ความคาดหวังของผู้สำเร็จการศึกษาพยาบาลต่อ “องค์กรวิชาชีพพยาบาล”


ความคาดหวังของผู้สำเร็จการศึกษาพยาบาลต่อ “องค์กรวิชาชีพพยาบาล”

“องค์กรวิชาชีพพยาบาล”มีทั้งองค์กรที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย พระราชบัญญัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์คือสภาการพยาบาล และเกิดจากการรวมตัวของพยาบาล คือ สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ การเรียนรู้ความสำคัญขององค์กรวิชาชีพ โดยการให้ความรู้ การวิเคราะห์บทบาทองค์กรวิชาชีพ การศึกษาดูงานองค์กรวิชาชีพ ในฐานะที่นักศึกษากำลังจะก้าวย่างเป็นพยาบาล เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษาต่อองค์กรวิชาชีพพยาบาล เพื่อให้สถาบันการศึกษาสามารถปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน โดยเก็บรวบรวมจากนักศึกษาที่กำลังสำเร็จการศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 76 ราย ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 

1.ความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษาที่มีต่อ“องค์กรวิชาชีพพยาบาล”

อันดับ 1 เป็นองค์กรที่มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับในสังคม และในวิชาชีพ ร้อยละ 47.37
อันดับ 2 มีหน้าที่ในการให้คำปรึกษาเมื่อพยาบาลประสบปัญหาด้านกฎหมายและจริยธรรมทางการพยาบาล ร้อยละ 17.10
อันดับ 3 ช่วยเหลือพยาบาลในกรณีต่างๆทั้งหน้าที่การงานและ ด้านส่วนตัว เช่น เมื่อประสบภัยพิบัติ เมื่อมีเหตุสุญเสียจากการประกอบวิชาชีพพยาบาล  ร้อยละ 15.79
อันดับ 4 สภาการพยาบาล และสมาคมพยาบาลให้บริการต่อพยาบาลแตกต่างกัน เช่น อำนาจหน้าที่บทบาทของสมาชิก บทบาทของคณะกรรมการ ร้อยละ 13.16

2.ความเชื่อมั่นของผู้สำเร็จการศึกษาที่มีต่อ“องค์กรวิชาชีพพยาบาล”

อันดับ 1  เชื่อมั่น เพราะองค์กรวิชาชีพมีความเข้มแข็งช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพ คณะกรรมการมีความเสียสละเพื่อวิชาชีพและเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ร้อยละ 97.37
อันดับ 2 ค่อนข้างเชื่อมั่นเพราะองค์กรวิชาชีพทำงานตามบทบาทหน้าที่อย่างเคร่งครัด ร้อยละ 1.3

3.ความคาดหวังของผู้สำเร็จการศึกษาที่มีต่อ“องค์กรวิชาชีพพยาบาล”

อันดับ 1 องค์กรวิชาชีพพยาบาลอยู่เคียงข้างและเป็นที่พึ่งให้กับผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลทั้งในยามปกติและเมื่อเกิดปัญหา ร้อยละ 67.10
อันดับ 2 องค์กรวิชาชีพพยาบาลตอบสนองความต้องการของสมาชิก ในการปฏิบัติการพยาบาลด้วยความมั่นใจในมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ
ร้อยละ 23.68
อันดับ 3 องค์กรวิชาชีพพยาบาลในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ร้อยละ 9.21


4.ความคาดหวังผู้สำเร็จการศึกษาต่อ“สถาบันการศึกษา”ในการเข้าสู่ “องค์กรวิชาชีพพยาบาล”

อันดับ 1 กิจกรรมการจัดประสบการณ์มีความครอบคลุม เช่น การวิเคราะห์ประเด็นแนวโน้มทางการพยาบาลด้านองค์กรวิชาชีพพยาบาล การศึกษาดูงานสภาการพยาบาล และสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ ร้อยละ 36.84
อันดับ 2 วิธีการช่วยให้นักศึกษาสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ปรกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ผ่าน ร้อยละ 26.32
อันดับ 3 การให้ความรู้ความเข้าใจในองค์กรวิชาชีพพยาบาลในวิชาต่างๆ เช่น วิชากฎหมายและจริยธรรมวิชาชีพ วิชาประเด็นแนวโน้มทางการพยาบาล ร้อยละ 26.32
อันดับ 4 กระบวนการในการสมัครเป็นสมาชิกองค์กรวิชาชีพ และการสอบขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ร้อยละ 9.21

5. “องค์กรวิชาชีพพยาบาล” แบบไหนที่ผู้สำเร็จการศึกษาต้องการ

อันดับ 1 ยึดมั่นในความถูกต้องเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในสังคมที่มีต่อผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล ร้อยละ 69.73
อันดับ 2 ได้รับบริการอย่างรวดเร็ว แก้ปัญหาผู้รับบริการได้ทันเวลา ร้อยละ 9.25
อันดับ 3 จัดกิจกรรมที่สร้างความรักในวิชาชีพ การเชิดชูเกียรติและยกย่องพยาบาล ร้อยละ 7.89
อันดับ 4 มีผู้ให้คำปรึกษาที่เข้าใจปัญหาของผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลคอยให้บริการ ร้อยละ 6.57
อันดับ 5 มีช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย หลากหลายช่องทางโดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล ร้อยละ 5.26

จะเห็นได้ว่า ผู้สำเร็จการศึกษา มีความคาดหวังต่อองค์กรวิชาชีพพยาบาล ว่าเป็นองค์กรที่มีเกียรติเป็นที่ยอมรับในสังคม รวมทั้งเชื่อมั่นว่า องค์กรวิชาชีพสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพ เป็นที่พึ่งให้กับผู้ประกอบวิชาชีพ โดยสถาบันการศึกษาเป็นผู้สร้างกิจกรรมให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยองค์กรวิชาชีพพยาบาลยึดมั่นในความถูกต้องเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในสังคมที่มีต่อผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลต่อไป

หมายเลขบันทึก: 647794เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2018 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2018 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท