วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

สรุปองค์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2560 ทั้ง 3 กลุ่มงาน


กลุ่มงานวิชาการและกิจการนักศึกษา เรื่อง การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญา: Reflective thinking

..............................................................................

ในปีการศึกษา 2560 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ได้มีการจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญาของนักศึกษาพยาบาล ผ่านการสอนแบบสะท้อนคิด จำนวน 2 ครั้ง โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้สามารถสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนผ่านการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมทักษะทางปัญญา ดังนี้

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิด

ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดตามแนวคิดของ Gibbs มี 6 ขั้นตอน ดังนี้

      1) บรรยายเหตุการณ์/ประสบการณ์ (Description) ในการฝึกภาคปฏิบัติ โดยให้นักศึกษาบรรยายเหตการณ์ที่นักศึกษาคิดว่าสำคัญสำหรับนักศึกษา

คำถามที่ชวนนักศึกษาสะท้อนคิด เช่น เกิดอะไรขึ้น บทบาทของนักศึกษาตอนนั้นคืออะไร

      2)การสะท้อนความรู้สึก (Feelings) โดยให้นักศึกษาอธิบายความรู้สึกที่สัมพันธ์กับประสบการณ์ และอธิบายเหตุผลประกอบอย่างสมเหตุสมผล

คำถามที่ชวนนักศึกษาสะท้อนคิด เช่น นักศึกษารู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำไมจึงรู้สึกเช่นนั้น

      3) การประเมินผล (Evaluation) เป็นการให้นักศึกษาวิเคราะห์ความรู้สึกกับสิ่งที่นักศึกษาเล่ามาข้างบน ว่าจุดเด่นในตัวนักศึกษาคืออะไร และจุดที่ควรปรับปรุงในตัวนักศึกษาคืออะไร (Evaluation) : (จุดที่ควรปรับปรุงจะเป็นสิ่งที่นักศึกษาจำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่ม)

คำถามที่ชวนนักศึกษาสะท้อนคิด เช่น นักศึกษาคิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้นักศึกษาเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับตนเองบ้าง ทั้งจุดดีและจุดที่ควรปรับปรุง

      4) การวิเคราะห์สถานการณ์ (Analysis) เป็นการให้นักศึกษาวิเคราะห์ว่าได้เรียนรู้อะไรจากเพื่อนร่วมกลุ่ม/อาจารย์

คำถามที่ชวนนักศึกษาสะท้อนคิด เช่น สิ่งที่อาจารย์ให้ไปศึกษาเพิ่มเติมคืออะไร หรือ สิ่งที่ได้รับการสะท้อนจากตัวผู้ป่วย

      5) การสรุปรวบยอด (Conclusions) เป็นการประมวลความคิดจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งหมดของนักศึกษาเอง

คำถามที่ชวนนักศึกษาสะท้อนคิด เช่น จากการสะท้อนของตัวนักศึกษาเองและข้อเสนอแนะจากผู้อื่น นักศึกษาคิดว่านักศึกษาต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม       

       6) การวางแผนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในอนาคต (Action plans) เป็นการอธิบายแผนการนำความรู้ที่ได้ไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม

คำถามที่ชวนนักศึกษาสะท้อนคิด เช่น จากเหตุการณ์ดังกล่าวนักศึกษาคิดว่าจะทำอย่างไรเมื่อมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอีก

 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

ใช้ทั้ง 2 รูปแบบ คือ

1. การสนทนาสะท้อนคิด (Reflective Dialogue) หมายถึง การที่ครูผู้สอนให้นักศึกษาสะท้อนคิดขณะที่เหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้น หรือภายหลังเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นตามกรอบแนวคิดของ Gibbs เช่น การทำ conference เป็นต้น

2. การบันทึกสะท้อนคิด (Reflective Writing) หมายถึง การให้นักศึกษาเขียนบรรยายสะท้อนคิดตามแบบฟอร์มที่ครูผู้สอนกำหนดไว้

ทั้งนี้จากการทดลองใช้พบว่าการสะท้อนคิดที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องเกิดจากการใช้รูปแบบการสะท้อนคิดทั้งสองรูปแบบผสมผสานกันจะได้ผลมากกว่าการใช้รูปแบบเดียว

  • ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดให้ประสบผลสำเร็จ1. การจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นส่วนตัว  บรรยากาศแบบกัลยาณมิตร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักศึกษาว่าเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัย ไม่มีการตัดสินว่าถูกหรือผิด  ช่วยให้นักศึกษาเกิดความไว้วางใจ และกล้าที่พูดความจริง  สะท้อนความคิดและความรู้สึกออกมาตามที่คิดครูต้องมีทักษะในการตั้งคำถามเพื่อให้นักศึกษาเกิดความคิดวิเคราะห์
  • ครูต้องไม่มุ่งเรื่องเนื้อหามากเกินไป แต่ต้องให้ความสำคัญกับความรู้สึกของนักศึกษาต่อเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นด้วย

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ขั้นต่ำของการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลตามระดับชั้นปีของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

 

 

     ปี 4

 

 

 

 

 

 

 

       ปี 3

เป้าหมาย

ข้อ 1+2+3+4+

5. นักศึกษาสามารถระบุสิ่งที่ได้เรียนรู้จากสถานการณ์นั้นๆเพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในอนาคตได้

ตัวอย่างการสะท้อนคิดของนักศึกษา

การเป็นพยาบาลที่ดีในอนาคตเพื่อป้องกันการถูกฟ้องร้องจากการให้ยาผิดพลาด ข้าพเจ้าจะต้องยึดหลัก 6 R และต้องไปเรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องพระราชบัญญัติวิชาชีพพยาบาล กฎหมายแพ่ง และกฎหมายอาญา

ตัวอย่างวิธีการนำเทคนิคการสะท้อนคิดไปใช้

- การสนทนากับนักศึกษาระหว่าง post conference โดยอาจารย์นำสถานการณ์ที่น่าสนใจในหอผู้ป่วยเป็นตัวนำการสนทนา

 

 

 

 

 

 

     ปี 2

เป้าหมาย

ข้อ 1 + 2+

3. นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่ช่วยแก้ไขปัญหา/สถานการณ์ที่นักศึกษาพบให้ดีขึ้นได้

4. นักศึกษาสามารถระบุแนวทางในการแก้ปัญหาสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้

ตัวอย่างการสะท้อนคิดของนักศึกษา

การที่จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจได้สำเร็จ ผู้ป่วยต้องได้รับการแก้ไขเรื่องภาวะทุพโภชนาการ

ตัวอย่างวิธีการนำเทคนิคการสะท้อนคิดไปใช้

การสนทนากับนักศึกษาระหว่าง pre-post conference โดยอาจารย์นำสถานการณ์ที่น่าสนใจในหอผู้ป่วยเป็นตัวนำการสนทนา

เป้าหมาย

1.นักศึกษาสามารถตระหนักรู้จุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาของตนเองได้

2. นักศึกษาสามารถสะท้อนความรู้สึกของตนเองต่อสถานการณ์ที่นักศึกษาพบบนคลินิกได้

ตัวอย่างการสะท้อนคิดของนักศึกษา

1. รู้ว่าตนเองมีจุดเด่นในด้านการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ จุดอ่อน คือความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรค

2. รู้สึกสงสารผู้ป่วยที่โดนพยาบาลต่อว่า/3. รู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนร่วมให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้เร็วขึ้น

ตัวอย่างวิธีการนำเทคนิคการสะท้อนคิดไปใช้

1. การสนทนากับนักศึกษาระหว่าง post conference โดยอาจารย์นำสถานการณ์ที่น่าสนใจในหอผู้ป่วยเป็นตัวนำการสนทนา

2. ให้นักศึกษาเขียนบันทึกสะท้อนความคิดตนเองเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติงานในรายวิชานั้นๆ

กลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ เรื่อง การผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัย

............................................................................................................

1. สรุปสาระจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร รศ.ดร.ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน

1) ปัญหาสุขภาพในปัจจุบันมีความเป็น Multidisciplinary ต้องใช้หลายสาขาวิชาชีพในการจัด ดังนั้นโครงการวิจัยที่จะได้รับทุนจากภายนอก ควรเป็นโครงการวิจัยที่มีการการรวมกันของหลายสาขาวิชาชีพ ในการขอทุนภายนอกอาจารย์สามารถขอสนับสนุนงบประมาณสำหรับผู้ช่วยนักวิจัยมาช่วยอาจารย์ในการทำวิจัยได้ด้วย ซึ่งจะช่วยงานของอาจารย์ได้มาก

2) การขอทุนภายนอกเพื่อสนับสนุนงานวิจัย อาจารย์ต้องเขียนชื่อเรื่องให้สะดุดตา เพราะมีเรื่องที่ขอทุนเยอะมาก ดังนั้นคณะกรรมการจะแสกนจากชื่อเรื่องก่อน

3) การตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารนานาชาติ อาจารย์สามารถเข้าไปดูได้ที่ ISI หรือ  scopus เลือกวารสารที่มี impact factor น้อย ๆ ก่อน อาจารย์ โดยขอแนะนำวารสารที่ตีพิมพ์งาน 3 รายชื่อ ดังนี้

   3.1 Asian Social Science โอกาสที่จะถูก reject น้อยมาก วารสารออกทุก 2 เดือน

   3.2 Asian Biomedicine บอร์ดอยู่ที่คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ในฐาน scopus ถ้าผลงานของอาจารย์ไม่ค่อยดีทางวารสารจะให้ลง จุฬาเวชศาสตร์ แต่ถ้าผลงานดีทางวารสารจะนำมาลง Asian Biomedicine แทน

   3.3 Journal of Research in Health Science ฐานอยู่อิหร่าน ลงง่าย

2. ผลจากการประยุกต์ใช้

          การจะทำวิจัยเพื่อให้สามารถเผยแพร่ได้หลายประเด็นต้องเริ่มต้นจากการออกแบบการวิจัย

  1) มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

  2) เนื้อหาครอบคลุม

  3) กลุ่มตัวอย่างเพียงพอ เป็นตัวแทนของประชากรได้

  4) และมีการวางแผนการการตีพิมพ์เอาไว้

กลุ่มงานอำนวยการและยุทธศาสตร์ เรื่อง  เทคนิคการบริการที่ดี

..............................................................................

ในปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ได้มีการจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการบริการที่ดี จำนวน 2 ครั้ง โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้สามารถสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการบริการที่ดี ดังนี้

  • ให้ภาคภูมิใจในงานที่ตนเองรับผิดชอบ เริ่มต้นจากตัวเราที่มีความสุข มองโลกในแง่บวก โดยให้คิดว่า ลูกค้าหรือผู้รับบริการเป็นคนสำคัญ
  • ยึดการทำงานตามค่านิยมของกระทรวงสาธารณสุข (MOPH) โดยทุกคนสามารถวางแผนเพื่อสร้างสรรค์งานที่ตนเองรับผิดชอบเพื่อให้ตรงใจและตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ
  • ทำงานเชิงรุก ไม่ต้องรอทำงานตามคำสั่งอย่างเดียว แต่ควรเป็นลักษณะการเสนอตัวเข้าไปทำงานเพื่อให้เรารู้สึกเป็นนายตัวเอง
  • มาทำงานก่อนเวลา
  • บริการด้วยความรวดเร็วทันต่อความต้องการของลูกค้า
  • บริการด้วยความเต็มใจ พูดน้อย ฟังมาก บริการด้วยรอยยิ้ม
  • การรับฟังความต้องการของผู้ใช้บริการด้วยอารมณ์ที่สงบ ไม่ใช้อารมณ์ตอบโต้กลับ เวลาที่ผู้รับบริการอารมณ์เสีย

 

หมายเลขบันทึก: 649436เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2018 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 สิงหาคม 2018 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

มาร่วมแลกเปลี่ยนการเยอะ ๆ นะคะ เป็นประโยชน์มากจริง ๆค่ะ

ทุกกลุ่มงานสะท้อนความคิดและความรู้ได้ดีมากๆเลยคะ สามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งกับส่วนตัวและการทำงาน ขอบคุณที่มีเวทีดีๆแห่งนี้ให้ได้แลกเปลี่นรเรียนรู้ร่วมกันค่ะ

การเรียนการสอนสะท้อนคิดสำหรับนักศึกษาเพื่อให้เกิดความคิดวิเคราะห์ นักศึกษาจะเขียนบันทึกถึงประสบการณ์ที่ฝึกปฏิบัติในคลินิก ซึ่งนักศึกษาบางคนไม่ชอบการเขียน ครูต้องกระตุ้นให้นักศึกษาฝึกเขียนเพราะเป็นสิ่งที่จะช่วยให้นักศึกษาได้ทบทวนประสบการณ์อีกครั้งหนึ่ง และได้ฝึกสะท้อนเหตุการณ์ การคิดหัวข้อที่จะเรียนรู้ต่อไปการผลิตผลงานวิจัย เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ จึงควรมีการฟื้นฟูความรู้อย่างต่อเนื่องการบริการที่ดี ควรมีการพัฒนาทุกฝ่ายขององค์กรขอบคุณสำหรับการสรุปทั้ง 3 หัวข้อที่ทำให้เข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายขึ้นค่ะ

เป็นกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนที่ดี ผู้สรุป สรุปองค์ความรู้ได้เห็นภาพพจน์สามารถนำไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดี จะนำไปใช้ในการสอนภาคทดลองในวิชา BCPN แล้วจะนำผลมาแลกเปลี่ยนอีกทีนะครับ

การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดถือว่าเป็นวิธีสอนที่ดี ให้นศ.ได้มีส่วนร่วม ได้แสดงความคิดเห็น แสดงถึงความรู้ที่มี แต่กรณีกลุ่มใหญ่อาจทำได้ไม่ครอบคลุมทุกคนและใช้เวลามาก

การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดถือว่าเป็นวิธีสอนที่ดี ให้นศ.ได้มีส่วนร่วม ได้แสดงความคิดเห็น แสดงถึงความรู้ที่มี แต่กรณีกลุ่มใหญ่อาจทำได้ไม่ครอบคลุมทุกคนและใช้เวลามาก

เป็นวิธีการเรียนการสอนที่น่าสนใจ ทำให้นศ มีการแสดงความคิดเห็น และทราบความรู้สึกและความคิดเห็นซึ่งกันและกัน. น่าสนใจในการพัฒนานักศึกษาค่ะ

1.การเรียนรู้แบบสะท้อนคิดเป็นวิธีการสอนที่ดีที่จะช่วยพัฒนาทักษะทางปัญญาให้กับนักศึกษาได้ดี อาจารย์ผู้สอนควรนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน2.ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการเผยแพร่งานวิจัยและการขอทุนวิจัยวิทยากรช่วยทำให้เกิดแรงจูงใจและสนใจในการผลิตผลงานวิจัยและขอทุนวิจัยภายนอก3.ความรู้จากการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเทคนิคการบริการที่ดีสามารถนำไปสอดแทรกสอนนักศึกษาพยาบาลได้. ช่วยพัฒนาทักษะการสร้างสัมพันธภาพให้กับนักศึกษาพยาบาลได้

คำสำคัญของการบริการที่ดี. “มีใจ มีเหตุผล. ไม่ใช้อารมณ์”

ได้นำการเรียนแบบสะท้อนคิดตามขั้นตอนของ Gibbs 6 ขั้นตอน ไปใช้ในการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ ซึ่งเป็ฯวิธีการที่ดี สามารถพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์ให้เปิดใจ และยืดหยุ่นต่อการเรียนรู้บนความแตกต่างของนักศึกษาแต่ละคนมากขึ้น ในส่วนของนักศึกษาเอง ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสทบทวนตัวเอง และทราบจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาของตนเอง และสามารถประเมินตัวเองได้ว่าควรจะปรับปรุงพัฒนาตัวเองต่อไปอย่างไร

เป็นวิธีการเรียนการสอนที่น่าสนใจ ทำให้นศ มีการแสดงความคิดเห็น และทราบความรู้สึกและความคิดเห็นซึ่งกันและกัน. น่าสนใจในการพัฒนานักศึกษาค่ะ

ได้ไอเดียในการจัดการเียนการสอนกับนักศึกษาต่อไปคะ

เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา จะลองนำไปทดลองใช้ในวิชาที่ขึ้นฝึกภาคปฏิบัติต่แไปค่ะ

เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา จะลองนำไปทดลองใช้ในวิชาที่ขึ้นฝึกภาคปฏิบัติต่แไปค่ะ

เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์กับนักศึกษาได้ฝึกการคิด เป็นประโยชน์กับผู้สอนในการตั้งคำถาม ควรมีการจัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการนำวิธีการสอนนี้ไปใช้ระหว่างผู้สอนอย่างสม่ำเสมอค่ะ

เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์กับนักศึกษาได้ฝึกการคิด เป็นประโยชน์กับผู้สอนในการตั้งคำถาม ควรมีการจัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการนำวิธีการสอนนี้ไปใช้ระหว่างผู้สอนอย่างสม่ำเสมอค่ะ

เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากค่ะ ได้แนวทางในการนำไปจัดการเรียนการสอนที่น่าจะเหมาะสมกับผู้เรียนใน ศต.21 มีความเป็น Holistic learning เน้นการคิดวิเคราะห๋ตนเอง วิเคราะห์สถานการณ์

ทำให้ได้แนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาเกิดทักษะที่สำคัญในศต.21โดยเฉพาะส่งเสริมให้นักศึกษาเกิด critical thinking จากการนำแนวคิดหลักการที่ไ้ด้รับไปปรับใช้ในรายวิชาที่สอนได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

สามารถนำเทคนิคต่างๆของแต่กลุ่มมาปรับใช้ในการทำงาน

เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจและมีประโยชน์มากจะนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนค่ะ

เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์กับนักศึกษาได้ฝึกการคิด สะท้อนความคิด และประเมินตนเองค่ะ

เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนค่ะ สามารถช่วยให้การเรียนพยาบาล และการปฏิบัตเกิดความหมาย ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ตื่นตัวในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองเพิ่มขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท