ส่งเจ้าให้ผ่าน...ภาวะวิกฤติ


ส่งเจ้าให้ผ่าน...ภาวะวิกฤติ


เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหน่วยกิตในหลักสูตรแล้ว นักศึกษาพยาบาลจะต้องสอบผ่านความรู้รวบยอด comprehensive อีกครั้ง ปีนี้เป็นจุดเริ่มต้นของคณะที่เข้าร่วมกับเครือข่ายพยาบาลทางภาคใต้ โดยออกข้อสอบร่วมกันของอาจารย์พยาบาลในนามของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ส่งผลต่อนักศึกษาและครู ดังนี้

นักศึกษา

1.ไม่มั่นใจว่าลักษณะข้อสอบเป็นอย่างไร

2.กระบวนการขั้นตอนจะเป็นอย่างไร

ครู(เฉพาะผู้เขียนเป็นครูซึ่งไม่ได้ไปร่วมออกข้อสอบด้วย)

1.ไม่มั่นใจว่าลักษณะข้อสอบเป็นอย่างไร

2.จะช่วยนักศึกษาได้อย่างไร เนื่องจากนักศึกษามีเวลาเตรียมตัวก่อนสอบมาระยะหนึ่ง แต่ก่อนวันสอบมีเวลาไม่มากนักเพียง 5 วัน เพราะนอกเหนือจากนั้นักศึกษาฝึกประสบการณืวิชาชีพ (Elective)กระจายการฝึกโดยไม่คิดหน่วยกิตตามที่เลือก เพื่อให้มั่นใจและเป็นประสบการณ์เสริมตามความต้องการของนักศึกษา ในขณะที่นักศึกษาฝึกหลายสถาบันมีการเชิญอาจารย์ทั้งในและนอกสถาบันติวอย่างเข้มแข็งเอาจริงเอาจัง

ผู้เขียนซึ่งรับผิดชอบหนึ่งนแปดรายวิชาเพียงคนเดียว จึงค่อนข้างหนักใจว่า เมื่อลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการเทียบเคียงผลสอบไปโดยปรืิยาย ซึ่งเราจะต้องมีแผนรับมือ เพื่อแสดงถึงคุณภาพของนักศึกษาที่สามารถเทียบเคียงในระดับภาคใต้ได้ จึงตั้งใจว่ารายวิชาที่รับผิดชอบผลสอบจะต้องออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้คือ ร้อยละ 60 ขึ้นไป

ผู้เขียนเรียนรู้ว่านักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีความตระหนัก แต่การวางแผนพิชิตข้อสอบ เพื่อให้ตนพ้นทุกข์ ยังขาดประสบการร์มากมาย สิ่งที่ครูต้องทำคือเ้าไปช่วยเหลือในเชิงรุกเท่านั้น

ขั้นตอนที่ 1 ผู้เขียนแจ้งครุประจำชั้นถึงกำหนดเวลาที่จะนัดหมายักศึกาาติวอย่างเป็นทางการ แม้จะมีเสียงแว่วๆว่านักศึกษาอาจมีคนเข้าติวน้อย แต่ในมุมมองของผู้เขียนที่เป็นครูอาวุโส เรียนรู้ที่จะเข้าใจความแตกต่างของนักศึกษาแต่ละรุ่นแต่ละคน ก็กล่าวว่าไม่เป็นไรหนึ่งคนครูก็ติว ขอให้ได้ทำหน้าที่ครู

ผล คือ นักศึกษาเข้าติวทุกคนเต็มชั้นเรียน เป็นวิชาแรกในแปดวิชา และเป็นหนึ่งในสองของวิชาที่มาจัดให้มีการติวด้วยจิตอาสาไม่มีโครงการหรือ่ค่าตอบแทนรองรับ วัตถุประสงค์ คือ ติวเพื่อสร้างความมั่นใจ กำลังใจ สร้าแรงบันดาลใจวให้นักศึกษาผ่อนคลายจากความเครียด

ผลสอบปรนัยครั้งที่ 1 นักศึกษา สอบผ่านวิชานี้ร้อยละ 66 ที่น่าสังเกตคือ รายวิชาที่มีการติวทั้งสองรายวิชา คะแนนนักศึกษาผ่านในระดับสูง

ขั้นตอนที่ 2 ผู้เขียนติดภารกิจทั้งสัปดาห์ กลับมาจากต่างจังหวัด นัดนักศึกษาที่เหลืออยู่ติวเป็นกรณ๊พิเศษนอกเวลา ในห้องเล็กๆมุมน้อยๆที่อบอวลไปด้วยความอบอุ่นเห็นอกเห็นใจ  วัตถุประสงค์ คือ การให้กำลังใจ เน้นตามทิศทางของข้อสอบ และติวเผื่อไปถึงหากผ่านไม่ทุกคน ต้องสอบข้อสอบอัตนัย

ผลสอบครั้งที่ 2 ยังเหลือผู้สอบไม่ผ่านอีก 20 คน

ผลสอบ อัตนัย ยังเหลือผู้สอบไม่ผ่าน

ผลสอบปากเปล่า นักศึกษาเข้าสอบ 1คนสามารถตอบข้อสอบได้ดี

หมายเหตุ ทุกๆวันผู้เขียนจะเข้าไปให้กำลังใจนักศึกษาในเฟสบุ๊คกลุ่มรุ่นของเขา

ประสบการณ์ที่ได้รับ  คือ นักศึกษาทุกคนรับรู้สิ่งที่ครูมุ่งมั่น ตั้งใจ จากความรักความผูกพันที่ตามมา ซึ่งเชื่อว่า นั่นจะเป็นการสร้างความรักความผูกพันที่มิใช่มีแต่เฉพาะตัวตนที่มีกับครู 

แต่หมายถึงความรักความผูกพันที่อาจเกิดขึ้นกับสถาบันการศึกษาที่หล่อหลอมนักศึกษามาโดยตลอด 

แต่ครูจะต้องช่วยสร้างแรงบันดาลใจเหล่านั้น

และนี่คือสิ่งที่หล่อเลี้ยงหัวใจครู 

หมายเลขบันทึก: 647402เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2018 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2018 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท