วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

คิดอย่างมะน้องมะแน้ง คิดทุกคำที่พูดอย่าพูดทุกคำที่คิด


คิดอย่างมะน้องมะแน้ง คิดทุกคำที่พูดอย่าพูดทุกคำที่คิด

***@เมษายน 2561 ตกฤดูเดือนห้าสายลมบ่มาผ่าน เห็นดอกจานเพิ่นแย้มบานเย้ยยุท่งนา เดือนนี้บ่ได้ช้าปีใหม่มาเถิง ให้พากันทำบุญปล่อยปลาลงน้ำ เต่าสิถามหาพุ้นคนใจบุญสิมาปล่อย นกสิงอยง่าไม้คอยท่าตั้งแต่ฝน เดือนนี้ม่วนจ้นๆคนกะหลั่งมาหลาย หาเอาทรายมากองก่อเจดีย์ไว้...ขอให้เดินทางด้วยความปลอดภัย...มีความสุขกับครอบครัวนะครับ

****@ผมเก็บตกจากงาน “ฌาปนกิจศพ คุณยายเปลี่ยน จำเริญศรี” อายุ 99 ปี เสาร์ ที่ 10 มีนาคม 2561 ที่เมรุวัดสุวรรณาราม อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยพระเดชพระคุณท่านเจ้าคณะอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ “คุณค่าที่แตกต่างกัน” ดั่งไม้ต้นเดียวกัน ท่อนหนึ่งกลายเป็นพระพุทธรูป ท่อนหนึ่งกลายเป็นไม้กระดาน ***ไม้กระดานรู้สึกไม่พอใจ.. “เราต่างเป็นไม้จากต้นเดียวกัน ทำไมคนอื่นๆถึงเหยียบฉันเพื่อขึ้นไปกราบเธอ***พระพุทธรูปบอกกับไม้กระดานว่า...เพราะเธอถูกเลื่อยเพียงครั้งเดียว แต่ฉันถูกแกะถูกกรีดเป็นพันเป็นหมื่นครั้ง...ชีวิตคนเราก็เช่นกัน ต้องทนได้กับการหล่อหลอม ชีวิตจึงจะเกิดคุณค่า เมื่อใดก็ตามที่เธอเห็นความเจริญรุ่งเรืองของใครๆ อย่าได้เกิดความอิจฉาริษยา แต่จงถามตัวเธอเองว่าเธออดทนและทุ่มเทมากกว่าใครคนนั้นแล้วหรือยัง***บัณฑิตย่อมไม่ใส่ใจเรื่องเล็กน้อย...คำพูดบางคำไร้สาระฟังแล้วไร้ประโยชน์เกิดความขุ่นเคืองไม่สบายใจ เราอย่าเก็บมาใส่ใจ...และเราจงเป็นคนที่คำพูดผ่านมันสมอง...ไม่ใช่พ่นออกมาจากปากเท่านั้น...ก่อนพูดเราเป็นนายคำพูด หลังพูด คำพูดเป็นนายเรา “คิดได้อย่างไร...ทำอย่างไรให้ประชาชนหายโง่” หนังสือด่วนที่สุด ที่ ขก 00237/7063 ลว.9 มีนาคม 2561 สนง.ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จ.ขอนแก่น ท่านรอง ผวจ.ขอนแก่น ลงนาม เวรกรรมเป็นประเด็นข่าวทั่วประเทศไทย***

***อำเภอสุวรรณภูมิ 199 หมู่บ้าน 15 ตำบล 16 อปท.10 ตำบล 136 หมู่บ้าน อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ ดินแดนฝนแล้งแมลงกินดินเค็ม...ผมชื่นชมกำนันพูล บัวลี แห่งตำบลทุ่งกุลา กำนันตัวเล็กใจใหญ่ ในโครงการอีสานเขียว สมัยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี/ มีกุลซือ คือ ฯพณฯ ประจวบ ไชยสาส์น ช้างดำแห่งภาคอีสาน นโยบายน้ำระบบท่อ อยากทำนาเปิดก๊อกน้ำ และปิดก๊อกน้ำเมื่อน้ำเพียงพอ...มันหายไปพร้อมรัฐบาลที่จากไป...ไม่เห็นซักก๊อก***แต่วันนี้ที่บ้านสังข์น้อย ตำบลทุ่งกุลา กำนันพูล บัวลี หนุ่มน้อยหน้ามนคนใจเดียว (ปฏิบัติตามคำสั่งสารวัตรกำนันโดยเคร่งครัดเพราะ..แต่งตั้งเมียเป็นสารวัตรกำนัน..ฮา..เบาๆนะครับ) ดำเนินการเป็นรูปธรรมแล้ว...จังหวัดร้อยเอ็ด หรือ “รัฐบาลต้อง” ตามไปดูครับ...กำนันทำได้อย่างไร งบประมาณเหลือจ่ายจากจังหวัดร้อยเอ็ด 10 ล้านบาท ไม่จำเป็นต้องเป็นโครงการใหญ่ๆ เป็นหมื่น เป็นแสนล้าน ครับ นี่คือกำนันพูล คนจริงแห่งทุ่งกุลาร้องไห้ หากต้องการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ ไปถามกำนันพูล บัวลี ไม่ต้องถึง “โครงการไทย-ออสเตรเลีย” หมดเป็นหมื่น-เป็นแสนล้านครับ ฟังเพลง “อ้ายแอ๊ด” คาราบาวแล้วช้ำใจครับ “อีสานแห้งแล้งมานาน นับหลายปี นะพี่นะน้องไม่ใช่เรื่องโกหก เรื่องจริงทั้งนั้น วันนั้นฉันผ่านไปเห็นมากับตาตัวเอง จึงมาร้องบรรเลง บอกเล่าให้ฟัง ดินอย่างงี้ มันแตกระแหง ทั้งเป็นฝุ่นสีแดง ยังกะดินลูกรัง...”..

***ชาวนา...เกษตรระบบแปลงใหญ่ขอบคุณท่าน ***วันชัย คงเกษม ผวจ.ร้อยเอ็ด ที่สนับสนุนงบประมาณสร้างบ่อบาดาลลอยฟ้า บ่อละ 800,000 บาท เจาะบ่อบาดาลพร้อมหอถังสูงปล่อยน้ำเข้านา..มีพลังงานแสงพระอาทิตย์...อำเภอเสลภูมิ บอกว่าเราภูมิใจที่มีพ่อเมืองชื่อวันชัย คงเกษม ส่วนที่อำเภอสุวรรณภูมิ ที่บ้านเหม้า ม.7 น้ำไหลสะดวกเพื่อการเกษตรอินทรีย์ชาวนาบอกว่า “อยากให้ท่านพ่อเมืองร้อยเอ็ด” เดินทางไปเยี่ยมถึงพื้นที่บ้างจะได้เห็นผลงานท่านเอง และประชาชนจะขอบคุณและขอบคุณครับ งานนี้สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร้อยเอ็ด ผลงานท่านเต็มๆนะครับ

***ผมไปที่สถานีพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด ด้านหน้าอาคารสำนักงาน “พัฒนถาบุตร” ที่ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี มารับมอบปี 2527 ด้านหน้า มาถึงสมัย ผวจ.วีระ เสรีรัตน์ นายวิทยา วรรณชารี เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ ฯพณฯ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี เดินทางมาเปิดงานวันข้าวหอมมะลิโลก ฟัง ผวจ.ร้อยเอ็ด กล่าวรายงาน จนเป็นลมล้มพับคาที่ ข้าวหอมมะลิแห่งท้องทุ่งกุลาร้องไห้ โด่งดังเพราะ “พ่อใหญ่จิ๋ว” มาเป็นลม...แต่สิ่งหนึ่งที่คนลืมคือ “ท่านสุนทร ศรีหะเนิน” เกษตรอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้เก็บรวบรวมเข้าหอม มา 199 รวง รวงที่ 105 หอมเรียว ยาว ขาว นุ่ม ปลูกที่ทุ่งกุลาร้องไห้หอมพิเศษเพราะมีความเค็มของดินที่ระเหิดขึ้นมา หอมคล้ายใบเตย ขาวเหมือนดอกมะลิ หากพูดถึงข้าวขาวดอกมะลิ 105 ต้อคิดถึงท่านสุนทร ศรีหะเนิน เกษตรอำเภอบางคล้า ท่านเสียชีวิตแล้วเมื่อคืนวันที่ 8 ตุลาคม 2559 ด้วยวัย 92 ปี นี่คือ “บิดาของข้าวหอมมะลิ หรือข้าวขาวดอมมะลิ 105” ในครั้งนั้น "ข้าวขาวดอกมะลิ105" หรือที่คนไทยเรียกกันสั้นๆติดปากในเวลาต่อมาว่า "ข้าวหอมมะลิ" ***ถูกรวบรวมมา 199 รวง โดยมีการบันทึกไว้ว่า ข้าวพันธุ์นี้ถูกนำมาจากบ้านแหลมประดู่ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ไปปลูกที่บางคล้าเมื่อปี 2488 ถิ่นกำเนิดของข้าวหอมมะลิจึงมีที่มาจากพื้นที่ในภาคตะวันออกของประเทศไทยบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดชลบุรีและฉะเชิงเทรา

***พี่น้องที่เกษตรกรที่รักทั้งหลาย...ไม่มีอำนาจใดในโลกหล้า ผู้ปกครองต่างมาแล้วสาบสูญ ไม่มีใครล้ำเลิศน่าเทิดทูล ประชาชนสมบูรณ์นิรันดร์ไป เมื่อยืนหยัดต่อสู้ผู้กดขี่ ประชาชนย่อมจะมีชีวิตใหม่ เมื่อท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพ  ประชาชนชาวไทยต้องเป็นใหญ่ใหญ่ในแผ่นดิน***เรารักเกษตรกร เกษตรกรรักเรา จำไว้

...สวัสดีครับ...วชร.ลูกชาวนา ครับ


คำสำคัญ (Tags): #1222
หมายเลขบันทึก: 646128เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2018 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2018 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท