หินทรายเมืองพะเยา ตอน ๒ แหล่งหินทรายและปติมากรรมหินทรายในเมืองพะเยา


#แหล่งหินทรายและปติมากรรมหินทรายในเมืองพะเยา

.......แหล่งหินทรายแหล่งใหญ่ที่มีการนำเอาหินทรายจากแหล่ง เหล่านี้มาทำให้เกิดงานศิลปะ ซึ่งมีทั้งงานประติมากรรม ศิลาจารึก พระพุทธหินทรายจำหลักศิลา และสถูปเจดีย์ ได้แก่ 

.......๑.ดอยผาเกี๋ยง ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าวังทอง ตำบลแม่ปืม และตำบลดงเจน อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เป็นแหล่งหินทรายที่มีคุณภาพดีและมีขนาดใหญ่ ที่ช่างชาวพะเยานำมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปหินทรายและประติมากรรมอย่างอื่น หลักฐานที่ยืนยันว่ามรการนำเอาหินทรายจากแหล่งนี้ไปใช้ในการทำงานศิลปะคือ ปรากฏร่องรอยทางโบราณคดีอยู่บนบรลานหินทรายและเป็นสถานที่ที่อยู่ใกล้กับตัวเมือง การคมนาคมสะดวก ล่าสุดมีการค้นพบหินทรายก้อนหนึ่งที่ปรากฏร่องรอยการแกะเป็นรูปร่างของพระพุทธรูป (ภายหลังมีการแกะสลักจนเสร็จ ประดิษฐานอยู่ในศาลาจริยธรรมของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม จังหวัดพะเยา เป็น พระพุทธรูปประจำสถานศึกษาที่ได้รับการประทานนามจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังคปรินายก ว่า “พระผู้เป็นผู้ที่แจ้งแห่งโลก”) 

.....จากการตรวจสอบร่องรอยทางโบราณคดี ของนักคดี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ บริเวณสันเขาตั้งแต่วัดห้วยผาเกี๋ยง ตำบลท่าวังทอง ไปจนถึงเขตติดต่ออำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ดพบหลักฐานต่างๆ เป็นต้นว่า เครื่องมือหินขัด ที่เป็นเครื่องใช้อวุธต่างๆ พบรอยหินทรายที่มีลักษณะเป็นฐานพระพุทธรูป บ่อหินทรายที่มีร่องรอยถูกตัด นำเอาหินไปใช้ในสมัยโบราณ บ่อน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนลานหิน และมีรอยที่ถูกลับด้วยของมีคมบริเวณปากบ่อ นอกจากนี้ ยังพบเศษซากปรักหักพัง ของชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทราย รวมทั้งรูปจำหลักอื่นๆ อยู่บริเวณใกล้ๆ ดังนั้นจึงเป็นหลักฐานยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าบริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งหินทรายขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมหินทรายสกุลช่างพะเยาขึ้น 

.......๒.เวียงโบราณบ้านห้วยหม้อ ตั้งอยู่ในเขตบ้านห้วยหม้อ ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมืองพะเยา ตัวเวียงโบราณตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกว๊านพะเยานอกเวียงทางด้านเหนือมี ห้วยแม่ตุ่นไหลผ่านซึ่งเป็นแหล่งหินทรายจำนวนมากหินทรายในลำห้วยนี้มีตั้งแต่ ขนาดเล็ก-ใหญ่ เกลื่อนกลาดอยู่ตามท้องน้ำมีคุณภาพดี ซึ่งในอดีตอาจเป็นแหล่งหินทรายที่สำคัญแห่งหนึ่งของพะเยาและในปัจจุบันยังมีชุมชนที่นำเอาหินทรายมาใช้ประโยชน์ด้วยการแกะสลักเป็น งานประติมากรรม แต่มีครอบครัวหนึ่งทีมีการสืบทอด มรดกมาจากบรรพบุรุษด้วยการแกะสลักพระพุทธรูปหินทรายสืบกันต่อมา

#ประติมากรรมหินทรายสกุลช่างพะเยา....ในระยะที่อาณาจักรภูกามยาวหรือเมืองพะเยากำลังมีการก่อสร้างเมืองในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ นั้น เป็นช่วงระยะที่ศิลปะมหายานของปาละกำลังรุ่งโรจน์อย่างสุดขีด พะเยาจึงได้รับอิทธิพลศิลปะแบบปาละนั้นเข้ามาด้วยภายหลังปรากฏว่าได้มีอิทธิพลศิลปะแบบเชียงแสนเข้ามามีบทร่วม โดยเฉพาะช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๑ ดังนั้นหลักฐานทางประวัติศาศตร์และโบราณคดีที่ค้นพบ จึงน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงนั้น แต่อาจเก่าแก่ไปจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ สิ่งที่ถือว่าเป็นลักษณะที่โดดเด่นมากของประติมากรรมที่ค้นพบในเมืองพะเยาก็ล้วนแต่ทำมาจากศิลา หรือหินทรายแทบทั้

งสิ้น และมีแบบอย่างเป็นของตน ซึ่งถือว่าเป็นศิลปะสกุลช่างพะเยาโดยแท้แม้ว่าบางอย่างอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากที่อื่นบ้างบางอย่างก็ร่วมสมัยกับลพบุรี เชียงแสน หรือสุโขทัย แต่ศิลปะสกุลช่างพะเยาก็มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองผลงานประติมากรรมเหล่านี้กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เป็นซากปรักหักพังซึ่งน่าจะเกิดจากการทำลายของมนุษย์และการผุกร่อนหรือพังทลายตามธรรมชาติ มีส่วนน้อยที่ยังคงรูปแบบที่สมบูรณ์อยู่ ปัจจุบันนี้ได้มีการเก็บรวบรวมไว้หลายที่หลายแห่ง แต่มากที่สุดถูกเก็บไว้ที่วัดศรีโคมคำ (ปัจจุบันได้นำมาจัดแสดงไว้ที่หอวัฒนธรรมนิทัศน์) และวัดลี อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา  

.....ประติมากกรรมดังกล่าว อาจแยกกลุ่มตามลักษณะที่เด่นและจำนวนที่พบได้ดังนี้  

๑.พระพุทธรูปหินทราย 

๒.สถูปเจดีย์หินทราย 

๓.จารึก 

๔.จำหลักศิลาและอื่นๆ

คำสำคัญ (Tags): #khonmuang
หมายเลขบันทึก: 653329เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2018 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2018 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท