AAR KM UC ตอนที่ 1 จับภาพตามมุมมองส่วนตัว


AAR KM UC

ครบหนึ่งปี (เกินมาบ้างหลายเดือน) ที่ได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้เรื่อง UC ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้มีความสนใจใดใด เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว แต่เมื่อมาทำความรู้ความเข้าใจในตนเองใหม่ และลงมือศึกษา จึงได้ทราบว่า ระบบหลักประกันสุขภาพ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรามาก เช่น ในฐานะที่ตัวเองเป็นข้าราชการ หากว่าลาออกหรือได้ออกจากราชการในตอนนี้ สิทธิทางการรักษาก็ต้องเป็น UC โดยอัตโนมัติ การทำการศึกษาเพื่อความรู้ความเข้าใจจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าเสียหาย หรือน่ากังวลใจอะไร เพราะถ้าหากเรามองว่า เรื่อง UC เป็นเรื่องของคนไทยทุกคน(แม้บางคนจะบอกว่าไม่เกี่ยว แต่หากวิเคราะห์จริงๆ ถ้าไม่เกี่ยวข้องโดยตรงก็เกี่ยวข้องโดยอ้อม)

การเขียนถอดบทเรียนครั้งนี้เป็นมุมมองส่วนตัวไม่ได้เกี่ยวข้องกับบุคคลใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ หากแต่เป็นการถอดบทเรียนในส่วนของประสบการณ์ที่ได้เข้าไปเรียนรู้ร่วมด้วย นับว่าเป็นโอกาสและวาสนาของตัวเองที่ได้เข้าไปเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Hearing KM R2R CQI LO หรือเรื่องพลเมืองระบบหลักประกันสุขภาพ(UHC) เป็นต้น ต่างๆ เหล่านี้ทำให้เห็นภาพความเชื่อมโยงมากขึ้น สะท้อนถึงคุณค่าและความหมายในปรากฏการณ์ที่มี

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ GAP หรือช่องว่างที่นำไปสู่โอกาสของการพัฒนา UC ประเทศไทย แบบมวลเล็กๆ หมายความว่า ช่วยกันแก้ปัญหาหรือพัฒนาติ่งเล็กๆ (ประเด็นเล็กๆ) คนละส่วนเมื่อนำมารวมต่อเป็นภาพจิ๊กซอว์จะเห็นการพัฒนาที่มาจากรากฐานของคนทำงานระบบ UC อย่างแท้จริง มากกว่าจะเป็นนโยบายสั่งการให้คนหน้างานในพื้นที่ทำตามเพียงด้านเดียว หากแต่ผนึกกำลังกันพัฒนาปัญหาหน้างานที่เกี่ยวข้องกับ UC ของตนเอง ซึ่งแต่ละแห่งก็มีบริบทที่แตกต่างกันอยู่แล้ว

การพัฒนาหน้างานที่มีการนำเครื่องมือ CQI หรือ R2R จากการตั้งข้อสังเกตส่วนตัวคือ CQI ค่อนข้างใช้ยากแต่นั่นอาจจะเป็นกระบวนการถ่ายทอดมาสู่ผู้ปฏิบัติหรือพื้นที่ทำให้เกิดความยุ่งยากและซับซ้อนหรือเปล่าไม่แน่ใจ หรือแม้แต่ R2R เองมีการผลักดันในเชิงบริหารให้มีการทำน้อยมาก จึงแทบจะไม่เห็นผลงานเหล่านี้สู่สังคมสุขภาพมากนัก ที่สำคัญคำถามที่นำไปสู่ความท้าทายในการเรียนรู้ จะทำอย่างไรให้คนทำงานที่เกี่ยวข้องในระบบ UC เกิดแรงบันดาลใจ Inspiration และ Passion มากกว่ารู้สึกว่าเป็นภาระที่ต้องมานั่งทำงานพัฒนาเพื่อสนองนโยบายอย่างเดียว แต่สามารถสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่เต็มศักยภาพ สามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่นำมาสู่การพัฒนางาน (ซึ่งโจทย์นี้ก็ยังมีอยู่ในคนหน้างานอื่นๆ เช่นเดียวกัน

ตั้งข้อสังเกตส่วนตัว

สังคมเราใช้เงินในจัดประชุมเยอะมาก และส่วนใหญ่เป็นการประชุมเพื่อชี้แจง บรรยาย อธิบาย แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่แน่ใจว่าคุ้มค่าคุ้มทุนหรือไม่ ผู้คนสามารถเข้าถึงและเข้าใจในเรื่องที่ประชุมมากน้อยเพียงไร ในแง่ของเศรษฐศาสตร์หรือการลงทุนจัดประชุม เราได้อะไรกลับคืนมาบ้างมากน้อยเพียงใด หรืออาจเป็นเพียงการโปรย Informations แต่ไม่ได้หันกลับมามองว่า Informations ที่โปรยไปนั้น Transfer ไปเป็นตัวความรู้ Knowledge ที่นำไปสู่การปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด

#Noteความคิด

08-09-61 

ตอนที่2 https://www.gotoknow.org/posts/652007



หมายเลขบันทึก: 652004เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2018 12:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กันยายน 2018 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท