ประวัติพระอถิธรรม ๓


             พระอภิธรรมปิฎก หรือเรียกสั้นๆ ว่า พระอภิธรรม เป็นหมวดที่ประมวลพุทธพจน์อันเกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นวิชาการว่าด้วยเรื่อง ปรมัตถธรรม ล้วนๆ เช่น เมื่อกล่าวถึงบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ทางพระอภิธรรมถือว่บุคคลนั้นไม่มี มีแต่สิ่งซึ่งเป็นที่ประชุมรวมกันของ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น ธรรมะในหมวดนี้จึงไม่มีเรื่องราว ของบุคคล เหตการณ์ หรือสถานที่ซึ่งเป็นสิ่งสมมุติเข้ามาเกี่ยวข้อง

            พระอภิธรรมปิฎกมีทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ เรียกโดยย่อว่า สัง. วิ. ธา. ปุ. กะ. ยะ. ปะ (หัวใจพระอภิธรรม)

  • คัมภีร์ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะที่เประมวลไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม เรียกว่า กัณฑ์ มีทั้งหมด ๔ กัณฑ์ คือ ๑. จิตตวิภัติภัณฑ์ แสดงการจำแนกจิตและเจตสิก เป็นต้น ๒. รูปวิภัตติกัณฑ์ แสดการจำแนกรูป เป็นต้น ๓. นิกเขปรสิกัณฑ์ แสดงธรรมที่เป็นแม่บท (มาติกา) ของ ประมัตถธรรม ๔. อัตถุทธารกัณฑ์ แสดงการจำแนกเน้อความตามแม่บทชองปรมัตธรรม
  • คัมภีร์วิภังค์ ว่าด้วยการจำแนกมาติกาในคัมภีร์ธัมมสังคณี ทั้งติกมาติกา ๒๒ หมวด และทุกมารติกา ๑๐๐ หมวด โดยแบ่งเป้น ๑๔ วิภังค์ เช่น ขันธวิภังค์ จำนกขันธ์ อายตนะวิภังค์ จำแนกอายตนะ, ธาตุวิภัย  จำแนกธาตุ, สัจจวิภังค์, จำแนกสัจจะ, อินทรียวิภังค์ จำแนกอินทรีย์ , ปฎิจจสมุปบาทวิภังค์ จำแนก ปฏิจจสมุปบาท, สติปัฎฐานวิภังค์ สติปัฎฐาน เป็นต้น
  • คัมภีร์ธาตุกถา ว่าด้วยคำอธิบายเรื่องขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ โดยนำมาติกาของคัมภีร์นี้จำนวน ๑๐๕ บท และมาติกาจากคัมภีร์ธัมมสังคณีจำนวน ๒๖๖ บท (ติกมาติก ๖๖ ใน ๒๒ หมวด และทุกมาติกา ๒๐๐ บท ใน๑๐๐ หมวด) มาแสดงด้วยนัยต่างๆ ()จำนวน ๑๔ นัย) เพื่อหาคำตอบว่าสภาวธรรมบทนั้นๆ สงเคราห์เข้าได้กับขันธ์เท่าไร เข้าได้กับอายตนะเท่าไร และเข้าได้กับธาตุเท่าไร เข้าไม่ได้กับขันธ์เท่าไร เข้าไม่กับอายตนะเท่าไร และเข้าไม่ได้กับธาตุเท่าไร
  •  คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยการบัญญัติ (การประกาศ แสดง หรือชีแจง) ในเรื่อง ๖ เรื่อง คือ ขันธบัญญัติ การบัญญัติเรื่องขัน ๒. อายตนบัญญัติ การบัญญัติเรื่องอายตนะ ๓. ธาตุบัญญัติ การบัญญัติเรื่องธาตุ ๔. สัจจบัญญํติ การบัญญัติเรื่องสัจจะ ๕.อินทรีบัญญัติ การบัญญัติ เรื่องอินทรีย์ ๖. ปุคลบัญญัติ การบัญญัติเรื่องบุคคล
  • คัมภีร์กถาวัตถุ ว่าด้วยการโต้วาทะเพื่อชีแจงแสดงเหตุผลให้เห็นว่าวาทกถา(ความเห็น) ของฝ่ายปรวาที (พวกภิกษุในนิกายที่แตกไปจากเถรวาท ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช) จำนวน ๒๒๖ กถา ล้วนผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากพระพุทธพจน์ดั้งเดิมที่ภิกษุฝ่ายเถรวาทยึดถือปฏิบัติอยู่ วิธีการโต้วาทะใช้หลักตรรกศาสตร์ ที่น่าสนใจมาก นับเป็น พุทธตรรกศาสตร์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งมาในคัมภีร์นี้เท่านั้น
  • คัมภีร์ยมก ว่าด้วยการปุจฉา-วิสัชนา สภาวธรรม ๑๐ หมวด ด้วยวิธีการยมก คือการถาม-ตอบ เป็นคู่ๆ งเป็นวิธีการเฉพาะของคัมภีร์ยมก
  • คัมภีร์ปัฎฐาน ว่าด้วยการจำแนกสภาวธรรมแม่บท หรือ มาติกา ทั้ง ๒๖๖ บท(๑๒๒ หมวด) ในคัมภีร์ธัมมสังคณี โดยอำนาจปัจจัย ๒๔ ประการ” มี เหตุปัจจัยเป็นต้น เพื่อให้เห็นว่าสภาวธรรมทั้งหลายปรากฏเกิดขึ้น ตามเหตุ ตามปัจจัยทั้งสิ้น มิได้เกิดจากการบงการของผุ้ใด แต่เป้นไปตามกฎของธรนรมชาติ ที่เรียกว่า จิตตนิยาม กรรมนิยาม และธรรมนิยาม

          การสวดพระอภิธรรมในงานศพ

          ตามหลักฐานของท่านผู้รู้กล่าวว่ามีการนำเอาพระอภิธรรมมาสวด ในพิธีศพของพุทธศาสนิกชนชาวไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและท่านได้ ให้ความเห็นไว้ว่าการบำเพ็ญกุศลในงานศพเพื่ออุทิศในผู้วายชนม์นั้น เป็น เรื่องเกี่ยวกับความรัก ความกตัญญูต่อผู้วายชนม์ ซึ่งจะไปไม่มีวันกลับการที่พุทธสาสนิกชนชาวไทยนำคัมภีร์พระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับ ประเพณีนี้นั้นตามข้อสันนิษฐาน คงจะเกิดจากเหตุผลประการต่างๆ อาทิ

           พระอภิธรรม ไม่กล่าวถึงสัตว์ ไม่กล่าวถึงบุคคล ไม่มีตัวตน เรา เขา แต่ทรงจำแนกธรรมออกเป็น กุศล อกุศล อัพยากฤต กระจายสรีระกาย ออกเป็นขันธ์ ๕ บ้าย อายตนะ ๑๒ บ้าง ธาตุ ๑๘ บ้าง อินทรีย์ ๒๒ บ้าง อันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยซึ่งต้องมีการเสื่อมสลายไปตามสภาวะ การได้ฟังพระอภิธรรมจะทำให้ผู้ฟังน้อมนำมา เปรียบเทียบกับการจากไปของผู้วายชนม์ ทำให้เห็นสัจธรรมของชีวิต ท่านโบราณบัณฑิตคงจะเห็นว่าในงานเช่นนี้เป็นโอกาสอันดีที่ท่านผู้ฟังและผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล จะสามารถพิจารณาเห็นความจริงของชีวิตได้โยง่าย จึงได้นำเอาพระอภิธรรมมาแสดงให้ฟัง

          อีกประการ เพราะเห็นว่า ในการตอบแทนพระคุณพุทธมาดาของพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้านั้นทำให้เสด็จขึ้นไปทรงแสดงพระอภิธรรม..โบราณบัณฑิตจึงนำพระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในการบำเพ็ญกุศลให้แก่ ผู้วายชนม์ โดยถือว่าเป็นการสนองพระคุณมารดา บิดา ตามแบบอย่าง พระจริยวัตรของพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า ...

 

“คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษรีย์” เรื่อง สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม, อภิธรรมโชตะวิทยาลัย ม.มหาจุฬาฯหน้า๗, หน้า๒๔.

คำสำคัญ (Tags): #อภิธรรม
หมายเลขบันทึก: 641474เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2017 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2017 08:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท