คุยกันต่อ เรื่องออเจ้า


ครูพิสูจน์พาท่านมาตามรอย "ออเจ้า"

ออเจ้า ที่เป็นสรรพนามยอดนิยม จากผลแห่งกระแสละครบุพเพสันนิวาส มีที่มาอย่างไรกันบางท่านอ้างว่า คำสรรพนามบุรุษที่ ๒ คำนี้ ไม่ใช่คำภาษาไทย เป็นคำภาษาฝรั่งเศส มาจากคำว่า otchaou (ครูพิสูจน์ ไม่มีความรู้ภาษาฝรั่งเศสคัดลอกมาถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้) ที่บอกว่าแปลว่า "เธอ"ดูเริ่มจะเข้าเค้า เพราะสมัยสมเด็จพระนารายณ์เราติดต่อกับฝรั่งเศส แต่ยังเชื่อไม่ได้ต้องมาค้นคว้ากันก่อน

ลองเปิดพจนานุกรมดู พบว่า ทั้งในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ และ พ.ศ.๒๕๕๔มีคำว่า "ออเจ้า" บอกว่าเป็นคำโบราณ เป็นสรรพนาม เป็นคำใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดด้วย แล้วท่านก็ยกตัวอย่างจากหนังสือมหาชาติคำหลวง กัณฑ์ชูชกว่า"ทชีก็ปรับทุกข์ร้อนทางจะอวดมีว่า ออเจ้าเอ๋ย ออเจ้า เราค่อยมั่งมีขึ้นเพียงนี้ มีเสียกว่าออเจ้า"

ในอักขราภิธานศรับท์(ไม่ใช่ศัพท์)ของหมอปรัดเล พ.ศ.๒๔๑๖ ขององค์การค้าคุรุสภา ให้ความหมายไว้ว่า

ออเจ้า,เปน(ไม่ใช่เป็น) คำคนผู้ใหญ่ออกชื่อเรียกคนที่อายุน้อยกว่าตัวว่าออเจ้านั้นนอกจากนี้ ยังมีคำว่า

ออเด็กๆ,เจ้าเด็กๆ,นี่เปนคำคนใหญ่เรียกคนเด็ก,ว่าออเด็กๆเอ๋ยนั้น

ครูพิสูจน์ หยิบพจนานุกรมเก่า ฉบับราชบัณฑิตยสถานฉบับ พ.ศ.๒๔๙๓ มาดู ไม่พบคำ "ออเจ้า" พบแต่คำว่า "ออ"บอกว่า "ออ" เป็นคำโบราณ เป็นสรรพนาม เป็นคำใช้แทนชื่อผู้ที่พูดด้วย(น่าจะเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒)หรืออ้างถึง(น่าจะเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓) สำหรับใช้แก่ผู้ที่เสมอกันหรือต่ำกว่า เป็นอย่างกันเอง

ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ และ พ.ศ.๒๕๕๔ มีคำว่า "ออ" และบอกว่าเป็นคำโบราณ แต่เป็นคำนาม และบอกความหมายว่า เป็นคำนำหน้าชื่อผู้ชายที่ตนพูดด้วยหรือพูดถึง โดยยกตัวอย่างเช่น ออมั่น ออคง

ออเจ้าลองศึกษาค้นคว้าหาความรู้กันดูเถิด

คำสำคัญ (Tags): #ออเจ้า
หมายเลขบันทึก: 646443เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2018 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2018 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

"...บางท่านอ้างว่า คำสรรพนามบุรุษที่ ๒ คำนี้ ไม่ใช่คำภาษาไทย เป็นคำภาษาฝรั่งเศส มาจากคำว่า otchaou ที่บอกว่าแปลว่า "เธอ"ดูเริ่มจะเข้าเค้า เพราะสมัยสมเด็จพระนารายณ์เราติดต่อกับฝรั่งเศส..." (in your post about) may be quite wrong. 'otchaou' is NOT a French word but a phonetisation of ออเจ้า in an old French report.

That is ออเจ้า is written as otchaou for French to hear what ออเจ้า sounds like.

Search the Net for evidence!

"...บางท่านอ้างว่า คำสรรพนามบุรุษที่ ๒ คำนี้ ไม่ใช่คำภาษาไทย เป็นคำภาษาฝรั่งเศส มาจากคำว่า otchaou ที่บอกว่าแปลว่า "เธอ"ดูเริ่มจะเข้าเค้า เพราะสมัยสมเด็จพระนารายณ์เราติดต่อกับฝรั่งเศส..." (in your post about) may be quite wrong. 'otchaou' is NOT a French word but a phonetisation of ออเจ้า in an old French report.

That is ออเจ้า is written as otchaou for French to hear what ออเจ้า sounds like.

Search the Net for evidence!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท