มหิดลสุขภาพโลก



 วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑ ผมไปร่วมประชุมคณะกรรมการชี้ทิศทางสุขภาพโลกมหิดล ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑   ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา 


สุขภาพโลกมหิดล (Mahidol Global Health) ตั้งสมัยที่ ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน เป็นอธิการบดี   และผมทำหน้าที่นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล    มี ศ. ดร. ชื่นฤทัย กาญจนจิตรา    ต่อมาท่านลาออก    และ นพ. วิวัฒน์ โรจนพิทยากร (ผู้เคยได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล จากผลงานป้องกันโรคเอดส์ด้วยโครงการ คอนด้อม ๑๐๐%) มาทำหน้าที่ผู้อำนวยการในปัจจุบัน   

วันนี้ ท่านอธิการบดี ศ. นพ. บรรจง มไหสวริยะ เป็นประธานการประชุม   

เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ มหิดลสุขภาพโลก ได้จัดการประชุม เสวนาวิชาการ “The Roles of Academic Institutions in Global Health” ที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา  มีผู้เข้าร่วมประชุม ๕๑ คน    ผมตีความว่า เป็นการแนะนำให้เข้าใจความหมายและบทบาทของ Global Health 

 มีคำ ๓ คำที่ต้องทำความเข้าใจ และแยกแยะคือ Public Health, International Health, และ Global Health    

Public Health มองประเด็น หรือปัญหาสุขภาพเป็นรายประชากร    ต่างจาก Medicine ที่มองสุขภาพรายบุคคล

International Health เป็นมุมมองของประเทศพัฒนาแล้ว  ต่อประเทศที่ยังม่พัฒนา   เน้นที่กิจกรรมความช่วยเหลือ

Global Health เป็นคำที่หลบจากคำ World Health เพราะโดยองค์การอนามัยโลกยึดไปแล้ว    GH มองประเด็นสุขภาพที่มีความเสี่ยงทั่วโลก   หากจะแก้ไขได้สำเร็จต้องร่วมมือกันทั่วโลก   ดังนั้น GH จึงมีมิติของความสัมพันธ์แนวราบเป็นสำคัญ  

สมัยนี้เชื้อโรคแพร่เก่งขึ้น  โรคที่ไม่มีเชื้อ (โรคไม่ติดเชื้อ – NCD) ก็อาศัยการค้าระหว่างประเทศ และทุนนิยม เป็นสื่อแพร่  

จากการประชุม ผมได้รู้จัก WHO Country Cooperation Strategy Thailand 2017 – 2021 (1), Thailand’s Global Health Framework (2), AUN- HPN Framework (3)   และ นพ. วิวัฒน์ ได้เสนอ MUGH Framework 4 ด้านคือ  (1) Knowledge creation, management, and communication, (2) Capacity Building, (3) GH development & movement, (4) อื่นๆ

ผมเสนอแนวคิดว่า มีกรอบแนวคิดอยู่พอสมควรแล้ว    ต่อไปควรลงมือทำ    โดยเสนอ ๔ มิติที่ต่อเนื่องกันของการลงมือทำ  (1) Mapping ผลงานและกิจกรรมที่เข้าข่าย GH ในมหาวิทยาลัยมหิดล และที่อื่นๆ ในประเทศ  (2) Forum จัดการประชุมโดยเชิญผู้ทำงานหรือสนใจ GH ตามใน mapping result มาร่วม  เชิญผู้มีผลงานดีมาเล่าผลงานของตน  สร้างชุมชนเรียนรู้เรื่อง GH  (3) ต่อยอดผลงานตามใน mapping และ forum สู่ Publication / Communication, (4) ใช้ PMAC เป็น resource ในการทำงาน   เช่น จัด side meeting ในการประชุม PMAC, ทำงานวิชาการสร้าง evidence สู่การประชุม PMAC เป็นต้น       


คุณหมอวิวัฒน์เสนอให้ MUGH ทำงาน downstream management ให้แก่ PMAC ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง    โดยเห็นว่าควรเน้นการขับเคลื่อนในประเทศไทย  


วิจารณ์ พานิช   

๑๓ มี.ค. ๖๑


 

 

หมายเลขบันทึก: 646357เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2018 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2018 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท