กัญชารักษามะเร็ง


กัญชากับการรักษามะเร็ง

                                          à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ กัญชารักษามะเร็ง


               หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีผลงานวิจัยของนักวิจัยไทยและต่างประเทศ ที่ชี้ถึงประโยชน์ของ“กัญชา” พืชยาเสพติดที่มีคุณสมบัติในการรักษามะเร็ง และผลงานวิจัยของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตก็ตอกย้ำกับผลการวิจัยดังกล่าวอีกครั้ง กับโครงการนำร่องการวิจัยด้านกัญชา 3 โครงการซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรอย่างครบวงจร และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
รศ.ดร.ภญ.นริศา คำแก่น อาจารย์ประจำหมวดวิชาเภสัชเวทและตัวยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่าดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิตได้เล็งเห็นประโยชน์ของพืชกัญชา จึงได้ให้คณะเภสัชศาสตร์ดำเนินโครงการงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนำสมุนไพรกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรอย่างครบวงจร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด โดยคณะผู้วิจัยได้จัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยย่อย จำนวน 3 โครงการ ที่มีความเชื่อมโยงสอดคล้องกัน
ทั้งนี้การเลือกเอากัญชามาใช้ในงานวิจัย เนื่องจากกัญชาเป็นพืชที่มีสารที่เรียกว่า Cannabinoids มีสารยับยั้งมะเร็งในหลายชนิด แต่เป็นข้อบ่งใช้ในการใช้ร่วมกับเคมีบำบัดซึ่งจะช่วยเป็นการรักษาแบบผสมผสานในการลดอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น โดยการหวังผลทั้งสองอย่างคือลดอาการข้างเคียงของเคมีบำบัด เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และช่วยเพิ่มความอยากอาหาร เพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งได้ ในขณะเดียวกันก็มีผลต่อการเจริญเติบโตการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งด้วย โดยที่ในประเทศไทยจัดพืชกัญชาเป็นพืชเสพติดประเภท 5 มีสารสำคัญคือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (delta-9-tetrahydrocannabinol หรือ THC) และแคนนาบิไดออล (Cannabidiol หรือ CBD)
โครงการที่ 1 เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการสกัดสารกัญชาออกมา โดยการสกัดแบบลดการสูญเสียและเสื่อมสภาพ โดยที่สารสกัดจะมีสารสำคัญอยู่ปริมาณสูงจำนวนมาก ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง2ตัวคือ THC กับ CBD ในส่วนนี้จะวิเคราะห์ในเชิงปริมาณว่า สารสกัดในแต่ละวิธีนั้นมีค่า THC กับ CBD เท่าไร อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้จะสมบูรณ์มากขึ้นหากมีข้อมูลเพิ่มเติมทางด้านพิษวิทยา ทั้งความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษกึ่งเรื้อรัง เพราะถ้าผู้ป่วยใช้ในระยะเวลานานจะมีความมั่นใจมากขึ้น
ด้าน ผศ.ดร.ภญ.สุรางค์ ลีละวัฒน์ อาจารย์ประจำหมวดวิชาเภสัชเวทและตัวยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เจ้าของผลงานวิจัยหัวข้อ “การออกฤทธิ์ของ 9- tetrahydrocannabinol ต่อการลุกลามของเซลล์มะเร็ง” กล่าวว่าก่อนหน้านี้เคยทำวิจัยโดยนำกัญชาไปทดสอบฤทธิ์กับเซลล์มะเร็งพบว่า กัญชาสามารถลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และลดการลุกลามของเซลล์มะเร็งได้ค่อนข้างดี สำหรับวิธีการทดลองคือการนำเซลล์มะเร็งทางเดินน้ำดีที่พัฒนามาจากเซลล์มะเร็งของคนฉีดเข้าไปในหนู ทำให้หนูจะเกิดเป็นก้อนมะเร็งเกิดขึ้น จากนั้นก็จะฉีดสารจากต้นกัญชาเข้าไปในหนูทุกวัน ประมาณ 10 วัน และดูผลว่าก้อนมะเร็งที่เกิดขึ้นมีลดขนาดลงหรือไม่ เหตุผลที่เลือกศึกษาเซลล์มะเร็งทางเดินน้ำดีนั้น เนื่องจากมะเร็งทางเดินน้ำดีเป็นชนิดหนึ่งของมะเร็งตับ ซึ่งเกิดขึ้นกับคนไทยเป็นจำนวนมาก
โครงการที่ 3 เป็นการพัฒนาตำรับสเปรย์ฉีดพ่นในช่องปากจากสารสกัดกัญชา โดย ภญ.วรวรรณ สายงาม อาจารย์ประจำศูนย์วิจัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า สืบเนื่องมาจากโครงการแรกที่มีการสกัดสารให้ได้สารสำคัญปริมาณสูงแล้วนำมาคำนวณเพื่อให้ทราบขนาดยาที่ใช้ในการรักษา โดยเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์รูปแบบสเปรย์ฉีดพ่นในช่องปากที่สกัดจากพืชกัญชาที่มีจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเมื่อเราฉีดพ่นสเปรย์เข้าไปสัมผัสกับเยื่อบุในช่องปาก ตัวยาสามารถดูดซึมได้ทันที ซึ่งแตกต่างจากยารับประทาน และมีข้อดีที่เด่นชัดคือตัวยาจะไม่ถูกเมตาบอไลท์ที่ตับทำลาย ทำ ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งทุกวันนี้มีผู้ป่วยมะเร็งที่ทดลองใช้กัญชาเพื่อลดอาการปวดของตนเองอยู่แล้ว แต่ไม่ได้มีการควบคุมขนาดยาที่เหมาะสม โดยการใช้ขนาดยาที่ไม่เหมาะสมหรือไม่สม่ำเสมออาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย

                                à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ กัญชารักษามะเร็ง


อย่างไรก็ตามหากโครงการวิจัยดังกล่าวประสบผลสำเร็จ อาจจะพัฒนาในรูปแบบอื่น ๆเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น รูปแบบยาที่ปลดปล่อยแบบควบคุม พัฒนาตำรับยาออกฤทธิ์นาน เพื่อสะดวกในการบริหารยาแก่ผู้ป่วย และเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ ในอนาคตคาดว่าจะจดอนุสิทธิบัตรผลงานในโครงการนี้ด้วย

คำสำคัญ (Tags): #กัญชา#มะเร็ง
หมายเลขบันทึก: 648171เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2018 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2018 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท