ความเชื่อเรื่อง พุทธอุบัติภูมิ (๒)


การศึกษาสืบค้นข้อมูลทุติยภูมิตามบันทึกที่ (๑) ทำให้เชื่อได้ชัดเจนว่า พระพุทธอุบัติภูมิไม่ใช่อินเดีย เพราะให้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ไม่สอดคล้องกับพระไตรปิฎกเลย บันทึกนี้จะเสนอข้อมูลที่ทางทีมวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรมวงศ์ ให้ผู้อ่านลงพิจารณาเองว่า พระพุทธอุบัติภูมิอยู่ที่สุวรรณภูมิจริงหรือไม่ 

พระพุทธอุบัติภูมิอยู่ที่สุวรรณภูมิ

แรงบันดาลใจแห่งความสงสัย

จากการสืบค้นศึกษาพบว่า สิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนที่หันมาสนใจโดยเฉพาะนักวิจัยทีมนี้คือ หนังสือ “พระเจ้า 500 ชาติ อ้อยต้นจืดปลายหวาน กินนานอร่อย” ที่พระธรรมเจดีย์ (ปาน) ท่านเขียนขึ้นถวายรัชกาลที่ ๕ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่พระปิยมหาราช ครองราชย์ได้ ๒๙ ปี (อ่านด้วยตนเองได้ที่นี่ หรือฟังเสียงอ่านได้ที่นี่) ผลการวิจัยหลายประเด็นเป็นการพิสูจน์ทราบว่าข้อมูลจากหนังสือเล่มนี้เป็นจริง ดังนั้นจึงขอนำเอาสาระในหนังสือเล่มนั้นมาตีแผ่ให้ท่านทราบเป็นเบื้องต้นก่อน ก่อนจะย้อนไปดูสมมติฐานและผลของงานวิจัยเรื่อง "พระพุทธอุบัติภูมิอยู่ที่ประเทศไทย--ไม่ใช่อินเดียเนปาล" ของศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรมวงศ์ และทีม ...ผมจับประเด็นที่เห็นว่าน่าสนใจจากหนังสือ "อ้อยต้นจืดปลายหวาน กินนานอร่อย" ได้ดังนี้ 


ภาพพระธรรมเจดีย์ (ปาน) วัดมหรรณพฯ ที่มา https://sangkhatikan.com/monk_view.php?ID=14899

  • พระธรรมเจดีย์ (ปาน) (๒๓๗๑-๒๔๔๗) เขียนผลงานนี้ในประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (ร.๕ ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๑๑) ขณะที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดมหรรณพาราวรวิหาร ก่อนจะรับเลื่อนพระสมณศักดิ์เป็นพระอุบาฬีคุณูปมาจารย์ (ป.ธ.๗) ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (มหานิกาย)... มีประวัติท่านเขียนไว้น้อยมากที่นี่
  • ส่วนที่กล่าวถึงพระพุทธอุบัติภูมิของหนังสือ “พระเจ้า 500 ชาติ อ้อยต้นจืดปลายหวาน กินนานอร่อย” ไม่ได้เขียนเป็นภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย (อย่างน้อยที่สุดสำหรับผม) ท่านแต่งเป็นฉันท์ ๒๘ (ศึกษาวิธีการอ่านได้ที่นี่
  • ปฐมเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ท่านต้องเขียนหนังสือนี้  น่าจะเป็นความเป็นห่วงใยว่าคนไทยจะทิ้งองค์ความรู้ภูมิปัญญาเกี่ยวกับพุทธประวัติที่ประชาชนคนไทย ลาว มอญ พม่า เขมร สืบต่อกันมา ไปศรัทธาเชื่อถือว่า พุทธศาสนามาจากแขกอินเดีย ตามแขกชาวกาสี ๘ คน ที่นำมาเผยแพร่ในขณะนั้น ..... องค์ความรู้และความภาคภูมิใจที่ท่านห่วง ล่วงหล่นหายไปจริงๆ ตั้งแต่เกิดมาผมไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องนี้เลยจนกระทั่งตนเกือบจะ ๔๐ ปี 
  • พระธรรมเจดีย์ เริ่มย่อหน้าแรกของหนังสือ บอกว่า ท่านปรารถนาพุทธภูมิ (บำเพ็ญจะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต) เป็นพระพุทธภูมิสายความเพียร (วิริยาธิกะพุทธเจ้า) ต้องบำเพ็ญอย่างน้อย ๑๖ อสงไขย 
  • สาระในหนังสือเล่มนี้ (บางส่วน) บอกว่า 
    • แดนสุวรรณภูมิขณะนั้นผู้คนที่อยู่คือ คนมัคราชซึ่งต่อมาเป็นคนม่าล(ม่าน คือ ชาวพม่า) ชาวรามัญซึ่งต่อมาเป็นคนมอญ ชาวสยาม ลาว และเขมร 
    • สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าตั้งอยู่เมือง "โกสินนาราย" (ฝรั่งบอกว่าบอกว่า กุสินารา) เมืองนี้ต่อมาหายกลายเป็นดงป่า  เรียกว่า เมืองมงคล -> เมืองตูม ->เมืองพันทูม -> ....  ปัจจุบันโกสินนารายกลายมาอยู่พื้นที่ อ.ท่ามะกา จ.กาญจณบุรี  ณ วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร วัดนี้ในหลวง ร. ๕ ร.๖ ล้วนเสด็จ ร.๙ เสด็จ ๒ ครั้ง และทรงสร้างพระประธานประดิษฐานไว้นานยิ่งแล้ว (เชิญศึกษาเองที่นี่
    • นครอุชเชนีเป็นเมืองของคนมอญพม่า(ม่าล) -> กลายมาเป็นอุไทยธานี 
    • พระเกษธาตุ นำไปที่เมืองมอญ 
    • พระอุรังคะธาตุ (กระดูกหน้าอก) อยู่ที่พระธาตุพนม จ.นครพนมในปัจจุบัน 
    • พระทนต์ธาตุ (กระดูกฟัน) อยู่ที่ปฐมเจดีย์ จ.นครปฐมในปัจจุบัน
    • สถานที่ประสูติ คือป่าลุมพินีวัน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน ปัจจุบันอยู่ที่พระธาตุศรีสองรัก อ.ด่านซ้าย จ.เลย 
    • พระธาตุศรีสองรัก เป็นสถานที่แห่งไมตรีสัญญาระหว่างสองกษัตราคือ พระเจ้าจักรพรรดิของไทยและพระไชยเชษฐาธิราชของลาว (อ่านเองที่นี่)
    • พระพุทธบาท ๔ แห่ง อยู่ในแดนสุวรรณภูมิ ได้แก่ พระแท่นศิลาอาสน์ พระธาตุลำพูนชา พระธาตุลำปาง และพระธาตุหลวง (เวียงจันทร์)
    • พระธาตุเคี้ยวแก้วอยู่ที่เมืองกาลึงค์ -> เมืองกาลึง->เมืองการุ้ง ...(มีเมืองโบราณชื่อการุ้ง อยู่ที่ ต.วังหิน อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี (อ่านเองที่นี่))
    • พระธาตุพระบาทนั้น (กระดูกเท้า) มีเป็นพันเจดีย์ นับไม่ถ้วน 
    • กษัตริย์ของชาวพุทธจะทำพิธีแรกนาขวัญ คือประเพณีที่ทำมาตั้งแต่ตอนพุทธกาล มีเพียงประเทศแถบสวุรรณภูมิเท่านั้นที่ทำ ... สอดคล้องกับพระไตรปิฎก
    • เจดีย์ต่างๆ เหล่านี้ที่กล่าวมา ท่านว่า ๕,๐๐๐ ปีจึงจะถูกทำลาย
    • เมืองสาเกต คือ จ.ร้อยเอ็ดในปัจจุบัน
    • บ้านพระสารีบุตร อยู่ที่แม่น้ำโพในปัจจุบัน ชื่อกัมโพชพรราชธานี 
    • บ้านพระโมคคัลาน์ อยู่ที่แม่น้ำพิงในปัจจุบัน ชื่อสวรรค์โลกบุรี
    • ตักสิลา คือ จ.ตาก ในปัจจุบัน 
    • กรุงกบิลพัศดุ์ คือ เมืองพิชัย (อาจจะเป็น อ.พิชัย จ.อุทัยธานี)
    • รัชกาลที่ ๔ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเชื่อว่า พระพุทธศาสนาเกิดที่นี่ ประเทศสยาม ....  แสดงว่า คนไทยเปลี่ยนความเชื่อตามฝรั่งภายหลัง
    • กรุงราชคฤห์ มีภูเขา ๕ ลูกล้อมรอบ ได้แก่ เขาเวภาระบรรพต วิบูลบรรพต เขาคิชฌกูฎ เขาอิสิคิลิต และเขาบัณฑวะบรรพต  เขาเวภาระบรรพตก็คือเขารังรุ้ง (น่าจะเป็นพื้นที่วัดพระพุทธบาท ๔ รอย ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่)
    • เมืองสาวัตถีอยู่ริมแม่น้ำอจีรวดี
    • แม่น้ำปาวาย กลายมาเป็นแม่น้ำปาว
    • แม่น้ำปาวายมีหลายที่ แม่น้ำปาวายน้อยอยู่ลพบุรี แม่น้ำปาวายหลวงอยู่ร้อยเอ็ด 
    • ตอนที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระกัสสปะมาจากปาวายหลวง เดินตัดเมืองลาวไปยังเมืองมอญ ตอนนั้นก็คือโกสินาราย เมื่อถวายพระเพลิงเสร็จ ได้พระอุรังค์ธาตุเอาไปไว้ที่พระธาตุพนม
    • ที่ตำแหน่งพระธาตุพนม เคยเป็นที่ฝังของพระพุทธเจ้าถึง ๓ พระองค์ คือ พระกุกกุสันโธ พระโคนาคม และพระกัสสปะ 
    • เมื่อปรินิพพานไป ๑ ปี มีการสร้างประตูที่เมืองสาเกษ ๑๐๑ ประตู สำหรับให้กษัตริย์จาก ๑๐๑ เมือง (ประตูใครประตูมัน) เมื่อจะมาเข้าเฝ้าต้องผ่านประตูเหล่านี้ เมืองสาเกตจึงมีชื่อว่า เมืองร้อยเอ็ดทวาร โดยมีการสร้างตำหนักไว้ที่ปาวายรอเข้าเฝ้า 
    • ส่วนโคกพระยาร้อยเอ็ด เป็นชื่อเรียกเมืองลพบุรี 
    • ระยะทางจากเมืองสาเกต (ร้อยเอ็ด) ถึงสาวัตถี คิดเป็น ๘๐๐ โยชน์ 
    • เมืองสาเกตนคร เป็นศูนย์กลางของความรุ่งเรืองในขณะนั้น (๑ ปีหลังปรินิพพาน)
    • แม่น้ำอจิรวดี ถูกเรียกเป็นชือต่างๆ ต่อมา เช่น ฝรั่งเรียกอิราวดี พม่าเรียกแม่น้ำมะระแหม่ง แม่น้ำสาลวิน ฯลฯ
    • แม่น้ำคงที่เมืองมอญ น่าจะเป็นแม่นำเนรัญชรา
    • แม่น้ำอโนมา กว้างประมาณ ๔๐ เส้นกว่า 
    • พระเจ้าวิฑูฑะภะ ที่(หลังจากแก้แค้นตระกูลศากยะแล้ว)ไปนอนหาดทราย (แล้วน้ำบ่ามาท่วมฉิบหาย) ก็ที่แม่นำอิศรวดีนี้  ไม่ใช่เมืองที่อินเดียอ้างซ้อนขึ้นมา 
    • พระโพธิสัตว์ ๑๐ ชาติสุดท้าย มีดังนี้ 
      • พระเตมีใบ้ เป็นคนรามัญเมืองมอญ (พม่า)
      • พระเนมีย์ราช และ พระเวชสันดร เป็นคนลาวพุงขาว (ลาวเหนือ ภาคเหนือของเราตอนนี้)
      • พระภูริฑัต และพระทนทนะเวศ เป็นคนพม่า
      • พระนารอทดาบส เป็นพรมโลไกย
      • พระมโหสถ และ พระสุวรรณสาม เป็นเชื่อชาติไทย
      • พระจันทรกุมาร และ พระวิฑูทะภะ เป็นชาติเขมร
    • ชาวสยามมีพระราชาจากพระเวชสันดรมาจนถึงพระเจ้าสุโทธนะ จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์  ในขณะที่ชาวลาวพุงขาว (ลาวพวน) มีพระราชา ๑๖๐,๐๐๐ องค์
    • ในระหว่างนี้รบตีกันไปมา เจือเชื้อสายกันไปมา 
    • พราห์มเมืองหิริภุชชัย สร้างเมืองใหม่ชื่อ อโศกไทย กลายมาเป็นสุโขทัย เป็นชาวสยาม
    • ก่อนจะมาถึง ๑๐ ชาติสุดท้าย พระโพธิสัตว์ เคยเป็น (รวมแล้วน่าจะ ๕๐๐ ชาติ) ดังนี้
      • ฤาษี ๙๖ ชาติ
      • เป็นพระอินทรา ๒๐ ชาติ
      • เป็นพระพรหม ๓ ชาติ
      • เป็นรุกขเทวดา ๓๒ ชาติ
      • เป็นอากาศเทวดา ๗ ชาติ
      • เป็นสมุท (เทวดา) ๓ ชาติ
      • เป็นกษัตริย์ ๖๘ ชาติ
      • เป็นปุโรหิต ๑๒ ชาติ
      • เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ๑๘ ชาติ
      • เป็นพราห์ม ๘ ชาติ
      • เป็นเศรษฐี ๒๑ ชาติ
      • เป็นพ่อค้า ๑๖ ชาติ
      • เป็นขมังธนู (นายพราน) ๓ ชาติ
      • เป็นช่างทอง ๘ ชาติ 
      • เป็นกุมารผู้ฉลาด เป็นลูกขุน ๘ ชาติ
      • เป็นหมอช้าง ๒ ชาติ
      • เป็นพระยาลิง ๑๐ ชาติ
      • เป็นพระยาเนื้อ ๑๓ ชาติ
      • เป็นราชสีห์ ๑๐ ชาติ
      • เป็นสุนัข ๑ ชาติ 
      • เป็นโคอุศุภราช (วัว) ๕ ชาติ
      • เป็นกระบือ ๑ ชาติ 
      • เป็นม้า ๔ ชาติ
      • เป็นช้างดำ ๓ ชาติ
      • เป็นกระต่าง ๑ ชาติ 
      • เป็นจิ้งจอก ๒ ชาติ
      • เป็นเหี้ย ๔ ชาติ
      • เป็นพระยากา ๒ ชาติ
      • เป็นพระยาแร้ง ๔ ชาติ
      • เป็นนกยางขาว ๔ ชาติ
      • เป็นไก่เถื่อน (ไก่ป่า) ๒ ชาติ
      • เป็นนกกระจาบ ๑ ชาติ
      • เป็นนกกลิ้งโครงเศียร (น่าจะหมายถึงนกหัวขวาน) ๑ ชาติ
      • เป็นนกดุเหว่า ๒ ชาติ
      • เป็นนกคุ้ม ๓ ชาติ
      • เป็นนกกะทา ๒ ชาติ
      • เป็นนกแขกเต้า หรือนกสาลิกา ๙ ชาติ
      • เป็นพระยาหงส์ ๑๐ ชาติ
      • เป็นกบ ๑ ชาติ
      • เป็นปูทอง ๒ ชาติ
      • เป็นเต่าทองใหญ่ ๒ ชาติ
      • เป็นมังกรเหลา ๒ ชาติ
      • เป็นนกยูง ๓ ชาติ 
      • เป็นนกกาน้ำ ๑ ชาติ
      • เป็นพระยางู ๓ ชาติ
      • เป็นพระยาหนูท้องขาว ๒ ชาติ
      • เป็นปลาหมึก (สัตว์ ๑๐ ขา) ถึง ๓ ชาติ
      • เป็นพระยาครุฑ ๒ ชาติ
      • เป็นจระเข้ ๑๖ ชาติ
      • เป็นช่างหม้อ ๔ ชาติ
      • เป็นปราชญ์ยากจน ๘ ชาติ
      • เป็นกฎุมพี (กรรมกร) ๕ ชาติ
      • เป็นคนเข็ญใจ ๑๔ ชาติ
      • เป็นลูกศิษย์ ๔ ชาติ
      • เป็นคนจันฑาล ๔ ชาติ
    • พระยามิลินท์ เป็นคนเชื้อลาวพุงดำ 
    • พระนาคเสน เป็นลูกพราห์ม อาศัยอยู่ในสยาม
    • เมื่อพระพุทธศาสนาล่วมาแล้ว ๑,๒๐๐ ปีเศษ ศาสนาพุทธค่อยขยายไปยังชาวสิงหฬ ชาวฮินดู และไปยังชาวมะลายูโดยพระมาลัย 
    • ระยะทางต่างๆ ระหว่างเมืองในสมัยพุทธกาล เป็นดังนี้  
      • ราชคฤห์ ถึง สาวัตถี ๑๕ โยชน์
      • ตักศิลา ถึง ราชคฤห์ ๙๐ โยชน์
      • ราชคฤห์ ถึง เวฬุวัน ๓๐๐ เส้น (๑ โยชน์ เท่ากับ ๔๐๐ เส้น  ๑ เส้นเท่ากับ ๔๐ เมตร)
      • สาวัต ถึง โกสัมพี ๓ โยชน์
      • เสนานิคม ถึง อิสิปัตน์ (พาราณสี) ๑๘ โยชน์
      • ราชคฤห์ ห่างจาก แม่น้ำคงคา ๕ โยชน์
      • แม่น้ำคงคา ถึง เวสาลี ๓ โยชน์
      • ตักสิลา ถึง เขตเวียงพาราณาสี ๑๐ โยชน์
      • ราชคฤห์ ถึง มหาโพธิ์ (น่าจะเป็นที่ตรัสรู) ๖๐๐ โยชน์
      • มหาโพธิ์ ถึง ปาตลีบุตร ๗ โยชน์
      • ราชคฤห์ ถึง โกสินารา ๑๒๕ โยชน์
      • เชตุดร (น่าจะวัดเชตุพล) ถึง เทพลังการ ๓๐ โยชน์
      • พาราณาสี ถึง มหาโพธิ์ ๓๐๐ โยชน์
      • ราชคฤห์อยู่ริมน้ำเนรัญชรา
      • อุลุเวลาเสนานิคม อยู่ใกล้ เนรัญชรา 
      • แม่น้ำอู่ตงค์ มีน้ำใส ปากอ่าวจะมีลูกคลื่นใหญ่มาก คลื่นลูกเดียวสร้างความเสียหายได้ 
    • แรงจูงใจที่แขกอินเดียต้องการสร้างแผนที่ (ประวัติพุทธใหม่) เพื่อเอามาขายเอาเงิน 
    • แต่เดิมนั้น (ท่านพระธรรมเจดีย์บอกว่า) ในแผนที่อินเดียไม่มีชื่อเนรัญชรา แต่ต่อมาพิมพ์ออกมากลับมี  (ก่อนหน้านั้นแขกชาวกาสี ๘ คน เอาพระไตรปิฎกกลับไปศึกษา พอกลับมาแผนที่เปลี่ยน)
    • แขกพิมพ์บอกว่าเกี่ยวกับการค้นพบต่างๆ ที่อินเดีย และบอกว่าพบสถานที่ตรัสรูที่พุทธคยา แล้วเอาแผนที่มาแสดง เรี่ยไรเงินคนที่หลงชื่อ ทั้งโยมทั้งพระ พระก็ร่วมถวายผ้าไตร แต่แทนที่แขกจะเอาเงินเอาของไปที่อินเดีย กลับเอากลับไปขายเวียนวนให้กับจีนฮ่องกง คนที่รวยก็คือแขกกับจีนฮ่องกง  คนไทยหลงเชื่อ  
    • ต่อมา นักปราชญ์ไทยฝ่ายเหนือ เชื่อชาติลาวพุงดำ ดูถูก (เหยียดเชื้อชาติ)ลาว จึงเกิดการปรับแปลงภาษาบาลี (ซึ่งเป็นภาษาไทยลาวเดิมของชาวมคธ) นำภาษาสันสกฤตมาใช้ 
    • ปี พ.ศ. ๒๑๙ ที่ลังกา พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก มีพระอรหันต์เถระ และพระอรันต์เถรี จะนวนมาก มีพระอรหันต์ชาวสิงหฬเกิดขึ้นจำนวนมาก ศาสนาพุทธขยายไปที่อินเดีย 
    • ต่อมา มะหะหมัดมา (น่าจะเกี่ยวกับแขกอิสลาม) เข้ามาในอินเดีย เริ่มมีการทำลายวัดวาอาราม รุกมาถึงพม่า มอญ 
    • ปราชญ์ไทยในขณะนั้น ไม่เชื่อ (ท่านพระธรรมเจดีย์ว่า ไม่อ่าน ไม่ดู) พงศาวดาร หนังสือโบราณลาวไทย  แต่เชื่อตามคำฝรั่งตะวันตกอย่างเดียว  
    • พ.ศ.๒๑๙ พระมหินท์เถราจารย์ ได้เผยแผ่พระศาสนาออกไปทั่วทุกทิศ เกิดพระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไปทั่วทุกแดน ไกลไปถึงเกาะลังกา
  • มัชฌิมะประเทศ คือ สยาม ลาว มอญ พม่า กัมพูชา
ระเบียบวิธีวิจัย

ทีมวิจัยที่นำโดย ศ.ดร.ชัยยงค์ พรมวงศ์ ประกอบด้วยกลุ่มคน ๔ คณะ ได้แก่ 
  • คณะของ ศ.ดร.ชัยยงค์ พรมวงศ์ และ รศ.ดร.นิคม ทางแดง จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช
  • คณะของ อ.แสงจันทร์ และ อ.โสภณ วงศเทวัน นักปฏิบัติธรรมสายหลวงปู่ทวด 
  • คณะของ อ.เอกอิสโร วรุณศรี และคณาจารย์จากสถาบันพระจอมเกล้า ลาดกระบัง
  • คณะของ อ.อาตม ศิโรศิริ นักวิชาการอิสระ 
ท่านกำหนดวัตถุประสงค์แบบ "ตั้งธง" ไว้ ๓ ประเด็นคือ ๑) พิสูจน์ว่าชมพูทวีปคือดินแดนสุวรรณภูมิ หรือ พิสูจน์ว่า พระพุทธอุบัติภูมิอยู่ในสวรรณภูมินั่นอง ๒) ศึกษาร่องรอยพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา การเผยแผ่ และการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และ ๓) เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับสังเวชนียสถานทั้ง ๔ 
วิธีวิจัยของทีมทั้งหมด มี ๓ ขั้นตอน ได้แก่  ๑) ศึกษาวิจัยจากเอกสารข้อมูล จากพระไตรปิฎก อรรกถาจารย์ เอกสารโบราณทางพระพุทธศาสนา ศิลาจารึก พงศาวดาร และตำนาน รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้มีอายุสูงกว่า ๙ ๐ ปี ๒) การศึกษาภาคสนาม เดินทางไปศึกษาตามสถานที่ต่างๆ ทั้งหมด รวมถึงการเดินทางไปที่อินเดียและเนปาล ๓) วิเคราะห์ข้อมูลจากทั้งสองขั้นตอน แล้วสรุปผลตอบวัตถุประสงค์
ผมตีความว่า สิ่งสำคัญที่ขาดไปของทีมวิจัยนี้คือ การขุดค้นภาคสนามทางโบราณคดี  คงจะเป็นเพราะหน่วยงานของรัฐไม่ให้ความสำคัญ ไม่ให้ความร่วมมือ .... ช่างแตกต่างจากประเทศเนปาล ที่รัฐบาลเขาทำทุกอย่างเพื่อให้โลกยอมรับ 
และยิ่งตอนที่ท่านพูดบ่อยๆ ว่า ท่านไม่สัมผัสรังสีหรือรัศมีหรือบารมีใดๆ เมื่อท่านไปที่อินเดียและเนปาล แทนที่จะเป็นผลดี สำหรับคนทั่วไปที่ไร้ศรัทธาต่อพลังสมาธิ ย่อมมองว่า เหนือธรรมชาติ ทึกทัก จึงถอยห่างจากความเชื่อของหลักฐานอื่นๆ ไป 
อย่างไรก็ดี หากผู้อ่านผู้ฟังมีวิจารณญาณแบบกลางๆ  ประเด็นที่ท่านว่ามาก็น่าเชื่อถืออย่งยิ่ง ดังนี้ 

ผลการวิจัย "พระพุทธอุบัติภูมิเกิดในประเทศไทย"

๑) สภาพภูมิศาสตร์ที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกสอดคล้องกับดินแดนสุวรรณภูมิ เช่น 
  • พระพุทธอุบัติภูมิ มี ๓ ฤดู ทราบจากที่พระเจ้าสุโทธนะสร้างปราสาทสามฤดูให้เจ้าชายสิทธัตถะ ตรงกับ ๓ ฤดูในสุวรรณภูมิ แต่ไม่ตรงกับกรุงบิลพัสดุ์ในเนปาลที่เป็น ๔ ฤดู (อยู่ในเส้นแวงหรือเส้นขนานที่ ๒๔ จัดอยู่ใน Tropical Cancer)
  • ความยาวของฤดูเข้าพรรษา ๓ เดือน ตรงกับปฏิทินจันทรคติของสยาม ตรงกับที่บัญญัติไว้ในพระไตรปิฎก คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ (กลางเดือนกรกฎาคม) จนถึง ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ (กลางเดือนพฤศจิกายน)
  • ระยะทางระหว่างเมือง และทิศทางระหว่างเมือง สอดคล้องกับที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกมากกว่า เช่น 
    • สาวัตถี (สมมติฐานว่า เป็น บ.สาวะถี จ.ขอนแก่น) ถึง โกสัมพี (อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม) ๕๑ กิโลเมตร หรือ ๓.๒ โยชน์ ใกล้เคียงกับพระไตรปิฎกที่บอกไว้ว่า ๓ โยชน์
    • ตักสิลา (อ.บ้านตาก จ.ตาก) ถึง พาราณสี ๑๒๐ กิโลเมตร หรือ ๗ โยชน์ ใกล้เคียงกับที่บอกไว้ว่า ๑๐ โยชน์  .... ในที่นี้ทีมวิจัยของ ศ.ดร.ชัยยง เสนอว่า พาราณสีน่าจะอยู่แถว อ.กลางดง จ.นครราชสีมา แต่จากการเทียบเคียงกับพระไตรปิฎก ผมพบว่า น่าจะอยู่ที่อุตรดิตถ์ ที่พระแท่นศิลาอาสน์มากกว่า
    • เมืองสาวัตถี ถึง สาเกตนคร (จ.ร้อยเอ็ด) ๑๑๗ กิโลเมตร หรือ ๗ โยชน์เศษ ตรงกับที่บอกไว้ในพระไตรปิฎก
    • เมืองสาเกต ถึง โกสัมพี ๖๖ กิโลเมตรหรือ ๔ โยชน์ พอรับได้เมื่อเทียบกับ ๖ โยชน์ที่กำหนดไว้ในพระไตรปิฎก
  • อย่างไรก็ดี ก็มีไม่ตรงบ้างเช่นกัน (หลายอัน) โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับที่กล่าวไว้ในหนังสือ "อ้อยต้นจืดปลายหวานฯ " เช่น  พาราณสีไปมหาโพธิ์ ๓๐๐ โยชน์ ราชคฤห์ไปมหาโพธิ์ ๖๐๐ โยชน์ ฯลฯ ซึ่งเป็นระยะทางที่ไกลมาก เกินกว่าจะเป็นทวีปเ(เดินท้าว)


๒) ขนบธรรมเนียมประเพณี 

ข้อนี้ถือเป็นจุดเด่นอีกประการหนึ่ง แต่ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับตำแหน่งของพระพุทธอุบัติภูมิ ทั้งหมดของหลักฐานที่มีถือเป็นวัฒนธรรมติดตน ติดคน ติดสังคม  หากคนย้ายถิ่นไปก็อาจติดตามไปด้วยได้  มุมมองนี้สนับสนุนคำบอกเล่าของพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่บอกว่าคนไทยถูกขับไล่ ย้ายถิ่นฐานมาจากแคว้นมคธ  

ประเพณีที่ทีมวิจัยยกมาได้แก่ พิธีแรกนาขวัญ ประเพณีแต่งงาน การเผาศพเก็บกระดูก การถือวรรณะที่ค่อนข้างแตกต่างไปจากในอินเดีย ซึ่งทั้งหมดนี้สอดคล้องอย่างดีกับวิถีคนในแดนสุวรรณภูมินี้ ในขณะที่ในอินเดียหามีไม่ ... ซึ่งคนที่เชื่อทางอินเดียก็อาจบอกได้ว่า ก็เพราะถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันหมดไง ... ก็ว่ากันไป 

๓) วิถีชีวิตหลังสมัยพุทธกาล 

ประเด็นนี้ก็เช่นกัน สิ่งที่ยกมานั้นแม้จะสอดคล้องอย่างดีกับประเพณีของคนสุวรรณภูมิ ซึ่งได้แก่ 
  • ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (จิตใจดี) ของผู้คน
  • พระสงฆ์ในพระพุทธกาลฉันข้าวเป็นคำๆ จะเห็นได้จากคำสอนเกี่ยวกับพระวินัยในการขบฉัน  (ศ.ดร.ชัยยงค์ ตีความว่าเป็นข้าวเหนียว) เหมือนคนไทยลาวพม่าในเวลานี้

ยกเว้นประเด็นหนึ่ง คือ พืชพันธุ์ไม้ในพระไตรปิฎกกว่า ๒๖๔ ชนิด ล้วนพบเห็นได้ในเมืองไทยทั้งนั้น  ข้อนี้น่าจะมีน้ำหนักพิสูจน์เสริมนิดหนึ่งได้ว่า พระพุทธอุบัติภูมิอยู่ที่นี่

๔) วิถีชีวิตหลังสมัยพุทธกาล 
ประเด็นนี้ก็เช่นกัน สิ่งที่ยกมานั้นแม้จะสอดคล้องอย่างดีกับประเพณีของคนสุวรรณภูมิ ซึ่งได้แก่ 
  • ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (จิตใจดี) ของผู้คน
  • พระสงฆ์ในพระพุทธกาลฉันข้าวเป็นคำๆ จะเห็นได้จากคำสอนเกี่ยวกับพระวินัยในการขบฉัน  (ศ.ดร.ชัยยงค์ ตีความว่าเป็นข้าวเหนียว) เหมือนคนไทยลาวพม่าในเวลานี้
ยกเว้นประเด็นหนึ่ง คือ พืชพันธุ์ไม้ในพระไตรปิฎกกว่า ๒๖๔ ชนิด ล้วนพบเห็นได้ในเมืองไทยทั้งนั้น  ข้อนี้น่าจะมีน้ำหนักพิสูจน์เสริมนิดหนึ่งได้ว่า พระพุทธอุบัติภูมิอยู่ที่นี่

๕) โบราณสถานและโบราณวัตถุ
  • มีหลักฐานในจารึกวัดศรีชุม ยืนยันว่า ปาตาลีบุตร อยู่ห่างจากศรีสัชนาลัย ๒๓ คืน และยืนยันว่า เมืองปาตลีบุตรและแม่น้ำอโนมานทีที่เจ้าชายสิทธัตถะปรงเกศาอยู่ห่างจากสุโขทัยเพียง ๒-๓ คืนเท่านั้น ...  (นัยว่า ท่านต้องการยืนยันว่า เมืองปาตลีบุตร อยู่ในสุวรรณภูมิ ไม่ได้อยู่ที่อินเดีย)
  • ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายแห่ง เอ่ยถึงคำสำคัญว่า ชมพูทวีป กุรุราฐ ฯลฯ และในนิทานใบลานธรมก็กล่าวถึง "ซมพูทวีป" เป็นจำนวนมาก 
  • ในศิลาจารึกหลักที่ ๘  บอกว่า พระเจ้าลิไทพาบริวารไปนมัสการพระบาทลักษณ์ บนยอดเขาสมนกูฎ ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นเขาสมอแคลงในจังหวัดพิษณุโลก
  • ในดินแดนสุวรรณภูมิมีวัดอยู่หลายหมื่นแห่ง บางแห่งมีอายุกว่า ๒,๐๐๐ ปี โดยเฉพาะหลักฐานและเรื่องราวต่างๆ จากแผ่นกระเบื้องจาร จากหนังสือ พระพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ ที่เขียนโดย พระราชกวี (อ่ำ ธรรมทัตโต ป.ธ.๖) ที่บอกว่า วัดเก่าแก่ที่สุดสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 24  อ่านได้ที่นี่ 
๖) พุทธศิลปะและพุทธสถาปัตยกรรม 
  • ท่านบอกว่าโบสถ์ เจดีย์ พุทธสถาน ทั้งรูปร่างและลักษณะเฉพาะ เช่น ช่อฟ้า ใบระกา ฯลฯ ล้วนแล้วแต่วิจิตรบรรจง และคงความเป็นพุทธศิลปะไว้ได้ ... ผมคิดว่าเรื่องนี้ก็อาจเป็นสิ่งติดตน ติดคน  และสืบทอดได้ โดยไม่ผูกพระพุทธอุบัติภูมิ
๗) ภาษามคธหรือภาษาบาลี
  • ภาษามคธ เป็นภาษาที่ใช้บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงเรียกว่า "ภาษาบาลี" ในใบลานที่พบในอีสานและภาคเหนือ ล้วนเป็น "ภาษาธรรม" คือ เป็นพระคัมภร์ทางพระพุทธศาสนา 
  • คนที่บอกว่า อักษรไทยมาจากอินเดียคือหมอบลัดเลย์ (ผู้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกในสยาม)  ซึ่งเขียนไว้ในปี พ.ศ. ๒๔๑๓
  • ศ.ดร. ชัยยงค์ บอกว่า ในสมัยพุทธกาล มีการใช้ภาษาเขียนบันทึกพระธรรมคำสอนแล้ว ไม่ใช่เพียงจุดจำ "มุขปาฐะ" และเพิ่งจะมีเหมือนที่สอนกันว่าเพิ่งจะมีหลังการสังคยาครั้งที่ ๔ ที่ลังกา  อย่างที่เข้าใจ  โดยอ้างหลักฐานคือ คำสอนตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเรียก "พระใบลานเปล่า" และ ทรงสอนไม่ให้เชื่อเพราะเป็นตำรา ในกาลามสูตร ๑๐ 
  • อักษรขอม  ประดิษฐ์ขึ้นโดยขุนขอมไทย ๑๕ ปีหลังจากขุนสือไทยคิดลายสือไทยใน "ปีอิน ๑๒๓๕" (๖,๗๗๖ ปีมาแล้ว) ...  ท่านน่าจะอ้างมาจาก ข้อมูลจากจารึกกระเบื้องจาร ในหนังสือพระพุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ 
  • ชื่อเมือง แม่น้ำ ป่ คน ฯลฯ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ส่วนมากใช้ภาษาบาลี เช่น กุกกนที (แม่น้ำกก) ธนนที (แม่น้ำโขง) ธนมูลนที (แม่น้ำมูล) ชีวายนที (แม่น้ำชี) ฯลฯ จึงมั่นใจว่า ภาษามคธหรือภาษาบาลี เป็นภาษาดั่งเดิมที่คนไทยลาวใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ 
  • ในปี ค.ศ.1687 (พ.ศ. ๒๒๓๐) O. van Hiniber เขียนไว้ในหนังสือชื่อ Seleced Papers on Pali Studies ว่า ชาวตะวันตกรู้จักภาษาบาลีครั้งแรกในประเทศสยาม โดย  M. Siman de la Loubere เอกอัครราชฑูตของพระเจ้าหลุยที่ 14 ซึ่งถูกส่งมาประจำประเทศไทย  และในช่วงเวลาแห่งการล่าอาณานิคมของชาวตะวันตกไปในอินเดียศรีลังกา ไม่พบว่ามีการใช้ภาษาบาลี มีกล่าวถึงก็เพียงภาษาสันสกฤต โดย Jame Prinsep เท่านั้น ...  เรื่องนี้ก็ยังเป็นสิ่งติดตัวติดคนติดตนติดสังคม  ไม่น่าจะยืนยันได้ว่าที่นี่เป็นพระพุทธอุบัติภูมิ 
๘) หลักฐาน/ตำนานไทย 
  • พงศาวดารเหนือ มีการระบุเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ  
  • ใบลานจารของลาว มีการเอ่ยชื่อเมืองต่างๆ ที่ปรากฎในพระไตรปิฎก เช่น เมืองคันธาง เมืองสาเกต เมืองปาวาย ฯลฯ 
  • พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงชมพูทวีปในพระราชสาสน์ของพระมหาจักรพรรดิ์ถึงพระเจ้ากรุงหงสาวดี 
  • สังคีติยวงศ์ กล่าวไว้ว่า กรุงสุโขทัยปุระ ณ สยามประเทศ ตั้งอยู่ในชมพูทวีป 
  • ประกาศเทวดา เมื่อครั้งสังคยานาพระไตรปิฎกในรัชกาลที่ ๑ บอกว่า พระพุทธโฆษาจารย์ ไปแปลพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหล มาเป็นภาษามคธ  (บอกว่า "...นำมาไว้ในชมพูทวีป")
ผมคิดว่า หลักฐานเหล่านี้ ไม่มีน้ำหนักมากนัก เพราะเป็นหลักฐานที่คนเขียนขึ้น  หากคนย้ายไป ความเชื่อและองค์ความรู้ของคนจะติดตนไปได้ด้วย  อย่างไรก็ดี หลักฐานในพงศาวดารหรือใบลานจารต่างๆ เหล่านี้ ก็ยืนยันความเชื่อความเข้าใจของคนไทยในยุคนั้นๆ   ซึ่งแตกต่างกันกับคนไทยในยุคนี้มากๆ 

ตีความหลังสืบค้นศึกษา

หลังจากศึกษาและสืบค้นในประเด็นว่า พระพุทธอุบัติภูมิอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ผมเห็นประเด็นน่าสนใจดังนี้  (ย้ำว่า ต้องตกลงเชื่อว่าเรื่องราวในพระไตรปิฎกของเถวาทเป็นจริง)
  • คนไทย (สยาม) ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ย้อนกลับไปในอดีต เชื่อว่า พระพุทธอุบัติภูมิอยู่ในดินไทย ลาว พม่า เขมร หรือก็คือแถบสวุรรรณภูมินี้  
  • คนไทย มาเชื่อตามฝรั่ง ว่าศาสนาพุทธในประเทศไทย ถ่ายทอดมาจากอินเดียในช่วงรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมานี้เอง 
  • ระยะห่างระหว่างเมืองต่างๆ ที่ปรากฎในพระไตรปิฎก (มีผู้สรุปไว้ที่นี่)  สอดคล้องกับตำแหน่งที่ตั้งสมมติฐานและงานเขียนของพระธรรมเจดีย์ (ปาน) ... สอดคล้องมากกว่าสถานที่ที่เชื่อกันตอนนี้ว่าอยู่ในอินเดียเนปาลมาก
  • หลักฐานทุกอย่างที่กล่าวมา บอกว่า คนในพุทธกาลคือคนที่กำลังอาศัยอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิตอนนี้  
  • เป็นไปได้สูงมากว่า พระพุทธเจ้าก็คือคนไทยหรือคนในดินแดนนี้ในปัจจุบัน  
  • หลักฐานที่เห็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ยืนยันว่าพระพุทธอุบัติภูมิอยู่ที่นี่ แต่บอกว่าคนที่นี่เคยอยู่ที่ดินแดนที่เป็นพระพุทธอุบัติภูมิ (ยกเว้นเรื่องระยะห่างของเมือง)
  • ผมเสนอว่า รัฐบาลต้องเข้ามาศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ กับโบราณสถาน โบราณวัตถุ ขุดค้น ลงลึก ให้เกิดความกระจ่างกว่านี้  ตั้งงบวิจัยให้นักวิจัยทั่วโลกมาลองทำวิจัยในเรื่องนี้ ... ขนาดไดโนเสาร์ เรายังขุดค้นพบ ทำไมโบราณสถาน วัตถุเหล่านี้ไม่มีคนพิสูจน์  
บันทึกหน้ามาว่าเรื่องทฤษฎีการย้ายถิ่นที่ของชาวมคธจากอินเดียมาสุวรรณภูมิตามเรื่องเล่าของหลวงตาทองคำ (สำหรับผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเท่านั้น)
หมายเลขบันทึก: 650828เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2018 05:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2020 16:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
สมบูรณ์​ กิจ​เวช​เจริญ​

น่าศึกษา​ต่อ​เพื่อ​พิสูจน์​ครับ​

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท