ชีวิตที่พอเพียง 3180. การคิดใน KM



วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๑ผมไปนั่งเป็นกองหนุนใน KMFacilitator Workshop ที่ สคส. บริการแก่บริษัทเบทาโกร    หัวข้อของบันทึกนี้เกิดจากการปิ๊งแว้บในวันนั้น

ผมสนใจเรื่องการคิดวิธีคิดให้ชัด  คิดให้โฟกัส  คิดให้ทะลุ คิดให้ออกนอกกรอบ  คิดเชิงบวก  คิดเชิงวิเคราะห์   คิดเชิงสังเคราะห์  คิดให้เห็นรายละเอียด  คิดให้เห็นภาพใหญ่  ฯลฯ         

ในเรื่อง KM ผมมีความเห็นว่าวิธีคิดที่สำคัญที่สุดคือการคิดตั้งเป้าหมายการบรรลุผลงานที่ต้องการให้ระบบความรู้เข้าไปหนุน    ซึ่งผมคิดว่าต้องตั้งเป้าให้ชัด  คิดแบบโฟกัส ระวังอย่าคิดคร่าวๆ หรือละบางส่วนไว้ในฐานเข้าใจกัน    ต้องตรวจสอบทำความเข้าใจร่วมกันว่าเข้าใจตรงกัน    และร่วมกันคิดหาวิธีวัดว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่ เพียงใด     

วิธีคิดตั้งเป้าหมายจะยิ่งดี    หากคิดสองแบบร่วมกัน    คือเป้าหมายปลายทาง(ซึ่งต้องระบุเงื่อนเวลาไว้ด้วย)   และเป้าหมายรายทาง   เพื่อสามารถใช้ประเมินว่าดำเนินการไปตรงทางหรือไม่    และบรรลุผลทีละขั้นได้หรือไม่   

วิธีคิดตั้งเป้าต้องคิดแบบยืดหยุ่น ไม่ตายตัว   เพราะเรื่อง KMเป็นเรื่องการเรียนรู้และปรับตัว ในลักษณะ complex – daptivesystems    ในระหว่างทางอาจพบเป้าหมายที่ทรงคุณค่ายิ่งขึ้น   และเห็นลู่ทางที่จะบรรลุได้ไม่ยาก   ก็จะได้ขยับเป้าขึ้น

การขยับเป้าต้องหลีกเลี่ยงการขยับลง    

การคิดใน KM ต้องร่วมกันคิด   แสดงความเห็น และฟังกัน    เอาความรู้จากประสบการณ์มาใช้ประกอบการคิด    การคิดร่วมกันใช้เครื่องมือ dialogue  และ appreciativeinquiry      

วิจารณ์ พานิช

๒๐ เม.ย. ๖๑

โรงแรม แกรนด์ฮิลล์  โตเกียว


 

หมายเลขบันทึก: 647569เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2018 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2018 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท