Soft Skills Coach - ผู้ชี้แนะทักษะเมตตาปัญญา


กราบขอบพระคุณคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ที่ระดมพลังศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาตน นศ. และศักยภาพของการให้บริการสุขภาพแก่คนไทย ด้วยทักษะการทำงานเป็นทีมสื่อสารสหวิชาชีพการแพทย์ การศึกษา สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และเศรษฐกิจสังคม

ทักษะชีวิตที่กัลยาณมิตรทุกท่านควรเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจนเกิดการรู้คิด จิตอ่อนโยน ใจเบิกบาน ในทุกๆมิติแห่งสุขภาพเชื่อมโยงสุขภาวะด้วยการสื่อสารสร้างสรรค์สังคม ได้แก่ 

1. ความเข้าใจในศักยภาพ (ความสุขความสามารถ) และความรู้ในการพัฒนาตนเองจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต 

2. ความฉลาดทางอารมณ์ด้วยการรู้เท่าทันอารมณ์ลบแล้วปรับเปลี่ยนเป็นอารมณ์บวกด้วยในการให้อภัย ขอบคุณ และมีจิตวิทยาเชิงบวกบูรณาการคุณธรรมจริยธรรม (จรรยาบรรณ) - คิดดี ทำดี พูดดี เช่น เลือกเก้าอี้สีเขียวมีเมตตา สีแดงมีความปลอดภัย สีดำมีความกล้าตัดสินดี/ไม่ดีด้วยอารมณ์มั่นคง สีน้ำเงินมีความรอบคอบควบคุมความตึงเครียด 

3. ความยีดหยุ่นทางความคิด อารมณ์ และการสื่อสาร ทั้งในสภาวะการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้วยสติสัมปชัญญะ (เจริญสติหรือเจริญปัญญา) และปรับตัวได้ดีในสภาวะการอยู่รอดในสถานการณ์ชีวิตที่เครียดลบ 

4. ความรอบรู้สู่การเป็นผู้ให้ในหลายบทบาทที่มีความหมาย ความดี และความสนุก ด้วยสุขท้าทายจนสำเร็จเป็นต้นแบบให้คำปรึกษาตามวัยวุฒิและคุณวุฒิ เป็นพี่เลี้ยงสอนทักษะการทำงานเฉพาะด้าน และเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กัลยาณมิตรทุกท่าน

คำถาม 1: โค้ชคือใคร และทำไมเราถึงควรมีทักษะโค้ชชิ่ง

คำตอบ 1: โค้ชคือผู้ชี้แนะในหลายระดับของการฝึกทักษะโค้ชชิ่ง ได้แก่ ระดับเบื้องต้นเป็นผู้รับฟังด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์โดยไม่ตัดสินถูกผิด ไม่โต้แย้ง ไม่วิพากษ์วิจารณ์ และไม่ลังเลสงสัยเกินพอดี ระดับกลางเป็นผู้ให้คำปรึกษาโดยเปิดใจ ยอมรับ และรู้จักรักตัวเองอย่างสมดุลกับรักผู้อื่นจริงใจ ด้วยประสบการณ์การแสดงบทบาทชีวิตที่เข้าใจความหมายของ "ทุกชีวิตจะเกิดปัญญาเมื่อก้าวข้ามปัญหาที่ท้าทายและยุ่งยากซับซ้อนด้วยสติสัมปชัญญะ" และระดับสูงเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจด้วยคุณธรรมเมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา (เฉยรู้ ให้อภัย เจริญสมาธิภาวนาและเจริญสติปัญญา อย่างสม่ำเสมอ) ดังนั้นเราถึงควรมีทักษะโค้ชชิ่งเพราะ เราเกิดมาเพื่อเรียนรู้ในการกล้าเผชิญปัญหา การฝึกฝนให้ตนรู้จักคิดดี ทำดี พูดดี ด้วยร่างกายที่แข็งแรงและจิตใจที่เข้มแข็ง ดูแลตัวเองให้มีสุขภาวะแล้วนำประสบการณ์ดีงามมาช่วยเหลือผู้อื่นในฐานะพลเมืองดีมีความสุขสำเร็จสมดุลชีวิตด้วยการยอมรับพัฒนาศักยภาพแห่งตนจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตที่สงบสุข  

คำถาม 2: กระบวนการฝึกทักษะผู้ชี้แนะทำอย่างไรบ้าง 

คำตอบ 2: กระบวนการฝึกทักษะผู้ชี้แนะ แบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 

ระดับ 1 การดูแลออกกำลังคิด จิต กาย ใจ (ทักษะจิตสังคม) ของตนเอง ด้วยกระบวนการสื่อสารให้อภัยและขอบคุณตัวเองและทุกๆคนรอบตัว เพิ่มการพูดให้ตัวเองได้ยิน "วันนี้เราจะตั้งใจทำดีหนึ่งเรื่องคืออะไร ....." และทบทวนสะท้อนความเชื่อมั่นในสิ่งที่ตั้งใจ (ความมั่นใจ) หลังจากทำหนึ่งเรื่องที่ดี ผ่านการทำสมาธิฟังเสียงลมหายใจ เสียงหัวใจ และเสียงธรรมชาติรอบตัว สัก 3-5 นาที แล้วจินตนาการให้เกิดการเรียนรู้ย้อนคิดเป็นภาพ เสียง ความรู้สึก หรือผสมผสานความรู้สึกบวกๆ แล้วตั้งคำถาม อะไร ทำไม อย่างไร เป็นลำดับพัฒนากระบวนการคิดใคร่ครวญจนเข้าใจตกผลึกความคิดแยกความรู้สึกชัดเจน (จากคิดเหตุผลพอดีกับคิดสร้างสรรค์ รวมเข้าสู่ความคิดยีดหยุ่นมีทางเลือกของการแก้ไขปัญหาด้วยปัญญาสะสมอย่างน้อย 5 ประการ - ในทางการสือสารจิตใต้สำนึกเรียกว่า Logical Levels of Change) แล้วบันทึกเชิงปริมาณ (คะแนน 1-7) และเชิงคุณภาพ (การวางแผนชีวิตในระยะยาว 15 ปี ระยะสั้นทุกๆ 5 ปี และระยะปัจจุบันขณะที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงพฤตินิสัยที่ดีขึ้นใน 7 วัน 7 เดือน 7 ปี (ในทางการปรับเปลี่ยนทัศนคติ นิสัย และพฤติกรรมสุขภาพ อยู่ระหว่าง 6 สัปดาห์ - 6 เดือน สื่อสารกับตัวเองหรือกับโค้ชอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ - 1 ชม.ต่อครั้ง แบบหนึ่งต่อหนึ่ง จนถึงแบบกลุ่ม 30-50 คนต่อโค้ชหนึ่งคนต่อหนึ่งชม. - นัยตัวเลขด้วยใจรวมการรับความรู้สึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 คูณ 10 ระดับคิดบวก-คิดลบ-คิดอดีต-คิดปัจจุบัน-คิดอนาคต-คิดสุข-คิดทุกข์-คิดเฉย-คิดกุศล-คิดอกุศล)

ระดับ 2 การดูแลคนที่เรารักในครอบครัว (ทักษะเมตตาปัญญา) ด้วยกิจกรรมตามจริตและการเรียนรู้สมองด้านเด่น ได้แก่ การรับรู้ด้านการมองเห็น การรับรู้ด้านการได้ยิน และการรับรู้ด้วยการเคลื่อนไหว ผ่าน กระบวนการสบตาสังเกตอ่านใจเขียนสะท้อนคิด การหลับตาตั้งใจฟังน้ำเสียงกระซิบเปิดใจ และการขยับร่างกายด้วยลมหายใจรวมกับการจัดการอารมณ์นิ่งเป็นสมาธิ 

ระดับ 3 การให้คำปรึกษาในชีวิตการทำงาน (ทักษะการสังเกต วิเคราะห์ และตั้งคำถามสะกิดใจ - เน้นตั้งเป้าหมายที่เป็นจริง เรียนรู้ลงมือทำทันที กำหนดวันเวลาความสำเร็จ และการสะท้อนคิดให้กระบวนการแก้ปัญหาชัดเจนแล้วเกิดแรงจูงใจในการปรับพฤตินิสัยให้ดีขึ้นเป็นรูปธรรม)

ระดับ 4 การเป็นพี่เลี้ยงสอนงาน หรือ การเป็นผู้ฝึกทักษะชีวิตตามความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ตรงจริต ตรงรูปแบบการเรียนรู้ พร้อมสะท้อนให้คุณค่าคนทำงานมากกว่าเน้นปริมาณงานแบบมุ่งผลผลิตโรงงานหุ่นยนต์ (จำเจ ซ้ำซาก จนเกิดความล้าหรือทำดีเพื่อผู้อื่นจนหมดแรง กังวลว่าจะไม่มีเวลาดูแลครอบครับที่รัก เศร้าคาดหวังว่าจะสุขสบายกว่าที่เป็นอยู่ และโมโหที่ไม่มีเงินเพียงพอที่จะดูแลตนเอง)

ระดับ 5 การเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจด้วยการสะสมความภาคภูมิใจในการดูแลตนเอง การดูแลผู้อื่น มีการแสดงบทบาทชีวิตที่หลากหลายอย่างสำเร็จ มีอารมณ์มั่นคงลดอัตตาและกิเลสของตนเองอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ และมีความสามารถสื่อสารด้วยหัวใจนักปราชญ์ สุ จิ ปุ ลิ อย่างมีพลังบวกและเกิดแรงขับเคลื่อนความดีงามในสังคมทุกระดับ   

คำถาม 3: เราจะชี้แนะทักษะชีวิตเพื่อบูรณาการกับการศึกษาแก่มวลมนุษยชาติทุกรุ่นอายุที่แตกต่างแต่เติมเติมอย่างไรบ้าง  

คำตอบ 3:    เราจะอ้างอิงกระบวนการใช้สื่อทางกิจกรรมบำบัด คือ การใช้ตัวเราบำบัด (พัฒนา) และกระบวนกลุ่มสื่อสารเพื่อการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงตัวเองและผู้อื่นตามธรรมชาติแห่งพละ 5 (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) ให้ร้อยเรียงตามภาพ ด้วยความขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านในภาพกิจกรรมที่หลากหลายความรู้ความสามารถที่มีตามประสบการณ์ชีวิตจนเกิดการยอมรับ (Self-acceptance) การให้ความเคารพซึ่งกันและกัน การทำงานเป็นทีมที่มีวัยวุฒิและคุณวุฒิที่หลากหลาย (Mind the Gap - Mentalist Infernal Determination the Generation Gap) แต่รวมเป็นหนึ่งในสถานการณ์กระตุ้นความเครียดเชิงบวกและฮอร์โมนความสุขชั่วขณะเพื่อสุขภาวะ และการเพิ่มกำลังใจและความมั่นใจในการสื่อสารเชิงบวกอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 

ทักษะของโค้ชที่ควรฝึกฝนแบบข้ามศาสตร์ ข้ามอายุ และข้ามทุกตราบาปทางสังคม (วัตถุนิยม) อย่างเป็นธรรมชาติในช่วง 5 ปีแรกที่เราเริ่มรู้จักโกหก ในช่วง 7 ปีแรกที่เรามีทักษะการบริหารจัดการสมองได้คล่องแคล่ว ในช่วง 21 หรือ 35 ปี ที่สมองสะสมศักยภาพตามธรรมชาติ และในช่วง 45 ปีขึ้นไปที่สมองปรับตัวตามทักษะชีวิตที่ท้าทายแบบจิตตื่นรู้ ให้อยู่ตัว หัวใจงาม (เจริญสติปัญญา) ตามลำดับทักษะต่อไปนี้และการพัฒนาบุคลิกภาพด้วยเครื่องมือนพลักษณ์เชื่อม MBTI หรืออื่นๆ ให้เกิด Mind-Body-Heart Alignment & Social Emotional Learning Flow to Flourishing (SELF) รวมเป็นการชี้แนะชีวิตอย่างเป็นระบบหรือ LIFE COACHING ประกอบด้วยทักษะ L: Loving; I: Insight; F: Factual; E: Esteem; C: Conscious Self; O: Observational Mind; A: Analytic Listening; C: Catalytic Questioning; H: Habit Reversal Training; I:  Intuitive Thinking; N: New Life; G: GROW (Goal, Reality, 5 Options, Willing - Positive intention) Model โดยผลลัพธ์ในทางการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Outcomes Based Lifelong Learning Skills) คือ ลดอัตตาของความกลัว (FEAR) โดยเพิ่ม F: Freedom; E: Empathy; A: Achievement; R: Resilience 

ตัวอย่างกลุ่มพลวัติเพื่อการทำความเข้าใจในตนและคนอื่น (Therapeutic Use of Self-Conscious & Therapeutic Communication as RAPPORT) ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ 6 ระดับ ได้แก่ 

1. Advocating mode โจทย์ การทักทายสบตา 3-4 วินาที จับมือซ้าย เขย่ามือพร้อมแตะศอกระหว่างกัน พูดอวยพร แยกแยะความคิดและความรู้สึกผ่านการสะท้อนระดับคิดและแนวทางการพัฒนา จาก Logical Thinking เยอะในการวาง Post It แนวตั้ง ก็ชวนให้ฝึกวาด Mind Map ในแนวนอนและเขียน How To อย่างชัดเจนเฉพาะเจาะจง 5 ข้อ ที่เชื่อมโยงกันในการวาง Post It แนวนอนอีกครั้งก็ได้ หรือ ดูตัวอย่างเพื่อนที่ยกระดับคิดได้ลึกซึ้งขึ้นจากพอใช้ เพิ่ม Logical Thinking เป็นดี เพิ่ม Creative Thinking เป็นเยี่ยม แต่ฝึกลงมือทำเพิ่ม Lateral Thinking 

2. Collaborating mode โจทย์ การแบ่งสามกลุ่มตามพลังการอ่านใจของโค้ช และในเวลาเพียง 20 นาทีให้ระดมทำงานเป็นทีมนำเสนอด้วยวัสดุเสื่อ เทปน้ำตาล และ Post It สามสี ให้รวมพันธกิจชีวิตทุก 5 ปีรวม 15 ปี 

3. Empathizing mode การสะท้อนประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่เชื่อมโยงการเรียนรู้เก่า พร้อมให้ผู้นำที่ตั้งเงื่อนไขให้เงียบมองและใช้ภาษากายในการนำทีมเป็นผู้คัดเลือกสมาชิกที่มีศักยภาพสูงสุดสะท้อนคิดและแสดงความรู้สึกชื่นชมผู้นำ



4. Encouraging mode การฝึกเทคนิคจัดการอารมณ์ผ่าน Sa Re Ka สู่ Brain Gym สู่ EFT (ค้น Google พิมพ์ เคาะอารมณ์ ก็เลือกลิงค์ Mahidol Channel) แต่ละท่านฝึกพร้อมโค้ช จับคู่ทำ จับกลุ่มทำ และเป็นผู้นำทุกกลุ่ม 

 5. Instructing mode การฝึกเรียนรู้อ่านใจคู่เลือกสีส้มหรือชมพูด้วยการรับรู้สบตาผสมผสานการรับรู้เสียง และอ่านใจคู่เลือกชอบตัวเลข 7 หรือ 10 ด้วยการรับรู้สบตาเดินเข้าใกล้กันจากระยะ 5 ก้าว 

6. Problem – solving mode การสาธิตและชวนฝึกซ้อม Logical Levels of Change ก้าว 6 ก้าวหลับตาไปข้างหน้าด้วยคำถามและชวนตอบแบบคิดน้อยๆ ได้แก่ 

  1. ยืนมั่นคง หลับตาให้นึกถึงภาพคุณที่มีความประทับใจ ภูมิใจ และมีความสุข ในชีวิต ถ้าเห็นภาพ ได้ยินเสียง รู้สึก หรือทั้งสามความรู้สึกนึกคิด ให้พยักหน้า ถ้าผู้รับคำชี้แนะมีอารมณ์ลบ คิดมาก (ใช้เวลานึกคำตอบนาน) และมีท่าทางดูไม่สบายตัว ให้โค้ชปรับท่าทางให้เหมือนผู้รับคำชี้แนะ เพื่ออ่านใจและรับรู้อารมณ์บวกหรือลบ ถ้าอารมณ์ลบ ก็ให้ขยับร่างกายและจัดการอารมณ์ในข้อ 4 จนอารมณ์นิ่งก็เริ่มใหม่ 
  2. ถ้าอารมณ์บวก ก็ให้หลับตาก้าวไปหนึ่งก้าว ตั้งคำถามว่า "เรากำลังทำอะไร" บันทึกคำตอบในกระดาษ
  3. ให้หลับตา ก้าวไปหนึ่งก้าว ตั้งคำถามว่า "เรามีความรู้สึกอย่างไร" บันทึกคำตอบในกระดาษ
  4. ให้หลับตา ก้าวไปหนึ่งก้าว ตั้งคำถามว่า "เราใช้ความสามารถ/ความดีอะไรบ้าง" บันทึกคำตอบในกระดาษ
  5. ให้หลับตา ก้าวไปหนึ่งก้าว นำมือมาแตะหัวใจแล้วใช้สมาธิรับฟังเสียงหัวใจ เพื่อใช้ความคิดน้อยๆ และตอบจากหัวใจ ตั้งคำถามว่า "เราเกิดมาทำไม" บันทึกคำตอบในกระดาษ
  6. ให้หลับตา ก้าวไปหนึ่งก้าว นำมือที่แตะหัวใจลง ตั้งคำถามว่า "เราคือใคร" บันทึกคำตอบในกระดาษ
  7. ให้หลับตา ก้าวไปหนึ่งก้าว ตั้งคำถามว่า "เรากำลังทำอะไร เพื่อใคร" บันทึกคำตอบในกระดาษ จากนั้นให้หลับตา เงยคอขึ้นบนเล็กน้อย ให้จินตนาการถึงอะไรก็ได้ที่เรามีความศรัทธาเชื่อมั่นหรือสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง สือสารให้เกิดอารมณ์ร่วมกับสิ่งๆนั่น
  8. ให้หลับตา ก้าวถอยหลังหนึ่งก้าว ตั้งคำถามว่า "เรากำลังทำอะไร เพื่อใคร" บันทึกคำตอบในกระดาษ
  9. ให้หลับตา ก้าวถอยหลังหนึ่งก้าว ตั้งคำถามว่า "เราคือใคร" บันทึกคำตอบในกระดาษ
  10. ให้หลับตา ก้าวถอยหลังหนึ่งก้าว นำมือมาแตะหัวใจแล้วใช้สมาธิรับฟังเสียงหัวใจ เพื่อใช้ความคิดน้อยๆ และตอบจากหัวใจ ตั้งคำถามว่า "เราเกิดมาทำไม" บันทึกคำตอบในกระดาษ
  11. ให้หลับตา ก้าวถอยหลังหนึ่งก้าว ตั้งคำถามว่า "เราจะพัฒนาความสามารถ/ความดีอะไรบ้าง" บันทึกคำตอบในกระดาษ
  12. ให้หลับตา ก้าวถอยหลังหนึ่งก้าว ตั้งคำถามว่า "เราจะพัฒนาความสามารถ/ความดีอย่างไรบ้าง" บันทึกคำตอบในกระดาษ
  13. ให้หลับตา ก้าวถอยหลังหนึ่งก้าว ตั้งคำถามว่า "เราตั้งใจจะทำอะไรทันทีเมื่อลืมตา" บันทึกคำตอบในกระดาษแล้วให้ผู้รับคำชี้แนะทำทันทีหลังจากตอบเสร็จแล้วลืมตา 

ปล. หากผู้รับคำชี้แนะไม่มีคำตอบ ก็ให้ถามคำถามซ้ำไม่เกิน 3 รอบ ทวนซ้ำว่า "ไม่มีคำตอบ" ก็ก้าวถัดไป

หมายเลขบันทึก: 649153เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2018 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2018 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท