หลวงพระบางแหล่งการเรียนรู้


"ชวิตคือการเดินทาง แต่เป็นการเดินทางแห่งการเรียนรู้ เมื่อมาถึงหลวงพระบางเราได้เรียนรู้ถึงมรดกแห่งวัฒนธรรมโลก"

                 "ผมได้มาหลวงพระบางเมื่ออายุ 60 ปี แต่พวกคุณหลายคนโชคดีที่ได้มาหลวงพระบางเมื่ออายุยังน้อย....ได้มีโอกาสเห็นและเกิดสังคมการเรียนรู้ในชีวิตที่มีค่ายิ่ง"   คำกล่าวของ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์      ที่เหยียบหลวงพระ บางเป็นครั้งแรกในชีวิต พร้อมกับคุณยม นาคสุข           และรุ่น 3       7  Habits มข.                                                                                    

             

       13 ชีวิต ได้มุ่งสู่ "หลวงพระบาง" เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 49  โดยแบ่งออกเป็น 2 ชุด  คือ ชุดแรก มีทั้งหมด 10 คน ประกอบด้วย  อ.สมอก  พันธวงศ์(ผู้นำทีม)  ชำนาญ บัวทวน(หัวน้าทีม)   และสมาชิกรุ่น 3ฯ ได้แก่    จุรี ธรรมบูรณวิทย์, ชูศรี  ฤกษ์  ปทุมรัตน์, นันทิยา บุญเปียง,เยาวลักษณ์  ฐานสันโดษ, สุวิต  ผิวพัคำ,ชนะวิทย์  อนุสุเรนทร์   ผู้ประสานงาน  กัลยาณี  ไทยประยูร และช่างภาพ สุดารัตน์  บัวทวน     

 

       ชุดที่สอง  เดินทางถึงหลวงพระบางในวันที่ 22 พ.ย. 49  คือ Coach ของเรา" ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์  และที่ปรึกษาคนใหม่ของรุ่น 3 "คุณยม  นาคสุข"

                                              

              HR Innovation  Lungphrabang  คือ เป้าหมายหลักในการเดินทางมาครั้งนี้  และการสร้างสังคมแหล่งการเรียนรู้ในแนวกว้างและลึก

วันแรกการเดินทาง

                6.00 น. วันที่ 20 พ.ย.       คณะชุดแรกล้อหมุนมุ่งสู่  จ.หนองคาย  ด้วยใบหน้าอิ่มบุญ  หลายคนคงนึกในใจว่าวันนี้คงได้เห็นเสน่ห์หลวงพระบาง   และแล้วเวลาที่เราไม่สามารถย้อนคืนได้ก็มาถึง  เมื่อทุกอย่างในการผ่านแดนเรียบร้อย  เราได้เดินทางโดยรถยนต์ตู้ Toyota  ทะเบียน  หลวงพระบาง 1654 บริษัททัวร์มาลา          ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของ อ.สมอก ฯ ผู้นำทางของเรา  ฉะนั้นการเดินทางครั้งนี้เรามีผู้นำทางกิตติมศีกดิ์ เพราะตำแหน่งของท่านเป็นถึง รองอธิกรบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยสุภาณุวงศ์  ทำหน่าที่ขับรถยนต์   นำเที่ยว แปลใบเซียงซี  ถ่ายรูป  ฯลฯ

            09.30 น.  เราพร้อมที่เรียนรู้เชิงรุก ตาม Habits ที่ 1  คือการสร้างสังคมการเรียรู้นอกชั้นเรียนหรือที่ทำงาน     โดยการเรียนรู้จากคณะเดินทางด้วยกันเอง  และเรียนรู้จากภายในสู่ภายนอก  คือจากใกล้ตัวไปสู่ไกลตัว  พอล้อเริ่มหมุนปัญญาเริ่มแล่นการปะทะทางปัญญาของเราเริ่มขึ้นทันที  สิ่งแรกเราชื่นชมว่าคนเราเขารักษาขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมอย่างเคร่งครัด และสิ่งหนึ่งที่เรากล่าวถึงและชื่นชมคือ ชุดนักศึกษา หรือชุดนักเรียนของลาว มีความชัดเจน 

          ต่างกับชุดนักศึกษาของไทยแยกไม่ออกว่า  ชุดเรียนชุดเที่ยวหรือชุดทำงาน  และน่าเห็นใจนักศึกษาหญิงของเรา  ใส่เสื้อเหมือนคนเป็นโรคปอดบวม(กระดุมปริ) ทั้งๆที่ลาวก็สามารถรับเทคโนโลยีทาง TV ถึง 26 ช่อง ไม่ว่าของไทย  เวียดนาม จีน หรือตะวันตก  ซึ่งไม่ต่างกับไทยแต่วัฒนธรรมเขาคงอยู่เป็นเอกลักษณ์

             พร้อมนี้ติดตามด้วย  Habits 2 : เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ  เพราะเรามีไฟที่โหมรุกอยู่ด้วยเป้าหมายต้องถึงหลวงพระบาง อยากสัมผัสและเรียนรู้    "เพราะชีวิต คือ การเดินทาง  แต่เป็นการเดินทางแห่งการเรียนรู้"  ตลาดสีไต  เป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะไปหลวงพระบางด้วยทางหลวงหมายเลข 13 เหนือ      (ตลาดสีไต         อยู่ชานเมืองเวียงจันท์ คล้ายๆกับสถานีรถยนต์รับส่งผู้โดยสาร  ตามจังหวัดต่างๆของไทย  พร้อมนี้เป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าของลาวทางเหนือ และจุดขนถ่ายสินค้าไทยไปยังลาวตอนเหนือ)   พร้อมนี้จะเห็นได้ว่า ในลาวจะไม่มีร้านสะดวกซื้อหรือห้างใหญ่ๆแบบเมืองไทย 

     

           ด้วยวิถีชีวิตทีเรียบง่ายและแบบเสรษฐกิจพอเพียง   เราจึงเห็นเสน่ห์ของร้านโชว์ห่วยทั่วๆไป อย่างมีเสน่ห์

            เมื่อทุกคนลงไปสัมผัสตลาดสีไตแล้ว  ก็ขึ้นรถยนต์ตู้เพื่อใช้เส้นทางหมายเลข 13เหนือจากเวียงจันท์- มุ่งสู่ "โพนโฮง"  ชุมชนนี้ถือว่าเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของลาว   เพราะประมาณ กม.ที่ 29  จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไป "โครงการชลประทานห้วยซอน"   ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯของไทย  เป็นโครงการผสมผสานยังชีพในแบบเศรษฐกิจพอเพียง  ทำให้วิถีชีวิตของคนในหมู่ย้านนี้ดีขึ้น  และพระองค์ยังทรงมีพระกรุณาให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ติดตามความก้าวหน้ามิได้ขาด  นับว่าเป็นความโชคดีของคนไทยที่มีพ่อหลวงที่ห่วงใยพสกนิกรในบ้านและประเทศบ้านพี่เมืองน้องอีกด้วย

            "โพนโฮง" เป็นชุมชนที่ค่อนข้างใหญ่ จะมีตลาดหลักห้าสิบสอง เป็นตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าชาวบ้านในแถบนี้ โดยเฉพาะลาวสูง   ประชาชนมีฐานะค่อนข้างดีบ้านเรือนใหญ่โตและสวยงาม  ชาวบ้านแถบนี้มีการเพาะเลี้ยงสัตว์นำและสัตว์เศรษฐกิจพอสมควร  จาก"โพนโฮง"  แยกออกไปอีก 30 กม.  เป็นเส้นทางไป "เขื่อนน้ำงืม"ซึ่งเป็นถิ่นทียุคฝรั่งเศสเรืองอำนา  เพราะ   สถาปัตยกรรมบ้านเรือนมีกลิ่นอายฝรั่งเศส  แต่คณะเราต้องผ่านโดยมุ่งหน้าไปที่เมืองกาสี

                ถ้าจาก "โพนโฮง"  วิ่งตรงมาประมาณ 10 กม. ก็จะผ่านหมู่บ้านชาวลาวลุ่ม มาถึงหมู่ย้าน "ท่าเฮือ"(ท่าเรือ) ซึ่งส่วนมากจะเป็นที่แวะของนักท่องเที่ยวเพราะที่นี่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสินค้าพื้นเมืองประเภทจากสัตว์น้ำ เช่น ปลากรอบ  ปลาสัม ปลาร้า ฯลฯ วางจำหน่าย

         คณะของเราต้องหยุดกระทันหันเนื่องจากมีผู้ร่วมเดินทางของเรามีอาการเมารถยนต์  เพราะตลดทางที่ผ่านมาเริ่มมีการเรียกหายาแก้เสียว    กอเอี๊ยะปิดสะดือแก้เสียว   สุดท้ายได้ยาเหลือง(ยานอนหลับ) มาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า  ตาม Habits ที่ 3   ทำในสิ่งที่สำคัญก่อน   พออาการดีขึ้นเราได้มุ่งสู้เมือง"กาสี"  เป้าหมายคืออาหารกลางวัน  งานนี้หลายคนบ่นอบากชิมตำบักหุ่งแซ่บๆ  จึงต้องอดทนรอและมุ่งสู่เส้นทางลอยฟ้า  เพราะเมืองกาสีเป็นเมืองที่อยู่บนพื้นที่ราบระหว่างเขา  ประมาณพิกัดความสูงบนแผนที่ 900-1,300 เมตร

         

           ผักน้ำ เป็นเมนูอาหารกลางวัน ที่ทนำมาเป็นซุป หลายคนได้ลิ้มลองอย่างเอร็ดอร่อยพร้อมตำบักหุ่งอีก 4 จาน  เป็นการเติมพลัง  ตาม Habits ที่ 7: เติมพลังชีวิต  มีเรื่องจริงที่ได้รับการยืนยันว่า "ผักน้ำ" เป็นผักที่มีเฉพาะในลาวเท่านั้น   และจะขึ้นหรือปลูกได้ในที่มีน้ำสะอาดๆเท่านั้น   มันน้าแปลกทำไมเมืองไทยบ้านพี่เมืองน้องจึงไม่มี   หรือว่าเป็นเพราะน้ำไม่สะอาดผักน้ำจึงไม่ขึ้น.....ใครตอบ ข้อยแน่...

          Laungphrabang Skyway  Road    หรือเส้นทางลอยฟ้าก็อย่างที่ว่าตลอดทางจากท่าเฮือมา กาสี และต่อไปอีก 20 กม เราเริ่มไต่ภูเขาที่สูงชันทันทีสู่"ภูคูณ"  ซึ่งเป็นภูเขาหินปูนสูงทะมึนมีรูปร่างแปลกๆตา  มองแล้วโป๊ะเชะ  และมีเหวลึกให้เห็นในระหว่างเดินทาง   จากกาสี-ภูคูณนับได้ว่ารถยนต์ต้องวิ่งขึ้นลงภูเขาไม่น้อยกว่า 4 ลูก แบบว่าแต่ละลูกสูงๆเอาเรื่อง  สมแล้วที่เป็นเส้นทางลอยฟ้า  เส้นทางนี้จะผ่านหมู้บ้านแม้ว "เผ่าสาวเทิง"  ตลอดทางที่ผ่านมาเชื่อหรือไม่? คณะของเรากดชัตเตอร์กันไฟแลบเพราะอยากเก็บภาพทิวทัศน์ที่สวยงามไว้ให้สมความตั้งใจที่มา

         ภูคูณ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าคงไม่ใช่ภูเตี้ยแน่  เพราะ "เมืองภูคูณ"  ตั้งอยู่ยนบอดเขาเสียดฟ้า   และเป็นสามแยกไป "เมืองเชียงขวาง"(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของลาว  ชาวเมืองภูคูร เป็นชาวลาวภูเขาเกินครึ่ง  ที่เหลือเป็นพ่อค้าแม่ค้าชาวลาวลุ่ม ข้อสังเกตุที่เราพบเห็นว่ารอต่อระหว่างเมืองต่อเมืองจะมีการเก็บค่าบำรุงทาง  ซึ่คณะของเราพร้อมใจกันเรียกว่า "ค่าผ่านทางมอเตอร์เวย๋ขรุขระ"  ดูแล้วการซ่อมบำรุงทางเป็นไปได้ยากเนื่องจากพอหน้าฝน  น้ำฝนก็จะไหลลงมาจากเขาเป็นสายน้ำกัดเซาะพื้นผิวถนนขรุขระเป็นช่วงๆ

               ก่อนจะถึงเมืองหลวงพระบาง  คณะของเราได้ใช้ ผนึกพลังผสานความต่าง  Habits ที่ 6  โดยเริ่มใช้ศักยภาพของแต่ละคนมาผสมผสานหรือการทำงานเป็นทีม เริ่มมีบทบาท โดยมีการมอบหน้าที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  เรียกว่าไม่มีแตกแถวเฮไหนเฮนั่น...

          เราจอดพักรถยนต์และคนที่ "กิ่วกระจำ"  ซึ่งเป็นชุมชนแม้วบนภูสูง  ที่สังเกตุอีกอย่างหนึ่งชุมชนหมู่บ้านของลาวที่ผ่านมาแทบทุกหลังคาเรื่อนจะติดตั้งจานดาวเทียม ทั้งนั้น "กิ่วกระจำ"   เป็นชุมชนหมู่บ้านที่ตั้บนยอดเขาสูงลูกที่สอง  ตามพิกัดความสูงจากแผนที่ประมาณ 2,000 เมตร  เป็นหมู่บ้านของชาวแม้ว  "ลาวเทิง"       

 จาก "กิ่วกระจำ"   มุ่งสู่เมืองเชียงเงิน  อากาศเริ่มเย็นลง  ยอดภูเขาลูกสุดท้ายก่อนสู่เชียงเงิน ขวามมือเราสามารถมองเห็นสายน้ำของแม่น้ำคานเบื้อล่าง  ทอดยาวคดเคียวไปไกล  หากทัศนวิสัยดีๆเขาบอกว่าสสามารถเห็นเมืองหลวงพระบางอยู่ตรงแอ่งกระทะตรงกลาง  โดยมีแม่น้ำคานและแม่น้ำโขงเป็นแนวคันคูธรรมชาติป้องกันเพื่อรุกราน

        ก่อนถึงเมืองเชียงเงิน  ไม่ไกลเท่าใดนัก  จะมีทางแยกไปเมืองไชยบุรี (Xay -ya-buri)    มีอณาเขตติดต่อกับ  "บ้านร่มเกล้า"ของไทย  คนไทยยังคงจำกันได้ดีจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา   จากนั้น  เราก็มาถึงที่หมายโดยผ่านแม่น้ำคานเมื่อลงจากเทิอกเขาสูง 

          มุ่งสู่หลวงพระบาง  เมืองแห่งมรดกวัฒนธรรมของโลก ดวยการใช้แบบ Habits: 4,และ 5  คือคิดแบบได้กับได้  และเข้าใจผู้อื่นและผู้อื่นจะเข้าใจเรา  ประมาณ 19.00 น.  เราเข้าพักที่โรงแรมภูว่าว โดยสวัสดิภาพ

          คณะของเราใช้ชีวิตในหลวงพระบาง 2 วันครึ่ง  เราได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย โดยเฉพาะ Innovation  และเศรษฐกิจพอเพียงของหลวงพระบาง  อย่างที่กล่าวไว้ว่า "ชีวิตคือการเดินทาง  แค่เป็นการเดินทางแห่งการเรีบนรู้  เมื่อมาถึงหลวงพระบางเราได้เรียนรู้ถึงมรดกแห่งวัฒนธรรมโลก" 

         Life in easy  Lungphrabrang  วิถีชีวิตที่เรียบง่ายดุจสายรุ้งที่ร้อยเรียงผสมผสานได้ลงตัว      คนที่หลวงพระบางรักการออกำลังกาย      จะเห็นได้ว่า ยามเช้ามืด(04.00 น.)   แม้มีหมอกหนาพอควร   แต่ออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์จะรู้สึกสดชื่น   และจะเห็นคนหลวงพระบางออกมาวิ่ง  และบางกลุ่มก็ไปเล่นฟุตบอล     น่าอิจฉาโดยวิถีชีวิตจริงๆก็ออกกำลังกายโดยธรรมชาติ  เช่น ขี่จักรยาน  การเดิน  การขนถ่ายของ  เรียกว่า กระแสโลกาภิวัฒน์ ยังเข้ามาในวิถีชีวิตยังไม่มาก

       

วันเวลาที่เรามีอยู่ทำให้เราต้องปรับตัวให่เข้ากับชุมชนเรียกว่า  เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม   อาหารเช้าที่ที่ New Phu Vao Hotel  เป็นอาหารพื้นเมืองขนมปังและ ไข่กระทะ    คณะเราเริ่มลังเล.....งานนี้จะหมดไหมหนอ?  และในที่สุดบทสรุปก็เอาขนมปังต้องใส่ถุงขึ้นรถยนต์ ไปกินเอาดาบหน้า ดีที่สุด

           Study Toure  Lungphrabrang  เริ่มจากชมหัตกรรมต่ำแผ่น และการทำกระดาษสา ที่บ้าน "ช่างคล้อง"  บรรยากาศไม่แตกต่างกับทางเหนือบ้านเรา   แต่ในระหว่างที่เดินอยู่นั้น    จะเห็นว่ามีชุมชนในหมู่บ้านมาศึกษาเรียนรู้วิธีทำกระดาษสา  ซึ่งเป็นหัถกรรมนครัวเรือน  เรียกได้ว่าเป็นงานฝีมือล้วนๆ

         "ถ้ำติ่ง" บ้านปากอู เป็นอีกหนึ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจและประทับใจ กับสายน้ำอูไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง  งานนี้เราเดินทางโดยรถยนต์และแวะทานอาหารที่ร้านตรงท่าเรือ  งานนี้แจ่วมะกอกแซ่บหลาย  ร้านอื่นๆในหลวงพระบางชิดซ้าย  เราดื่มดำกับบรรยากาศพอควร  ก็ข้ามฟากโยเรือยนต์ไปยัง"ถ้ำติ่ง"  พอขึ้นมาก็กราบไหว้พระตามธรรมเนียมและที่ขาดมิได้ก็คือ การเสี่ยงเซียมซี  งานนี้เดือดร้อน อ.สมอกฯ ต้องแปลให้ฟังถ้วนหน้า  จากนั้นขึ้นไปที่ "ถ้ำติ่ง" มีออกอาการเล็กน้อยแต่ไปถึงจะเห็นปฏิมากรรมเกี่ยวโยงกับพุทธศาสนา คือ พระพุทธรูปตามศิลปของล้านช้างตั้วอยู่บริเสณปากถ้ำ

       "บ้านช่างไห่"  เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่เราไปเยี่ยมชม  ส่วนมากผุ้ชายจะสนใจขวดใส่เหล้าที่ถักอด้วยหวายเป็นที่ระลึก  ส่วนสตรีนั้นหรือทุกอย่างที่ขวางหน้าต่อได้ซื้อแหลก  หมุ่บ้านนี้จะมีสินค้าประเภทผ้าไหมทอมือ  เครื่องเงิน และทีนี่คือแหล่งต้มเหล้าขาวหรือสุราพื้นเมือง

      "Kuang Xy Waterfall  น้ำตกตาดกวงสี" เป็นอีกแห่งหนึ่งที่เราประทับใจกับธรรมชาติที่หลายๆคนพยายามเก็บความทรงจำด้วยการถ่ายภาพให้ได้มากที่สุด 

       "ตลาดกลางคืน" และ"ตลาดเช้า"  เป็นวิถีชีวิตและทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) ของคนหลวงพระบางเพราะช่วงเช้าจะเรียบงายเป็นวิถีชีวิตที่แทจริงของคนในชุมชนพอช่วงกลางคืนก็ไม่ต่างอะไรกับปิดถนนคนเดินสินค้าส่วนมากเน้นขายนักท่องเที่ยว

     

"ภูสี" หากจะเปรียบเทียบแล้วคงไม่แตกต่างกับพระธาตุดอยสุเทพของไทยทางภาคเหนือ ใครขึ้นไปแล้วเห็นบรรยากาศของหลวงพระบางและสายน้ำอูอย่างสวยงาม  และที่มาแล้วใครไม่เข้าชมหอพิพิธภัณฑ์"พระราชวังเก่า" เรียกว่ามาแล้วเสียเที่ยวเพราะหลวงพระบางเคยเป็นเมืองหลวงในอดีต  และสถานที่แห่งนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานน่าศึกษา       

 

 

 "ตักบาตรข้าวเหนียว" เป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมที่มีเสน่ห์มากเพราะทุกวันจะมีพระ 200 กว่ารูป เดินรับบาตรข้าเหนียวทุกวันดูแล้วเป็นที่น่าศรัทธายิ่งนัก

        สำหรับทางด้านวิชาการ  ภายหลังจาก Study Toure   จะมีการติดตามประเมินผลงานที่ผ่านมา  หลายรูปแบบเช่น Coffe Talke ในการดำรงชีวิตของคนในหลวงพระบาง 

 การระดมสมองในการจัดตั้ง Khon Kaen University  Human Resources Development

 

Clinic (KKUHRDC) หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านอธิการบดีคำผาย  ศรีสวัสดิ์  ม.สุภาณุวงศ์   หลวงพระบาง  

        เราจึงทราบว่า ลาวมีทั้งหมด 47 เผ่าพันธุ์  แตที่เป็นลาวทุกวันนี้เพราะมีองค์กรแนวร่วมลาวสร้างชาติ จึงสามารถต้านกระแสโลกาภิวัฒน์ได้ทุกวันนี้ (ส่วนมากทุกคนในลาวจะเป็นสมาชิกองค์กรนี้)  ปัจจุบันลาวมีนักศึกษาทั้งหมด ประมาณ 40,00 คน

     บทบาทอธิการบดี ม.สุภาณุวงศ์  นอกจากเรื่องวิชาการแล้ว  ยังมีรื่องคุณภาพชีวิต        คือ การเอาใจใส่เรื่องคุณธรรมและศีลธรรม 1. มีการเอิ้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อทุกคน(หากไม่มีจะทำงานไม่สำเร็จ) 2.ทุกเช้าวันจันทร์หลังเคารพธงชาติ  จะต้องพูดหน้าเสาธงเน้นเรื่องคุณธรรมและศีลธรรมขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมลาว

            ด่านการศึกษาของลาว เน้นที่ 1. ศีลธรรม 2.ปัญญาศึกษา(คิดอย่างมีวิจารณญาณและนำมาวิเคราะห์สังเคระห์) 3.พลานามัย4.การศึกษาแรงานศึกษา(เน้นเศรษฐกิจพอเพียง) 4.ศิปศึกษา

         นอกจากนั้นท่านยังให้คติพจน์ในการทำงานของพนักงาน ม.สุภาณุวงศ์ว่า " น้ำเพียงใด ดอกบัวเพียงนั้น  เต่ากุ้มปากเต่า  แลนกุ้มปากแลน" หมายถึง ทุกคนต้องทำอะไรให้เหมาะสมกับตนเองตามกำลังและความสามารถของตนเอง(ตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง)

           งานเลี้ยงต้องมีอันเลิกลาสุดท้ายคณะของเราทุกคนต้องนั่ง "ปี๊ยนต์" เครื่องบินกลับเวียงจันท์

 และเดินทางกลับประเทศไทยแบบ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ไม่สามารถย้อนเวลาได้ แต่อาจจะย้อนกลับไปหลวงพระบางได้อีกในอนาคต  เพราะเรารับปากว่าจะหาหนังสือให้ห้องสมุด ม.สุภาณุวงศ์ ต่อไป

ชนบท/คณะรุ่น 3 มข. 7Habits

 

 

 

 

 

 

       

 

หมายเลขบันทึก: 64367เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2006 12:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
อนงนาฎ ธรรมบูรณวิทย์
อาจารย์ชำนาญคะ อ่านแล้วดีมากค่ะเหมือนได้เดินทางไปด้วย แต่ไม่มีภาพนะคะ อย่าลืมโหลดภาพลงด้วยนะคะ
ยม นาคสุข "แนะนำให้ทำเป็น ชมรม และกำหนดวิสัยทัศน์ให้ชัดเจน"
สวัสดีครับ คุณชำนาญ อาจารย์สมอก และทีมงาน ที่ร่วมเดินทางไปหลวงพระบาง รวมทั้งผู้อ่านทุกท่าน งานไปหลวงพระบางนี้ ให้ประสบการณ์ที่มีค่ายิ่ง ขอขอบคุณทีมงานทุกคนที่มีความตั้งใจ ที่จะก่อให้เกิด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคอีสานและภูมิภาคอินโดจีน   ผมให้ความเห็นว่า ทางทีมงานน่าจะจัดตั้งเป็น "ชมรมบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคอีสานและภูมิภาคอินโดจีน" ปรัชญา วิชาการเด่น เน้นคุณธรรม นำท้องถิ่นพัฒนา ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีวิสัยทัศน์  ชมรมบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคอีสานและภูมิภาคอินโดจีน เป็นองค์กรชั้นนำ เพื่อการส่งเสริมการาบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดีที่สุดในท้องถิ่นอีสานและภูมิภาคอินโดจีน 1.    จัดการเผยแพร่ความรู้สมัยใหม่ ทางด้านบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ชุมชน สังคม โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มีจุดเด่นในด้านความสามารถในการบูรณาการความรู้ด้าน HRM & HRD และความสามารถในการใช้ เทคโนโลยี มุ่งเน้นการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความเป็นผู้นำ ความมีคุณธรรม โดยจัดบริการอบรมเผยแพร่ความรู้ ด้าน HRM & HRD ให้กับองค์ภาครัฐและเอกชน2.    ผลิตนักบริหารทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้รุ่นใหม่ ที่มีมาตรฐาน สู่สังคม พัฒนานักบริหารทรัพยากรมนุษย์และบุคลากรทางการบริหารทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ 3.    ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและสถาบัน และวิจัยท้องถิ่น เพื่อนำผลการวิจัยมาพัฒนาสถาบัน 4.    เป็นผู้นำในท้องถิ่น ที่มุ่งพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริม แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เผยแพร่ พัฒนา ปลูกจิตสำนึกของความเป็นไทย และภูมิปัญญาไทยให้เกิดขึ้นในทรัพยากรมนุษย์ ทุกระดับ ด้วยกิจกรรมทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม 5.    เป็นสถาบันที่มีการบริหาร จัดการที่เน้นการปรับตัวให้เท่ากันกับความเปลี่ยนแปลง ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ตลอดจนความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี 6.    จัดบริการทางวิชาการ HRM&HRD ให้แก่ชุมชน ให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และเสริมสร้างความ เข้มแข็งของทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนทางด้านทรัพยากรมนุษย์เป้าประสงค์1.    มีความสามารถในการเผยแพร่ความรู้สมัยใหม่ ทางด้านบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ชุมชนและท้องถิ่น สอดคล้องกับการขาดแคลนและความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของภูมิภาค ของประเทศ 2.    มีความสามารถในการพัฒนาวัตกรรมด้าน HRM&HRD  เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ และการเพิ่มศักยภาพนักบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งภาครัฐและเอกชน 3.    มีขีดความสามารถในการวิจัยที่เพิ่มคุณค่าทุนทางสังคม ให้แก่ชุมชนและท้องถิ่น และเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ 4.    มีความสามารถในการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม ตรงกับความต้องการ และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 5.    มีความสามารถในการส่งเสริม พัฒนา องค์ความรู้ด้าน HRM&HRD และเผยแพร่ความรู้ควบคู่ไปกับการเผยแพร่แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศิลปวัฒนธรรม เพื่อสร้างและรักษาทุน ทางสังคม 6.    มีระบบบริหารจัดการภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องประเด็นยุทธศาสตร์  1.    การพัฒนาคุณภาพการบริหาร และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ศึกษาและสร้างโอกาสทางการเผยแพร่ความรู้ สู่องค์การภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา และชุมชน 2.    การวิจัยและพัฒนา 3.    การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการพัฒนาท้องถิ่นแบบยั่งยืน 4.    การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 5.    การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการบริหารและการจัดการภายในองค์กร

6.    การให้บริการปรึกษา ด้าน HRM&HRD แก่องค์การภาครัฐและเอกชน จัดให้มี HR CLINIC บริการแก่องค์การภาครัฐและเอกชน

ที่กล่าวมาข้างตน เป็นเพียงความเห็นส่วนตัว ที่อาจจะเป็นแนวทาง ที่อาจจะประโยชน์โครงการ HR CLINIC ที่คุณชำนาญและทีมงานปราถนาที่จะทำ  ผมคิดว่าภายในเดือน ธ.ค. ควรมี Action Plan ของ ปี 2550 พร้อมตัวชี้วัดความสำเร็จออกมาหารือ กับ ศ.ดร.จีระ ครับ

ส่วนภาพที่ไม่ปรากฎให้เห็นนั้น อาจจะเป็นเพราะตอนที่ตั้งหรือทำ ไฟล์อัลบั้ม ไม่ได้ระบุไว้ว่าให้ปรากฏให้ผู้อื่นแสดงความเห็นได้ในแต่ละภาพ

วิธีแก้ คุณชำนาญ จะต้อง เข้าไปแก้ไข ไฟล์อัลบั้ม ใหม่ ตอนท้าย ๆ ของแต่ละไฟล์อัลบั่ม จะมีให้เลือก   ต้องระบุว่าให้แสดงต่อผูอื่น หรือให้ผู้อื่นแสดงความเห็นได้ด้วย เพียงเท่านั้น ภาพก็จะปรากฎให้เห็น 

ขอขอบคุณทีมงาน HR CLINIC จาก ม.ขอนแก่น เห็นความตั้งใจของทุกคน ยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมด้วยกัน

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน

ยม

นักศึกษา ป.เอก

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

 

ยม นาคสุข "แนะนำให้ทำเป็น ชมรม และกำหนดวิสัยทัศน์ให้ชัดเจน"
สวัสดีครับ คุณชำนาญ อาจารย์สมอก และทีมงาน ที่ร่วมเดินทางไปหลวงพระบาง รวมทั้งผู้อ่านทุกท่าน 
งานไปหลวงพระบางนี้ ให้ประสบการณ์ที่มีค่ายิ่ง ขอขอบคุณทีมงานทุกคนที่มีความตั้งใจ ที่จะก่อให้เกิด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคอีสานและภูมิภาคอินโดจีน   ผมให้ความเห็นว่า ทางทีมงานน่าจะจัดตั้งเป็น "ชมรมบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคอีสานและภูมิภาคอินโดจีน"
ปรัชญา
 วิชาการเด่น เน้นคุณธรรม นำท้องถิ่นพัฒนา ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี
วิสัยทัศน์  ชมรมบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคอีสานและภูมิภาคอินโดจีน เป็นองค์กรชั้นนำ เพื่อการส่งเสริมการาบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดีที่สุดในท้องถิ่นอีสานและภูมิภาคอินโดจีน
1.    จัดการเผยแพร่ความรู้สมัยใหม่ ทางด้านบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ชุมชน สังคม โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มีจุดเด่นในด้านความสามารถในการบูรณาการความรู้ด้าน HRM & HRD และความสามารถในการใช้ เทคโนโลยี มุ่งเน้นการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความเป็นผู้นำ ความมีคุณธรรม โดยจัดบริการอบรมเผยแพร่ความรู้ ด้าน HRM & HRD ให้กับองค์ภาครัฐและเอกชน
2.    ผลิตนักบริหารทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้รุ่นใหม่ ที่มีมาตรฐาน สู่สังคม พัฒนานักบริหารทรัพยากรมนุษย์และบุคลากรทางการบริหารทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ
3.    ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและสถาบัน และวิจัยท้องถิ่น เพื่อนำผลการวิจัยมาพัฒนาสถาบัน
4.    เป็นผู้นำในท้องถิ่น ที่มุ่งพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริม แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เผยแพร่ พัฒนา ปลูกจิตสำนึกของความเป็นไทย และภูมิปัญญาไทยให้เกิดขึ้นในทรัพยากรมนุษย์ ทุกระดับ ด้วยกิจกรรมทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
5.    เป็นสถาบันที่มีการบริหาร จัดการที่เน้นการปรับตัวให้เท่ากันกับความเปลี่ยนแปลง ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ตลอดจนความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี
6.    จัดบริการทางวิชาการ HRM&HRD ให้แก่ชุมชน ให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และเสริมสร้างความ เข้มแข็งของทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนทางด้านทรัพยากรมนุษย์
เป้าประสงค์
1.    มีความสามารถในการเผยแพร่ความรู้สมัยใหม่ ทางด้านบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ชุมชนและท้องถิ่น สอดคล้องกับการขาดแคลนและความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของภูมิภาค ของประเทศ
2.    มีความสามารถในการพัฒนาวัตกรรมด้าน HRM&HRD  เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ และการเพิ่มศักยภาพนักบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งภาครัฐและเอกชน
3.    มีขีดความสามารถในการวิจัยที่เพิ่มคุณค่าทุนทางสังคม ให้แก่ชุมชนและท้องถิ่น และเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ
4.    มีความสามารถในการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม ตรงกับความต้องการ และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
5.    มีความสามารถในการส่งเสริม พัฒนา องค์ความรู้ด้าน HRM&HRD และเผยแพร่ความรู้ควบคู่ไปกับการเผยแพร่แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศิลปวัฒนธรรม เพื่อสร้างและรักษาทุน ทางสังคม
6.    มีระบบบริหารจัดการภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ประเด็นยุทธศาสตร์  
1.    การพัฒนาคุณภาพการบริหาร และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ศึกษาและสร้างโอกาสทางการเผยแพร่ความรู้ สู่องค์การภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา และชุมชน
2.    การวิจัยและพัฒนา
3.    การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการพัฒนาท้องถิ่นแบบยั่งยืน
4.    การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
5.    การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการบริหารและการจัดการภายในองค์กร
6.    การให้บริการปรึกษา ด้าน HRM&HRD แก่องค์การภาครัฐและเอกชน จัดให้มี HR CLINIC บริการแก่องค์การภาครัฐและเอกชน

 

 

ที่กล่าวมาข้างตน เป็นเพียงความเห็นส่วนตัว ที่อาจจะเป็นแนวทาง ที่อาจจะประโยชน์โครงการ HR CLINIC ที่คุณชำนาญและทีมงานปราถนาที่จะทำ  ผมคิดว่าภายในเดือน ธ.ค. ควรมี Action Plan ของ ปี 2550 พร้อมตัวชี้วัดความสำเร็จออกมาหารือ กับ ศ.ดร.จีระ ครับ

 

ส่วนภาพที่ไม่ปรากฎให้เห็นนั้น อาจจะเป็นเพราะตอนที่ตั้งหรือทำ ไฟล์อัลบั้ม ไม่ได้ระบุไว้ว่าให้ปรากฏให้ผู้อื่นแสดงความเห็นได้ในแต่ละภาพ

 

วิธีแก้ คุณชำนาญ จะต้อง เข้าไปแก้ไข ไฟล์อัลบั้ม ใหม่ ตอนท้าย ๆ ของแต่ละไฟล์อัลบั่ม จะมีให้เลือก   ต้องระบุว่าให้แสดงต่อผูอื่น หรือให้ผู้อื่นแสดงความเห็นได้ด้วย เพียงเท่านั้น ภาพก็จะปรากฎให้เห็น 

 

ขอขอบคุณทีมงาน HR CLINIC จาก ม.ขอนแก่น เห็นความตั้งใจของทุกคน ยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมด้วยกัน

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน

 

ยม

นักศึกษา ป.เอก

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

081-9370144

[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท