​Clarivate Analytics 2017 Highly Cited Researchers List


นักวิจัยไทยที่อยู่ในกลุ่ม top 1% คือ ศ. ดร. สุทธวัฒน์ เบญจกุล มอ., ศ. ดร. สมชาย วงศ์วิเศษ มจธ., และ ผศ. ดร. เอกชัย ชูเกียรติโรจน์ มฟล. นอกจากนั้นยังมีนักวิจัยชื่อฝรั่งที่ทำงานในประเทศไทยอีก ๒ คน

Clarivate Analytics 2017 Highly Cited Researchers List     

ผมได้รับ อีเมล์ จาก รศ. ดร. มงคล รายะนาคร ดังต่อไปนี้ 

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 Clarivate Analytics, Philadelphia ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ (News Release) เกี่ยวกับรายชื่อนักวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงในกลุ่ม 1% สูงสุดของโลกในแต่ละสาขาการวิจัยประจำปี ค.ศ. 2017 ที่เรียกว่า Clarivate Analytics 2017 Highly Cited Researchers List โดยรายชื่อทั้งหมดปรากฏอยู่ที่       https://clarivate.com/hcr/

            ในการจัดทำรายชื่อนักวิจัย Top 1% ของโลกในแต่ละสาขาในครั้งนี้ Clarivate Analytics ได้ประมวลและวิเคราะห์ผลงานวิจัยตีพิมพ์ จำนวน 130,000 รายการ จากมหาวิทยาลัยและองค์กรวิจัยชั้นนำทั่วโลก 900 แห่ง ได้รายชื่อ “สุดยอดนักวิจัย” มากกว่า 3,300 ชื่อ ใน 21 สาขา เป็นนักวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกา 1,661 คน สหราชอาณาจักร 350 คน และจีน 249 คน นอกนั้นเป็นนักวิจัยในประเทศอื่นๆ  ในส่วนของมหาวิทยาลัย/องค์กรวิจัย 4 แห่งที่มีจำนวนสุดยอดนักวิจัยของโลกคือ Harvard University 109 คน Stanford University 64 คน Max Planck Society 47 คน และ Chinese Academy of Science 44 คน

            ในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN) มีเพียงมหาวิทยาลัยในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ไม่กี่แห่งที่มีนักวิจัยอยู่ในรายชื่อ Clarivate Analytics 2017 Highly Cited Researchers ดังต่อไปนี้

 

Name

Category

Affiliation

Benjakul, Sootawat

Agricultural Sciences

Prince Songkla Univ, Thailand

Karim, Alias A

Agricultural Sciences

Univ Sains, Malaysia

Liu, Xiaogang

Chemistry

Natl Univ Singapore, Singapore

Lou, Xiong Wen (David)

Chemistry

Nanyang Technol Univ, Singapore

Pumera, Martin

Chemistry

Nanyang Technol Univ, Singapore

Zhang, Hua

Chemistry

Nanyang Technol Univ, Singapore

Huang, Guang-Bin

Computer Science

Nanyang Technol Univ, Singapore

Lim, Teng

Computer Science

Natl Univ Singapore, Singapore

Niyato, Dusit

Computer Science

Nanyang Technol Singapore, Singapore

Quek, Tony QS

Computer Science

Singapore Univ Technol Design, Singapore

Suganthan, Ponnuthurai Nagaratnam

Computer Science

Nanyang Technol Univ, Singapore

Zhang, Rui

Computer Science

Natl Univ Singapore, Singapore

Ahmad, Abdul Latif

Engineering

Univ Sains Malaysia, Malaysia

Daud, Wan RW

Engineering

Univ Kebangsaan Malaysia, Malaysia

Ge, Shuzhi Sam

Engineering

Natl Univ Singapore, Singapore

Hameed, Bassim H

Engineering

Univ Sains Malaysia, Malaysia

Huang, Guang-Bin

Engineering

Nanyang Technol Univ, Singapore

Kalam, M A

Engineering

Univ Kebangsaan Malaysia, Malaysia

Kamarudin, Siti Kartom

Engineering

Univ Kebangsaan Malaysia, Malaysia

Masjuki, H H

Engineering

Univ Malaya, Malaysia

Wongwises, Somchai

Engineering

King Mongkuts Univ Technol Thonburi, Thailand

Xie, Lihua

Engineering

Nanyang Technol Univ, Singapore

Wardle, David A

Environment/Ecology

Nanyang Technol Univ, Singapore

Fan, Hong Jin

Materials Science

Nanyang Technol Univ, Singapore

Lee, Jim Yang

Materials Science

Natl Univ Singapore, Singapore

Liu, Bin

Materials Science

Natl Univ Singapore, Singapore

Lou, Xiong Wen (David)

Materials Science

Nanyang Technol Univ, Singapore

Ramakrishna, Seeram

Materials Science

Natl Univ Singapore, Singapore

Yu, Ting

Materials Science

Nanyang Technol Univ, Singapore

Zhang, Hua

Materials Science

Nanyang Technol Univ, Singapore

Shen, Zuowei

Mathematics

Natl Univ Singapore, Singapore

Maes, Michael

Neuroscience & Behavior

Chulalongkorn Univ, Thailand

Castro Neto, Antonio H

Physics

Natl Univ Singapore, Singapore

Lin, Hsin

Physics

Natl Univ Singapore, Singapore

Chukeatirote, Ekachai

Plant & Animal Science

Mae Fah Luang Univ, Thailand

Hyde, Kevin D

Plant & Animal Science

Mae Fah Luang Univ, Thailand

 

            เป็นที่น่าสังเกตว่าสุดยอดนักวิจัยทั้งหลายของโลกได้รับการอ้างอิงสูงยิ่ง เนื่องจากมีผลงานวิจัยตีพิมพ์อยู่ในวารสารชั้นนำใน ในระดับต้นๆของ 1st Quartile (Q1) ในสาขาของตน ซึ่งมี Impact Factor สูงๆแทบจะไม่ข้อยกเว้น และมีผลทำให้มหาวิทยาลัย/องค์กรของตนได้รับการจัดอันดับสูงกว่าสถาบันทั้งหลายที่มุ่งเน้นแต่จำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์มากกว่าระดับคุณภาพของวารสาร  ในกรณีของประเทศไทย มีมหาวิทยาลัย/สถาบันที่มีมาตรการเร่งรัดให้บุคลากรในสังกัดขอตำแหน่งทางวิชาการภายในกำหนดเวลาที่ไม่เอื้อต่อการผลิตผลงานวิจัยระดับสุดยอดของโลก ส่งผลให้สัดส่วนผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงสูงต่อจำนวนผลงานวิจัยทั้งหมดต่ำหรือมีค่าเป็นศูนย์ [ กรณีของประเทศไทย สามารถดูได้จากกรณี CWTS Leiden Ranking 2017 ที่ www.universityrankings.ch ]

            สำหรับเกณฑ์ในการจัดทำรายชื่อ 2017 Highly Researchers List ผู้ที่สนใจสามารถติดตามดูได้จาก methodology ของ Clarivate Analytics ที่            https://clarivate.com/hcr/methodology/

            ผมจึงขอส่งเรื่องนี้มายังอาจารย์ เพื่อโปรดพิจารณานำลงบล็อกสภามหาวิทยาลัย ตามที่เห็นสมควรต่อไปด้วย จักขอบคุณยิ่ง

            มงคล รายะนาคร

            27 พฤศจิกายน 2560

 

 

หมายเลขบันทึก: 642186เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2017 05:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2017 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท