytical thinking, life-long learning and learning society เราไม่มีการพัฒนาฝีมือแรงงานของคนแก่  ไปดูแลคนที่มีประโยชน์แต่ยากจนได้รับผลประโยชน์ ถึงแก่แล้วก็ดูแลตัวเองได้
  6. 6. Benefit the majority instead of small groups of people
  7. 7. Be self – reliant

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กรณีศึกษา : ภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพชุมชนบ้านขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ

1) ผู้นำ ทุ่มเท / ประสานพลัง

2) มิติภายในชุมชน

          - มีเป้าหมายร่วมกัน ไม่ทิ้งกัน

          - เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข พึ่งพากัน

          - ต้องการฟื้นฟูสุขภาพ ลดความทุกข์

    มิติภายนอกชุมชน

          - โรงพยาบาลเครือข่าย

          - ภาคเอกชน

                ฯลฯ

3) โอกาส (จุดเด่น)

          - แพทย์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ช่วยดูแลผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุ

          - มีนวัตกรรม ใช้เครื่องมือชักรอกมือเท้า ออกกำลัง

          - หมอนวด (ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย) ขับรถมอเตอร์ไซด์ มีการพูดคุย ไปนวดให้ผู้สูงอายุตามบ้าน

          - หมอนวดตาบอด ไปเรียนนวด แล้วของบมาเปิดห้องนวด

          - ขยะศูนย์บาท สร้างรายได้ไปใช้ในชุมชน

4) ข้อจำกัด (จุดอ่อน)

          -ระยะทางระหว่างชุมชนกับโรงพยาบาลไกล

          - ชาวบ้านไม่ไปหาหมอ เพราะจน สูงอายุ เดินทางลำบาก

5) ทางแก้ปัญหา : รถเมล์สายสุขภาพ ได้งบประมาณท้องถิ่น เหมารถไปส่งรพ. เป็นตามนัดภายหลังรถลดราคาให้ คิดแค่ค่าน้ำมัน คนที่มีเงินก็ช่วยรายได้บ้าง ระหว่างเดินทาง มีพยาบาลคอยดูแล

6) แนวทาง :

          - ต้องติดอาวุธ ให้ปัญญาชาวบ้าน

          - อสม.ต้องไปอบรมช่วยผู้ป่วย ติดบ้าน ติดเตียง เครือข่ายชาวบ้านจิตอาสา ซักผ้าซักความทุกข์ ไม่ทอดทิ้งกัน

          - สร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ

          - พัฒนาอย่างยั่งยืน

ตัวอย่างกิจกรรม ประสานพลังผู้นำภาคีเครือข่าย , กิจกรรมปั่นปันรัก , ลงพื้นที่ดูแลผู้สูงอายุ “บ้านเดี่ยว” ในชุมชน  “สัมผัสบำบัด” อาสาสมัครนวดบำบัดให้ผู้สูงอายุตามบ้าน ช่วยสุขภาพกายและจิตใจ   เด็ก ๆ เก็บขยะขาย นำเงินสมทบกองทุนสุขภาพและช่วยลดมลภาวะดีต่อสุขภาพ

          นอกจากสังคม วัฒนธรรม ชุมชนแล้วต้องมีเศรษฐกิจ

          ดร.จีระ เสริมว่า ขอให้ทุกท่านร่วมมือในการทำ โดยเฉพาะเรื่อง Aging Population งบประมาณในอนาคตจะมหาศาล เน้นเฉพาะอุปสรรค ใช้ Coalition รวมพลังเพื่อชนะเป็นกลุ่มก้อน

WORKSHOP (3) – ทำทุกข้อ

  1. 1. จากการเรียนรู้หัวข้อการพัฒนาเขตเมืองอย่างยั่งยืน.. นำเสนอประเด็นที่น่าสนใจ 5 เรื่องที่จะนำมาสู่การปรับใช้ในการพัฒนาโครงการที่กลุ่มท่านได้รับมอบหมาย พร้อมอธิบายเหตุผล
  2. 2. จากการเรียนรู้หัวข้อการพัฒนาเขตเมืองอย่างยั่งยืน.. นำเสนอประเด็นที่น่าสนใจ 1 เรื่องและหัวข้อวิจัยที่สามารถนำกลับไปพัฒนางานของสำนักอนามัย พร้อมอธิบายเหตุผล

การนำเสนอ Workshop

กลุ่มที่ 1

1. จากการเรียนรู้หัวข้อการพัฒนาเขตเมืองอย่างยั่งยืน.. นำเสนอประเด็นที่น่าสนใจ 5 เรื่องที่จะนำมาสู่การปรับใช้ในการพัฒนาโครงการที่กลุ่มท่านได้รับมอบหมาย พร้อมอธิบายเหตุผล

          โครงการส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายเพื่อป้องกันสมองเสื่อม

          1. สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ตั้งแต่นอกบ้านถึงในบ้าน ชุมชนต้องเป็นชุมชนที่ไฟสว่าง พื้นไม่ลื่น มีการทำราวจับ มีพื้นที่ส่วนกลางในชุมชน เป็นที่นั่งคุยกันออกกำลังกายร่วมกัน ห้องน้ำควรทำเป็นต้นแบบให้กับบ้านต่าง ๆ ให้เห็น

          2. ความรู้ ทางศูนย์บริการสาธารณสุขควรให้ความรู้กับคนในชุมชน อาจเอาคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป และคนที่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุแล้ว 60 ปีขึ้นไป เชิญญาติมาฟังภาวะของผู้สูงอายุที่พึงเป็น การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมเป็นอย่างไร

          3. เศรษฐกิจ ชุมชนมีการทำกิจกรรมที่มีรายได้สูงขึ้น มีการนำขยะแลกไข่ นำท่อแป๊บต่อเป็นไม้เท้า เปิดตลาดนัดในชุมชนขายของเป็นส่วนกลางพัฒนาพื้นที่ส่วนกลาง

          4. ระบบโลจิสติกส์ เครือข่ายสุขภาพ มีการส่งต่อชุมชนใกล้ ๆ กัน มีการส่งต่อผู้ป่วย รวมถึงวันส่งต่อข้อมูลต่าง ๆ การสร้าง Group Line ให้ความรู้ในกลุ่มเราเพื่อส่งข้อมูลร่วมกัน ร่วมกันผลิตสื่อ มีการทำบอร์ดติดที่ส่วนกลางชุมชน

          5. นวัตกรรม กิจกรรมการออกกำลังกายป้องกันสมองเสื่อม มีการเริ่มตั้งแต่ตรงกลางคล้ายเป็น Experimental และหลังออกกำลังกายร่วมกัน ก็มีการประดิษฐ์สื่อเครื่องมือใช้ในชุมชนอื่นต่อไป หรือผลิตสื่อการออกกำลังกายร่วมกัน ผ่านครบ 1 ปีนำคนเหล่านี้ไปขยายผล และไปสู่จังหวัดอื่นด้วย

2. จากการเรียนรู้หัวข้อการพัฒนาเขตเมืองอย่างยั่งยืน.. นำเสนอประเด็นที่น่าสนใจ 1 เรื่องและหัวข้อวิจัยที่สามารถนำกลับไปพัฒนางานของสำนักอนามัย พร้อมอธิบายเหตุผล

          เลือกเรื่อง นวัตกรรม กิจกรรมการออกกำลังกายป้องกันสมองเสื่อม มีการเริ่มตั้งแต่ตรงกลางคล้ายเป็น Experimental และหลังออกกำลังกายร่วมกัน ก็มีการประดิษฐ์สื่อเครื่องมือใช้ในชุมชนอื่นต่อไป หรือผลิตสื่อการออกกำลังกายร่วมกัน ผ่านครบ 1 ปีนำคนเหล่านี้ไปขยายผล และไปสู่จังหวัดอื่นด้วย

กลุ่มที่ 2

1. จากการเรียนรู้หัวข้อการพัฒนาเขตเมืองอย่างยั่งยืน.. นำเสนอประเด็นที่น่าสนใจ 5 เรื่องที่จะนำมาสู่การปรับใช้ในการพัฒนาโครงการที่กลุ่มท่านได้รับมอบหมาย พร้อมอธิบายเหตุผล

          1. เรื่องโลจิสติกส์จะมีระบบ Trasformationอย่างไรให้ตอบโจทย์เป็น Active Aging City มีกระบวนการหรือเทคโนโลยีที่นำความรู้ไปใช้เพิ่มความตระหนักอย่างไร

          2. สิ่งแวดล้อม การป้องกันการล้ม

          3. ชุมชนเมือง Town home

          4. Health

          5. การสร้างการมีส่วนร่วมโครงการใดโครงการหนึ่ง กับหน่วยงานอื่น

2. จากการเรียนรู้หัวข้อการพัฒนาเขตเมืองอย่างยั่งยืน.. นำเสนอประเด็นที่น่าสนใจ 1 เรื่องและหัวข้อวิจัยที่สามารถนำกลับไปพัฒนางานของสำนักอนามัย พร้อมอธิบายเหตุผล

          เลือกเรื่อง Health มาพูด เป็นกิจกรรมที่เหมือนกันทุกอย่างคือเพิ่มทางกายภาพ และความมีส่วนร่วมในชุมชน แต่ต่างใน Process การดำเนินงานมากกว่า

กลุ่มที่ 3

1. จากการเรียนรู้หัวข้อการพัฒนาเขตเมืองอย่างยั่งยืน.. นำเสนอประเด็นที่น่าสนใจ 5 เรื่องที่จะนำมาสู่การปรับใช้ในการพัฒนาโครงการที่กลุ่มท่านได้รับมอบหมาย พร้อมอธิบายเหตุผล

          การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในการเข้าบ้านเดี่ยว จะเสนอผลประโยชน์อย่างไรให้เขาเปิดใจให้เราเข้าไปได้

          1. องค์ความรู้ เพราะทุกบ้านต้องมีคนเป็นโรคสมองเสื่อม ถ้ามีความรู้นี้จะนำไปช่วยเหลือญาติได้ การมีสุขภาพที่ดีจะช่วยป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นได้

          2. การจ้างงานที่มีคุณค่า ส่งเสริมคุณค่าทางเศรษฐกิจ การทำงานเป็นการใช้สมองโอกาสเกิดโรคน้อยลง

          3. การจัดสิ่งแวดล้อมให้มั่นคงและปลอดภัย อย่างบ้านเดี่ยวมีสวนส่วนตัวทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น เดินไปต้องล้มบ่อย ๆ มองสิ่งแวดล้อมแบบระยะยาว เช่นคนอายุถึง 80 ปี ทำห้องน้ำเหมาะกับคน 80 ปีเลย

          4. นวัตกรรมการฝึกสมอง หวังว่าการดูงานที่ญี่ปุ่นอาจมีนวัตกรรมใหม่ ๆ

          5. การพัฒนาเพื่อความร่วมมือที่ยั่งยืน ต้องมีองค์ความรู้ในการช่วยดู อย่างเรื่อง Logistics transformation  Information  มีการสื่อสารตั้งแต่คนที่ดูแลคนที่มีญาติ เช่นโรคสมองเสื่อมอาจมีการดูว่าคนนี้หลงทางหรือไม่ ดึงชุมชนมาช่วยดู ในสังคมคนไทยยังมีตรงนี้อยู่ อาจมีส่วนร่วมช่วยกันได้

2. จากการเรียนรู้หัวข้อการพัฒนาเขตเมืองอย่างยั่งยืน.. นำเสนอประเด็นที่น่าสนใจ 1 เรื่องและหัวข้อวิจัยที่สามารถนำกลับไปพัฒนางานของสำนักอนามัย พร้อมอธิบายเหตุผล

          โรคสมองเสื่อมแบ่งเป็น 3 ระยะคือก่อนเสื่อม เริ่มเสื่อม เสื่อมแล้ว ควรมีการเข้าถึงโลกเหล่านี้ มีการดูแลให้คำปรึกษาอย่างไร มี Facebook มี Line ให้คนไข้สามารถ Line เข้ามาถาม การเข้าถึงกิจกรรม ลดความเสื่อมในผู้สูงอายุ มีการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมคนในบ้านเอง การดูแลคนในชุมชนให้มีส่วนร่วม มีระบบบัดดี้ ในการเข้าไปดู

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ฝากไว้ 2 เรื่อง เวลาพูดถึงทุนทางเครือข่ายใช้คำว่า Social Capital ไม่ใช่ Networking Capital อยากให้ทั้ง 3 กลุ่มใส่ประเด็นเรื่องอุปสรรคที่ไม่นำไปสู่ความยั่งยืน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          ท่านได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างไร

วันที่ 31 ตุลาคม 2561

บรรยายหัวข้อ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ 

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

สมัยที่เราเรียน มีโจทย์มาแล้วก็มีคำตอบที่ถูกต้อง แต่ในความเป็นจริง มีคำตอบที่ถูกต้องมากกว่า 1 อย่าง คุณหมอต้องคุยกับคนในกทม.ให้เกิดความคุ้นชินว่ามันมีคำตอบที่ถูกต้องเกิน 1 อย่าง สำหรับคำถาม 1 ข้อ ในวงการแพทย์มี Disruption เกิดขึ้นมากมาย เช่น สร้างนำซ่อม ปัจจุบันนี้สุขอนามัยเน้นการดูแลสุขภาพมากกว่ารักษา การรักษาก็เริ่มมีเครื่องมือเข้ามาช่วย ซึ่ง Disrupt พอสมควร ทุกวันนี้การให้ความสำคัญความอาวุโสมีน้อยลง หมอไม่จำเป็นต้องมาตามรุ่นแล้ว บางครั้งคนรุ่นใหม่ก็ตั้งคำถามที่คนรุ่นก่อนตอบไม่ได้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่ง 

แนวคิด “สร้างนำซ่อม” หมายถึง สุขภาวะอยู่ในมือคนไข้ไม่ใช่หมอ โรคเกิดจากพฤติกรรมส่วนตัว บางครั้งหมอก็ถูกบังคับให้อยู่ตำแหน่งนานเกินไป มองได้สองมุมคือ เสียเวลา ต้องดูแลมาก ตอนหลังมีคำว่า Disaster Disease คำว่า Disaster หมายถึง ล้มละลาย เสียหาย Disease คือ โรค คนที่หลังเกษียณแล้วยังมีชีวิตอยู่ต่ออีกนาน เมื่อเป็นโรคแค่ครั้งเดียว ก็ทำให้เงินออมที่เคยมีมาทั้งชีวิตหมดไป จนหมดตัว รวมถึงญาติพี่น้องด้วย เป็นโรคชนิดหนึ่งที่เรื้อรัง 

สมัยที่มีการคิดโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นโครงการที่คิดขึ้นในยุคนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย แต่คิดเสร็จยุคทักษิณ 

ในประเทศไทย โรงพยาบาลได้รับการอุดหนุนค่ารักษาผู้ป่วยคนละ 2,000 บาท เช่น โรงพยาบาลกรุงเทพและโรงพยาบาลเลิศสิน แต่คนไทยไม่ค่อยได้มารักษา ถ้าเป็นค่ารักษาข้าราชการจะได้คนละ 50,000 บาท แต่ที่สหรัฐอเมริกา ให้การอุดหนุนค่ารักษาผู้ป่วยคนละ 300,000 บาท 

ในการจัดการ มีคำที่ถกเถียงกันมากคือ Efficiency หรือสมรรถภาพ

สมรรถภาพคือ ลงทุนไปเท่าไร Output จะถูกหารด้วย Input 

Output คือผลงาน

Input คือ การลงทุนไป

ผลงานมี 3 ระดับคือ 

1.ทำให้เสร็จและครบ คือ มีความพยายาม เรียกว่า Output ไม่ใช่ผลลัพธ์ สมัยใหม่เรียกว่า เป็นการผลาญงบ

2.ผลสำเร็จ คือ ทำออกมาแล้วได้ Outcome คือ ที่อบรมแล้วนำไปทำได้ เช่น อบรมรมเทศกิจ แล้วไปตรวจตลาด

3.Impact คือทำแล้วมีประโยชน์ต่อมวลชนและสังคม เช่น อบรมแล้วนำไปสอนคนอื่นได้

คำว่า Efficiency ใช้ได้เฉพาะเรื่องที่ทำให้เสร็จ

การตัดสินใจและแก้ปัญหาเป็นแก่นของ Effectiveness หรือ สัมฤทธิผล คือ ผลสำเร็จ แผนกต่างๆ จะถูกวัดด้านนี้มาก

ในด้าน Effectiveness มีผู้เชี่ยวชาญคือ Peter Drucker กล่าวว่า การสร้างผลสำเร็จต้องเก่ง 5 เรื่องคือ

1.Time การจัดการเวลา ควรมีสมุดบันทึก 3 เล่ม

    เล่มแรก เขียนว่า จะทำอะไร แล้วเก็บไว้ที่ทำงาน

    เล่มที่สอง เขียนว่า ได้ทำอะไรแล้ว เก็บไว้ที่บ้าน

    เล่มที่สาม ให้เลขานุการหรือเพื่อนเขียนว่า เราทำอะไร 

    แล้วนำทั้งสามเล่มมาเปรียบเทียบกัน ถ้าไม่เหมือนกันเลย ถือเป็นคนธรรมดา ถ้าเหมือนกันทั้งหมด ถือเป็นยอดคน

2.Priority จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังในการทำงาน ไม่ใช่ทำตามอารมณ์ ควรมีการวางแผนเตรียมตัวล่วงหน้า

3.Contribution หมายถึง หน่วยงานจ้างเรามาทำอะไร ทำได้โดยนำงานและหน้าที่มาเรียงกันว่า ค่าจ้างแต่ละส่วนเป็นการจ้างทำอะไรบ้าง ถ้าทราบเรื่องนี้ จะไม่ถูกแย่งเวลาไปทำอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ที่ได้รับการว่าจ้างให้ทำ 

4.Strength จุดแข็ง ควรเน้นจุดแข็ง ไม่ใช่มุ่งแต่แก้จุดอ่อน คู่แข่งในการทำงานของรุ่นลูกคือ คนพูดภาษาจีน ตอนนี้มีการแก้กฎแล้ว ไม่ใช่แค่คนไทยสมัครงานได้ที่อนามัย แต่มหาวิทยาลัยแก้กฎนี้แล้วเพราะมีลูกค้าในไทยน้อย อดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ลงนามในข้อตกลงร่วมของอาเซียนที่กำหนดว่า ในบรรดาประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ถ้ามีอย่างน้อย 3 ประเทศเข้าชื่อให้สอบเป็นภาษาอะไร ก็ต้องทำตามนั้น ถ้าบรูไน อินโดนีเซียและมาเลเซียเข้าชื่อกันให้สอบเป็นภาษายาวี คนไทยก็ต้องสอบเป็นภาษายาวี ตอนนี้พยาบาลฟิลิปปินส์เตรียมมาไทยปีละ 25,000 คน อาจารย์ไกรฤทธิ์ก็เคยจ้างพยาบาลฟิลิปปินส์มาทำงานที่คลินิก ซึ่งก็ยินยอมมาทำงานทั้งวันในวันอาทิตย์ด้วย เพราะมีอาหารกลางวันเลี้ยง ส่วนเงินเดือนทั้งหมดก็ส่งกลับไปให้ครอบครัวที่ฟิลิปปินส์ แต่พยาบาลไทยเงินเดือน 15,000 บาทบ่นเมื่อต้องมาทำงานวันเสาร์

ใน Strength ถ้าเป็นคนที่เราชอบ ก็สนใจในเรื่องที่ชอบ ไม่ต้องไปสนใจเรื่องอื่น ถ้าลูกดื้อและซน ถือเป็นอภิชาตบุตร  ถ้าลูกไม่ดื้อ ก็อาจจะไม่ค่อยฉลาด  

ถ้าหมอได้เงินเดือนเดือนละ 50,000 บาท ไม่รวมรายได้จากคลินิก ควรคิดว่า 40% จากเงินเดือนที่ได้รับเป็นการจ้างมาเพื่อทำหน้าที่อะไร ทำได้โดยการถามเจ้านายหรือฝ่ายบุคคล อาจจะสังเกตจากตอนที่ประเมินเงินเดือนว่า เจ้านายหรือคนที่มีความสำคัญต่อรายได้มักเน้นเรื่องอะไร ถ้าไม่ทราบจุดนี้ จะถูกรบกวนจากคนใกล้ตัว ทำให้เสียเวลา วิธีแก้ปัญหา ทำได้โดยเดินไปหาคนอื่นที่ห้องเพื่อคุยธุระจะทำให้สามารถควบคุมเวลาได้ ถ้าปล่อยให้คนอื่นเดินมาหา จะเสียเวลามากกว่า เพราะคนเหล่านั้นมักพูดเรื่องอื่นก่อนเพื่อหว่านล้อมให้เกิดความสบายใจแล้วจึงคุยธุระ ถ้าไม่สะดวกในการเดินไปหาคนอื่น อาจจะโทรศัพท์ไปก็ได้เพราะจะทำให้สามารถควบคุมเวลาได้ แนวโน้มกทม.ไปทางเอกชนแล้ว ทางด้านการแพทย์มี Disruption มาก ตอนนี้ Wellness เป็นตัวตั้ง สมัยนี้ คนเป็นโรคจากพฤติกรรม บางครั้งโรคก็มาจากแรงงานต่างด้าวที่ข้ามพรมแดนมา 

แนวคิดของ Kepnor และ Tregoe เป็นค่ายสำคัญด้านการตัดสินใจ 

ทฤษฎีการตัดสินใจ 

การตัดสินใจเป็นกระบวนการต้องมีเป้า (Goal หรือ Target) เวลาทำต้องดำเนินการให้คิดถึงการขับรถ เช่น ออกจากที่ทำงานเวลา 9.00 น. ไปถึงหัวหิน 12.00 น. ต้องทำเป็น milestone อีก 30 นาทีจะถึงที่ใด ในทั่วๆไป เวลาคิด Action Plan จนถึงสำเร็จต้องมอง Value Chain คิดถึงโซ่แต่ละข้อ อย่าให้ขาด เช่นชั่วโมงหนึ่งถึงสมุทรสาคร แล้วไปวังมะนาว เพชรบุรี 

ประเด็นที่เป็นปัญหา คือ ณ จุดใดจุดหนึ่งเกิด Divergence แปลว่า ไม่เป็นไปตามคาดหรือ Deviation เกิดการเบี่ยงเบน ความเบี่ยงเบน เรียกว่า Concern บางครั้งจะไปก็เกิดการปิดถนน (Roadblock) จนต้องเปลี่ยนเส้นทาง

Concern คือเป็นห่วงมันแค่ไหน 

นิยามของคำว่า ปัญหา ทำธุระไม่ใช่เรื่องส่วนตัว คือ ตั้งใจจากจุดเริ่มจะไปที่เป้าแล้วพอถึงกลางทางเกิด Divergence คือการเบี่ยงเบนที่ไม่คาดคิด

ปัญหาที่แท้จริงต้องมีคุณสมบัติ 3 ข้อดังนี้ 

1. Unplanned ไม่คาดคิด

2. Cause Unknown ไม่รู้สาเหตุ ซึ่งหมอก็พบอยู่ทุกวัน 

3. Concern คือ สิ่งที่น่าเป็นห่วง 

ต้องนำ 3 ข้อไปพิจารณาแล้วจะพบว่าน้อยครั้งที่จะมีคุณสมบัติครบ 3 ข้อจนเป็นปัญหาที่แท้จริง เช่น บางเรื่องก็มีแผนสำรองไว้ 

นิยามของปัญหาในเชิงงาน การทำงานให้ไปสู่เป้าประสงค์เกิดการเพี้ยนอย่างไม่คาดถึง รู้สาเหตุหรือไม่ ทั้ง 3 ข้อจะบรรเทาปัญหาได้ 

ต้องตอบ 4 คำถาม 

1. เกิดขึ้นเมื่อใดและจะเสร็จสิ้นเมื่อไร ในการ Recheck ปัญหาในงาน เริ่มระบาดเมื่อไร มันหยุดหรือเป็นอยู่ งานอนามัยมี Disruption สูงมาก 

2. เกิดที่ไหน ไม่ควรเหมารวม 

3. เกิดอย่างไร 

4. เกิดมากหรือน้อยอย่างไร

Frequency (ความถี่) x Severity (ความรุนแรง)

รุ่นใหม่มี Risk Management (การจัดการความเสี่ยง)

ยางแบนเพราะรถเก่า ความเก่า คือ ความถี่ Severity คือความแบนของยาง ถือว่าไม่หนักหนาแต่เกิดบ่อย เช่น ยางแบน ส่วนยางระเบิดมีความรุนแรงแต่เกิดไม่บ่อย 

ในการแก้ปัญหาต้องนิยามปัญหาก่อนว่า จุดเปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึงและพาไปสู่ความสำเร็จ บางอย่างเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่คาดถึง มีการคาดไว้หรือแผนสำรองหรือไม่ รู้สาเหตุหรือไม่ บางทีไม่คาดคิดแต่รู้สาเหตุ บางครั้งไม่คาดคิด ไม่รู้สาเหตุแต่ไม่ห่วง 

หลักการตัดสินใจ การตัดสินใจเป็นศิลปะ 

การตัดสินใจมี 2 ประเภท 

ตัวอย่างถ้าคุณเป็นอนุกรรมการที่ต้องตัดสินใจเลือกสถานที่ตั้งใหม่สำหรับสำนักอนามัย กรมธนารักษ์ให้ทำเลมาแบบนี้ 

1. รังสิต 

2. ฝั่งธน 

3. สำโรง 

ต้องเขียนสเปคที่ไม่หลุดและตัดสินใจเลือกและเป็น Known ที่เรียกว่า Must เช่น มี Must 3 ข้อ 

1. นั่งรถจากเสาชิงช้าไปเวลาเฉลี่ยไม่เกิน 1 ชั่วโมง 

2. ขนาดพื้นที่ 10 ไร่ 

3. ถนนที่ผ่านมี 4 เลน 

แม้จะมีการเขียนจากการระดมสมองแต่จัดอันดับความสำคัญแล้วก็เหลือ 3 ข้อเป็น Must 3 อันดับแรก 

Must  ต้องผ่านทุกข้อ 

Must ต้องมีสเปกที่จะตัดหรือไม่ตัด 

ถ้ามีข้อโต้แย้ง ให้ย้ายไปอยู่ที่ Want ให้คะแนนเป็น Degree ที่ลดหลั่นกันไป 

ในการเลือกตัดสินใจที่สำคัญควรเขียนเป็น List of Wants ก่อน ถ้ามีเวลามากและสามารถสเปคได้โดยชัดแจ้ง ต้องมีหลักฐานอ้างอิงประกอบการตัดสินใจ เช่น โฉนดที่ดิน 

เวลาเลือกเรื่องอะไร สเปกที่จะผ่าน Must ต้องเป็นข้อขัดแย้งและเป็นคำบรรยาย การมี Must หลายข้อ เช่น 3-5 ข้อทำให้เกิดความแม่นยำ แต่ถ้ามีมากเกินไปก็จะลำบาก 

Want เป็นสเปคที่ให้เป็นคะแนนได้ เช่น คะแนนเต็ม 10 คะแนน ตีค่าได้เป็น Value




ทำเล

ใกล้ที่เจริญ

(มีน้ำหนัก 5 คะแนน)

การเดินทางสะดวก

(มีน้ำหนัก 4 คะแนน)

สิ่งแวดล้อม

(มีน้ำหนัก 3 คะแนน)



คะแนนรวม

คะแนนที่ได้จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

คะแนนที่ได้ x น้ำหนักคะแนน

คะแนนที่ได้จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

คะแนนที่ได้ x น้ำหนักคะแนน

คะแนนที่ได้จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

คะแนนที่ได้ x น้ำหนักคะแนน

รังสิต

8

8x5 = 40

8

8x4 = 32

8

8x3 = 24

40+32+25 =96

ฝั่งธน

7

7x5 = 35

8

8x4 = 32

9

9x3 = 27

35+32+27 = 94

สำโรง

6

6x5 = 30

9

9x4 = 36

7

7x3 = 21

30+36+21 = 87


Must ห้ามต่อรอง ต้องเริ่มทำ Must ก่อน Want สามารถเลือกข้อที่ไม่ได้คะแนนเป็นที่ 1 ได้แต่ต้องมีเหตุผลว่า เลือกเพราะอะไร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    ปัญหาคือการรีบร้อนตัดสินใจ เวลาที่พบปัญหา ต้องรอบคอบ ปรึกษากัน หนังสือ Harvard เรียกว่า Dialogue คือ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันตลอดเวลา เมื่อสักครู่มีเพื่อนหมอมาบอกว่า มีความขัดแย้งอยู่บ้างในการทำงาน จึงได้แนะนำว่า ควรจะหาวิธีการมาช่วยแก้ปัญหา บางครั้งที่มีความขัดแย้ง ก็พูดจารุนแรง และบางครั้งก็ไม่เกรงใจ วันนี้ ถ้ามองการเมืองสหรัฐอเมริกา ก็จะพบปัญหาคือ การพูดของ Trump ที่ขาดมารยาทมาก วิชาที่ควรจะใช้มากคือ Crucial Conversation การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมาก

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

    ในช่วงเช้า มีการเน้นกระบวนการแก้ปัญหา ในประเด็นท้าทายในปัจจุบัน มีหลายคำตอบซึ่งขึ้นกับเงื่อนไขต่างๆ 

    ตอนนี้มี Disruption มาก หลายเรื่องไม่ได้ต่อเนื่องจากอดีต เช่น สุขอนามัยเชิงรักษา (Curative Care) จะต้องเปลี่ยนจาก Illness มาเป็น Wellness ถือเป็นเรื่องใหญ่ ชาวพุทธมีความเชื่อว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่อธรรมชาติ แต่แนวคิดสมัยใหม่มองว่า สุขอนามัยอยู่ในมือคุณ เป็นโรคเชิงพฤติกรรมมาก ซึ่งคนก็ต้องมีหน้าที่ดูแลตนเอง ไม่ใช่ทุกอย่างอยู่ที่หมอ ทุกอย่างเปลี่ยนแล้ว ขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้เปลี่ยนเป็นหมอกับลูกค้า ถือเป็น Disruption ที่ต้องมี New Concerns เกิดขึ้นมหาศาล

โรคที่เรียกว่า Disaster Disease เมื่อเป็นโรคนี้ เงินออมทั้งหมดของชีวิตสูญไปหมด

ปัจจุบันนี้ การดูแลให้คนสูงวัยอยู่นาน ก็ทำให้ Cost ของเขาเพิ่มขึ้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    แพทย์ทุกคนมีงานหนัก วัฒนธรรมองค์กรกทม.พันธนาการหลายด้านของทุกคนในองค์กร อยากให้ทุกคนกลับไปดูเรื่องความสุขในการทำงาน

    ความสุข (Happiness) มี 2 แบบ

    1.Happiness at Work ได้แก่

        1.1 Passion

        1.2 Purpose

        1.3 Meaning

    ทั้งสามข้อสำคัญมากต่อชีวิต

    แพทย์รุ่นใหม่ไม่อยากเข้าทำงานที่กทม.เพราะเป็นหน่วยราชการ แต่บางประเทศก็ทำให้หน่วยงานคล้ายกทม.เป็นองค์กรอิสระ แต่ละคนจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ ต้องมีบริบทคือ วัฒนธรรมองค์กร

    Harvard ได้ระบุไว้ว่า การตัดสินใจเร็วหรือช้าก็เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง มีวัฒนธรรมหนึ่งคือ ไม่ตัดสินใจ เรียกว่า Culture of Indecision แทนที่จะกล้าทำอะไรบางอย่างก็ผัดวันประกันพรุ่งในการแก้ปัญหาไปเรื่อยๆ

    นอกจากนี้ ปัญหาจริยธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อนต่างๆเป็นอุปสรรคของการตัดสินใจ

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

    การรักษามี 3 ระดับ

  1. Phenotype คือ ระดับที่ปรากฏในสายตาว่า คือโรคอะไร แล้วรักษาไปตามอาการ
  2. ระดับเซลล์หรือเนื้อเยื่อ ระดับนี้มี Automation และ Robotics เข้ามาเกี่ยวข้องมาก ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการผ่าอวัยวะจะมีคำถาม เช่น ในโรงพยาบาลภาครัฐ
  3. ระดับยีน (Gene Sequencing)  เป็นเรื่องที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าการธุรอนามัยรวมทั้งผู้สูงอายุ เพราะสามารถอ่านยีนได้ว่า แต่ละคนจะเป็นโรคอะไร และจะป้องกันได้อย่างไร คนรวยอาจจะรู้ แต่คนจนอาจจะไม่รู้ แพทย์รวยไม่ยอม Share กับคนไข้จน แพทย์นำไปใช้ได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่น่านใจ ต่างประเทศมี Big Data ที่นำไปใช้เรื่องนี้ ยาวางเป็นแบบ Decision Medicine แต่ละอวัยวะต้องได้รับตัวยาที่ต่างกัน ในอุณหภูมิที่ต่างกัน เป็นเรื่อง Shared Basic Medicine ดังนั้นยาธรรมดาที่ใช้กันจึงกลายเป็นเรื่องใหญ่ ยาชนิดหนึ่งเป็น Platform ไปสู่ยาอีกหมวดที่ใหญ่ขึ้นมาก

ความท้าทายคือ สุขภาวะอยู่ในมือคุณ ไม่ใช่อยู่ในมือหมอ เพราะโรคปัจจุบันเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรม


หลักสูตรนักบริหารสุขภาวะเขตเมืองรุ่นที่ 1

หัวข้อ ความคิดในเชิงระบบและความคิดในเชิงกลยุทธ์

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2561

(บันทึกสรุปการเรียนรู้ทีมงานวิชาการ Chira Academy โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล)

การคิดอย่างเป็นระบบ

ด้าน System

สังเกตได้ว่าคนที่เรียนสายวิทยาศาสตร์ เป็นแพทย์ เป็นวิศวกรจะเป็นระบบ

ความคิดในเชิงระบบคือความคิดในเชิงโครงสร้าง System คือ Structure อย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามสาย

ด้าน Social Science

ในด้านโลกาภิวัตน์ คนเก่งทางด้านอักษร ต้องสามารถวิเคราะห์ความลึก รู้ภาษา รู้วรรณคดี คุณลักษณะ ความแตกต่าง

สาขา Social Science ด้านวรรณคดีแล้วยังสอนในเรื่องปรัชญา

ด้าน System และ Social Science

ด้าน System คนจะเก่งด้านคำนวณ มองด้านคุณภาพ

ด้าน Social Science ทำให้เก่งด้านมองสิ่งที่เป็น Abstract ปรัชญา

System Thinking

1. การรู้จักต่ออดีต ปัจจุบัน อนาคต

ยกตัวอย่างคนเรียนอักษรศาสตร์ เริ่มตระหนักถึงอนาคต ว่าเรียนแล้วจะจบมาได้ทำงานอะไรบ้าง ต่างกับ แพทย์ วิศวกร การเงิน ที่จบออกมา

ในยุคโลกาภิวัตน์ คนที่เรียนอักษรศาสตร์เริ่มเปลี่ยนมาเรียนสายกฎหมายมากขึ้น เพราะช่องทางในอาชีพมามากขึ้น

อย่างแพทย์จำนวนหนึ่ง Ego สูงมีคนเคารพด้วยความเก่ง ยิ่งใหญ่ มาเล่นการเมืองมากขึ้น แต่ไม่ใช่เรื่องที่ดีเพราะคนเคารพที่ความเป็นหมอ ไม่ใช่ว่าเป็นนักการเมืองแล้วจะมีคนเคารพเหมือนหมอ เพราะความจริง

ปัจจุบันหมอมีปัญหาเรื่องกฎหมาย โดนฟ้องมากขึ้น ทำให้หมอไปเรียนกฎหมายมากขึ้น

ยกตัวอย่าง ดร.สมชาย เข้าอักษรศาสตร์เพื่อเป็นทางผ่านให้ได้ทุนเรียนปริญญาเอก เพราะมองว่าถ้าเป็นอาจารย์อักษรศาสตร์อย่างเดียวจะได้รายได้ไม่พอ  จึงมองถึงช่องทางในอนาคตว่าต่อไปจะเดินทางสายไหน ต้องการเป็นอะไร มีรายได้เท่าไหร่ ใช้ระบบในการปฏิบัติจริง

เช่นเดียวกันถ้าวาง System ไม่ดี ชีวิตอนาคตอับเฉา

System มีสองแบบคือแนวตั้งและแนวนอน

System แนวตั้ง คือความสุขของคน ของประเทศ ต้องมองแบบเชื่อมโยงการบริหารเป็นระบบ คืออดีต ปัจจุบัน อนาคต โดยเฉพาะในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาเป็นยุคดิจิทัล เป็นยุค Re-Thinking the Future ความเชื่อมต่อความสำเร็จจากอดีตปัจจุบันอนาคต ต้องอาศัยความลึกซึ้งของคนในการเชื่อมต่อประเทศได้

ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เมื่อ 30 ปีที่แล้ว มีการเตือนเราว่าเข้าสู่ยุคใหม่ เป็นยุคของการพบกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับเทเลคอม เรียกว่าเป็นยุคดิจิทัล

และต่อไปจะเข้าสู่ยุคดิจิทัลกับไบโอเทค เป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 การเชื่อมต่อด้วยตากับด้วยหูสามารถทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างโกดักพังได้ เพราะว่าถ้าเขาดูอย่างฉลาดเหมือน 40 ปีว่าคอมพิวเตอร์จะเล็กลงจนกลายเป็นอินเตอร์เน็ต ถ้าเชื่อมต่อได้จะทำเป็น Digital Camera

การเชื่อมต่ออดีตปัจจุบัน

1. จุดอ่อน จุดแข็งในอดีตสามารถเห็นอนาคตได้

2. อนาคตไหนที่คุณสามารถไขว่คว้าได้

ในอดีตคนเก่งหลายคนแห่เรียนแพทย์ แต่ผ่านมามีทางเลือกมากขึ้น ช่องทางมากขึ้น คนเก่งเริ่มไปเรียนสายอื่นมากขึ้น และในปัจจุบันคนเก่งเริ่มไปเรียน IT มากขึ้น มีคนเรียน Data Science มากขึ้น ดังนั้นเป็นยุคที่ไทยต้องเชื่อมโยงกับอนาคตให้ได้ เหตุผลหนึ่งที่ประเทศไทยปรับตัวไม่ทันในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาทำให้เศรษฐกิจประเทศไทยตก

ความคิดในเชิงระบบ (System Thinking)

1. ศักยภาพการแข่งขัน

2. มองเชื่อมโยง (Visionary) คนเก่งจะสามารถเชื่อมโยงอนาคตของโลกปัจจุบันให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้

3. Predictive

ความสุข

          ความสุขของคนเชื่อมต่อได้ง่าย ถ้าระบบการศึกษาสอนให้เกิดการเชื่อมโยงคือ

1. เข้าใจตัวเราเอง

2. ทุกคนเป็นอัจฉริยะ

ไม่ต้องดูคนอื่น การศึกษาที่ดีสอนให้เรารู้จักศักยภาพตัวเอง เราไม่ได้เก่งทุกเรื่อง แต่เราเก่งหลายเรื่อง

ความสำเร็จกับ IQ

ความสำเร็จอยู่ที่ IQ คนฉลาดไม่มี Passion จะสู้คนมี Passion ทำงานไม่ได้ เพราะคนมี Passion จะมีความมันส์ในการทำงานอย่างมีความสุข

IQ เป็นเรื่องการมองตัวเอง แต่ความสำเร็จต้องมองถึง Interaction ด้วย แต่ IQ เป็นการมองตัวตนแยกส่วน จึงต้องปรับให้คนมี EQ คือการมองที่ความสัมพันธ์กับคนอื่น Interaction

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ปัจจุบันสิ่งที่พบคือเด็กไทยรุ่นใหม่มองแต่ IQ มากขึ้น

ตอบ การมองตัวเอง คือการมองแบบ ระบบ IQ เป็น Individual  ซึ่งกำลังเป็นปัญหากับการศึกษาไทยที่เด็กมองแต่ตัวเอง

การวางแผน 4.0 เพื่อป้องกันการเมืองรุ่นใหม่ ไม่ให้มีสิทธิผูกขาดการเมืองของคุณกับการทำงานรุ่นใหม่

ภาษาบอกระบบได้หรือไม่ ?

การรู้แค่ภาษา บอกระบบได้หรือไม่ ?

          ภาษาส่อระบบได้อย่างภาษาอังกฤษ กับ ไทย อย่างไทยคำว่าบ้าน ภาษาอังกฤษมี House กับ Home

ภาษาอังกฤษมีคำว่า System ต่างกัน

  1. 1. System Thinking ความคิดอย่างเป็นระบบ

2. Systematic ความคิดในเชิงระบบ

  1. 3. Systematic Thinking  

System Thinking กับ Systematic เหมือนกัน (เชื่อมโยงได้หมด)

มีการเชื่อมต่ออดีต ปัจจุบัน อนาคต เป็นการเชื่อมต่อแบบ Future List ทำอาชีพตามจุดอ่อน จุดแข็ง

Systematic Thinking (บริหารได้ทุกระบบ)

          นอกจากเป็น System แล้ว แต่จะบริหารได้ทุก System เป็นความคิดในเชิงระบบ หมายถึงทุกอย่างสามารถจัดระบบได้ใหม่

          Systematic Thinking คำนามที่อยู่หน้าคำนามจะแปลงเป็นคำคุณศัพท์

Innovative Thinking

          หมายถึงคนที่มีความคิดเชิงนวัตกรรม จะมีความเหนือชั้นกว่า Creative หมายถึงต้องมีความรับผิดชอบและทำเป็นรูปธรรมได้

1. Innovative คือคนที่มีนวัตกรรม

2. Innovation Thinking คือการมองอะไรใหม่ ๆ ที่เป็นรูปธรรม มองเป็นผลลัพธ์ เป็นส่วนขยาย

          คนที่สามารถวิเคราะห์ต่อเนื่องได้ เป็นการคิดต่อไม่ใช่มองแค่บ้านจะแสดงถึงระบบของคุณ หมายถึงระบบการศึกษา Complex ทำไมประเทศไทยมีการบัญญัติศัพท์ โลกาภิวัตน์ ที่หลัง ทั้งที่อังกฤษมี Globalization นานแล้ว

วิวัฒนาการมนุษย์

          กรีกเป็นจุดเริ่มต้นของอารยธรรมตะวันตก เรเนซองส์ เป็นยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม

มนุษย์คือคนที่สร้าง Civilization ได้ แต่ลิงไม่สามารถ Civilization ได้

          กรีกสอนว่ามนุษย์ทุกคนฉลาดคือคำว่า เซเปี้ยน คำว่าเรเนซองส์คือการเกิดใหม่ มีแนวคิดปรัชญาแบบมนุษย์นิยม Humanism ไปสู่มนุษย์มีความสามารถในการคิด ไม่ต้องเชื่อโป๊ป ที่ฆ่าคน

มาร์ติน ลูเธอร์ คือคนที่ทำให้ศาสนจักรแยกมาเป็นในกรอบและนอกกรอบ  ระบบเศรษฐกิจจะตกอยู่ในมือของคนฉลาด อดัม สมิทธิ์บอกว่าจะนำสู่ดินแดนเสรีนิยม เมื่อมนุษย์ฉลาดรัฐไม่ควรจำจอง รัฐมีหน้าที่ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ นำสู่การปฏิวัติฝรั่งเศส จบศักดินา กลายเป็นเสรีนิยม ทุนนิยมประชาธิปไตย เกิดดาวินซี่ เป็นภาพเขียนโมนาลิซ่า

          กรีกบอกว่าการศึกษาที่ดีเหมือนต้นไม้ที่มีชีวิต Life Time Learning ดังนั้นการศึกษาที่ดีต้องออกมาเป็นระบบ Directive

          ระบบ Mechanic เหมือนต้นไม้ไม่มีชีวิต  ได้ข้อมูลเท่าไหร่ แปลงออกมาเท่านั้น แต่ถ้าได้มากจะสำลัก

          การศึกษาแบบใหม่ของกรีก การศึกษาที่ดีต้องมีการเชื่อมโยง เหมือนต้นไม้ที่มีชีวิต เรียกระบบนี้ว่า Organic คือการมีมูลค่าเพิ่ม

1. Collective  Intelligent เป็นได้ต้องมีกระบวนการแบบ

2. Directive คือการขยายเนื้อหา Directive ออกไปสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นการสื่อสารที่มีคนมากกว่า 1 คน  คือการโต้ไปโต้มาแล้วได้สิ่งใหม่ที่ดีกว่าเก่า  เช่น โลกแบน ถ้ามีคนเชื่อหมด โลกก็แบน แต่ถ้ามีคนโต้แย้ง จึงทำให้รู้ว่า

คือ Thesis มี Anti-Thesis คือคนโต้ไม่เห็นด้วย และได้พบว่ามีโลกกลม พบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล

สังเกตได้ว่าประเทศเหล่านี้มีประวัติศาสตร์ความคิด มีปรัชญา การศึกษาตะวันตกจะให้เด็กอ่านหนังสือ แล้วมานำเสนอในห้อง หนังสือ 40-50 หน้า นำมาเสนอเป็น 10 นาที จะทำให้

1. เด็กสามารถจัดระบบเป็น Systematic

2. ทำให้เด็กไม่มี Ego เพราะ มีการโต้แย้งเกิด Directive

3. ถ้าชอบหนังสือ แล้วได้อะไร ทำให้เด็กค้นพบตัวเอง

- การศึกษาไม่ได้มาจากมหาวิทยาลัยแต่มาจากตัวเราเอง

ระบบ Mindset Organic 

จะเรียนรู้การเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน  คนเราทุกคนมีสิ่งที่เหมือนกัน สามารถเชื่อมโยงสรรพสิ่งในโลกที่เหมือนกัน อย่างเช่น คน สุนัข เมฆ มีอะไรที่เหมือนกัน ? คำตอบ สิ่งที่เหมือนกันของ คน สุนัข เมฆ คือ น้ำ สิ่งนี้เรียกว่าการเชื่อมโยงแบบ  Meta Physic

พวกเราแตกต่างกัน แต่มีสิ่งที่เหมือนกันคือ Form ของการเป็นคน คือ 2 ตา 2 หู ฯลฯ

System

 คือการเอาสิ่งที่แยกส่วนมารวมส่วน เรียกว่า Induction คือการนำความแตกต่างมารวม แล้วต่อมาจะเกิด Deduction คือ การนำมาพิสูจน์

Deduction คือ การศึกษาที่ดี ที่เก่ง คือการศึกษาที่สอนให้คนใช้สมองเห็นสิ่งแตกต่างเป็นการเชื่อมโยง

ทำไมตะวันตกถึงเชื่อมโยงชนะเอเชีย

          ยกตัวอย่างการเชื่อมโยงศูนย์กลางจักรวาล มีคนสองกลุ่มนั่งอยู่ใต้ต้น Apple

1. กลุ่ม Mechanic อะไรตกที่หัว ตั้งคำถามว่าอะไรตก มีแอปเปิ้ลตก ปากกาตก ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

2. กลุ่ม Organic ตั้งคำถามว่าทำไมมันตก และทำไมทุกอย่างตก นำไปสู่การคิดเพิ่ม และคนนี้สร้างนวัตกรรมว่าโลกมีแรงดึงดูด คนนี้คือเซอร์ ไอแซก นิวตัน  และคิดว่าน่าจะมีอะไรที่ถูกดูด คืออะตอม นำไปสู่วิทยาศาสตร์ เป็นเรือกลไฟ เกิดยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 1

มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ อะไรเป็นคำคุณศัพท์มีค่ามากกว่า หมายถึงเมื่อสังคมเจริญขึ้น มนุษย์นำไปสู่การต่อสู้ มากขึ้น

การเชื่อมระบบเข้าหาเรา เซอร์ ไอแซก นิวตัน ทราบว่าโลกมีแรงดึงดูดแต่ตอบได้ว่าทำไมโลกกับพระอาทิตย์ไม่ชนกัน เพราะมีสนามแม่เหล็ก  ค้นพบการศึกษาว่ามีสิ่งเล็กกว่าอะตอม นำสู่ยุคดิจิทัล คนนี้ชื่อว่าไอน์ สไตล์

System นำสู่ Creative  นำสู่ Innovation นำสู่ Prediction

ระบบ Induction

          คือระบบที่เห็นอะไรแล้วจับประเด็น แต่มีระบบที่ดีคือการพิสูจน์ Deduction

Outcome

          คือระบบที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ ถ้า Outcome ดีจะสามารถ Feedback ไปที่ Input ถ้า Outcome ไม่ดีก็ต้องไปปรับ Input

คนที่มององค์รวมฉลาดกว่าคนที่มองไม่ครบองค์รวม เพราะถ้ามองไม่ครบประสิทธิภาพจะเป็นปัญหา

คนที่เป็นระบบจะดูว่าอาจารย์สมชายมาบรรยายกี่ชั่วโมง ใช้ Flipchart เยอะหรือไม่ ต้องหาปากกกาให้ครบ แล้วคนนี้มาจะวิเคราะห์ทั้งกระดาน

You are what you think

คนต้อง Think Forward เป็น Forward Thinking

ระบบที่สมบูรณ์กับไม่สมบูรณ์ต่างกันอย่างไร

1. ก่อนวาง Input ต้องดูที่ Outcome คือลูกค้าคือใคร สีอะไร ค่อยมีการ Input

2. การเรียนเป็นระบบ สอนให้รู้เขา รู้เรา สามารถพัฒนาการศึกษา เชื่อมโยงการศึกษาได้

ขั้นตอนการเรียนกับอาจารย์สมชาย ต้องผ่าน 3 ขั้นตอน คือ

1 โรคซึมเศร้า

2. ประสาทแดก

3. Happy Ending

ภาพการคิดเป็นระบบ

          ระบบที่สมบูรณ์ต้องมีการเชื่อมโยงกันทุกจุด ถ้าจุดใดจุดหนึ่งไม่มีการเชื่อมโยงถือว่าไม่เป็นระบบ หรือระบบไม่สมบูรณ์ และทุกคนต้องมีหน้าที่ และเป้าหมาย

1. Component ทุกระบบต้องมีองค์ประกอบ

2. Function ทุกระบบต้องมีหน้าที่ในการทำ

3. Interaction การเชื่อมโยงต้องสามารถทำหน้าที่เชื่อมโยงกับอีกอันหนึ่ง Interaction

4. Survival เป้าหมายของระบบคือการอยู่รอด

พวกเราอยู่ในระบบการเมืองหรือในระบบสังคม  

เรามี 2 สถานะ สถานะหนึ่งอยู่ในสังคม สถานะหนึ่งอยู่ในการเมือง ต้องวิเคราะห์ให้ชัด

ยกตัวอย่าง

คำว่าอยู่รอดหมายถึง ได้ หรือดี

          หมายถึง ได้ แต่ถ้าดีต้องเป็นเรื่องการสร้างคุณภาพที่ดีด้วย

          ปีหน้าจะมีการเลือกตั้ง นาย ก. อยู่ในป่า ถามว่าอยู่ในระบบการเมืองไทยหรือไม่

อยู่ในระบบสมบูรณ์ แม้ว่าเลือกตั้ง หรือไม่เลือกตั้ง

ระบบใหญ่ มี 4 องค์ประกอบ ระบบย่อยแยกเป็น 2 ระบบ

1. ระบบเครื่องจักร Mechanic

2. ระบบที่มีชีวิต Organic

          ระบบที่เกี่ยวกับคนเรียกว่า Organic สังคมเปลี่ยน ห้องเปลี่ยน ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือสภาพแวดล้อม เช่น เทคโนโลยี ระบบ IT ทำให้เกิดสปริง ระบบการเปลี่ยนแปลงจะเป็นหัวใจสำคัญ ถ้าไม่สามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงได้ ระบบจะต่อไปได้

          วิเคราะห์สภาพแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในอาชีพของเรา ต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าโลกเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

Systematic

          คืออะไรสามารถสร้างเป็นระบบได้หมด โดยเฉพาะโลกในวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงเราต้องสร้าง Systematic อย่าง IT Security เป็นเรื่องที่สำคัญมาก

          สมองฉลาดทุกคน แต่ระบบการศึกษาไทยเศร้ามากที่ใช้ความฉลาดแค่ 10%

เราสามารถสร้างระบบให้เป็น Creative Thinking

          ความฉลาดมาจาก Group Thinking การศึกษาของเด็กไม่เป็น Group Thinking ทำให้การศึกษาของเด็กมีปัญหา

          ระบบสังคมไทยทำให้ Group Thinking มีปัญหาเพราะกลัวผู้ใหญ่ แต่ระบบ Google สำเร็จเพราะไม่รู้ว่าใครคือผู้ใหญ่  ส่วนระบบไทยเถียงครูไม่ได้ แล้วโง่ตามครู ดังนั้นระบบ Workshop ที่มีประสิทธิภาพต้อง Win-Win แต่ระบบไทยต้องการชนะแพ้

          คนโง่เห็นอะไรแยกส่วน ส่วนคนฉลาดจะเห็นอะไรที่เชื่อมโยงกัน

ยกตัวอย่างเจ้านายให้ลูกน้องไปหากาวมาติดกระดาน คนแรกล้มเหลวเพราะมัวแต่หากาว ส่วนคนที่ 2, 3, 4 ถามเจ้านายว่าต้องการอะไรคือ ต้องการกระดานติดกัน ใช้ตะปู ค้อน เข็มหมุด  

คำถาม : ทุกระบบมีองค์ประกอบสำคัญกับไม่สำคัญหรือทุกระบบจะไม่มีองค์ประกอบไม่สำคัญมีแต่สำคัญกับสำคัญมาก

คำตอบ : ทุกระบบมีแต่สำคัญกับสำคัญมาก คนไหนที่เอาแต่ส่วนไม่สำคัญแสดงว่าคิดไม่เป็นระบบ ทุกองค์ประกอบจะมีสำคัญมากกับสำคัญน้อย

          อย่างเจ้านายให้ความสำคัญ 2 เรื่องคือกาว กับกระดานติดกัน เจ้านายให้ความสำคัญกับกระดานติดกันมากกว่า และอะไรที่ทำให้ติดกัน

          ทางออกในชีวิต เมื่อไม่สามารถใช้วิธีนี้ สามารถใช้วิธีอื่นได้

คนที่เป็นระบบ Organic จะตั้งคำถามว่า ทำไม อย่างไร และเห็นการเชื่อมโยง

          ยกตัวอย่างการประสบความสำเร็จในร้านอาหารคือ

1. อาหารอร่อย

2. ราคา

3. สถานที่สะดวก

ความต้องการลูกค้า

          พฤติกรรมผู้บริโภคต้องการต้องการให้สินค้าบริการอยู่ตามห้าง เช่น เคี้ยงเอ็มไพน์  ถ้าเราต้องการทำให้แบงค์เราตรงตามความต้องการลูกค้า ผู้บริหารแบงค์ใช้แนวเดียวกันคือเอาแบงค์อยู่ตามห้าง

ลูกค้ากับประชาชนเหมือนกันหรือไม่

          อย่างอ.สมชายเป็นทั้งลูกค้าและประชาชน  ต้องการให้บริการของรัฐ บริการของกทม. มีการบริการแบบ One Stop Service กระทรวงต่างประเทศ มีการทำ Passport ในห้าง

ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ต้องมีการพัฒนาให้สอดรับความต้องการอาทิ ความหลากหลาย สินค้าและบริการในปัจจุบันมี Customize มากขึ้น

สิ่งที่ต้องเผชิญ

Disruptive Innovation

          ไม่มีอะไรที่ตัดขาดจากอดีตได้ อย่าง Disruptive ต้องใช้อดีตในการวิเคราะห์ ยกตัวอย่าง Google มาจาก บรรณารักษ์ ห้องสมุด Encyclopedia และเอาคนอื่นมาช่วย อยากรู้อะไรบอกได้

การวิเคราะห์อนาคต ต้องใช้การเชื่อมโยง

1. Horizontal ระบบแนวนอน การเชื่อมโยงยุคโลกาภิวัตน์

2. Vertical ระบบแนวตั้ง รู้อดีต ปัจจุบัน อนาคตเป็นอย่างไรบ้าง เพราะทุกอย่างเป็น Logical Experiment

Trends and Threat and the Impact

ค.ศ. 1992 มีการลงนามทำข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน ASEAN Economic Cooperation สินค้าเข้าออกระหว่าง 6 ประเทศไม่มีกำแพงภาษี  และมีอีก 4 ประเทศเข้ามาเป็นสมาชิก และคาดว่าอีก 1 ประเทศเข้ามาคือ ติมอร์

ค.ศ. 2015 มี AEC พัฒนาความสามารถทางการแข่งขัน มีโครงการร่วมกันคือ IMT-GT และ Economic Corridor (ระเบียงตะวันออก-ตะวันตก และระเบียงเหนือ-ใต้)

หัวข้อ ความคิดในเชิงระบบและความคิดในเชิงกลยุทธ์

โดย     ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

         

Human Capital เกิดมาเท่ากันอยู่ที่การลงทุนของ

การพูดถึงคนในตอนไหนก็ตาม ถ้ามีการลงทุนที่ถูกต้อง ดูแลจากครอบครัวดี มีค่านิยมที่ดี ทันสื่อ ก็จะได้กำลังแรงงาน

- คนที่อยู่ในสลัมก็จะยากจน

- ทฤษฎี Demand Side

ถ้าเรามีคุณภาพของคน ถ้าเราทำสำเร็จจะได้ความสามารถในการแข่งขัน ได้ประชาธิปไตย แก้ปัญหาความยากจน สังคม สันติสุขสิ่งแวดล้อม ความสามารถในการแข่งขัน และท้ายที่สุดคือมีความยั่งยืน

ช่วงอายุ 60 ขึ้นไป ทรัพยากรมนุษย์ที่ดีไม่ใช่ตอน 60 เฉย ๆ แต่คนอายุมากกว่านั้น

- เราต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ที่ดี มีสุขอนามัยที่ดี

- มีคุณธรรม จริยธรรม

ปัญหาของเราคือ

จนก่อนแก่ แต่สังคมส่วนใหญ่รวยแล้วค่อยจน ทำไมเราต้องทำเรื่องสมองเสื่อม

อาจารย์สมชาย สอนให้เราคิดเป็นระบบ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          - เวลามองต้องคิดทั้งระบบ ไม่คิดแยกส่วน

          - การคิดเชิงระบบ คือ คิดใหญ่ คิดเล็ก และคิดให้เชื่อมโยง

          - ในเชิงทางวิทยาศาสตร์แม้เก่งในระบบสายวิทยาศาสตร์ เราต้องเก่งทางด้านศิลปะศาสตร์ คือมีความเชื่อมโยงด้านคนมาด้วย

          - การเตรียมสู่การบริหารเขตเมือง มีเรื่องการเมืองความมั่นคง สังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ

การดูแผนพัฒนากรุงเทพฯ 20 ปี

วิสัยทัศน์ กทม. พ.ศ. 2575 นำจากการคิดจากประชาชนว่าต้องการอะไร

1. มหานครแห่งเอเชีย / เมืองหลวงแห่งเอเชีย

          - ความคิดในเชิงระบบมองความเป็นไปได้ มีกรณีศึกษาทำไมกรุงเทพฯ เป็นมหานครแห่งเอเชียไม่ได้

          - สถานที่ตั้ง กทม.อยู่ตรงกลาง

          - โครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมหรือไม่ เชื่อมไปยังจังหวัดต่าง ๆ ได้หรือไม่ อย่างสนามบินอู่ตะเภาที่สร้าง ท่านผู้บริหารคิดหรือยัง

2. มหานครสีเขียว

3. สังคมพหุวัฒนธรรม

ข้อเสนอการทำงาน

1. การคว้าโอกาส และการเลือกทำ

2. ต้องเชื่อมโยงกับตัวเราเองให้ได้

แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (2556 - 2575) ระยะที่ 1 : 2556-2560

วิสัยทัศน์ 2575 กรุงเทพฯ 2575

☆ มหานครแห่งเอเซีย > เมืองหลวงแห่งเอเซีย

     ความคิดเชิงระบบ

มองความเป็นไปได้ ? > กรณีศึกษา Australia ( Perth / Adelade / ) สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน อินเดีย ประเทศเอเซียใต้

1.1) ภูมิยุทธศาสตร์

       - สถานที่ตั้ง

       - โครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมโยงทั่วประเทศ - ต่างประเทศ

       - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย (2)

       - มหานครกระทัดรัด  (4)

1.2) ภูมิสังคม - วัฒนธรรม

       -  สังคมพหุวัฒนธรรม ทุกเชื้อชาติศาสนาอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข มีอัตลักษณ์ และเป็นเอกลักษณ์

      -  มหานครสำหรับทุกคน (3)

      -  มหานครปลอดภัย (1)

1.3) การเมือง- ความมั่นคง

     - มหานครแห่งประชาธิบไตย?(5)

     - ความสงบ (Peace)   HR.Architecture

1.4) มหานครแห่งเศรษฐกิจ และการเรียนรู้ (6)

     HR.(Human Capital) Development & Management (ปลูก เก็บเกี่ยว ทำให้สำเร็จ)

☆ สำนักอนามัยอยู่ตรงไหนของยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ

1.5) การบริหารจัดการ ( กทม.)

      นักบริหารเขตเมือง

         TEAM WORK

         NETWORK(เครือข่าย)  > ภาคีเครือข่าย

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

          เรามีวิสัยทัศน์ของ กทม.  เราต้องเชื่อมโยงอดีตกับอนาคต เพราะกำลังวางแผนวิสัยทัศน์  เราหนีไม่พ้นที่จะทำ Smart City

1. Smart Environment

2. Smart Reading

3. Smart Economy

4. Smart Governance

5. Smart People

6. Smart Mobility

          HR Architecture ที่อาจารย์จีระแสดงดีมาก การมองเรื่องเศรษฐกิจกับสภาพแวดล้อมในอดีตมีความขัดแย้งกัน เป็นการมองแบบแยกส่วนคือ Mechanic เราต้องมองแบบองค์รวมคือ Sustainable Development เป็นการตอบสนองที่สามารถบริหารตอบสนองต่อ Generation ใหม่ เอื้ออำนวยต่อ Next Generation ให้อยู่ได้ร่วมกับสภาพแวดล้อม เพราะถ้าทำลายน้ำเสียด้วย คุณจะจบด้วย

          เราจะทำสภาพแวดล้อมดีได้อย่างไร เช่นการดูแลเด็ก ๆ มีการศึกษามากกว่าไปทำงาน จะทำให้เด็กมีความรู้ในการเรียนรู้เพื่อสร้างความยั่งยืน หรือการนำผู้หญิงท้องไปทำงานจะได้กำลังแรงงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรืออย่างเรื่อง Human Right เอาเด็กมาทำประมง

          Sustainable Development 17 รายการแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม ทั้งหมดอยู่ที่ความสามารถของคุณในการพัฒนาอยู่ที่การเชื่อมโยงกับ กทม. One Built one road

WORKSHOP ความคิดเชิงระบบ : พิจารณาจากแผนภูมิ HR Architecture

ข้อ1) (กลุ่ม 3)

(1.1) วิเคราะห์ภาพรวม ความเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผัน (Disruptive Change)

        ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ที่ส่งผลกระทบต่อ กทม.ในมิติของ..

        เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย/ และ

(1.2) อธิบายภาพรวม ของการพัฒนาใน 3 มิติดังกล่าวที่ ว่ามีสิ่งใดเป็นจุดแข็ง

        และมีสิ่งใดที่ยังต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน

ข้อ2) วิเคราะห์ผลการสร้างความตระหนักรู้ ทั้งความสำเร็จ และสิ่งที่ต้องแก้ไข  (กลุ่ม 2)

(2.1) ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ในกลุ่มประชากร กทม. 3 วัย คือ วัยเด็ก วัยทำงาน

        และ วัยสูงอายุ และ

(2.2) ด้านการชะลอความเสื่อมของสมอง ตามวิถีแตกต่างของบ้าน 3 ลักษณะ และ

(2.3) จะนำ แผนภูมิ HR Architecture มาปรับใช้อย่างไร?

3 ) พิจารณาแผนภูมิHR Architecture เพื่อ  (กลุ่ม1)

(3.1) วิเคราะห์ผลการพัฒนาตามวิสัยทัศน์ "กทม.มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้"

        ว่ายังมีสิ่งใดบ้างที่ยังต้องปรับปรุง

(3.2) วิเคราะห์การปรับใช้กับการบริหารเมืองสุขสภาวะ โดยเน้นด้านชีวอนามัยสำคัญ

        โดยนำเสนอเป็น

(3.3) แผนงาน 3 แผน ในบ้าน 3 ลักษณะ

การนำเสนอ WORKSHOP ความคิดเชิงระบบ : พิจารณาจากแผนภูมิ HR Architecture

ข้อ1) (กลุ่ม 3)

(1.1) วิเคราะห์ภาพรวม ความเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผัน (Disruptive Change)

        ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ที่ส่งผลกระทบต่อ กทม.ในมิติของ..

        เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย/ และ

(1.2) อธิบายภาพรวม ของการพัฒนาใน 3 มิติดังกล่าวที่ ว่ามีสิ่งใดเป็นจุดแข็ง

        และมีสิ่งใดที่ยังต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน

ด้านเศรษฐกิจ

ปี 2552 เริ่มมีวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลก การขยายตัวของประเทศไทยน้อยลง นำมาเป็นโจทย์เพราะ GDP ของประเทศอยู่ที่ กทม. ปี 2553 การท่องเที่ยวทำให้โตขึ้น ปี 2554 น้ำท่วม หลังปี 2554 เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นจากการขยายตัว

Disruptive Change 

1. IT

2. การขายของ Online เพิ่มขึ้น

3. E-Banking

มีการปรับค่าแรงงานขั้นต่ำ สำนักอนามัยก็ปรับ เกิดการลดการจ้างงาน มีการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามา

จุดแข็ง  คือ มีมหาวิทยาลัย สาธารณูปโภคพร้อม มีความพร้อมด้านการลงทุนด้านอุตสาหกรรม  มีความพร้อมด้านไฟฟ้าประปา พร้อมให้ต่างชาติลงทุน มีการลงทุนรถไฟฟ้ามาก ให้มีการเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม

สิ่งที่ต้องพัฒนา

1. จราจร

2. ระบบโลจิสติกส์ พัฒนาคุณภาพประชาชน ประชาชนมีปัญหาสุขภาพจิต

3. พัฒนาระบบกฎหมาย ภาษี เช่นขายของออนไลน์ ซื้อคอนโดให้เช่า

ด้านสังคม และวัฒนธรรม

1. ปัญหาเหล่านี้คนนึกถึงแต่ตัวเอง การมีส่วนร่วมน้อยลง

2. ปัญหาต่างด้าว เปิดรับ AEC ปัญหาที่อยู่อาศัย ภาคอุตสาหกรรม  อาทิ สมุทรปราการ สมุทรสาคร มาพร้อมกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เมียนมา กัมพูชา ลาว นำพาโรคติดต่อ

3. ผู้สูงอายุเริ่มปรับตัวเรื่องการใช้เทคโนโลยี บางส่วนสังคมเล็กลง  มีการจัดกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น การรวมกลุ่มกันไม่ง่าย ส่วนครอบครัวเปลี่ยนไป เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น มีผลต่อประชากรเด็กอัตราเกิดปัจจุบันเท่ากับผู้สูงอายุ ต่อไปจะน้อยกว่าอัตราผู้สูงอายุ ขาดกำลังแรงงาน

เด็กไม่มีพื้นที่วิ่งเล่น ระบบการศึกษาไม่ปูพื้นฐานหลายด้าน เด็กมุ่งเน้นเรียน ขาดทักษะทางสังคม

จุดแข็ง การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมากขึ้น เกิดความสุขสบายในชีวิตประจำวัน

ปัญหา และสิ่งที่ต้องการพัฒนา ผู้สูงอายุที่พึ่งพาตัวเองได้ คือรวยก่อนแก่ แต่ปัจจุบัน จนก่อนแก่ ให้ผู้สูงอายุรู้เท่าทันเทคโนโลยี และเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว  

สิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย

1.คนมาพร้อมโรค เด็กควรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องการให้วัคซีนให้ครบ ป้องกันโรคติดต่อที่ตามมา

2.แรงงานนอกระบบ

3. ความเครียด

4. สิ่งแวดล้อม

5. โรคติดต่อ

จุดแข็ง คือ  ชัยภูมิเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาระหว่างประเทศ สามารถเป็น Medical Hub ได้ ดูแลรักษาเรา

การพัฒนา คือ การคุ้มครองโรคติดต่อ พัฒนาระบบเครือข่าย Network การรับมือกับระบบที่เข้ามา การโต้ตอบโรคระบาด น้ำท่วม ไฟไหม้ แผ่นดินไหว

ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

          เสริมว่าเวลาวางแผนกี่ปีอย่างน้อย 12 ปีอย่างน้อย

จำนวนประชากรที่วัยทำงาน 15-55 ปี สิ่งที่เราต้องคิดคือ

1. ค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพ

2. รายได้ของ กทม.

          ยกตัวอย่างที่ออสเตรเลีย มีการดูแลคนแก่ 60 กว่า กับ 70 ปีกว่าไม่เหมือนกัน ที่ซิดนีย์มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนเรื่องการประกันสุขภาพ เป็นการตายอย่างมีความสุข เป็นที่คนแก่มาคุยกัน กทม. ต้องดูแลอย่างดีมีการวางแผนยุทธศาสตร์ สู่การสร้างวิสัยทัศน์ของกทม.

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. สิ่งที่อยากให้ไปคิดต่อคือแรงงานต่างด้าว  กทม.จะจัดอย่างไร

2. ความเป็นอยู่ของคนในกทม. อยู่ในแนวตั้งและ Lonely อยากให้กทม.ช่วยคิดเรื่องการดูแลสังคมเมือง และสังคมคอนโดให้ดี

3. Aging Society ดี แต่ก่อนมีกลุ่มใหญ่ ๆ เดี๋ยวนี้มีกลุ่มเล็ก ๆ ปัญหาคือ กทม.จะดูแลอย่างไร ญี่ปุ่นจัดเป็น Age Group 65 ปี 75 ปี 85 ปี อย่างสังคมไทย 60-70 ปี น่าจะพออยู่ได้ 70-80 ปี ต้องดูแลเรื่อง Health อย่างดี ข้อดีของอาจารย์สมชายที่แนะนำคือเขาจะใช้ชีวิตอย่างไร และตายอย่างไร การตายแบบมีความสุขด้วยจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด

          ขอขอบคุณกลุ่มนี้ที่วิเคราะห์ได้ดี รู้แคบแต่ฉลาดกว้าง ให้คิดจาก Macro มาสู่ Micro คิดจาก Complexity มาสู่ Simplicity อยากแนะนำให้มอง Macro ระดับโลก Regional และ City และมาสู่ Smart City อยากให้ดูเรื่อง Aging Society จะทำอย่างไร ตอนนี้คนจะ Peak ถึง 70ปี คนวัยทำงานมีน้อยกว่าผู้สูงอายุ Investment ส่วนใหญ่อยู่ที่ Health ฝากให้กทม.มีคณะทำงานชุดนึงนอกจากดูแลเรื่อง Health อยากให้ดูแลเรื่องอื่นด้วย อยากให้ดูเรื่องเศรษฐกิจ และการพัฒนา

ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

          เรื่องสุขภาพอยากให้มององค์รวมคือ Physical Health และ Mental Health ด้วย

         

ข้อ2) วิเคราะห์ผลการสร้างความตระหนักรู้ ทั้งความสำเร็จ และสิ่งที่ต้องแก้ไข  (กลุ่ม 2)

(2.1) ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ในกลุ่มประชากร กทม. 3 วัย คือ วัยเด็ก วัยทำงาน

        และ วัยสูงอายุ และ

(2.2) ด้านการชะลอความเสื่อมของสมอง ตามวิถีแตกต่างของบ้าน 3 ลักษณะ และ

(2.3) จะนำ แผนภูมิ HR Architecture มาปรับใช้อย่างไร?

(2.1) ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ในกลุ่มประชากร กทม. 3 วัย คือ วัยเด็ก วัยทำงาน

        และ วัยสูงอายุ และ

1. ครรภ์มารดา การให้อาหารคนท้อง และต่อมาเป็นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพจากคุณแม่สู่ลูก การให้นมแม่ เน้นการฉีดวัคซีนตามวัย ดูสมอง น้ำหนัก ดูการตรวจพัฒนาการ ด้านสังคมและภาษา

2. การเข้าโรงเรียน-ดูแลสุขภาพ อนามัยโรงเรียน มีสมุดสุขภาพเด็กแรกเกิดจนฉีดวัคซีนว่ามีอะไรที่ต้องเก็บตก หรือไม่ มีการฉีดมะเร็งปากมดลูกในเด็ก ในกทม. และนอกกทม. มีการดูแลเรื่องตรวจสุขภาพในโรงเรียน ดูแลเรื่องฟัน มีการแนะนำเรื่องเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อ โรคเอดส์

3. วัยทำงาน มีการคัดครอง โรคคนเมือง เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง ต้องมีการตรวจคัดกรองปีละครั้ง มีการเช็คความดันเป็นระยะ ดูแลสุขภาพ มีแกนนำสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายแบบ Smart มีคนอยากทำตาม มีการคัดกรองสารเสพติด

ปัญหาและการแก้ไข

มีการทำแล้วแต่ไม่เข้าถึง อาจใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น ไลน์ เบอร์โทรติดต่อ ในการฉีดวัคซีนต่าง ๆ มีการรณรงค์ฉีดวัคซีนเป็นระยะ ๆ วัยทำงานอาจมีเทคโนโลยีให้ติดต่อให้ง่ายขึ้นเช่น Application

(2.2) ด้านการชะลอความเสื่อมของสมอง ตามวิถีแตกต่างของบ้าน 3 ลักษณะ

มีผลการทำงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และ SCG มีเรื่องการล้ม การลืม และทานข้าวอร่อย ประชากรผู้สูงอายุเริ่มมีความตระหนัก มีการส่งเสริมการออกกำลังกาย ลงไปที่บ้านเดี่ยว และทาวเฮ้าส์ มีความเป็นชุมชนมากขึ้น รวมกลุ่มง่ายขึ้น อย่างในชุมชนแออัดให้ลงไปทำกลุ่มในครอบครัวตัวเอง ผ่านกระบวนการ Friendly Environment ส่งเสริมการออกกำลังกาย ส่งเสริมการมีโภชนาการที่เหมาะสม มีการสื่อสารทางเทคโนโลยีว่าคุณค่าที่เหมาะสมมีอย่างไรบ้าง ส่งผลเรื่องลดเกลือ ลดเค็ม เบาหวาน โรคหัวใจ

การส่งเสริมด้าน Mental Health เช่นโรคซึมเศร้า เริ่มมีการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัว มีการสร้างชมรม มีโรงเรียนผู้สูงอายุ กลุ่มฝึกอาชีพในชุมชน

การแก้ไข

          การสร้างความตระหนักรู้เช่นออกกำลังกายต้องสร้างความตระหนักรู้และตั้งใจ เช่นครอบครัวทำ ถ้ามีชุมชนที่ดีเขาก็ชักชวนคนมาทำตามกัน

(2.3) จะนำ แผนภูมิ HR Architecture มาปรับใช้อย่างไร?

          บ้าน 3 แบบทำอย่างไรขึ้นกับ Setting แต่ละที่ จะทำอย่างไรดูที่ Supply มีเรื่องครอบครัว อาหาร สุขภาพ การศึกษา สื่อ และที่สำคัญคือมีศูนย์การเรียนรู้ที่ต้องมีที่มารวมกันได้ หรือถ้าเป็นทาวเฮ้าส์อามีส่วนกลางเล็ก ๆ บ้านเดี่ยวอาจเป็นสโมสร มีการใช้ไอทีมาพัฒนาระบบ

          เริ่มคิดเป็นทำเป็นวิเคราะห์ช่วยให้สังคมเกิดการเรียนรู้แบบ Interaction มีเรื่องการให้จิตสาธารณะเกิดการตระหนักรู้ ยั่งยืน ปฏิบัติจริง และเกิดความต่อเนื่อง มีการวัดผลได้ด้วยด้านปริมาณ และคุณภาพ  

ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

          กลุ่มนี้ดี มีการครบวงจรทั้งหมด สิ่งที่อยากเพิ่มคือ ชุมชนต่าง ๆ เหล่านี้กำลังขยายตัวมากขึ้น ถ้ามีสิ่งอำนวยความสะดวกจะทำให้ต้นทุนถูกลง มีคุณภาพมากขึ้น

1. Block chain มีทั้ง Financial และ Non Financial เป็นเรื่องข้อมูลที่ต้องมาดูทั้งหมด .... Typical Currency มีคนที่ทำหน้าที่เป็น Volunteer ช่วยในการช่วยแก้ปัญหาชุมชน และเป็นสิ่งต่าง ๆ ขอคำว่า Smart ที่เกิดขึ้น อย่าง IT , Block chain, FinTech , AI  เช่น Grab ,Uber, Air bnb

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          การทำงานน่าจะแบ่งเป็น 3 ช่วงคือช่วง 25-40 เรื่อง Health อาจไม่สำคัญ 45-50 ปี เรื่อง Health สำคัญ และกลุ่มนี้ทั้ง 3 วัยให้ปลูกซ้ำแล้วซ้ำอีก ทำไมเราไม่ทำสังคมอื่น ต้องเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต กทม.แม้ทำเรื่อง Health อย่าลืมเรื่องครอบครัว โภชนาการ ค่านิยม ศาสนา และสื่อด้วย (แทนที่มีเงินไปทำสวย นำไปสร้างความรู้) โลกเราต้องไม่ Zero Zum Game คนต้องทำอย่างต่อเนื่อง สังคมแบบนี้เป็นสังคมที่อยู่ไม่ได้ เราได้เห็นแล้วว่ากลุ่มมีความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้แล้วดูด้าน Health เป็นหลัก

3 ) พิจารณาแผนภูมิHR Architecture เพื่อ  (กลุ่ม1)

(3.1) วิเคราะห์ผลการพัฒนาตามวิสัยทัศน์ "กทม.มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้"

        ว่ายังมีสิ่งใดบ้างที่ยังต้องปรับปรุง

(3.2) วิเคราะห์การปรับใช้กับการบริหารเมืองสุขสภาวะ โดยเน้นด้านชีวอนามัยสำคัญ

        โดยนำเสนอเป็น

(3.3) แผนงาน 3 แผน ในบ้าน 3 ลักษณะ

(3.1) วิเคราะห์ผลการพัฒนาตามวิสัยทัศน์ "กทม.มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้"

        ว่ายังมีสิ่งใดบ้างที่ยังต้องปรับปรุง

          สิ่งใกล้ตัวที่สนใจคือเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี มีเงี่อนไข ความรู้ กับคุณธรรม ให้ใส่ไปในชุมชนให้ทุกคนมีความรู้ที่จะวางแผน ทุกเรื่อง ให้ทุกคนมีความดี สติปัญญาในการดำรงชีวิต มีการปรับปรุงต่อไปได้

2. สังคมแห่งการเรียนรู้จะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่นที่ผ่านมาเป็นมหานครแห่งการอ่าน เน้นการอ่านหนังสือทุกวัย และเรื่อง Media อยากให้มีการทำ Wifi Free ในจุดที่เป็นที่ชุมนุมใน กทม. เพราะทุกคนเวลาอยากรู้อะไรก็ถาม Google ต่อไปเรื่อย ๆ

(3.2) วิเคราะห์การปรับใช้กับการบริหารเมืองสุขสภาวะ โดยเน้นด้านชีวอนามัยสำคัญ

        โดยนำเสนอเป็น

          การวิเคราะห์การปรับใช้การบริหารสุขภาวะ โดยเน้นด้านอนามัย ทางกลุ่มเลือกอาหารปลอดภัย สิ่งแวดล้อม การลดอุบัติเหตุ ควันบุหรี่  การมองตลอดชีวิตเช่นเดียวกับกลุ่ม 2 คือ อยู่ในครรภ์ วัยเด็ก วัยเรียน วัยทำงาน เพราะเรื่องอาหารเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าให้สอดคล้องกับความพอเพียงและการเรียนรู้ เน้นการขยายผลต่อ อาจมีการทำผักสวนครัวในครอบครัว กินตั้งแต่คนท้อง เด็กแรกเกิด อาจมีกิจกรรมพืชผักสวนครัวของชุมชนเอง เป็นองค์ความรู้ที่กระจายทุกกลุ่มวัย วัยเด็กอาจเรียนเรื่องการปลูกผัก วัยทำงาน เรื่องเศรษฐกิจ วัยสูงอายุเรียนเรื่องสุขภาพ เป็นการเรียนรู้ร่วมกันทุกช่วงวัย

(3.3) แผนงาน 3 แผน ในบ้าน 3 ลักษณะ

          บ้านเดี่ยวใช้ Social Media, Application ให้ความรู้ต่าง ๆ อย่างศูนย์บริการสาธารณสุข เรียนรู้ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ บ้านเดี่ยวอาจมีกรรมการหมู่บ้านจัด Activity ร่วมกัน อย่างทาวเฮ้าส์อาจมีพื้นที่ส่วนกลาง มี Social Media มีสาธารณสุขเป็นตัวกลางในการเผยแพร่ความรู้ แผนสาธารณสุข ผ่านผู้นำชุมชน กรรมการชุมชน แปลงผักชุมชน เสียงตามสาย Application ต่าง ๆ มีชุมชนสุขภาพอนามัยที่ดี อาหารปลอดภัย สุขภาพที่ดีเพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ

ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

          เรื่องอาหารปลอดภัยและอร่อย เป็นรูปธรรม ยกตัวอย่างที่เชียงใหม่ มีการทำ Organic และปรับปรุงคุณภาพสินค้า ชุมชนเหล่านี้ถ้าช่วยเขาทำให้เขามีความสามารถในการแข่งขันได้ ยกตัวอย่าง เอบูลี่ปรับปรุงร้านอาหารออร์กานิกที่บาร์เซโลนา เปิดปีละ 6 เดือน ใน 6 เดือนมีการดูการปลูก ผัก ผลไม้ อาหารกลางเป็นอาหารอร่อย เป็นตำนานของมิชลิน ไปทั่วโลก อาหารอร่อย ออร์กานิกส์ มีความกลมกลืนกับไวน์ มีคนไทยไปขอสูตร ชื่อ การ์กั้น ได้ Michelin Star 2 ดาว  ถ้าครบวงจร อาหารต้องปลอดภัย อร่อย รวย และสร้างรายได้ให้ด้วย

          กทม.สามารถช่วยคนมีรายได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

           2 เรื่องดีมากคือ เศรษฐกิจพอเพียงกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประเด็นคือเราสามารถ Execute ได้หรือไม่ อย่างเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นสังคมการเรียนรู้ ถ้าเราไม่เป็นคนที่ติดตามข้อมูลอย่างบ้าคลั่ง ต่อเนื่อง และวิเคราะห์เป็น ทุกท่านกลับไปศึกษาสังคมการเรียนรู้อีกครั้ง ถ้า กทม. มี Keyword ในการเป็นสังคมการเรียนรู้  อยากให้เอาสิ่งที่ทำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีศูนย์ทุกเขต ใช้เงินอย่างประหยัดและคุ้มค่า กทม.น่าจะวัด GDP ด้วยความสุขและความพอเพียงด้วยนอกจากวัดด้วยเงิน

          เสนอให้อ่าน We the Media และทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          1.สิ่งที่ได้คือกระตุ้นความเป็นเลิศ  แผนงานเริ่มเติมเต็ม คิดไม่ใช่แค่วิชาในห้อง สามารถพึ่งตัวเองได้

          2. การรู้เท่าทันเทคโนโลยี

          กลุ่ม 3 ข้อ 1 พูดเรื่อง Medical Hub  การตอบโต้โรคระบาด ประกอบกับเรื่อง Block Chain และ เทคโนโลยี สำนักอนามัยต้องเป็นผู้นำด้านชีวอนามัยเขตร้อน กทม.มีความรู้ของตัวเองอยู่ด้วย และบวกคนอื่นได้ กทม. มีความหลากหลายทางชีวภาพ

          กลุ่ม 2 ข้อ 2 พูดเรื่องแกนนำสุขภาพและ Role Model และเรื่อง Media เรื่องสอนเด็กไปสอนผู้ใหญ่

          กลุ่ม 1 ข้อ 3 พูดถึง อดีต ปัจจุบัน อนาคต พูดเรื่อง SDG Goal กลุ่มนี้พูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ยกตัวอย่างอาหารปลอดภัย บอกเด็กสอนปลูกผัก ผู้ใหญ่ทำเรื่องเศรษฐกิจ สูงอายุทำเรื่องสุขภาพ ฝึกให้ออกกำลังกาย เศรษฐกิจอาจารย์สมชายให้ Promium Greenfood

          สรุปคือ ข้อดีของ Workshop ที่ช่วยเติมเต็มด้านสุขภาพ และลงมาเรื่อง HR คือ Life Long Learning มีการ Learn – Share –Care เป็น Learning Communication และสุดท้ายคือการทำให้สำเร็จ Execution จุดอ่อนถ้ายังผิดก็มาเรียนรู้ ถ้าดีก็นำไปเป็นกรณีศึกษามาเรียนเป็น Learning Organization

          สุดท้าย สิ่งที่ฝากไว้คือการทำงานกลุ่มที่สามารถทำต่อเนื่องได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ที่อาจารย์ทั้ง 3 ท่านมาช่วยคือเรากำลัง Unlock ศักยภาพออกมา

1. คนที่นั่งในห้องนี้เป็น Professional ทางการแพทย์ งานที่ทำเกี่ยวกับความอยู่ดีกินดีของประชาชน กทม. เป็นองค์กรไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าไหร่ การพัฒนาคนโบราณมาก คนจะสนุก คนในห้องนี้เป็น Above Average เป็น Professional ทางการแพทย์ อยากให้มี Flag Ship ที่เป็นแก่น สำนักอนามัย กทม. กดไปปุ๊บเจอเลย อย่างเรื่องต่างด้าวน่าจะเป็นหัวใจอันหนึ่งที่ฝากไว้

หลักสูตรนักบริหารสุขภาวะเขตเมืองรุ่นที่ 1

 หัวข้อ การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาองค์กร

โดย ดร.เกริกเกียรติ  ศรีเสริมโภค

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2561

(บันทึกสรุปการเรียนรู้ทีมงานวิชาการ Chira Academy โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล)

คิดอย่างไร กับ Google กร้าว ไอไม่แคร์ใบปริญญาของยู

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. Google – มองหลายช่องทางว่าคนชอบอะไร แล้วเอาประสบการณ์สั่งสมชอบ ทุกคนอยู่ทั่วโลกสามารถแชร์ได้ ทำให้ได้คนที่ชอบงานนั้นจริง ๆ แล้วมาทำกับเขา

2. คนที่ไมไปอยู่ Google จริง ๆ ถ้าโดน Lay off ออกมาแล้วเขาจะไปอยู่ที่ไหน เพราะที่อื่นยังยึดวุฒิอยู่  ในมุมกลับ เหมือนเป็นการกดดันอย่างหนึ่งว่าต้องอยู่ Google เหมือนอย่าง ซี.พี. สร้างคนจากปัญญาภิวัตน์ มาเป็นคนของ 7-Eleven ถ้าไปบริษัทอื่นที่ต้องการวุฒิจะเป็นอย่างไร หรือเด็กเหล่านี้ไปขายของหมดเลย

          คนเก่งไม่อยู่ระบบราชการไปอยู่เอกชนทั้งหมด แล้วระบบขับเคลื่อนของประเทศจะเป็นอย่างไร เพราะทุกคนอยากเป็นอิสระ ปัญหาคือพื้นฐานของประเทศไทยขับเคลื่อนด้วยคนในนี้ได้หรือไม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง เป็นมุมมองที่น่าคิด

3. ที่กล้าพูดอย่างนี้ เพราะว่าเป็นการคัดคนและให้โอกาสคน เพราะการศึกษาในอดีตคนต่างเข้าถึงโอกาสไม่เท่ากัน มองว่าทุกคนที่ประสบความสำเร็จมีการศึกษาในแบบของตัวเองทั้งสิ้น

ข้อเสนอแนะ

ในบริบทของ Google เป็นบริบทที่น่าสนใจว่าทำไมต้องทำแบบนี้

1. จบจากสถาบันดังเรียนสูง เกรดดี มีโอกาส Ego มากเกืนไป เพราะเราต้องการคนทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพมากสุด เป็นวิธีการคัดคน

2. คนที่สร้างผลงานให้ตั้งแต่เรียนไม่จบ มองว่าเขาเป็นคนที่มีคุณค่า เราจะได้คนที่มีความสามารถ คนยุคใหม่ที่เราต้องการคือคนที่มี Multi Skill

3. ความสามารถของคนในการเรียนรู้ตลอดเวลาและปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว สำคัญกว่า IQ

4. การเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

เปลี่ยนอย่างไรและอะไรบ้างที่ต้องเปลี่ยน Why?

Megatrends ในยุดิจิทัล  Change

- ปัจจุบันอยู่ในยุค M-Commerce (Mobile Commerce)

ในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนมี 6 Trends

1. Innovation

2. Hyper Connectivity

3. Social Movement – เปลี่ยนบนระบบ Social Media ทั้งหลาย

4. Complexity of Growth – ความซับซ้อนขององค์กรถ้าเติบโต เราไม่ได้วัดยอดขายเหมือนเดิม รูปแบบธุรกิจ Network เป็นอย่างไร เราต้องทำทั้งสิ้น เพราะกำไร ขาดทุนคือปลายน้ำ จะทำอย่างไรถึงวัดความสำเร็จ มีต้นน้ำที่มีกระบวนการอย่างไร

5. Sustainable Enterprising

6. Changing Lifestyle – เราจะใช้ Smart Phone ให้มีประสิทธิภาพอย่างไร เราจะใช้ Life Style คนอย่างไรในยุคที่เปลี่ยนแปลง

เทคโนโลยีป่วนโลก (Disruptive Technology)

          สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างไร เช่น การใช้มือถือในการหาข้อมูล Agoda จะมีข้อมูลตอบกลับมาเนื่องจากใช้ AI ในการจับข้อมูล ซึ่งถ้าเราทำตรงนี้ในการส่งเสริมสุขภาพ ในการปรับให้เข้ากับ Life Style ถือว่าประสบความสำเร็จมาก

การเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนอย่างไร

1. LiFi มาจาก Light Fidelity คือเทคโนโลยีไร้สายที่ทำงานโดยหลักการทำงานผ่านการส่งสัญญาณด้วยแสง ใช้แค่ตัวหลอไฟ LED ในการส่งสัญญาณเท่านั้น

2. Social media – คนอายุ 18-29 ปี จำนวน 90% ใช้ Social Media เพิ่มขึ้นกว่า 219 ล้านคนในปีที่แล้ว

3. Smart Mobile – Mobile Phone มีมากกว่า Toilets สิ่งที่น่าสนใจคือ ทุก ๆ 68 นาที มีการแจ้งโทรศัพท์หาย

          สรุปคือ ต้องการเสนอข้อมูลด้าน Disruptive ที่ให้ทุกท่านออกแบบเทคโนโลยีด้านสุขภาพว่าจะใช้ประโยชน์อย่างไร

7 Innovation Trends

1. Business Model Innovation

– แนวคิดง่าย ๆ คือการแชร์ทรัพยากร ลงทุนน้อยแต่เกิดประโยชน์สูงสุด ยกตัวอย่างธุรกิจที่ใช้ Model นี้ประสบความสำเร็จคือ Uber ทำไมเติบโตอย่างมหาศาล เพราะใช้ทรัพยากรร่วม การสร้างเครือข่ายมีความสำคัญมากคือ เครือข่ายที่ติดต่อตามปกติ หรือเครือข่ายบนโลกดิจิทัล

Cloud Sourcing , Game Simulation

          สรุปคือทั้ง 7 ด้านวิ่งไปที่ไหนอยากให้ดูการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ควรทำคือต้องทำแบบ Less is More คือทำน้อยให้ได้เยอะ จะสร้างประโยชน์อย่างไรให้เกิด Value ได้มากที่สุด

Tangible Value & Intangible Value

          สิ่งที่มี Value มากในอนาคตคือสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้  อย่างเช่น ความรู้ ลิขสิทธิ์ ที่มีสูง ให้ดูว่างานที่ทำอยู่อยู่ในส่วนไหน จะสร้างให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร

Less is More Business Model

          ต้นทุนน้อยแต่ Benefit มากคือเรื่อง Knowledge  อาจไม่ต้อมีรถขนส่งสินค้า แต่สามารถไปทางเคเบิ้ล ได้

          การส่งเสริมสุขภาพสามารถทำแบบ Less is More ได้หรือไม่ เพราะมีเครื่องมือในการเผยแพร่การรับรู้ การปฏิบัติที่สำคัญ ทำในมิติไหนก็แล้วแต่คือสิ่งที่ทำอยู่

          ถ้ามองจาก Model ต้องเริ่มเปลี่ยนวิธีคิดโดยทำวิธีการใหม่ ๆ รูปแบบใหม่ ๆ ให้เกิด Impact ที่แท้จริง เช่นต้องการให้ปัญหาขยะลดลง เราจะทำอย่างไร เช่นใช้อย่างอื่นแทนพลาสติก หรือเริ่มจากที่ต้นน้ำก่อนคือครอบครัว ให้หิ้วถุงกับปิ่นโตไปซื้อของ เราจะสร้าง Awareness อย่างไร หรือถ้ากลางน้ำอาจมีการพูดถึงกระบวนการผลิตที่ลดพลาสติกเป็นต้น

เราจะบริหารการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร

          เปลี่ยน Vision & Mission , Strategy, Structure, Technology, Process & System

ตัวที่ยากที่สุดคือการปรับวิธีการคิดก่อน

จำเป็นแค่ไหนที่เราต้องมีการวางแผนยุทธศาสตร์

          ยกตัวอย่างที่หนึ่ง ไม่เน้นการวางแผนยุทธศาสตร์ แต่เน้นการวางแผนคนให้พร้อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะปัจจุบันเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ เราจะดูรูปแบบธุรกิจว่ามีความพร้อมหรือไม่ คนต้องถูกตระหนักเสมอ เพราะคนมียุทธศาสตร์ที่ดีแต่ถ้าคนไม่พร้อมเปลี่ยนแปลงก็จะยาก

          สรุป คือการเปลี่ยนแปลงที่ยากที่สุดคืออยู่ที่ทำอย่างไรให้คนมีวัฒนธรรมการทำงานที่เรียกว่า Change ตลอดเวลา คือต้องให้มีความเชื่อว่าวันพรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้เสมอ เพราะการเปลี่ยนแปลงแค่ปรับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์จะไม่ใช่ หัวหน้ามีบทบาทสำคัญในการปรับเรื่องคน

ขั้นตอนของการบริหารการเปลี่ยนแปลง

1. มองให้เห็นความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง – เปลี่ยนแล้วดีขึ้นหรือไม่

2. เป้าหมาชัดเจนหรือไม่ – ทำสั้นและเห็นผลรูปธรรม

3. สื่อสารให้ทุกคนมีส่วนร่วมหรือไม่

4. เตรียมพนักงานและผู้บริหารให้พร้อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ – คนมีความคิดใหม่อยู่เสมอ แนวคิดการเปลี่ยนแปลงไม่ได้อยู่ที่รูปแบบวิธีการ อยู่ที่วิธีคิดสำคัญ

5. การปฏิบัติ – การเปลี่ยนแปลงต้องตั้งอยู่ และคงอยู่ไปเรื่อย ๆ

วิธีการจัดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

1. การมีส่วนร่วม

          - CEO ให้เขามาคิดร่วมกันโดยตั้งโจทย์ให้เขาคิดร่วมกัน

2. การสื่อสาร

          - ไม่ใช่การตั้ง Change Agent แต่เราต้องสร้างเครือข่ายทำงานร่วมกัน CEO ต้องลงทุกสัปดาห์แต่ละแผนก และหน่วย

3. การโน้มน้าว

หมายเหตุ : การบังคับใช้ได้แค่เพียงระยะสั้นไม่ใช่ระยะยาว

กลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพ : Change begins with Me

          อยู่ที่บริบทองค์กร วิธีคิดการบริหาร ทัศนคติของคนที่ทำงานร่วมกัน

การทำงานเรื่อง Change ประสบความสำเร็จต้องนั่งดูในองค์กรสำคัญ ดูวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง สำคัญที่สุดคือเริ่มต้นที่ตัวเราก่อน

เราจะเปลี่ยน Change as a culture ได้อย่างไร

Why Transformation?

1. เริ่มต้นที่คน เริ่มต้นที่หัวหน้า และตัวเราก่อน เพราะคนเป็น Intangible Asset มีทุกสิ่งอยู่ในนั้นหมดเลย (Intangible asset ได้แก่ Knowledge, Brands, Goodwill, Patents, Trademarks)

          - เช่น เริ่มต้นจากเปลี่ยนการรับสมัครพนักงานขาย  หาพนักงานที่มี Skill ในการรับรองลูกค้าที่ต้องมีความอดทน

          - การวัดทัศนคติในการหาเครื่องมือแบบมี Attitude Test  

วิธีการวัดทัศนคติคือ

- ให้แสดงออกถึงวิธีแก้ปัญหาอย่างไร

- ให้โจทย์ในการแก้ไขปัญหา เช่น ลูกค้าซื้อลูกค้าแล้วไม่พอใจ เอาสินค้ามาเขวี้ยงใส่หน้าจะมีวิธีการอย่างไร และคำถามแต่ละชุดจะเก็บเป็นฐานข้อมูลเยอะมาก สิ่งที่พบจากคำตอบคือการขอโทษลูกค้า เปลี่ยนของให้ลูกค้า  แต่สิ่งที่ต้องการมากกว่านั้นคือ เมื่อลูกค้าว่าแล้ว เขวี้ยงของใส่หน้าแล้วโกรธมาก โจทย์คือทำอย่างไรให้คนมาซื้อใหม่ มีพนักงานที่ตอบว่ามี Privilege ให้ลูกค้าสำหรับการซื้อของใหม่ มีการสุ่มโจทย์ Shopper ทำโดยไม่ไม่การบอก

- การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ เราต้องไม่ใช้การทำตามอย่าง เช่น มีการตั้งคำถามว่า ทำไปเพื่ออะไร ? และทำไมต้องทำแบบนั้น ? เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิดให้เห็นความแตกต่างบางอย่าง หมายถึงการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ต้องเปลี่ยนทั้งองค์กร การที่ประเทศไทยจะก้าวไปสู่ Thailand 4.0 ตัวถ่วงรั้งคือราชการ เพราะมีระเบียบ กฎ ขั้นตอนเยอะมาก เรายังทำงานแบบ Bureaucracy สูงมาก

ดังนั้นจึงมองว่าการเปลี่ยนแปลงที่คนเป็นสิ่งที่ยากที่สุดและท้าทายที่สุด ยกตัวอย่างทุกองค์กรที่ประสบความสำเร็จ Transform จาก คน – องค์กร –มูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ

1. ทัศนคติและความรู้ตัวที่สำคัญที่สุดคือ Attitude องค์กรใหญ่ ๆ ที่ประสบความสำเร็จหรือจำนวนมากสนใจเกี่ยวกับ Attitude ความคิดเชิงบวกคือสิ่งที่คนมีแตกต่างกันในแต่ละคน

2. Employee Engagement – ประสบการณ์ที่คนมีต่อองค์กรนำสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม

ธุรกิจที่ทำหลายตัวที่ไม่ได้วัดที่ KPIs แต่วัดที่ตัว Objective Base Result Area (วัตถุประสงค์ที่เห็นผล Result ชัดเจน) เป็น Performance Base รวมแล้วกี่ตัวโดยเฉลี่ย เพราะวัดตาม ORA ควรวัดไม่เกิน 2 ตัว  ที่ผ่านมาส่วนใหญ่มักวัด KPIs ที่กิจกรรม คือแค่ตัว I แต่ไม่ได้วัด KPI ไม่ได้ดูผลลัพธ์ สะท้อนว่าถ้าไม่ได้เริ่มที่คนโอกาสที่สร้างมูลค่าเพิ่มจะยากมาก เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า Human Resource/People Transformation เป็นลักษณะการใช้ความรู้อย่างเข้มข้น ตอบโจทย์ Value Creation เป็นเป้าหมายใหญ่การเปลี่ยนแปลง  เพราะถ้าไม่มีมูลค่าหรือคุณค่าก็ทำแบบเดิม

สิ่งที่เราต้องทำคือทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา แต่เรามัวไปทำเรื่องการลดขั้นตอน เรื่องความโปร่งใส ลูกค้าพอใจ แต่ผลคือยังไม่ตอบโจทย์ผลลัพธ์ ดังนั้นถ้าทำตัวด้านคน (อาทิ ความรู้ ทัศนคติ) ได้ดีจะส่งผลต่อความพร้อมทางการแข่งขัน คนต้องมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลง การวัด Value มี 2 ด้านคือ ด้านคุณค่า และด้านมูลค่า

คุณค่าคือธุรกิจเราอยู่ได้ ตอบโจทย์ให้สังคม คืนอะไรให้กับสังคมได้ ประเด็นที่น่าสนใจมากคือ

ยกตัวอย่าง ล่าสุด 7-eleven เป็นตัวอย่างองค์กรที่มีการ Change การทำอาหารตามสั่ง 24 ชั่วโมง ปัญหาคือรายย่อยอยู่ได้อย่างไร วิธีคิดคืออะไร? สร้างคนอย่างไร ?

การปรับในมุมมองของ กทม. ต้องเอา Network มาทำ เรียนรู้ร่วมกัน

กรณีศึกษา : บทเรียนและความท้าทาย

ตัวอย่าง บริษัทเครื่องสำอางค์

          บริษัทเครื่องสำอางค์หนึ่งเดิมเป็นบริษัทรับจ้างผลิต ODM ผลิตเครื่องสำอางตามสูตรที่กำหนด จากธุรกิจทั่วโลกเราอยู่ตรง Manufacturing คือต้นทุนมาก กำไรน้อย ต่อมาจึงเริ่มทำด้าน Design และตั้งหน่วยงานใหม่ทำ R&D เริ่มทำวิจัยเพื่อขยับมาสู่ฝั่ง Design เพื่อทำให้สินค้าและมูลค่าเพิ่มของเราสูงขึ้น ประเด็นคือตอบโจทย์หรือไม่ เป็น Global Supply Chain ความยากของคนส่วนใหญ่ รับตามคำสั่ง คิดเอง ทำเอง และเสนอลูกค้า ไม่ใช่ธุรกิจอย่างเดียว เป็น B2B ยกตัวอย่างลูกค้าเช่น Watsons ,Boots , Oriental Princess สินค้าที่ไปจากญี่ปุ่นส่วนใหญ่มาจากไทยทำประมาณ 30%  เพียงแค่ไม่บอกว่าจากบริษัทอะไร  มี Lab มาตรฐานเดียวกับญี่ปุ่นอยู่

จาก ODM สู่ OEM และ OBM

          การปรับสู่ Design คนต้องเริ่มปรับเปลี่ยนวิธีใหม่ในการเข้าสู่การตลาดมากขึ้น เริ่มพัฒนาหน่วยงานคือ Market Intelligent  เป็นแบบ OEM มี 2 ทางเลือกคือ

          1. พัฒนาคนที่มีอยู่ปรับวิธีการทำงานรูปแบบใหม่เข้าถึงผู้บริโภคปลายทาง

          2. จ้างคนใหม่เข้าถึงผู้บริโภคปลายทาง

          ผลคือการจ้างคนใหม่ดีกว่า จึงได้ตั้ง Business Unit ขึ้นมา แต่ไม่ทิ้งคนเดิม เริ่มขยับสู่การสร้าง Branding , Marketing ,Concept /R&D, Sale/After service

          ความยากอยู่ที่คนของเรา  ห้ามพูดปัญหาของคนในองค์กร ให้เปลี่ยนมาเป็นความท้าทายหรือโอกาส กลับมาเป็นบทเรียน และถอดบทเรียนออกมา  Brand ไม่ใช่ของประเทศ แต่ต้องเป็น International Brand อย่างเช่นที่เกาหลี หรือญี่ปุ่นมี  สิ่งนี้คือความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดที่ก้าวไป

          การเริ่มต้นถัดมาคือ การปรับเปลี่ยนสู่ OBM พนักงานจะถูกสร้างให้เป็นแบบที่องค์กรต้องการ

1. Customer Focus

2. Commit to Success

3. Collaboration

          งานที่ทำถามว่ายากหรือไม่ เป็นคำตอบที่ยาก และท้าทายมาก หลายคนอยากล้มองค์กร  แต่เราจะไม่สามารถอยู่ได้ถ้าเราไม่สร้างแบรนด์ขึ้นมา วิธีการคือให้เบอร์ 1 ลงไปหาพนักงานทุกแผนก ใช้ระยะเวลา 8 เดือน เพื่อพูดคุยทุกวันศุกร์ครึ่งวัน ว่าทำไมต้องเปลี่ยนแปลง ผลที่ตามมาคือ ความกดดันลดลง สิ่งที่ทำต่อคือให้คนของเรามี ปฏิภาณทางธุรกิจ ใช้ Objective เป็นหลัก เราสามารถทำตัว Mock Up Product ได้ภายใน 24 ชั่วโมง

          สิ่งที่พบคือ คนมีความสามารถในการบริหารและมีเรื่อง Speed

หลักคิดคือ เร็วกว่า ดีกว่า และถูกกว่าคู่แข่ง ล่าสูดพัฒนาสินค้าเป็น Halal Cosmetic แต่ตั้งที่ไทยไม่ได้ ต้องไปตั้งที่มาเลเซีย และขายอินโดนีเซีย

          สรุปคือแนวทางการเปลี่ยนแปลงคือจ้างคนใหม่มาทำในบางเรื่อง ไปลงทุนประเทศไนจ้างคนประเทศนั้น และจ้างคนประเทศนั้นมาเป็น Sale ให้เราเพราะต้องการเข้าถึงวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ต้องมีการทำ Color Research สามารถทำได้ถึง 2,000 เฉด

          เริ่มการปรับเปลี่ยนอย่างรุนแรงตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2010 ใช้ R&I ดูสีและองค์ประกอบโดยใช้ AI วิเคราะห์ และพัฒนา Lab ที่ Certified โดยญี่ปุ่น มีนักวิจัยญี่ปุ่นมาดูด้วย ล่าสุดไป Take over บริษัทยา

          เราไม่ใช่ ODM รับจ้างแล้ว แต่ต้องปรับสู่ OBM และผลคืนสู่เกษตรกรที่ผลิต ในอนาคตจะเป็นการวิจัยที่เน้นธรรมชาติ

ความยากคือจากเดิมที่รับคำสั่งทำ ใช้เวลาคิดและเวลา Transform เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 จนถึง ปัจจุบัน 2018 ระยะเวลากว่า 8 ปีที่ผ่านมา เน้นด้านการพัฒนาคน ด้านการปรับทัศนคติ และ Mindset เป็นหลัก ต้องการให้ Formula ที่อยู่ใน lab ออกมาแล้วขายได้หรือเปล่า

ตัวอย่างอุตสาหกรรมธนาคาร

ข่าวไทยพาณิชย์  จะมีการ lay off พนักงาน ทุกอย่างจะใช้ AI มากขึ้น  เหตุผลที่ต้องเปลี่ยนคือ จาก Book Bank เป็น ATM เป็น Digital เป็น Blockchain คือไม่ต้องมีแบงค์ สามารถดูเครดิตได้เลย ตัว Blockchain จะเข้ามาบอกและวิเคราะห์ข้อมูลได้เลย

Digital Currency จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น Blockchain เข้ามาใช้ในเมืองไทยจากการซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตโซล่าเซลล์ ที่ออสเตรเลียใช้นานมาก

สิ่งที่ธนาคารไทยพาณิชย์คิดคือการ Transform คนคือ

1. สร้างแรงจูงใจเห็นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

2. ทักษะการเปลี่ยนแปลง

3. ความยากในการปีนภูเขา มีความสามารถในการชนะอุปสรรคมากน้อยแค่ไหน สร้างเครือข่าย Change Champion  ขึ้นมา

ตัวอย่าง Stora Enso

บริษัทเติบโต 700 กว่าปี แต่ก่อนทำกระดาษ คล้าย Double A สิ่งที่ต้องเปลี่ยนคือ รับสมัครงานโดยคัดจากองค์กรทั่วโลก สร้างเป้าหมายร่วมกัน ให้คนกำหนดจัดการประชุมดูแล ในลักษณะ Self Management จนมีกิจการหนึ่งที่ประสบความสำเร็จสูงมากคือ Liquid Packaging board เป็นตัวหนึ่งที่ทำกำไรมหาศาล ยกตัวอย่างเช่น  ผลิตภัณฑ์บรรจุนมส่วนใหญ่ทั่วโลกมาจากสิ่งนี้หมด หรือแม้กระทั่งชิ้นส่วนที่ไปอยู่ในอวกาศ โดยเฉพาะเรื่องโลกมุ่งสู่ Green มากขึ้น

สรุปคือ จำนวนปี ไม่ใช่ตัวปัญหา อยู่ที่จะพัฒนา เปลี่ยนแปลงให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างไร ิmujxที่

ตัวอย่าง Change University

          สิ่งที่กังวลคือเรื่องรายได้ วิกฤติมหาวิทยาลัยไทยที่เกิดขึ้น เดิมมี 300 แห่งปัจจุบันเหลือ 150 แห่ง นักศึกษาจาก 100,000 กว่าคน เหลือ 80,000 คน การบริหารแบบเดิมจึงอาจไม่ได้ผล

ต่อมามหาวิทยาลัยเน้นการสร้างนวัตกรรมมากขึ้น  ปัญหาคืองานวิจัยไม่ได้ถูกทำในเชิงพาณิชย์ แต่เป็นการตอบโจทย์งานวิชาการส่วนใหญ่ การทำในเชิงพาณิชย์ ปัญหาคือสิทธิบัตรของมหาวิทยาลัย

          เดิมมหาวิทยาลัยเน้นการวิจัย เปิด Class สอน ดูแลชุมชน แต่ ถ้าอยากให้มหาวิทยาลัยอยู่รอดต้องเปลี่ยน เช่น เปลี่ยนจากการทำวิจัย มาสู่การคิด Innovation ตอบโจทย์ สังคม ลูกค้า ขายในเชิงพาณิชย์ได้ ยกตัวอย่าง คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ. มีการทำวิจัยเชิงนวัตกรรม จากผลิตภัณฑ์ชาวบ้าน การทำเป็นโรงงาน นำผลิตภัณฑ์ชาวบ้านขึ้นมาทำในคณะเภสัชศาสตร์ แต่ก็มีหลายท่านบอกว่าทำทำไมเราไม่ใช่นักธุรกิจ เราอยู่ฝ่ายวิชาการ  แต่ได้ให้ลองทำ แล้วให้นักศึกษาลองขายหารายได้เข้ามหาวิทยาลัย

          ต้องปรับสู่การเป็น Learning Facilitator ให้ความรู้สอนบนฐานของ Innovation

          เดิมบริการชุมชน เราต้องทำเป็นแบบ Partner กับชุมชน

          สรุปคือ การเปลี่ยนแปลงสุดท้ายคืออยู่ที่ผล คนจะยอมเปลี่ยนก็ต่อเมื่อเห็นผลประโยชน์ การเปลี่ยนปุ๊บ สิ่งที่ได้คืออะไร งาน Smart ขึ้นหรือไม่ต้องเห็นผลจริง ๆ เช่นวิจัยเพื่อตลาดและลูกค้า ว่ามีทำวิจัยแล้วมีรายได้เท่าไหร่ การสร้างสิทธิบัตรหรือลิขสิทธิ์ จะแบ่งกับบริษัทคนละครึ่ง การขาย 1 ขวดจะมีค่าโปรโมชั่น และค่าลิขสิทธิ์อย่างไร สิ่งนี้เป็นตัวอย่างของการ Change ที่เห็นแรงจูงใจ

          การเปลี่ยนแปลงระบบราชการไทยต้องทำทั้งองคาพยพ เพราะเป็นการเปลี่ยนทั้งโครงสร้าง ไม่ใช่แค่ Mindset เราอยากเปลี่ยนการประเมินผล การปฏิบัติราชการ วันนี้ตอบโจทย์หรือไม่ เป็นคนของใคร

หลุมพรางการบริหารการเปลี่ยนแปลง

1. ขาดเป้าหมายที่ชัดเจน

2. ผู้บริหารเอาจริงหรือไม่

3. ขาดการสื่อสารและชี้แจงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง

4. ขาดการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง

5. มีความเชื่อว่ากระบวนการบริการการเปลี่ยนแปลงมีจุดสิ้นสุด ฃ

          ยกตัวอย่างสิ่งที่ญี่ปุ่นปลูกฝังวัฒนธรรมในการทำงานคือ Kaizen และการมุ่งมั่นให้สู่ความสำเร็จ สิ่งนี้คือ Change ที่ญี่ปุ่นทำ

การร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

1. แนวทางในการดำเนินงานตลาดให้คนในหลายประเทศไปขายเครื่องสำอาง แต่ต่างประเทศเอาฝรั่งมาเป็นคนขาย เพราะอะไร

ตอบ ไม่มั่นใจว่าเพราะวิธีคิดอะไร อาจเป็นเพราะคนต่างชาติเป็นคนดึงดูดหรือไม่

2. ในระบบราชการปัจจุบันกับ Change 5 ข้อ อาจารย์มองว่าข้อไหนสำคัญที่สุด

ตอบ ทุกอันสำคัญที่สุด แต่ไม่ใช่ผู้บริหารสนับสนุนอย่างเดียว แต่ในประสบการณ์ต้องไปด้วยกันหมดทุกข้อ

3. ในระบบราชการอย่างระบบ กทม. มีโอกาสเกิดขึ้นจริงหรือไม่

ตอบทุกวันนี้ Change มีการเปลี่ยนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเห็นหรือไม่ แต่ถ้าเปลี่ยนให้ชัดอาจต้องเริ่ม Change ในบางหน่วยงานที่ Active ที่สุด เพราะถ้าทำทั้งองคาพยพเลยอาจยาก เพราะระบบราชการคือระบบราชการ

4. ยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในระบบราชการ

ตอบ การเปลี่ยนในระบบราชการมีหลายระดับ ระดับ A ยังไม่เห็น ในระดับ B ที่เห็นคือกรมชลประทาน มีระบบ Network ในการทำที่ดี  กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรณีของคุณหมอสมาน เรื่องแอลกอฮอล์ สำเร็จได้เพราะเกิด Impact ต่อสังคม  อีกสำนักคือสำนักจัดการความรู้ สำนักนี้ได้แนวคิดจากหน่วยงาน CDC (หน่วยงานและป้องกันคุ้มกันโรคจากอเมริกา) มีฐานป้องกันความรู้ที่ดีมาก

          สรุปที่ทำเห็นชัดจริง ๆ ยาก เพราะระบบราชการไทยเป็นระบบรวมศูนย์อำนาจ แต่ละหน่วยงานต้องวางแผนกำลังคนของตัวเองได้

ยกตัวอย่าง สาธารณสุขต้องไม่ขึ้นกับข้าราชการพลเรือน ต้องขึ้นกับการบริหาร ก.พ.  วิธีการที่ทำให้ สปสช. อยู่ได้ต้องทำแบบ Healthcare Fund แล้วนำเงินแบบ Sim Pac ใส่ใน Healthcare Fund แต่สุดท้าย 30 บาทไม่ได้ตอบโจทย์ทุกโรค ต้องทำให้แบบ Prevention มากขึ้น เพราะลดปัญหาการรักษาCurative ที่โรงพยาบาล ถ้าทำ Prevention ดีจะช่วยลด Curative ควรมีการวางแผนในการบริหารจัดการกองทุนด้านนี้ด้วย ถ้ากองทุนใหญ่ ปีหนึ่งสามารถ Return ได้ไม่ต่ำกว่า 12% จะเป็นการสร้างพลังมหาศาล Sim Pac จะมาก และมีงบประมาณในการทำวิจัย มีงบประมาณกระจายสู่ท้องถิ่นมากขึ้น

หัวข้อ การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาองค์กร

โดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ก่อนจบอยากให้ทุกท่านช่วยเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้ด้วยกัน แล้วจะเป็นประโยชน์

เรื่อง Literature Review ขอยกตัวอย่าง John Kother กล่าวเรื่องการเปลี่ยนแปลงต้องประกอบด้วย 3 เรื่อง คือ เร็ว ไม่แน่นอน และคาดไม่ถึง เราจะจัดการเปลี่ยนแปลงด้วยอะไร  ก่อนเกษียณต้องพัฒนาระบบ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบของ สำนักงานอนามัย ถ้ามีการพัฒนาการเรียนรู้ ระบบจะอยู่รอด

1. Sense of Urgency

2. อย่าทำคนเดียว

3. กำหนดวิสัยทัศน์  Where are we ? Where do we want to go ? How to do it? How to overcome difficulty

4. สื่อสารกันภายในเพื่อถ่ายทอดวิสัยทัศน์

5. ให้อำนาจคนในองค์กร (Empowering others to act on the vision)

6. อย่าทำอะไรที่ใหญ่เกินไป

7. นำมาอยู่ในวัฒนธรรม

8. ปลูกฝังวิธีการใหม่ ๆ ในองค์กรให้ได้

วัฒนธรรมของ กทม. กับการเปลี่ยนแปลง

กฎเกณฑ์ 7 Change

1. Complexity

2. Clarity

3. Confidence

4. Creativity

5. Commitment

6. Consolidation

7. Change

หลัก 5 ข้อของผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง

1. แต่ละคนมีความรู้เรื่อง Change แตกต่างกัน

2. Change ขึ้นอยู่กับความต้องการของคนแตกต่างกัน

3. Change กับ Loss ไปด้วยกัน จะจัดการ Loss อย่างไร

4. การคาดหวัง Expectation ต้องบริหารให้ดี

5. ต้องบริหาร Fear หรือความกลัวให้ได้

กฎ 9 ข้อ Chira-Change Theory

1. มั่นใจ

2. มีความเข้าใจอนาคต

3. มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้

4. มีความคิดสร้างสรรค์

5. มีเครือข่าย

6. ชนะเล็ก ๆ

7. ทำต่อเนื่อง 3 ต.

8. ผลประโยชน์ต้องกระจายทุกกลุ่ม

9. สร้างทีมเวอร์กที่มีความหลากหลาย  

หลักที่สำคัญ 4 ข้อเพื่อทำให้เกิด Growth Mindset

  1. 1. Emotional Intelligence Mindset
  2. 2. Connection Mindset
  3. 3. Growth Mindset
  4. 4. Performance Mindset

หลักที่สำคัญ 4 ข้อ เพื่อทำให้เกิด Growth Mindset กับทีม

Emotional Intelligence Mindset

มีความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง พฤติกรรมที่ทำให้ทีมมีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ แล้วจะนำไป     สู่ความเชื่อมั่นในระดับองค์กร และนำไปสู่การแสดงความสามารถในการทำงานของพนักงาน ถ้าผู้นำมี Emotional Intelligence Mindset จะนำไปสู่ Performance โดยเฉพาะเรื่องของ Loyalty และความเชื่อมั่นในองค์กร

Connection Mindset

หมายความว่า ผู้นำต้องสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และสิ่งที่องค์กรคาดหวังไปสู่พนักงานเพื่อให้เข้าใจตรงกัน เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจเป้าหมายและทำให้เกิด Connection ไม่ใช่ Communication   คำว่า Connect มีความลึกซึ้งมากกว่าการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร แต่รวมถึง Emotion ผู้นำต้องสร้างความรู้สึกพร้อมถ่ายทอดเป้าหมายต่างๆ

Growth Mindset

ผู้นำควรมี Growth Mindset และต้องทำหน้าที่เป็น Mentor เป็นโค้ชเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันกับทีม ตอนหลังองค์กรเน้น Self-coaching เป็นการสร้าง Growth Mindset ตรงไปยังตัวพนักงาน

Performance Mindset

สร้าง Performance ให้กับเพื่อนร่วมทีม ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เราต้องเรียนรู้การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง เราต้องเรียนรู้ 2 อย่างคือการบริหาร และการจัดการ อย่างการเปลี่ยนแปลง มีเข้ามาเราไม่สามารถบริหารจัดการเป็นตามนั้น

เราเห็นการเปลี่ยนแปลงมีขององค์กร เราทำอย่างไรที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงทุกวัน

1. สถานการณ์ปัจจุบันทิ้งไม่ได้

2. ความเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่ต้องคาดหมายให้ได้

ขั้นตอน

จำเป็นหรือยังที่ต้องเปลี่ยน การนำกรณีศึกษามาให้ วิเคราะห์สถานการณ์ องค์กร สภาพแวดล้อม เราในฐานะผู้บริหารต้องเตรียมคน เตรียมแผน

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital                 ทุนมนุษย์

Intellectual Capital           ทุนทางปัญญา

Ethical Capital                  ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital             ทุนแห่งความสุข

Social Capital                   ทุนทางสังคม

Sustainability Capital        ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital                   ทุนทาง IT

Talented Capital              ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์/ยุค 4.0

Creativity Capital               ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital           ทุนทางความรู้

Innovation Capital            ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital              ทุนทางอารมณ์

Cultural  Capital               ทุนทางวัฒนธรรม

ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารคนและการทำงานเป็นทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพ

Happiness                        ความสุขร่วมกัน

Respect                           การเคารพนับถือซึ่งกันและกัน

Dignity                             การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

Sustainability                    ความยั่งยืน              

WORKSHOP : การจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management) บริบทสุขสภาวะอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยทฤษฎี 3 วงกลม ทุนมนุษย์ 8 K’s+5K’s (ใหม่) HRDS

1) วิเคราะห์จุดแข็งและจุดด้อย "กทม.องค์กร-มหานครแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรมสุขสภาวะ"  (ด้านนโยบายและแผน / ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก/ ด้านการสื่อสาร/ ด้านแรงจูงใจ) (กลุ่ม 2)

      1.1 วิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร 1.2 วิเคราะห์ปัจจัยเมือง

      1.3 วิเคราะห์ช่องว่าง (speed) ความเปลี่ยนแปลงระหว่างองค์กรกับเมือง

2) 2.1 วิเคราะห์จุดแข็งและจุดด้อยของทุนมนุษย์ภายในองค์กร 13 ด้าน  (กลุ่ม 3)                               

           ตามทฤษฎี 8 K’s+5 K’s(ใหม่)

2.2 นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ทั้งภายในองค์กร / และเมืองกทม.

           เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน 3 ประการ

3) 3.1 วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของการมีส่วนร่วม และแรงจูงใจภายในองค์กร (กลุ่ม 1)

           (ผู้นำระดับสูง ผู้บริหาร และบุคลากร)

3.2 นำเสนอกลยุทธ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วม

           ด้วยการนำทฤษฎี HRDS มาปรับใช้

ข้อพิเศษ – ทำทุกกลุ่ม.. สรุปว่าใน 5 วันที่ได้เรียนรู้กับ Chira Academy ประทับใจหรือได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง 3 ข้อในการนำไปปรับใช้กับตัวเอง – งาน – สำนักอนามัยฯ รวมทั้งการทำงานวิจัยของรุ่น

การนำเสนอ Workshop

1) วิเคราะห์จุดแข็งและจุดด้อย "กทม.องค์กร-มหานครแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรมสุขสภาวะ"  (ด้านนโยบายและแผน / ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก/ ด้านการสื่อสาร/ ด้านแรงจูงใจ) (กลุ่ม 2)

      1.1 วิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร 1.2 วิเคราะห์ปัจจัยเมือง

      1.3 วิเคราะห์ช่องว่าง (speed) ความเปลี่ยนแปลงระหว่างองค์กรกับเมือง

         

เปรียบเทียบองค์กรสำนักอนามัย กับองค์กรภายนอก

จุดแข็งของสำนักอนามัย

1.ด้านนโยบายและแผน คือ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ในการมองประเด็นปัญหาครอบคลุม จัดเป็นแผนงานปฏิบัติงาน มีการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ มีเครือข่าย Network ในการทำอย่างสหวิขาชีพ มีการกระจายการปฏิบัติงานในพื้นที่ต่าง ๆ กระจายทั่วทั้งกรุงเทพฯ ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการง่าย มีความสะดวกในการเดินทาง และมีความผูกพัน กล้ารับบริการและเข้าถึงบริการได้ง่าย รวมถึงการบริการ เน้น Primary Healthcare เน้นการป้องกันส่งเสริมสุขภาพ ฟื้นฟู

2. สิ่งอำนวยความสะดวก – บริการมีมาตรฐานในการให้บริการ 168 ศูนย์พยายามทำให้ครบถ้วน 100% มีการประเมินของสำนักนายกฯ และพื้นที่ที่ได้เรียนเบื้องต้น หน่วยบริการตั้งใกล้กับชุมชนในลักษณะใกล้บ้านใกล้ใจ มีแพทย์ นักจิตแพทย์ มีการสะดวกบริการประชาชนลักษณะหนึ่ง มีการพายาย พาหลาน พาสุนัขมารับบริการในที่เดียว ยกเว้นบริการอย่างโรคเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อน มีการส่งต่อคนไข้ไปโรงพยาบาล ค่าบริการศูนย์บริการ เป็นราคามาตรฐานตามศูนย์บริการทั่วไป เป็นราคาที่ประชาชนจ่ายได้ หรือถ้าไม่สามารถจ่ายได้จริง มีการสงเคราะห์ที่ติดตามช่วยเข้าไปดูแลความสามารถในการจ่ายได้ จากการดูหน้างาน มีการทำข้อยกเว้นทำที่สังคมสงเคราะห์ข้อยกเว้น (จำเป็นจริง ๆ) ความสะดวกประชาชนเข้าถึงได้

3. การสื่อสาร - มีเครือข่ายสาธารณสุขเผยแพร่ข่าวสาร มีการทำ Website กับประชาชน

4. แรงจูงใจ - ง่ายในการรับบริการใกล้บ้าน ทีมบุคลากรเป็นพี่เป็นน้อง มีความคุ้นเคย

จุดแข็งหน่วยงานที่ไม่ใช่สำนักงานอนามัย

          ไม่เจอกฎระเบียบหน่วยงานราชการ มีความคล่องตัวมากกว่า ด้านนโยบายเปลี่ยนเร็วกว่า ตอบสนองลูกค้าเร็วกว่า แต่ลูกค้าต้องมีกำลังจ่ายด้วย ความสมัยด้านไอที ถ้ามีระบบไอทีที่รวดเร็ว ต้นทุนสูงกว่า โอกาสเผยแพร่ข่าวสารมากกว่า การสื่อสารที่รวดเร็วกว่า นวัตกรรมบริการที่ก้าวล้ำกว่าราชการ พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานมากกว่า

ข้อด้อยของสำนักงานอนามัย

1. ความไม่คล่องตัวของระเบียบราชการ ทำให้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงไม่ทันการ ไม่สามารถจัดซื้ออุปกรณ์รวดเร็ว ไม่สามารถจ้างคนได้ เนื่องจากระเบียบไม่เปิด เงินยังไม่ได้รับจากกองทุน

2. การนำเทคโนโลยีมาใช้ ถ้าระเบียบไม่เปิดให้จ้างก็ทำอะไรไม่ได้

3. ด้านนโยบายมีความใกล้ชิดนักการเมืองในการกำหนดนโยบาย

4. การจัดสรรงบประมาณและใช้เงินงบประมาณต้องเป็นตามระเบียบ

5. อัตรากำลังเท่าเดิม ภาระงานเพิ่ม อาจทำให้งานไปได้ช้า ผลงานออกมาไม่ค่อยตรงใจ

6. การพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงองค์กร วัฒนธรรมยังติดแบบเดิมแน่นมาก ต้องใช้เวลา และมีทักษะการเปลี่ยนแปลงสูง

ข้อด้อยของหน่วยงานไม่ใช่ราชการ

1. ต้นทุนสูง ค่าใช้จ่ายสูง

การวิเคราะห์ปัจจัยเมือง

1. ความซับซ้อนของความเป็นเมือง การเข้าถึงหน่วยงานไม่สะดวกรวดเร็วนัก

2. เกิดปัญหาสุขภาวะ

3. การเข้าถึงบริการยาก และไม่ทั่วถึง

การวิเคราะห์ช่องว่าง

          การเปลี่ยนแปลงเพื่อรับปัจจัยใหม่ ๆ องค์กรเอกชนรับการเปลี่ยนแปลงได้ไว้กว่า ในขณะราชการเปลี่ยนแปลงช้า

สรุปว่าใน 5 วันที่ได้เรียนรู้กับ Chira Academy ประทับใจหรือได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง 3 ข้อในการนำไปปรับใช้กับตัวเอง – งาน – สำนักอนามัยฯ รวมทั้งการทำงานวิจัยของรุ่น
          ผู้นำที่ดีต้องคิดเชิงระบบ รับปัญหา การเปลี่ยนแปลง การเป็นผู้นำสำนักอนามัยรับการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า มีตั้งแต่คนใกล้เกษียณ และที่เพิ่งจบมา ทำให้รู้ว่าองค์กรรอบนอกเปลี่ยนถึงไหน เราต้องเตรียมตั้งรับอย่างไร แล้วองค์กรเราจะตั้งรับอย่างไร เราต้องต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ความต่อเนื่องเป็นเรื่องสำคัญ ต่อมาคือความยั่งยืนของนโยบาย การเรียนก็เสมือนการเปิดมุมมองของผู้นำที่ทำให้เกิดการประยุกต์ใช้บริหารจัดการและเกิดประโยชน์สำหรับประชาชน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          โจทย์ช่วงแรกตอบได้ดี นอกจากรู้ปัญหาแล้วเราต้องมีพลังหรือ Coalition ถ้าทุกคนรวมพลังจะทลายกำแพงสิ่งที่เป็นอุปสรรคได้  มีอาจารย์คนนึงเรียนที่ Stanford เรื่องคน เมื่อรู้ปัญหาแล้วต้องดู และดูอย่างประสบความสำเร็จ ให้จำบรรยากาศที่เรียนด้วยกัน ผนึกกำลังกัน เป็น Coalition อย่าทำคนเดียว  อยากให้ทุกท่านทำอะไรที่กล้า Emerging แสวงหาแก่นหรือ Core ที่เรียกว่า Flagship

          ฝากให้คิดร่วมกันต่อว่า

1. ใน 5 วันที่เรียนมีอะไรที่ฝังใน DNA ของเรา เช่นการแบ่งปันความคิดที่หลากหลาย อย่าง ดอนัลล์ ทรัมป์ จุดอ่อนมีมาก แต่จุดแข็งคือการเป็นนักธุรกิจ อะไรที่เป็นกฎระเบียบก็พยายามทลายออกไป สิ่งแรกคืออยากให้ไปสำรวจกฎระเบียบที่ล้าสมัย บางครั้งไม่สามารถเป็นเลิศได้เนื่องจากติดที่ระเบียบราชการ

          2. The Agility แปลว่าความฉับพลัน สิ่งแรกที่สำคัญสุดคือการตรงประเด็น Relevant และการตอบสนองลูกค้า Responsiveness และเรื่อง Resourceful อีกอันหนึ่งคือการสะท้อน Reflective ทำอย่างไรให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันต่อ เช่น Morning Coffee

          3. ถ้าปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้ ปลูกฝังภาวะผู้นำ และกล้าทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับความต่อเนื่อง

          อยากให้สิ่งที่ทุกท่านตอบเก็บไว้ข้างใน และเป็นสังคมการเรียนรู้ต่อไป

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          หัวข้อต้องชัดในการวิเคราะห์ก่อนสิ่งอื่น ว่าถึงไหน มีการไปหาสิ่งอื่นมาประกอบ ต้องการดูแลให้คนทำแบบไหน

          การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ดีนัก แสดงว่ามีข้อจำกัด

          นักการเมืองส่วนที่ดีคือเร็ว ตอบสนองด้าน Change

          ความซับซ้อนของสังคมเมือง กทม.พยายามตอบสนองคนด้อยโอกาสมากกว่าคนมีโอกาส นับว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่การสื่อสารองค์กรไม่ค่อยดีนัก ทำให้เห็นประสิทธิภาพ

          คนไทยไม่เคยฝึกเรื่องความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เด็ก พอเจอก็จะรับไม่ค่อยได้ ต้องให้เด็กตระหนักเรื่องการช่วยผู้สูงอายุ

          การวิเคราะห์วงกลม วงที่ 1 Context คือองค์กรเราจะตั้งรับอย่างไร

2) 2.1 วิเคราะห์จุดแข็งและจุดด้อยของทุนมนุษย์ภายในองค์กร 13 ด้าน  (กลุ่ม 3)                                

           ตามทฤษฎี 8 K’s+5 K’s(ใหม่)

2.2 นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ทั้งภายในองค์กร / และเมืองกทม.

           เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน 3 ประการ

สรุปว่าใน 5 วันที่ได้เรียนรู้กับ Chira Academy ประทับใจหรือได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง 3 ข้อในการนำไปปรับใช้กับตัวเอง – งาน – สำนักอนามัยฯ รวมทั้งการทำงานวิจัยของรุ่น

ด้าน Human Capital อยู่ในระดับปานกลาง กลไกในการคัดเลือกใช้ในระบบราชการ เราไม่สามารถเอามาสัมภาษณ์และใช้วิธีพิเศษเลือกทำงานที่เฉพาะได้

ทางแก้คือการพิจารณาบุคลการที่รับมา แต่ละตำแหน่งมีหลักเกณฑ์การทำงานอย่างไร

8K’s

ด้าน Intellectual Capital จากการวิเคราะห์อยู่ในระดับปานกลาง จากการวิเคราะห์นวัตกรรม สำนักอนามัยเป็นองค์กรที่ใหญ่ที่สุดของ กทม. เราแทบไม่ต้องไปดูงานต่างจังหวัด

ด้าน Ethical Capital เนื่องจากอยู่ในสายการแพทย์ ด้าน Ethics จึงค่อนข้างดี แต่ควรเปรียบเทียบกับสายการแพทย์อื่นด้วย

ด้าน Happiness Capital ต้องพัฒนาเยอะ เนื่องจากแพทย์ 1 คน ดูแลพนักงานหลายหมื่นคน ต้องมองในอนาคตว่าเราจะต้องนำ IT มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยหรือไม่ ต้องมีเครือข่ายในการไปสอนให้ชุมชนทำได้ เช่น 10 อย่างพยาบาลทำ อาจเหลือ 5 อย่างจากให้ชุมชน หรือ IT ช่วย

ด้าน Social Capital ในมุมมองของสำนักอนามัยค่อนข้างดี แต่ถ้าเปรียบเทียบกับที่อื่นต้องพัฒนาขึ้นอีกระดับหนึ่ง

ด้าน Sustainable Capital ต้องพัฒนาพอสมควร เราพยายามดูว่าเครือข่ายดี ถ้าคนอยากมีส่วนร่วมจะทำได้ไม่ยาก

ด้าน Digital Capital อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องพัฒนามากพอสมควร ขาดบุคลากรด้าน IT ขาดการพัฒนาโปรแกรม และ Application ต้องผ่านหลายคณะกรรมการก่อนผ่านการคัดกรอง

          ด้าน Talented Capital อยู่ในระดับปานกลาง แต่ถ้าเปรียบเทียบ Big City สู้เขาไม่ได้

5K’s

          ด้าน Creativity Capital ความคิดสร้างสรรค์ไม่ค่อยดี เนื่องจากมีความเครียดจากภาระงาน

          ด้าน Knowledge Capital พอใช้ได้พัฒนาควบคู่กับกระทรวง

          ด้าน Emotion Capital ปานกลาง มีการสร้างแรงจูงใจของเราเอง

          ด้าน Culture Capital อยู่ในเกณฑ์พอใช้ได้ พัฒนาจะดียิ่งขึ้น

กลยุทธ์

ใช้ Learning Organization / Community ในการพัฒนาจุดอ่อน จุดแข็ง ด้านการพัฒนา IT และ Put the right man in the right job

สรุปว่าใน 5 วันที่ได้เรียนรู้กับ Chira Academy ประทับใจหรือได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง 3 ข้อในการนำไปปรับใช้กับตัวเอง – งาน – สำนักอนามัยฯ รวมทั้งการทำงานวิจัยของรุ่น

สิ่งสำคัญที่สุดคือ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

1. ต่อเนื่องและต่อเนื่อง

2. ทุกวิชาชีพมีส่วนพัฒนาเขตเมืองของเรา งานที่รับผิดชอบมีส่วนออกแบบเมืองอย่างไร สามารถทำงานเพื่อตัวเองและเมืองได้

การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ – ทุกปัญหามีทางออก และอยากให้ทำอย่างเป็นระบบ และต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงหลีกเลี่ยงไม่ได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องของธรรมชาติ เพราะธรรมชาติเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ท่านบอกว่าไปได้ดีคือจริยธรรม เพราะเป็นสิ่งที่หลายที่ขาดแคลน เรื่องทุนทางปัญญา กลุ่มนี้ได้เชื่อมด้านนวัตกรรมเข้าไปด้วย ในมุมมองดร.จีระจะเกี่ยวกับคิดเป็น วิเคราะห์เป็น Intellectual ของ ดร.จีระเป็นเรื่องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ที่เป็นห่วงมาก ๆ คือเรื่อง Happiness  คิดถึง Happiness Capital เป็นเรื่องของบุคคล สิ่งที่จะเพิ่มบางเรื่องเป็นเรื่องที่ทดแทน Work Load คือ 1. มี Passion ในการทำงาน เรากลับไปถามตัวเองว่าเรายังชอบหรือหลงใหลในงานของเราอยู่หรือไม่ 2. Purpose ของคุณหมอมีเป้าหมายสูงส่งมากเพราะดูแลสุขภาพอนามัยของคนในสังคม 3. Meaning-Life has meaning – วัดจากสิ่งที่มองไม่เห็น เราควรยกย่องงานของคนในห้องนี้ว่ามีทั้ง Passion – Purpose และมี Meaning ความหมาย

ข้อเสนอแนะ 5 วันที่เรียนของสำนักอนามัยน่าจะเป็น Model ของที่อื่นด้วย เพราะประสิทธิภาพการทำงานสูง ได้ทิ้งอะไรเข้าไปใน DNA ของเรา

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          กลุ่มที่ 2 ดูเรื่อง Individual ของคน กลุ่มนี้มองเรื่อง Tele Medicine เป็นสิ่งสำคัญมาก และอีกเรื่องคือ แรงจูงใจที่ขาด

3) 3.1 วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของการมีส่วนร่วม และแรงจูงใจภายในองค์กร (กลุ่ม 1)

           (ผู้นำระดับสูง ผู้บริหาร และบุคลากร)

3.2 นำเสนอกลยุทธ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วม

           ด้วยการนำทฤษฎี HRDS มาปรับใช้

ข้อพิเศษ – ทำทุกกลุ่ม.. สรุปว่าใน 5 วันที่ได้เรียนรู้กับ Chira Academy ประทับใจหรือได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง 3 ข้อในการนำไปปรับใช้กับตัวเอง – งาน – สำนักอนามัยฯ รวมทั้งการทำงานวิจัยของรุ่น
          ข้อดีในส่วนของบุคลากร

1. ส่วนใหญ่ได้รับการมอบหมายงานที่ตรงอาชีพของเรา แต่พอทำเรื่อยจะดูหลายด้าน

          2. เดินทางได้สะดวก ใกล้บ้าน

          3. มีค่าตอบแทน โบนัส เช่นการออกหน่วย

          4. ความสัมพันธ์ที่ดี

          5. บริหารเวลาและครอบครัวได้

          โอกาสในการรับการศึกษา อุปกรณ์มีน้อย การจัดสรรคนที่ดูแลหลายด้าน เป็นจุดที่ต้องมองและพัฒนาต่อไป

          ข้อเสีย คือ

1. ค่าตอบแทนออกช้า ในส่วนของผู้บริหารที่ศูนย์ ความก้าวหน้าได้รับการส่งเสริมอยู่แล้ว

          2. การบริหารเวลาไม่ค่อยมีปัญหา จัดการได้ มีการบริหารจัดการพื้นที่ สามารถเข้าถึงได้

สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือผู้บริหารต้องอาศัยประสบการณ์ในการช่วยเหลือ การทำอะไรเพื่อก้าวหน้าต้องเรียนรู้ต่อไปเพื่อความก้าวหน้า  ต้องมีความรับผิดชอบหลายด้าน ทำให้การกำกับดูแลไม่ทั่วถึง

ระดับสูงสุด สามารถ One Stop แบบ Single Command สั่งทีเดียวจบ แต่จะไปตอบโจทย์หรือไม่อีกเรื่อง

          3. องค์กรใหญ่ การตัดสินใจลำบาก สั่งงานได้รับผลกระทบด้วย

การใช้ทฤษฎี HRDS

          นำไปสู่โครงการต่าง ๆ มีความสำราญและงานสำเร็จ มีการเคารพตาม Seniority สายงานและคุณวุฒิ ทุกคนมีความสำคัญ

ทุกคนต้องมีหน้าที่และบทบาทช่วยศูนย์ทำงานให้ดีขึ้น มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมต่าง ๆ มีการ Reward อุปกรณ์ดีเด่นของศูนย์

          การนำสู่ความยั่งยืน มีโอกาสในการศึกษาดูงาน และสร้างให้เขาทำงานอย่างมีความสุข

สรุปว่าใน 5 วันที่ได้เรียนรู้กับ Chira Academy ประทับใจหรือได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง 3 ข้อในการนำไปปรับใช้กับตัวเอง – งาน – สำนักอนามัยฯ รวมทั้งการทำงานวิจัยของรุ่น
          Wow เพราะได้มาเปิดโลกทัศน์ เพราะสิ่งที่เรียนมาเจอแต่เรื่องเดิม ๆ สิ่งที่ประทับใจคือผู้นำ Chira Style 5 ข้อ การคาดการณ์อนาคต และการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน ที่ได้เรียนรู้อีกเรื่องคือเรื่องการผังเมืองต้องคิดถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วย การคิดเชิงระบบต้องเชื่อมโยง การตัดสินใจและแก้ปัญหาต้องแยกให้ออกว่าอะไรคือ Must และ Want เรื่องการเปลี่ยนแปลง ทำอย่างไรให้เขาเข้าใจ ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ในอนาคต

          เรื่อง Learning คือเราไม่ได้แค่เรียน หรือ Study เราต้องปลูกคนให้ใฝ่รู้ Life Long Learning

          HR Architecture ทำให้เห็นภาพใหญ่ตรงกับงานที่สำนักอนามัยทำคือมองคนตั้งแต่เด็ก เยาวชน ทำงาน ผู้สูงอายุ

          3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง  และ 3 ต.ใหม่ คือ แตกต่าง ติดตาม และต่อเนื่อง  และอย่าลืม 2 R’s คือรู้จริง และต้องตรงประเด็น ต้องแก้ไข

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          กลุ่มนี้ได้วงกลมที่ 3 คือ Human ไม่เหมือนกับ Machine ป่าไม้ วิถีชีวิต  เรื่อง Motivation คือสอนเท่าไหร่ไม่พอ สิ่งสำคัญที่สุดคือค้นหาแรงจูงใจหรือที่เรียกว่าเก็บเกี่ยวที่เป็นแก่นจริง ๆ แม้มีงานหนัก แต่ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน คุณหมอเห็นคุณค่าของความมีศักดิ์ศรี ทำให้คนของกทม.มีที่พึ่ง ทฤษฎี HRDS เป็นทฤษฎีที่ Moveจาก Tangible มาเป็น Intangible และช่วยคิดด้วยว่ามาจากไหน คือ การรวมกันระหว่าง Happy at work กับ Happy workplace

          คือ Happy at work คือการมี Passion ถ้ารวมกันแล้ว 3 วงกลมคือต้องทับกัน

          การปลูกมีทั้ง 5K’s  8K’s เอาไป Apply  , Competency คืออะไรที่สำคัญที่สุดในงานของ กทม.

          ในองค์กรของเราให้เอา 8K’s 5K’s ไปวิเคราะห์อีกนิดนึงแล้วผสมกับงานที่ทำอยู่ออกมาเป็นสมรรถนะของเราเอง ซึ่งบางแห่งไปสร้างบริษัทมาทำ เน้น Creativity เน้นวินัยต่าง ๆ Competency มาจากที่ทำงาน โดยสรุปคือกลุ่มนี้เก่งเรื่องการเชื่อมโยง 5 วัน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          ทฤษฎี 3 วงกลมให้ศึกษา 8K’s 5K’s คือหลอกให้ทำทั้ง 13 ข้อ ถ้า Competency ขององค์กรดีจะไปเชื่อมกับคน วงกลมที่ 3 คนเก่งไม่พอต้องมีแรงจูงใจ การนำไปปรับใช้เอาอะไรใส่ได้ทั้งหมด

ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

          เป็นเรื่องการฝากมากกว่า การส่งเสริมปัจจัยด้านสุขภาพ 4 ด้านคือการเรียนรู้อะไรในพื้นที่ ในชุมชน ทีม การเปลี่ยนแปลง มีตามพุทธศาสนาคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเปลี่ยนหรือไม่

          Value คือคุณค่าที่เกิดขึ้นกับงาน การเปลี่ยนแปลงต้องตอบโจทย์ ดี เร็ว และต้นทุนถูกกว่าเดิม งานสาธารณสุขเป็นการใช้ทรัพยากรที่ Share Resources ถ้าจับ Start Up ดี ๆ เขาจะสามารถทำสิ่งดี ๆ ให้เรามากมาย

ลิ้งค์ข่าวประชาสัมพันธ์หลักสูตร

บทความ

https://www.naewna.com/politic/columnist/37435

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริง. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม 2561 หน้า 5

https://www.naewna.com/politic/columnist/38175

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริง. แนวหน้า.วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม 2561 หน้า 5

https://www.naewna.com/politic/columnist/38267

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริง. แนวหน้า.วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2561 หน้า 5


รายการวิทยุ

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/videos/2733240090034763/

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม 2561 ทาง FM 96.5 MHz.

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/videos/2775643012461137/

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2561 ทาง FM 96.5 MHz.

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/videos/2789657604393011/

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน 2561 ทาง FM 96.5 MHz.


รายการโทรทัศน์

https://youtu.be/6bw7Fg2YtsQ

ที่มา: รายการ: คิดเป็น...ก้าวเป็นกับ ดร.จีระ.

ตอน: กรณีศึกษาห้องเรียนผู้นำ...นักบริหารสุขภาวะเขตเมืองรุ่นที่ 1

ออกอากาศ:  วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม 2561  เวลา 21.00 – 21.30 น.

สถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks

หมายเลขบันทึก: 655186เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2018 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2020 08:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท