กันยายน กับการเดินทางเส้นทางเดิมที่ท้าทาย


กันยายน 2018 การเดินทางในเส้นทางเดิมที่ท้าทายน่าจะเหมาะกับนิยามในเดือนนี้

หลายครั้งที่เราถามตัวเองว่าจะทำงานอย่างไรให้สนุกคำตอบที่ได้จากเดือนนี้ คือ ไม่ว่างานจะยากแค่ไหน ถ้าตัวเราปรับมุมมองของเรากับงานหรือความท้าทายว่าเป็นการเรียนรู้หรือโอกาสพัฒนาตน งานหรือปัญหานั้นก็กลายเป็นเรื่องท้าทายที่เข้าไปเรียนรู้

(1) เดือนคุณภาพที่ท้าทาย เดือนนี้เป็นการ reaccredit HA ครั้งที่ 3 เราได้รับโจทย์ให้ทบทวนการทำงานตลอด 3 ปี ในรูปแบบมาตรฐานใหม่ มีหลายเรื่องที่ยังไม่เข้าใจ บางเรื่องต้องอ่านทบทวนซ้ำๆ บางเรื่องแทบจะไม่รู้เรื่อง จะทำอย่างไรให้งานประจำของเราสามารถสะท้อนคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยได้ … ไม่ง่ายเลยสำหรับคนที่เหมือนจะรู้แต่เอาจริงๆกลับไม่รู้อะไรเลย ถึงกับต้องกลับมานั่งอ่านมาตรฐานใหม่ โชคดีที่เราไม่ได้ทำด้วยตัวคนเดียว ทีมที่ทำงานด้วยกันและคนรอบข้างช่วยเข้ามาเติมและทำให้เห็นภาพทางแก้ปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แม้งานจะท้าทายแต่บางครั้งที่แรงขับเริ่มมอดกลับถูกเติมเต็มด้วยคำแนะนำ การให้กำลังใจของคนรอบข้าง ทำให้เรื่องที่ดูยากกลับมีทางให้ไปต่อ

(2) วิถีคนหัวร้อนไม่ใช่จะมีแต่กำลังใจนะ บางครั้งก็ยังมีโดนว่า มีคำพูดลบที่ทำให้อยากทิ้งงานไปเลย แต่โชคดีที่มีเพื่อนที่คอยแนะนำให้เรา มีสติในการรับฟังและการจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ เกิด challenge “ห้ามโกรธ ห้ามหัวร้อน” คือการสังเกตตัวเองให้เร็วขึ้นเวลาเริ่มโกรธ เอาจริงๆ ไม่ง่ายเลย แต่ก็สนุกเวลานั่งนับว่าวันนี้เผลอหัวร้อนไปกี่ครั้ง และดึงตัวเองได้ทันกี่ครั้ง ช่วงแรก ดึงตัวเองได้ 2 ครั้ง (5555) ครั้งต่อไปก้อยังทำได้ไม่ดีแหละ แต่เห็นตัวเองมากขึ้น ทำความเข้าใจกับบางสถานการณ์ที่ไม่น่าหัวร้อน เช่น อคติ ปรี้ดเวลาฟังไม่จบ พอเริ่มหัวร้อนเห็นตัวเองแล้วทำความเข้าใจสถานการณ์ใหม่เพื่อลดอคติ …. ค่อยๆ…สูดหายใจลึกๆ … เริ่มร้อนน้อยลง ส่วนไอ้ที่หลุดก็ไม่ว่ากันนะค่อยๆแก้ สุดท้ายตกตะกอนว่า ที่ปรี้ดก็ตามที่เค้าว่าอ่ะ เราคาดหวังกับสิ่งที่อยู่ข้างหน้า เลยทำให้ไม่ฟัง คิดแทน ไม่ถูกใจก็ปรี้ดดดด…. เค้าขอโทษ!!! จะทำ challenge ต่อไปนะ

(3) ทิ้งความกลัวกลัวคนรอบข้างไม่พอใจ กลัวงานออกมาไม่ดี กลับมานั่งทบทวนตัวเอง เรามักจะ paranoid ไปก่อนอะนะ เหมือนกับหัวร้อนเลย คือ คิดแทน คิดไปก่อนว่ามันจะไม่ดี สุดท้ายความกลัวครอบงำ ทางแก้คือกลับไปจัดการความกลัวนั้น ยอมรับสิ่งที่เป็นแล้วพยายามแก้ไข อันแรกคือเรื่องการสื่อสารที่ไม่กล้าสื่อสารตรงไปตรงมาเพราะกังวลเรื่องความรู้สึกอีกฝ่าย หลายครั้งความกลัวไม่กล้านำไปสู่อาการหัวร้อนเพราะรู้สึกว่าเก็บกดเยอะ จะต้องรวบรวมความกล้าล่ะนะ สื่อสารตรงไปตรงมาในเชิงบวกและจริงใจให้มากที่สุด Quest นี้ยังไม่ค่อยผ่านกับบางคนนะ แต่ก็เห็นความกลัวของตัวเองชัดขึ้นล่ะ ยอมรับบางเรื่องเช่น เออ เราไม่รู้ ค่อยเรียนรู้ปรับตัวใหม่ เออเค้าอาจจะไม่เข้าใจเราเพราะทั้งคู่อาจจะเห็นในส่วนที่อีกฝ่ายไม่เห็นก็ได้ ยอมรับตัวเราที่ผิดพลาดบ้าง บางครั้งเราก็จริงจังเกินไป ….

(4) เรื่องราวจิปาถะ4.1 เรื่องเรียน ไปงานแต่งโดนถามเมื่อไหร่จะมีแฟนจะได้แต่งมั้ย เฉยๆไม่รู้สึกอะไร แต่พองานไหว้ครูโดนถามว่าเมื่อไหร่จะสอบจะจบเมื่อไหร่ ถึงกับจุก… o_ครูบอกว่า no more perfectionist (สอบได้แล้ว!!!), routine become habit (อ่านอย่างสม่ำเสมอ), เก่งไม่เก่งอยู่ที่การจัดการเวลา …. _o …เอาวะตอนนี้ต้องสอบให้ได้ !!!!

4.2 แก้งาน HA driver diagram – ดีงาม (ถ้าทำถูก) เป็นการเอาคนที่เกี่ยวข้องมาคุยเรื่องที่อยากจะแก้ มีการตั้งเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน มองประเด็นปัจจัยที่มีผลต่อการไปสู่เป้านั้น และหากระบวนการแก้ปัจจัยนั้นให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ถ้าไม่ถูกแก้ เราก้อต้องมานั่งรอทีมที่กว่าจะมาคุยกันได้พร้อมกันยากโคตร แต่พอถูกแก้งานกลับได้นั่งฟังรูปแบบการทำงาน ปัญหาในการทำงานของทีม ทำให้มองเห็นช่องทางในการแก้ปัญหาที่ตรงจุด และการติดตามผลการแก้ปัญหานั้น

4.3 บทบาทครู เซาะกราวน์เมดดิซีน“ผมอยากให้อาจารย์สอนในสิ่งที่อาจารย์ทำ” อาจารย์ท่านนึงกล่าวขึ้น ตอนที่เราบ่นคลางแคลงใจการเป็นครู งั้นหนูจะสอนวิชามารให้แล้วกันนะค้า … อิอิ การเป็นครูก็คือ role model ทั้งในด้านความรู้ การทำงาน และการใช้ชีวิตในบริบทที่เราอยู่ ซึ่งเราคิดว่ายังมีความเป็นแบบอย่างที่ดีไม่เยอะอ่ะนะ แต่เราเริ่มวาดภาพว่าถ้าจะให้น้องที่มาเรียนกับเรา อินกับการทำงานในรพช. เราจะเพิ่มอะไรให้น้อง ในขณะเดียวกันเราอาจจะได้เรียนรู้อะไรจากน้องและจากการทำงานในครั้งนี้ก็ได้เนอะ กว่าจะเข้าใจบริบทที่มากกว่า medical model ใช้เวลานานมาก ตอนนี้ก็ยังมีเผลอลืมตัวบ้าง เวลาดูคนไข้จะทำไงให้เค้าเห็นไข้และเห็นคนครบองค์ จะทำอย่างไรให้น้องสามารถเชื่อมศาสตร์และศิลป์ในการดูแลคนไข้ในพื้นที่ได้อย่างกลมกล่อม เข้าใจทุกข์ของคน มองเห็นภาพรวมของบริบทที่ทำงานและวางแผนการดูแลคนไข้โดยใช้ความรู้ที่มีอยู่ท่ามกลางทรัพยากรที่จำกัด…นี่มันคือการใช้ทักษะหลายอย่างเอาตัวรอดในรพช. จะทำอย่างไรให้น้องเห็น น้องเข้าใจ ดึงศักยภาพของตัวเองออกมา นี่สินะบทบาทของครู…

แค่เดือนเดียวก็มีอะไรเปลี่ยนแปลงเยอะจัง

ห่างหายการเขียนไป พอกลับมาเขียนอีกครั้ง ดูฟุ้งๆแต่ก็สนุกดีเหมือนได้จัดระบบความคิดของตัวเอง

รอเดือนหน้าเราจะเป็นยังไงบ้างน้าาาาา

หมายเลขบันทึก: 653521เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2018 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2018 23:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท