“กิจการนักศึกษากับการสร้างบัณฑิตที่ตอบสนองต่อ(ความต้องการของ)สังคม”


เมื่อวันที่ 15 มีนาคม  2561 รศ.ดร.ลำปาง  แม่นมาตย์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) มาพบปะบุคลากร “กองพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์”

ชื่อใหม่ที่ใช้ได้มาร่วม 1 เดือน.... เมื่อเวลาเปลี่ยนไป อะไร ๆ ก็เปลี่ยนไป “กองกิจการนักศึกษา” ก็จะอยู่ในความทรงจำของพวกเรา.... ชื่อนั้นสำคัญไฉน

อ.ลำปาง กรุณาเล่าเหตุผลของการมาพบปะพวกเราชาวกิจการนักศึกษา ในฐานะผู้ดูแลแผนและวางยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ผนวกกับการมองในฐานะที่ “เคย” เป็นผู้บริหารด้านกิจการนักศึกษาในฐานะรองคณบดี จึงมาให้คำแนะนำด้วยห่วงใยและฝากถึงการจะพัฒนานักศึกษาเพื่อให้ตอบสนองต่อผู้ใช้บัณฑิต อันหมายถึงสถานประกอบการทั้งภาครัฐ เอกชน หรือแม้แต่การจะผันตัวไปเป็นผู้ประกอบการก็ตาม

อาจารย์ลำปาง ให้ข้อคิดว่า การพัฒนานักศึกษาเปลี่ยนไปจากเดิมค่อนข้างมาก ฝ่ายกิจการนักศึกษา ก็ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้วย เพราะถ้าไม่ยอมเปลี่ยนวิถีคิด เด็ก มข. ที่จบไปย่อมไม่มีงานทำหรือตลาดงาน “ไม่ต้องการ” กิจการนักศึกษาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วย พัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้พร้อมสำหรับการเป็นบัณฑิต

สกอ.หรือมหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันกำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ไว้ 12 ข้อ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.gotoknow.org/posts/112723

 แต่ถ้าจะให้กิจการนักศึกษาทำทั้ง 12 ข้อในเวลฃาเพียง 4 ปี 5 ปี 6 ปี ตามหลักสูตรที่เด็กเรียนคงเป็นไปได้ยาก แต่อยากให้ลองเลือกทำสัก 4 ข้อ เช่น สร้างให้นักศึกษามีความรับผิดชอบ  การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ การมีจิตอาสา และการเรียนรู้เป็น

ตอนนี้กำลังมีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เรียกว่า “โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่” ที่ให้เรียนทฤษฎีครึ่งหนึ่ง และเรียนฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการอีกครึ่งหนึ่ง

วิธีปฏิบัติของฝ่ายกิจการนักศึกษาที่น่าสนใจ เช่น การจัดค่ายแบบเป็นมหกรรม เพื่อเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน คล้ายๆกับค่าย Com-Med ที่คณธทางวิทยาศาสตร์สุขภาพได้จัดทุกปีจนประสบผลสำเร็จ ไม่อยากให้จัดค่ายแบบยิบย่อย แต่ละชมรมแต่ละสโมสร ทำค่ายยิบย่อย แต่อยากให้กองกิจการนักศึกษา ทำค่ายใหญ่ๆ ลงพื้นที่พร้อมๆกันทั้งอำเภอ มีค่ายในแต่ลำตำบลพร้อมๆกัน เอาศาสตร์แต่ละสาขาวิชาไปลงชุมชน ใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และชุมชนได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน จัดเทอมละ 1 ครั้ง รวมแล้วปีละ 2 ครั้ง เพราะหากโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่เริ่มขึ้น นักศึกษาชั้นปีสูงๆจะมีเวลาน้อยลง จะไม่มีเวลามาทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรมากนัก เพราะต้องไปเรียนรู้ในสถานประกอบการ เมื่อเวลาน้อยลง กฌมีเวลาทำกิจกรรมน้อยลง การจัดค่ายเรียนรู้แบบบูรณาการจึงน่าจะเหมาะสำหรับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร และเหมาะกับการเรียนรู้ในแนวทางการเรียนรู้ในหลักสูตรแบบใหม่  สอดคล้องกับแผนระดับชาติและการผลิตบัณฑิตที่สอนงตอบต่อความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต หรือสร้างกลไกสนับสนุนให้นักศึกษาพัฒนาตนเอง เพื่อไปเป็นผู้ประกอบการหลังสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และส่วนสำคัญค่อบุคลากรทุกๆฝ่ายจะต้องมีส่วนร่วมด้วย

การเรียนรู้ชุมชน เป็นกลไกการพัฒนานักศึกษาที่สำคัญ โดยเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้ชุมชน ได้สัมผัสและเข้าใจวิถีชุมชน และนำมาเป็นฐานคิดในการเรียนในวิชาชีพเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ต่อไป  

 

ณ มอดินแดง, 15 มีนาคม 2561

ปล. เนื้อหาและถ้อยความ ผมสรุปในแบบฉบับผมจากที่ได้ฟังท่านอาจารย์ลำปางมาพูดคุย

ปล. 2 ใช้คำว่ากิจการนักศึกษาปะปนกับพัฒนานักศึกษา นะครับ

ขอบคุณภาพจากน้องต้อม งานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มข.

หมายเลขบันทึก: 645813เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2018 18:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2018 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท