ชีวิตที่พอเพียง 3241. ความกลัวกับความเสียสละเพื่อผู้อื่น



หนังสือ The Fear Factor : How One EmotionConnects Altruists, Psychopaths and Everyone In-Between (2017)  เขียนโดย Abigail Marsh  บอกว่าความกลัวเชื่อมโยงกับความเป็นคนเสียสละเพื่อผู้อื่น(altruistic)  และความเป็นคนจิตผิดปกติ (psychopath)   

สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความกลัวและความเสียสละเพื่อผู้อื่นคือ amygdala   ในคนที่จิตผิดปกติ เป็นคนโหดร้าย amygdala ไม่ค่อยทำงาน    เป็นคนที่ไม่เข้าใจความกลัว    จึงไม่รับรู้ความกลัวของเหยื่อที่ตนทำร้าย     มีผลงานวิจัยบ่งชี้ว่าคนที่รับรู้ความกลัวของผู้อื่นได้ดี จะเป็นคนที่มีความเสียสละเพื่อผู้อื่นสูง 

มีการวิจัยตรวจสอบการทำงานของสมองส่วน amygdala เมื่อเห็นใบหน้าคนที่แสดงความกลัว    เปรียบเทียบคนที่มีจิตใจเสียสละ (ลงชื่อบริจาคไต ๑ ข้าง)  กับคนทั่วไป   พบว่าคนมีจิตใจเสียสละมีการทำงานของ amygdalaสูงกว่า  แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ   และการทดลองแบบเดียวกันไม่ยืนยันผลดังกล่าว    จึงอาจเป็นไปได้ว่า ในการทดลองดังกล่าวทำให้เกิดความรู้สึกระวังภัย  จะสู้หรือหนีไปกระตุ้น amygdala 

เพื่อพิสูจน์ว่า amygdala ทำงานมากกว่าในคนมีจิตเสียสละ เขาให้ผู้ถูกทดลองชุดเดียวกัน ดูภาพใบหน้าที่แสดงความโกรธ   และวัดระดับการทำงานของ amygdala   คราวนี้กลุ่มเปรียบเทียบมีการทำงานของamygdala มากกว่า    ช่วยพิสูจน์ว่าการทำงานของ amygdala สูงในคนมีจิตเสียสละไม่ได้เกิดจากความรู้สึกระวังภัย    เพราะถ้าเกิด ใบหน้าแสดงความโกรธก็จะกระตุ้น amygdala ของผู้มีจิตเสียสละมากกว่ากลุ่มควบคุม   

เขาบอกว่าคนมีจิตเสียสละเป็นคนที่ไวต่อการรับรู้ความรู้สึกกลัวของผู้อื่น  

นอกจากนั้น คนมีจิตเสียสละมักเป็นคนตื่นกลัวง่าย   แต่เมื่อเผชิญความกลัวของผู้อื่นจะเอาชนะความหวาดกลัวของตนเองได้เพื่อมุ่งช่วยเหลือผู้อื่น   

นอกจากสมองส่วน amygdala ที่พิเศษ นำไปสู่ความเป็นคนเห็นแก่ผู้อื่นแล้ว    ฮอร์โมน oxytocin ยังมีส่วนด้วย    เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ฮอร์โมนนี้เป็นตัวกำหนดให้คนเป็นพ่อแม่มีพฤติกรรมเสียสละเพื่อลูก   

มีการทดลองหยอดฮอร์โมนนี้เข้าโพรงจมูกคนแล้วทดลองดูระดับความเห็นแก่ผู้อื่น  พบว่าสูงขึ้น  

นอกจากนั้น ยังพบว่า ระดับการรู้หนังสือและการเป็นคนชอบอ่านหนังสือ ก็ช่วยเพิ่มพฤติกรรมความเป็นคนเห็นแก่ผู้อื่น    รวมทั้งการฝึกเมตตาภาวนา ก็ช่วยเพิ่มพฤติกรรมความเป็นคนเห็นแก่ผู้อื่นด้วย   

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ก.ค. ๖๑


 

หมายเลขบันทึก: 649924เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2018 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2018 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท