ความช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศไทยต่อชาวนาในช่วงรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา


ไม่ว่ายุคไหนสมัยใด เกษตรกรและชาวนาต่างได้รับการโอบอุ้มด้วยมาตรการต่างๆที่ใช้ชื่อเรียกไม่ซ้ำกันมาอย่างต่อเนื่อง เป็นมาตรการทำซ้ำทุกๆปี และมาตรการส่วนใหญ่เป็นแก้ปัญหาเฉพาะหน้าระยะสั้น ขณะที่ชาวนาส่วนใหญ่มีปัญหาพื้นฐานที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไข และไม่ว่าจะ ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง เมล็ดพันธ์ุ การใช้สารเคมี รวมทั้งคุณภาพของผลิตผล  ซึ่งล้วนเป็นปัญหาระยะยาวที่ต้องทำอย่างบูรณาการอย่างจริงจัง

     ส่วนสาเหตุจากรายงานสภาวะเศรษฐกิจจากธนาคารแห่งประเทศไทนย ยังพบว่า ภาคเกษตรของไทยกำลังประสบปัญหา จากราคาสินค้าที่ปรับตัวต่ำลง รายได้ของเกษตรกรหดตัวลงอย่างมากในรอบหลายปี ประกอบกับหนี้ครัวเรือนที่สูง ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม ซึ่งพืชเกษตรที่ประสบปัญหาหนักก็คือ ข้าวและยางพารา ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายภาคครัวเรือน  และประชากรในภาคเกษตรส่วนใหญ่เป็นชาวนา ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเผชิญปัญหาตั้งแต่ “วิกฤตจำนำข้าว” ในปี 2556-2557 และ “วิกฤติภัยแล้ง” ที่หนักที่สุดในรอบ 30 ปี  ปี 2558-2559  และต่อเนื่องด้วย “สถานการณ์น้ำท่วม” ช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม 2559 ทำให้พื้นที่นาหลายจังหวัดเสียหายนับพันไร่ 

     ส่วนมาตราการช่วยชาวนาของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ผ่านการเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย 2ปีที่ผ่านมามีดังนี้ ค่ะ

และจากรายงานเศรษฐกิจถึงประโยชน์ที่ชาวนาจะได้รับ พบว่าไตรมาส 3 ปี 2559 ภาคเกษตรเริ่มมีการฟื้นตัวเป็นมาจากมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล ซึ่ง นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมการข้าว ได้เปิดเผยถึง 17 โครงการช่วยเหลือชาวนา และยังได้ตั้งวงเงินไว้ประมาณ 102,784.95 ล้านบาท  เพื่อเข้ามาพยุงราคาข้าวไม่ให้ตกต่ำในช่วงผลผลิตกระจุกตัว และวงเงินต่างๆอีกเช่น งบประมาณอุดหนุนโครงการ โครงการสินเชื่อ เป็นต้น

ที่มา : https://thaipublica.org/2016/1...

หมายเลขบันทึก: 644901เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2018 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2018 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท