เท่าที่จำความได้ 8 : รถแก่ข้าว


   

ขอบคุณภาพจากGoogle...

   ผู้เขียนสัญญาว่าจะนำเรื่องราวหลังตีข้าวนวดข้าวเสร้จมาเล่าสู่กันฟังก็คือบันทึกนี้ เท่าที่จำความได้ตอนเป็นเด็กผู้เขียนจะตื่นเต้นทุกครั้งเมื่อจะได้นั่งรถขนข้าวหรือ"รถแก่ข้าว" เข้าบ้าน เช่นเดียวกับกองข้าวเปลือกเหลืองอร่ามที่รอคนตักขึ้นรถเพื่อนำไปขึ้นฉาง อีสานเรียกเอาข้าวขึ้นเล้า

   มันสนุกตั้งแต่ได้ตามพวกผู้ใหญ่ไปสำรวจเส้นทางที่จะให้รถบันทุกข้าวตัดผ่าน ไม่ว่าจะเป็นป่าโนนนาที่ต้องหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องตัดโค่นต้นไม้เล็กใหญ่ เป็นเส้นทางเดิมๆนั้นแล่ะแต่จะต้องแพ้วถาง ขุดดิน ถมร่องถมคูให้รถผ่านไปได้สะดวก นอกจากผ่านป่าตามโนนนาแล้วบางพื้นที่อาจเข้าสู่พื้นที่นาต้องตัดคูนาคันนาที่สูงเพื่อไม่ให้ครูดท้องรถบรรทุกข้าว บางที่ที่มีดินเหลวก็หลีกเลี่ยงอ้อมไปมาจนเส้นทางคดเคี้ยวเลี้ยววกไปมาเป็นงูเลื้อยเลยทีเดียว

   มันจะสนุกขึ้นไปอีกก็คือบางครั้งรถตกหล่มอย่างหลีกเลี่ยงมิได้แม้จะวิ่งทางเดิมๆแต่บางครั้งดินมันยุบก็เป็นอันต้องเข็นกัน เข็นไม่ไปไม่ไหวยิ่งเข็นล้อยิ่งจมลึกผู้ใหญ่เขาก็จะมีวิธีหาท่อนไม้ก้อนหินที่พอหาได้มาหนุนล้อ แล้วก็เข็นกันรถก็เร่งเครื่องเสียงดังจนท่อำอเสียดำโขมงลอยสูง กว่าจะขึ้นได้ก็หมดแรงกันพอดี

   เท่ากับเส้นทางตรงจุดนั้นอันตรายยิ่ง ทำให้เสียเวลา เสียแรง และเสี่ยงต่อรถจะคว่ำได้ พวกเขาก็จะตัดเส้นทางใหม่ที่ดินแข็งพอ ถ้าไม่มีเส้นทางอื่นหลีกเลี่ยงไม่ได้พวกเขาจะหาท่อนไม้ ก้อนหินที่อยู่ใกล้ๆมาถมให้แข็งจนรถผ่านไปได้ ดังนั้นการเอาข้าวขึ้นเล้าจึงต้องมีผู้เฒ่าผู้แก่มาทำพิธีตั้งแต่เที่ยวแรก ไหว้ขอเจ้าที่เจ้าทางขอความสุขสวัสดีในการนี้ มีดอกไม้ดอกหญ้าตามป่า(ไม่แน่ใจว่าชื่ออะไร แต่เห็นทุกบ้านจะใช้ดอกไม้ชนิดเดียวกันนี้)มามัดติดรถ และนำไปเสียบติดไว้ตามเล้าบ้าน

   ส่วนรถบรรทุกส่วนมากจะเป็นรถหกล้อที่จ้างมาขนข้าวแก่ข้าว นาใครน้อยก็ขนเที่ยวสองเที่ยวก็เสร็จ นาใหญ่ข้าวเยอะผลผลิตมากก็ขนกันทั้งวัน จนฝนตลบอบอวลตั้งแต่ตวงข้าวขึ้นรถ พอถึงบ้านก็ลงแขกกันตักข้าวขึ้นเล้าจนมืดจนค่ำ เสร็จแล้วก็เลี้ยงเหล้ายาอาหารกันสนุกสนาน เด็กอย่างเราก็นัดกันมาเล่นซ่อนหากัน เล่นตี่จับกันครื้นเครงทั้งผู้ใหญ่ทั้งเด็ก

   พอดึกมืดค่ำพงกผู้ใหญ่ก็เรียกเด็กๆกลับบ้านแยกย้ายกันเข้าเรือนใครมัน นอนเอาแรงเพื่อจะไปลงแขกบ้านอื่นในวันรุ่งขึ้น

   นี่คือความสุขช่วงหนึ่งของชาวนาเลยทีเดียวครับ

..............

หมายเลขบันทึก: 643415เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2017 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2017 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

-สวัสดีครับ

-เป็นความทรงจำที่ดีมากๆ ครับ

-ได้บรรยากาศท้องทุ่ง

-ขอบคุณครับ

ไปค้นGoogleมา ทราบว่าดอกไม้ป่าที่ใช้ไหว้ตามพิธีรับขวัญข้าวเรียกดอก เกล็ดลิ่น

ไม่มีช่วงชีวิตใดของคนเรา

ที่จะสุขเท่ากับชีวิตวัยเด็กนะจ๊ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท