๖๒๖. วิธีปฏิบัติที่ดี..วิถีพอเพียง..กิจกรรม..พี่สอนน้อง


ผมใช้ชื่ิอว่า"วิธีปฏิบัติที่ดี..วิถีพอเพียง" มีกิจกรรมหลายอย่างที่ผมดำเนินการ อาทิ กิจกรรมพี่สอนน้อง กิจกรรมเธอทำได้ไหม.? .กิจกรรมเขียนสร้างสรรค์ กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมือ และกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต

            ในแต่ละปีการศึกษา ผมพบว่า ..มีนโยบายจากต้นสังกัดสั่งการมาอย่างมากมาย ถาโถมเหมือนน้ำป่า ทะลักเข้าสู่โรงเรียน..จึงมีเสียงบ่นปนความสับสนอยู่เสมอ จากกลุ่มครูและผู้บริหาร ประมาณว่า..เปลี่ยนแปลงอีกแล้ว เก่ายังทำไมเสร็จ คิดใหม่กันอยู่เรื่อยๆ ล้วนแต่เป็นเรื่องใหญ่ๆทั้งสิ้น..

            นโยบายดังกล่าว..แยกได้ ๒ ประเด็นเท่านั้น คือ การบริหารจัดการและด้านการเรียนการสอน..ซึ้งถ้าวิเคราะห์กันจริงๆ ก็มีความสำคัญมิใช่น้อย อันเกิดจากความห่วงใยและไม่รู้จะทำอะไรให้เป็นเอกลักษณ์..

           ผมจึงบอกครูอยู่เสมอว่า นโยบายเป็นภาพรวมของประเทศ ต้องรับฟัง แต่จะทำได้แค่ไหน ต้องวิเคราะห์และมองตนเองให้ออก..บอกตนเองให้ได้ว่าปัญหาที่แท้จริง..ของโรงเรียน อยู่ที่ไหน..

            ปัญหาของแต่ละโรงเรียน ก็แตกต่างกันไป ตามบริบท ที่ขึ้นอยู่กับขนาด จำนวนครู งบประมาณ และชุมชน ตลอดจนปัญหาหนักเบาไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่..จะเป็นปัญหาด้านการเรียนการสอน คือ นักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้..

           ในที่นี้..ผมจะยังไม่พูดถึงการบริหารจัดการ แต่จะชี้ให้เห็นถึงการเรียนการสอน ที่ไม่อาจรับวิธีการของต้นสังกัดได้ทั้งหมด จึงต้องประยุกต์ใช้วิธีการต่างๆ แล้วทดลองทำดู จนเห็นว่าได้ผล มีความสอดคล้องกับธรรมชาติของโรงเรียน ความต้องการของครู ความสนใจของผู้เรียน และเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียน ตลอดจนมีความเรียบง่ายและประหยัด..

            ผมจึงใช้วิธีการปฏิบัติเล็กๆ อย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้กับวิธีการใหญ่ๆ ที่ทำได้ยากและเห็นผลช้า ที่สำคัญ..วิธีการเล็กๆ เป็นวิธีการที่ดี..ที่ครูไม่ต้องทิ้งห้องเรียน เป็นกิจกรรมที่ทำได้จริง บูรณาการได้ทุกกลุ่มสาระ..

            ผมใช้ชื่อว่า"วิธีปฏิบัติที่ดี..วิถีพอเพียง" มีกิจกรรมหลายอย่างที่ผมดำเนินการ อาทิ กิจกรรมพี่สอนน้อง กิจกรรมเธอทำได้ไหม.? .กิจกรรมเขียนสร้างสรรค์ กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมือ และกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต...

           ผมขอยกตัวอย่าง..กิจกรรมพี่สอนน้อง..ที่ผมทำอยู่เป็นประจำ และคิดเสมอว่านี่แหละ...ใช่เลย

           กิจกรรม “พี่สอนน้อง”เริ่มดำเนินการมาแล้วหลายปี..และได้จัดกิจกรรมอย่างจริงจังในปีการศึกษา ๒๕๕๘ เป็นต้นมา...เกิดจากความเชื่อที่ว่า..โรงเรียนเล็กๆ ทำกิจกรรมเล็กๆ ก็ยิ่งใหญ่ได้..

           เนื่องจากบริบทโรงเรียน..มีข้อจำกัด ภาระงานของครู ทำให้ไม่อาจเข้าถึง “คุณภาพ” การเรียนการสอนได้ในบางประการ บางสิ่งบางอย่างต้องเร่งรัดและขับเคลื่อนตลอดเวลา จำเป็นต้องดึงศักยภาพนักเรียนรุ่นพี่ มาเป็น..ตัวช่วย..

            รุ่นพี่ หมายถึง นักเรียนชั้น ป.๔ – ๖ รุ่นน้อง หมายถึง นักเรียนชั้น ป.๑ – ๓ บางครั้ง รุ่นพี่ก็จับคู่เรียนรู้กันเอง..

            กิจกรรมพี่สอนน้อง มองดูก็คล้ายการสอน”ซ่อมเสริม” พี่ช่วยเสริมเติมเต็มให้น้อง..ในการนี้..สังเกตพบว่า..นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและเรียนรู้ได้..เร็วขึ้น อันเนื่องมาจากการสื่อสารที่นักเรียนใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย...

            เท่าที่ผ่านมา..พี่สอนน้อง..ให้น้องทำงานตอนเช้า ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม(ทำเขต) สอนการอ่าน สอนดนตรี สอนกายบริหาร และสอนงานเกษตร..

            เวลาที่จัดกิจกรรมพี่สอนน้อง จะต้องยืดหยุ่นได้ ทำได้ทั้งตอนเช้า ตอนเที่ยงและช่วงเย็นๆ บางครั้งก็ทำกิจกรรมในช่วงที่ครูประจำชั้นไม่อยู่หรือไปราชการ...

           ประโยชน์ที่ได้รับ ที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ พี่จะกระตือรือร้นมากและภูมิใจที่ได้รับความไว้วางใจจากครู นักเรียนจะให้ความเคารพซึ่งกันและกัน ในการนี้นักเรียนจะมีพัฒนาการรอบด้านมากขึ้น เรียนรู้ได้เร็ว และสนุกมีความสุขกับการจัดกิจกรรม ซึ่งครูจะต้องสังเกตและประเมินผลรายบุคคลอย่างต่อเนื่องด้วย...

ชยันต์  เพชรศรีจันทร์

๒๓  พฤศจิกายน  ๒๕๖๐

 

 


หมายเลขบันทึก: 641987เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2017 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2017 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หนองผือเลี้ยงกบ

ท่าฝางเลี้ยง...หอยขม !

วันหน้า....เอามาแลกกันนะ


พี่ครับ..เลี้ยงกบหรือเลี้ยงหอย..ต้องแบบนี้ ครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท