“กว่าจะมาเป็น วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่”


กว่าจะเป็น วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่


“กว่าจะเป็น วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่”

       วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2513 เป็นโรงเรียนฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่ 32 จังหวัดเชียงใหม่ ทำการสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 300 ชั่วโมง  (5 เดือน)

       ปี พ.ศ.2514 พระครูศรีปริยัติยานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพันอ้น ได้สนับสนุนและอนุญาตให้ใช้สถานที่ของวัดพันอ้น เป็นสถานที่ทำการของโรงเรียนฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่ 32

       ปี พ.ศ. 2515 ได้มาขอเช่าธรณีสงฆ์วัดสีสุก (ร้าง)  มีเนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 54 ตารางวา เพื่อใช้เป็นที่ทำการและเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่ 32 เชียงใหม่เป็นโรงเรียนสารพัดช่างเชียงใหม่

       ปี พ.ศ. 2518-2521 ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารโรงฝึกงานปี พ.ศ. 2521 ย้ายที่ทำการของโรงเรียนจากบริเวณวัดพันอ้นไปยังที่ทำการแห่งใหม่ ณ เลขที่ 49 หมู่ที่ 5 ถ.ห้วยแก้ว ต.ช้างเผือก อ.เมือง  จ.เชียงใหม่จนถึงปัจจุบันมีครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมดจำนวน  87 คน นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  จำนวน 310 คนะดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 83 คน หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 1,585 คน

       เมื่อพูดถึงวิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่คนทั่วไปส่วนใหญ่ก็จะคิดถึงวิชาชีพระยะสั้น ทางวิทยาลัยไม่ได้ทำการการเรียนการสอนในแค่หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นเท่านั้น วิทยาลัยฯ เปิดทำการเรียนการสอนในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นทั้งหมด 79 รายวิชา


      วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่เป็น 1 ใน 5 วิทยาลัยต้นแบบของประเทศไทย ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน นักศึกษาพิการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 


       วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ ได้เปิดการเรียนการสอนเป็นศูนย์การเรียนรู้อีกหนึ่งแห่งอยู่ที่ วัดดอนจั่น เรียกศูนย์การเรียนรู้ที่นี่ว่า “วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ศูนย์การเรียนรู้วัดดอนจั่น ” เปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) นักเรียนที่นี่จะเป็นเด็กด้อยโอกาส เป็นนักเรียนกินนอนอาศัยอยู่ในพื้นที่วัดดอนจั่น 


      ทุกครั้งที่มาสอนที่นี้คือมีความรู้สึกดีค่ะ ถ้านักเรียนเห็นว่าครูจะขับรถผ่านนักเรียนจะหยุดเพื่อรอให้ครูขับรถผ่านและยกมือไหว้ พอจอดรถนักเรียนก็จะเดินมาหาที่รถแล้วถามว่า “ครูค่ะมีอะไรให้หนูช่วยรึเปล่าค่ะ” ถึงครูจะมีของมากแต่ครูก็ตอบไปว่า “ไม่เป็นไรค่ะขอบคุณค่ะ” เด็กที่นี่น่ารักและเป็นแบบนี้แทบทุกคนทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย เวลาเดินผ่านก็จะยกมือไหว้ให้ความเคารพครูทุกคน  เวลาเรียนในห้องจะเงียบมากแทบจะไม่คุยกันเลยคือทุกคนตั้งใจเรียนครูก็มีความสุขในการสอนค่ะ 



 “สร้างคนดี มีวิสัยทัศน์ พัฒนาวิชาการ เชี่ยวชาญวิชาชีพ

หมายเลขบันทึก: 653123เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2018 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2018 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

จัดเอกสารได้น่าอ่านครับ ;)…

เป็นสถานศึกษาที่น่าชื่นชมมากๆคะ

เป็นสถานศึกษาให้โอกาสของคนอยากมีอาชีพได้หลากหลายมากค่ะ

พิมพ์สัมผัสได้ ก็ได้มาเรียนที่สารพัดช่างเชียงใหม่นี่แหละครับ เขียนบรรยายได้ดีมากครับ

เรียนอาจารย์ที่นับถือผมกำลังทำหนังสือเกี่ยวกับความเป็นมาของวิทยาลัยสารพัดช่างต่างๆ ผมติดปัญหาเรื่องวันเดือนปีเกิดของโรงเรียนสารพัดช่างว่าเป็นเมื่อใด search หาจนมือหงิก ก็ไม่พบครับ เห็นบทความของอาจารย์ “กว่าจะมาเป็นวิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่” หวังเต็มร้อยว่าจะเจอคำตอบของปัญหาข้างต้น แตค้นเท่าไรก็ไม่พบครับ อาจารย์ช่วยบอกผมเอาบุญหน่อยนะครับว่า วันเดือนปีเกิดของโรงเรียนสารพัดช่างเชียงใหม่คือเมื่อใดครับ ขอบคุณมากครับ ผมจะรอด้วยความหวังนะครับ ขอบพระคุณมากครับ วราวุธ

ทุกทีมีตำนาน เรื่องเล่า และเบื้องหลังที่ดี คะสารพัดช่างคือสถานที่สร้างคนให้มีอาชีพคะ

@น้ำหมึก ส.รุ่งรักษ์เจริญชัย ขอบคุณค่ะ

@เกศินี ป๊อกนันตา ขอบคุณค่ะ

@[email protected] ประวัติความเป็นมาอยู่ย่อหน้าแรก

สุดยอดเลยค่ะ ผ่านหน้าวิทยาลัยบ่อยมากค่ะ

เป็นสถาบันที่สร้างอาชีพและให้โอกาสครับ

เป็นสถาบันที่เปิดกว้างทางการศึกษามากค่ะ

สุดยอดจริงๆครับสร้างงานสร้างอาชีพให้ใครหลายต่อหลายคน

@พัชรินทร์ ทีเก่ง ขอบคุณค่ะ

@วณัฐพล ตุ่นแก้ว ขอบคุณค่ะ

@เมษา ใจโอบอ้อม ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย