การประชุมประจำปี การพัฒนาการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพ ครั้งที่ ๔ : 2. พิธีเปิด



พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิด   และกล่าวปาฐกถานำเรื่อง Transformative Health Professional Education to Support Thailand 4.0    ท่านกล่าวว่า การศึกษาของวิชาชีพสุขภาพ มักดำเนินการแบบเฉพาะทาง แยกส่วน    แต่ตอนทำงานต้องทำแบบบูรณาการกัน เป็นทีม   โดยรัฐบาลมีนโยบายสร้างทีมหมอครอบครัว ที่เรียกว่า PCC – Primary Care Cluster   จำนวน ๖๕,๐๐๐ ทีมทั่วประเทศ    สามทีมทำงานร่วมกัน เป็นหนึ่งกลุ่ม (cluster)   ทำงานด้านสุขภาพปฐมภูมิ

ท่านกล่าวถึงความสำคัญของ สังคมสูงอายุ    โรคกลุ่ม NCD   และปัญหาเชื้อโรคดื้อยา 

ตลอดช่วงเช้าเป็นปาฐกถานำรวม ๖ รายการ  

รายการถัดมาเป็นปาฐกถานำเรื่อง Digital is Different โดยท่าน รมต. ศึกษาฯ  นพ. ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์   เริ่มด้วยพระราโชบายด้านการศึกษา ของในหลวง ร.๑๐   ให้มุ่งสร้างพื้นฐานแก่ผู้เรียน ๔ ข้อ  (๑) ทัศนคติที่ถูก  (๒) มีวินัย  (๓) มีงานทำ  (๔) เป็นพลเมืองดี  

ท่านให้นิยามความแตกต่างระหว่าง education กับ training  ดังนี้

Education : not only for living but also for life, not only for competencies but also for characters   สรุปว่า การศึกษามีเป้า LLCC

Training : guided practice, grounded in practical knowledge and pedagigy (apprenticeship)

ทั้งการศึกษาและการฝึกฝน นำไปสู่ความรู้ความชำนาญ ๓ ระดับ คือ (1) competent  (2) proficient  (3) expert    

ปัจจัยหลักของการศึกษาระดับ world-class แปดประการตามหนังสือ A World-class Education เขียนโดย Vivien Stewart ได้แก่ () วิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ  () กำหนดมาตรฐานไว้สูง  () มุ่งความเท่าเทียม  () ครูและผู้บริหารคุณภาพสูง  () มีความเชื่อมโยงสอดประสานกัน  ()  การจัดการและความรับผิดรับชอบ () แรงจูงใของนักเรียน  () มุ่งเรียนโลกและอนาคต   

เพื่อสร้างประเทศไทย ๔.๐   เราต้องก้าวสู่ industry 4.0   ซึ่งหมายความว่าบูรณาการ industry 1.0 (พลังกลไก), 2.0 (พลังไฟฟ้า) และ 3.0 (พลังดิจิตัล)   และต้องสร้าง mindset 4.0 ซึ่งผมตีความต่าง    ว่าต้องเลย mindset 1.0 (หลักกู), 2.0 (พวกกู) และ 3.0 (กฎหมาย) ไปสู่ mindset 4.0 ที่เป็น mindset ที่เห็นความงาม และพลังของความแตกต่างหลากหลายซับซ้อน    และเห็นแก่ส่วนรวม

ดู PowerPoint  และ VDO ประกอบการบรรยายที่ ()

ปาฐกถานำเรื่องที่สาม เป็นของ Dr. Poonam ท่านเกิดอุบัติเหตุหกล้ม กระดูกหัก มาประชุมไม่ได้  จึงส่งวีดิทัศน์มาแทน  พูดเรื่อง Transformative Health Workforce and Technology in SEAR  ซึ่งมีการใช้ eHealth ระดับโทรศัพท์มือถือในประเทศต่างๆ 

ปาฐกถานำเรื่องที่สี่ ICT for Education and Professional Development in Thailand : How Far We Go  โดยท่าน รมต. กระทรวงเทคโนโลยีดิจิตัล ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์   ซึ่งพูดปากเปล่าและมีสาระน่าประทับใจมาก   แต่ไม่ได้พูดเรื่อง ไอซีทีเพื่อการศึกษาเลย   ผมใช้ iPhone จดสาระโดยย่อของคำบรรยายไว้ดังนี้

จุดสำคัญ 3

  1. ยกระดับจากสังคมแรงงาน สู่สังคมเทคโนโลยี

      เอาใจใส่คนรากหญ้า ยกทั้งแผง

      นวัตกรรมในบริบทของสังคมไทยทุกภาคส่วน      

  2. เอาใจใส่ความเหลื่อมล้ำในสังคม  

  3. พัฒนาอย่างยั่งยืน  ต่อยอดเศรษฐกิจพอเพียง

ความท้าทายของ digital Thailand คือการเชื่อมโยง  ความหวังและโอกาส  … ด้วยพลัง SIGMA

  S ecurity : Digital security

  I  nfrastructure : Digital infrastructure, digital grid

  G overnment : eGov สร้างความโปร่งใส 

  M anpower : กำลังคนที่มีคุณภาพ  รวมทั้งการสร้างผู้ประกอบการ   มีความสร้างสรรค์  ต้องการสร้าง digital   

      workforce 1 แสนต่อปี x 5 ปี    เรื่องนี้มีลำดับความสำคัญสูงสุด และเร่งด่วน     

  A pplications ทั้งทางธุรกิจและสังคม 

 

Net ประชารัฐ

   เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ  คนชนบทเข้าถึง digital technololy เท่าเทียมคนกรุง

   ก่อนสิ้นปี 61 ปทท go broadband 

จะทำ 3 เรื่อง ในการใช้ Net ประชารัฐ 

   1. ระบบ eCommerce : eMarketplace, ePayment, eLogistics

   2. eHealth : telemedicine ต่อไปเอา iot เข้ามา, eอสม. ใช้ connectivity ช่วย, eLearning, eEducation, eCoaching

   3. Smart city : ภูเก็ต  ใช้เทคโนโลยี ดิจิตัล อำนวยความสะดวก 

 

ปาฐกถานำที่ห้า Technology-Enhanced Learning Development  โดย Prof. Erle CH Lim, NUS   ท่านเสนอ The Pyramid of Computational Skills ซึ่งผม ไม่เคยได้ยินมาก่อน    จึงนำ PowerPoint slide มาฝาก (ดูรูปที่ ๑)    โดยฐานของ ปิระมิดคือ Computaional Thinking    ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ พึงมี    และหมายถึง วิธีคิดที่มี ๓ ขั้นตอน คือ (๑) การระบุตัวปัญหาให้ชัดเจน   (๒) พัฒนาแนวทางแก้ปัญหา  (๓) วิเคราะห์แนวทางแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ และหรือเครื่องมือที่มีพลังคอมพิวเตอร์   ซึ่งผมตีความว่า เป็นวิธีคิดแบบมุ่งใช้ สมองกลทำงานแทนมนุษย์    และนั่นคือพื้นฐานของการใช้ ICT ช่วยเพิ่มพลังการเรียนรู้  

วิทยากรเป็นหมอผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา  ท่านถ่ายวีดิทัศน์ การตรวจร่างกายผู้ป่วย ที่มีอาการที่ทั้งหาดูยาก และตรวจยาก เอาไว้    เอามาใช้ฝึกทักษะนักศึกษาได้ดีมาก    เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้แบบทำ ได้ง่าย    เดี๋ยวนี้ใช้โทรศัพท์มือถือก็ทำได้แล้ว    รวมทั้งมี software ในโทรศัพท์มือถือสำหรับตัดต่อ    ทำเป็นชุดความรู้ขึ้นเว็บให้ นศ. เข้าไปดูก่อนฝึกจริง    ที่สำคัญคือแต่ละชุดความรู้ใน VDO ห้ามยาวเกิน ๕ นาที  เพราะ attention span ของ นศ. สมัยนี้ยาวแค่นั้น

   

ปาฐกถานำที่หก  Education 4.0 in Thailand : How to Reach   โดย ศ. ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์  อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    ตอบคำถามตามหัวข้อ ที่กำหนดอย่างชัดเจน    ว่าจุฬาฯ จัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการใช้ไอซีที เสริมพลังการเรียนรู้ ของนิสิตอย่างไร

เริ่มจากการชี้ว่า อุดมศึกษาดำเนินการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ (๑) เปลี่ยนแปลงเร็วและรุนแรง  (๒) มีความท้าทายที่ซับซ้อนมาก  (๓) วิถีชีวิต ประจำวันที่เปลี่ยนไป    การสร้างทุนมนุษย์จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง หลักๆ ๔ ประการ    ตามในภาพที่ ๒   และเสนอภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา ๖ ประการตามรูปที่ ๓ ซึ่งอิง APRU Report 2016 ที่สามารถค้นมาศึกษารายละเอียด ได้   

ผมตีความตอบ How to reach ว่า ผู้บริหารและสมาชิกขององค์กรต้องคิด อย่างซับซ้อน  ยึดสภาพสังคมปัจจุบันเป็นตัวตั้ง    และทำงานเพื่ออนาคต   ที่น่าตื่นตาตื่นใจคือ Siam Innovation District (1)

วิจารณ์ พานิช

๙ พ.ย. ๖๐


 

1 The Pyramid of Computational Skills

2 สี่ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์

3 บทบาทของสถาบันอุดมศึกษา

หมายเลขบันทึก: 643051เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2017 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ธันวาคม 2017 09:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท