ก้าวที่กล้าอีกครั้งของการเรียนรู้​ R2R


ก้าวสู่ปีที่สองของทศวรรษที่ 2 R2R ประเทศไทย

สิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อตนเองในสิบปีแรกคือ การสร้างแรงบันดาลใจ ที่นักวิชาการเก่งๆ หลายท่านมองข้าม เพราะอาจดูเป็น Sofe Science หรือ Sofe Skill ถ้าไตร่ตรองดูจะพบว่า มีความลับอย่างหนึ่งที่นักวิชาการอาจไม่ทราบคือ ความเป็น Sofe Science หรือ Sofe Skill นี่แหละคือ กระบวนท่าที่นักวิชาการทั้งหลายต้องแปลงเนื้อหาวิชาการที่ยากๆ (Hard Science) ให้คนเข้าใจ รู้เรื่อง และเกิด Inpiration & Passion เข้าถึงเนื้อหาความรู้วิชาการยากๆ ได้

คนเก่งไม่ใช่คนที่พูดเรื่องยากๆ หรือเชี่ยวชาญเรื่องยากๆ เท่านั้น

หากแต่คนเก่งคือคนที่สามารถสื่อสารเรื่องยากๆ ให้เข้าถึงความรู้นั้นได้ง่ายต่างหาก Theory to Practice (ส่วนตัวอาจจะเข้าผิดก็ได้เพราะสังคมทั่วไปคนเก่งคือ คนที่พูดให้คนอื่นงงงวยได้)

จากบทเรียนที่ถอดออกมาไม่มีวันจบแต่ก็เกิดแรงบันดาลใจส่วนตัว ท้าทายตัวเองปรับกระบวนการเรียนรู้ R2R ใหม่ หลังจากทดลองใช้มาระยะหนึ่ง จะมาจัดกระบวนการให้ดูชัดเจนยิ่งขึ้นและทำลองใช้ที่เครือข่าย R2Rยโสธรเป็นที่แรก

กรอบการเรียนรู้ที่จินตนาการคร่าวๆ ผ่านเทคนิคการสอนแบบ Interactive Lecture และ Trnsformative Learning ที่ไม่จำเป็นต้องปูเสื่อกอดหมอนนั่งนอนเรียนเสมอไป เพียงแค่นั่งแบบ Class room ก็สามารถเกิด Transfer Knowledge และ Interactive Learning ได้ ประเมินจากผู้เรียนมีสภาวะตื่นรู้และเบิกบานในขณะที่เรียน และเกิดอาการปิ๊งแว้ปต่อยอดความรู้นั้นได้

วางแผนคร่าวๆ แบ่งออกเป็น 5 EP ที่ไม่ต้องเรียนตามลำดับขั้น ใครสนใจหรือประเมินว่าตัวเองอยากเพิ่มเติม Skill เรื่องอะไรก็มาร่วมเรียนรู้ได้เลย

EP1:

หยิบจับงานประจำให้เป็น R2R 

  • ค้นหาคำถามการวิจัยจากประเด็นพัฒนางานที่ทำประจำ
  • งานประจำที่ทำนำมาเป็นศึกษาวิจัยได้อย่างไร
  • วิจัยไปแล้ว ทำให้งานประจำนั้นมีคุณค่าและมีความหมายอย่างไร
  • ...

EP2:

จากคำถามนำมาสู่การออกแบบการวิจัยที่เหมาะสม 

Research Design

  • จุดอ่อนคนทำงานคือ ความเชี่ยวชาญทางวิจัยแต่เราก็สามารถทำได้

EP3:

สกัดงาน R2R ผ่านเครื่องมือวิจัยให้น่าเชื่อถือด้วยการวิเคราะห์สถิติที่เหมาะสม

  • การเก็บข้อมูลที่มีอยู่จากการพัฒนางานเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นเพราะเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนางานของเรา
  • การวิเคราะห์ข้อมูลนำไปสู่การขยายผลในเชิง Policy และการเผยแพร่ไปสู่การใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง

EP4:

การเขียนบทคัดย่อและ Manuscript ให้ง่ายได้อย่างไรในสภาวะการณ์งานประจำยุ่งเหยิง

  • ยาขมของคนทำงานประจำคือ เรื่องการเขียน แต่มีเทคนิคอย่างไรที่จะทำให้เขียนเรื่องที่ยากนั้นง่ายขึ้น

EP5:

เทคนิคการนำเสนอผลงานในห้วงเวลาอันจำกัด

  • พัฒนางานมาเป็นปีแต่มีเวลามาบอกเล่าเพียง 5-10 นาที แล้วเราจะเล่าอย่างไรให้น่าสนใจ

ได้ผลหรือไม่ได้ผลอย่างไรก็ต้องลองดู

ก้าวที่กล้าอีกครั้งของการเรียนรู้

#Noteความคิด

31-08-61


หมายเลขบันทึก: 651191เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2018 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2018 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท