การให้คุณค่าต่องานวิจัยนโยบายในยุค คสช.



               วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๑ ผมไปเป็นประธานการประชุมมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)    ภายใต้ภาวะผู้นำของ นพ. วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร เมธีวิจัยอาวุโส สกว.  และ นพ. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ

มูลนิธินี้ทำงานมาประมาณ ๒๐ ปี    สร้างผลงานก่อประโยชน์ต่อประเทศไทยมากมาย  เช่นผลงานวิจัยที่นำไปสู่ระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า    ผลงานของหน่วยงานนี้ยังเป็นที่ยอมรับนับถือไปทั่วโลก  

แต่เมื่อ คสช. ขึ้นมามีอำนาจ ก็มีขบวนการสกัดการทำงานของหน่วยงานนี้    มีผู้สงสัยว่า น่าจะมาจากผู้เสียประโยชน์จากผลงานวิจัยที่รักษาผลประโยชน์ของบ้านเมือง แต่ขัดผลประโยชน์ของบางธุรกิจ    เขาสามารถใช้คนบางคนเชื่อมโยงผู้มีอำนาจได้  

ทั้งหมดนั้นเป็นข้อสันนิษฐาน ไม่มีหลักฐานยืนยัน    แต่ก็เป็นข้อสันนิษฐานที่มีเหตุผลแวดล้อมยืนยันมากมาย   

นำมาเล่าไว้ เพื่อบอกว่า งานวิจัยเชิงนโยบายเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมก็มีศัตรูได้    รวมทั้งในสังคมของเรามีแนวร่วมผลประโยชน์ที่มีไอ้ (หรืออี) โม่งรับผลประโยชน์ ทำตัวเป็นตัวแทนของธุรกิจทำร้ายสุขภาพของผู้คน อย่างลับๆ

ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองเคยออกมาขอโทษ ที่ทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์    แต่ขอโทษแล้วก็ไม่ได้แก้ไขปัญหา ปล่อยให้บ้านเมืองเสียหายจนปัจจุบัน

วิจารณ์ พานิช   

๑๔ มี.ค. ๖๑


 

 

 

หมายเลขบันทึก: 646356เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2018 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2018 00:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท