การประชุมประจำปี การพัฒนาการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพ ครั้งที่ ๔ : 5. การประชุมวันที่สาม



วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เป็นวันสุดท้าย มีการประชุมครึ่งวัน    แต่ก็มีการประชุม AAR ของทีมงานซึ่งผมไม่ได้ร่วมประชุม

ข้อเสนอแนะจากคณะทำงาน เรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพสุขภาพ นำเสนอโดย ศ. นพ. พงษ์ศักดิ์ วรรณไกรโรจน์  หัวหน้าทีมคณะทำงาน  เป็นการนำเสนอที่ครบถ้วนรอบด้าน และเป็นระบบดีเยี่ยม    โดยจับประเด็นด้าน (๑) บทบาทผู้บริหารและนโยบาย  (๒) หน่วบงานด้าน ไอที และระบบ ไอที  (๓) การพัฒนาบุคลากรด้าน ไอซีที  (๔) การใช้ไอซีที กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดนิสัยเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นฐานการเรียนรู้ตลอดชีวิต  (๕) เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับจัดการเรียน การสอน  (๖) การใช้อุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ และ ซอฟท์แวร์  (๗) การใช้ ไอซีที ในการประเมินผลการเรียนรู้  (๘) การใช้ ไอซีที เพื่อการพัฒนาอาจารย์ บุคลากร และผู้เรียน 

Enabling medical education innovations through information technology @HKU  โดย ศาสตราจารย์  Gabriel M. Leung คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง    จุดสำคัญที่สุดคือเขาจัดให้มี IT platform และ content ให้ นศ. เข้าไปเรียนเอง    แล้วคณะ/อาจารย์สามารถติดตาม รู้ความก้าวหน้าของ นศ. เป็นรายคนได้    ด้วยความช่วยเหลือของ ไอที (AI)      

มี management system ของแต่ละระบบการเรียน เช่นระบบวิชาเลือก   ระบบ enrichment year,    Learning activity management system,   Assessment recording & reporting system,   Web-based Item Bank management system  

  Can EdTech Really Change in The Rule of Game in Health Professional Education?  โดย  Tomoyuki Naito, Senior Advisor, JICA   เล่าว่า ไจก้า สนับสนุนทุนให้มหาวิทยาลัย Kagawa  ร่วมมือกับ มช. ในการพัฒนา tele-medicine    ในญี่ปุ่นมีการพัฒนา เครื่องมือไอทีสำหรับช่วยเหลือผู้สูงอายุ เช่น เครื่องทำนายเวลาถ่ายอุจจาระ    ช่วยให้ผู้ดูแลกำหนดเวลาไปช่วยเหลือได้    

คำถามสำคัญคือ จะใช้ ไอที ช่วยยกระดับสุขภาพของผู้คน    และยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างไร    มีข้อมูลว่ามีการลงทุนซื้อคอมพิวเตอร์ และระบบไอทีมากมายในวงการศึกษา  แต่ไม่ช่วยให้ผลลัพธ์การเรียนรู้ดีขึ้นในสหรัฐอเมริกา  และในประเทศอื่นๆ    ผมคิดว่านี่คือบทเรียน และข้อคิดสำคัญที่สุดของประเทศไทย     หากเราจะพัฒนาสู่ ปทท. .๐ เราต้องคิดและดำเนินการอย่างเป็นระบบ   และมีการวัดผลกระทบเพื่อปรับยุทธศาสตร์    


พลังสำคัญที่สุดที่ ไอที ช่วยได้ คือ PL – Personalized Learning   โดยต้องเอา content  และระบบต่างขึ้น cyber space เพื่อใช้พลังของ big data และ Artificial Intelligence 

Executive Forum เรื่องระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อยกระดับคุณภาพของบุคลากรสุขภาพ    มีผู้บริหารเข้าร่วมล้นหลาม   รวมทั้งท่านอดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ. โสภณ เมฆธน    และมีการอภิปรายกันอย่างเข้มข้น ในหลากหลายประเด็น    ผมสรุปกับตนเองว่า ประเทศไทยต้องการ ICT Platform เพื่อยกระดับการเรียนการสอน และการบริหารสถาบันการศึกษาวิชาชีพสุขภาพที่ effective, efficient, และ cost saving   

เรื่องการทำเรื่องสำคัญอย่างเป็นระบบ ไม่ทำแบบกระจัดกระจาย ต่างคนต่างทำ     และมีกลไกให้ระบบนั้นก่อผลดีตามที่ต้องการ ได้จริง เป็นเรื่องที่แตะด้านใดในประเทศไทย ใช้การได้หมด


วิจารณ์ พานิช

๒๖ พ.ย. ๖๐


 

 

หมายเลขบันทึก: 643197เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2017 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2017 09:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท